Infographic

ชวนเบิ่ง ธุรกิจน้ำปลาร้า จากอาหารบ้าน ๆ สู่ “ธุรกิจหลายล้าน” ของเหล่าคนดังจากภาคอีสาน

“ปลาร้า” หรือ “น้ำปลาร้า” ถือเป็นเครื่องปรุงรสเด็ดที่เรียกได้ว่าอยู่คู่ครัวไทยแทบจะทุกบ้าน เพราะสามารถใช้ปรุงอาหารที่หลากหลายโดยเฉพาะเมนูแซ่บ ๆ ที่ถูกปากทุกคนทั้ง ส้มตำ ,ยำ ,แกงอ่อม, น้ำพริก และอื่น ๆอีกมากมาย ซึ่งธุรกิจน้ำปลาร้า เรียกได้ว่าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทำให้มีเหล่าคนดังหันมาจับธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จสร้างมูลค่ามหาศาลทำยอดขายได้ไทยและต่างประเทศ ความเป็นมาของแบรนด์น้ำปลาร้าแต่ละแบรนด์ของเหล่าคนดังจะเป็นอย่างไร ISAN Insight & Outllok จะเว้าสู่ฟัง เริ่มต้นที่ น้ำปลาร้า MUM “คุณหม่ำ จ๊กมก” ตลกรุ่นใหญ่ชื่อดังของเมืองไทย แม้ว่าอยู่ในวงการบันเทิงมานาน สร้างเนื้อสร้างตัวจนมีรายได้ที่มั่นคงแล้ว หันมาลงทุนธุรกิจน้ำปลาร้า โดยจับมือกับ “เป๊ก สัญชัย” ทำแบรนด์น้ำปลาร้า “น้ำปลาร้า MUM” ตรา เอ็มยูเอ็ม รสชาตินัว ไม่กลัวใคร ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในปี 2564 มีรายได้รวม 40 ล้านบาท น้ำปลาร้าแซ่บไมค์ “คุณไมค์ ภิรมย์พร” นักร้องลูกทุ่งดังเจ้าของฉายา “ขวัญใจผู้ใช้แรงงาน” ซึ่งมีเพลงฮิตในตำนานมากมายเช่น ”ยาใจคนจน” ต่อมาจึงได้ผันตัวจากการจับไมค์ หันมาลงทุนจับธุรกิจนำปลาร้า ซึ่งเจ้าตัวเคยเปิดร้านอาหารอีสานมาก่อนทำให้มีความคุ้นเคยกับปลาร้าเป็นอย่างดี โดยใช้ชื่แบรนด์ “แซ่บไมค์” เอาใจสายแซ่บผลิตน้ำปลาร้า เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จและโด่งดังไกลไปถึงต่างประเทศ เรียกได้ว่าสร้างรายได้มหาศาลกันเลยทีเดียว โดยในปี 2565 มีรายได้รวม 533 ล้านบาท น้ำปลาร้าบัญชาเมฆ “คุณบัวขาว บัญชาเมฆ” นักมวยชื่อดังขวัญใจชาวไทย ก็เป็นอีกคนที่เข้าสู่วงการทำร้านปลาร้า ชูจุดเด่นน้ำปลาร้าน้ำแร่ปรุงสำเร็จรูป ตราบัญชาเมฆ โดยเจ้าตัวบอกว่าเป็นผู้คิดค้นผลิตน้ำปลาร้าปรุงสุกเจ้าแรกของโลกที่ใช้นวัตกรรมนำน้ำแร่ธรรมชาติมาผสม และใช้ในการผลิตน้ำปลาร้าแถมมีโอเมกา 3 และไอโอดีนสูงได้รับมาตรฐาน GMP HACCP Halal ผ่านการรับรองจาก อย. กระทรวงสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ในปี 2563 บริษัทโรงงานปลาร้าแม่ประกาศ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างผลิต มีรายได้รวม 10 ล้านบาท น้ำปลาร้าสุนารี “คุณสุนารี ราชสีมา” นักร้องลูกทุ่งแถวหน้าของเมืองไทย ที่นอกจากจะร้องเพลงและงานพิธีกรแล้ว ยังผันตัวมาทำธุรกิจน้ำปลาร้า ภายใต้แบรนด์ “น้ำปลาร้าสุนารี” แบรนด์ไทยที่ต้องการพาอาหารอีสานโกอินเตอร์ ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน เพราะมียอดขายดีทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้สุนารียังทำน้ำพริก ซอสผัดหมี่โคราช ฯลฯ ออกมาขายร่วมด้วย โดยในปี 2563 บริษัท ฮีโร่ แอนด์ อาเธอร์จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างผลิต สามารถทำรายได้ถึง 4 ล้านบาท น้ำปลาร้าราชา “คุณตุ๊กกี้ สุดารัตน์” นักแสดงตลกชื่อดังที่จับมือกับหวานใจ”คุณบูบู้” ทำธุรกิจขายน้ำปลาร้าที่มีชื่อว่า “ปลาร้าราชา” ซึ่งคิดค้นสูตรโดย “คุณบูบู้” ทำการผลิต โดยลงทุนทำโรงงาน ซื้อเครื่องมือ รวมถึงขอมาตรฐานต่างๆ …

ชวนเบิ่ง ธุรกิจน้ำปลาร้า จากอาหารบ้าน ๆ สู่ “ธุรกิจหลายล้าน” ของเหล่าคนดังจากภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง แบรนด์ น้ำปลาร้า สุดแซ่บ จากแดนอีสาน

น้ำปลาร้าแม่เหรียญ แม่เหรียญ ชารีนิวัฒน์ ซึ่งเป็นคุณแม่ของ คุณมะนูญ ชารีนิวัฒน์ ได้คิดค้นสูตรน้ำปลาร้าขึ้นมา ซึ่งในช่วงเวลานั้น ทำปลาร้า แบบตักขาย ขายที่แรกคือจังหวัดขอนแก่น หลังจากนั้นคุณมะนูญ จากพ่อค้าส้มตำ ที่มีแนวคิดอยากให้คนได้ทานปลาร้าสูตรเฉพาะของตัวเอง จึงเริ่มวางขายในโชห่วยหมู่บ้าน ในปี 2559 ได้ย้ายโรงงานไปตั้งที่จังหวัดเลย สู่ธุรกิจSME ที่มีรายได้หลักร้อยล้าน น้ำปลาร้าเชฟไพรฑูรย์ คุณไพรฑูรย์ ชารีนิวัฒน์ กล่าวว่า ตนเองเป็นลูกอีสานที่เติบโตมากับปลาร้า ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสชาติแซ่บนัว จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะให้คนภาคอื่นๆ ได้ลิ้มรสปลาร้าที่แซ่บ อร่อย และนัวแบบอีสานๆ จึงได้ศึกษาวิธีการทำปลาร้าปรุงสุกเพื่อจำหน่าย จนเกิดแนวคิดว่า ถ้าทำใส่ขวดแล้วสามารถขายได้ทั่วประเทศ คนอื่นๆก็จะได้ชิมปลาร้ารสชาติอีสานได้ทั่วประเทศ คนที่ซื้อน้ำปลาร้าไปตำส้มตำขายก็สามารถขายได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะอร่อยหรือไม่ เพราะในน้ำปลาร้าเป็นสูตรพิเศษที่คิดมาเพื่อลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ยังต้มปลาร้าไม่เป็น ให้สามารถไปเปิดร้านขายส้มตำได้ สร้างอาชีพคนอีกทางหนึ่ง น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ จากจุดเล็กๆของการทำปลาร้าเพื่อบริโภคในครัวเรือนของ คุณพ่อสนั่น และคุณแม่ทองสุข ศรีโยธา ในปี 2510 ได้ค่อยๆขยับขยายเติบโต สู่รุ่นลูก คือ คุณพ่ออุทัย และคุณแม่บุญล้ำ ปรีเรือง โดยใช้ชื่อกิจการว่า เพชรดำค้าปลาร้า ซึ่งต่อมาในปี 2557 ได้ก่อตั้ง บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด และมีสินค้าเริ่มแรกคือ น้ำปลาร้าต้มสุกภายใต้แบรนด์ “แม่บุญล้ำ” ของดีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สร้างรายได้อันยั่งยืนให้กับชาวบ้านในชุมชนโดยรอบ และพัฒนาคุณภาพสินค้า แบบยั่งยืนตามหลักสากล จนกลายเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกระดับประเทศ น้ำปลาร้าตำมั่ว เกิดขึ้นบนแนวคิดของการต้องการที่จะคอนโทรลธุรกิจต้นน้ำ คือ เรื่องของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในร้านอาหารในเครือ คือ “ตำมั่ว” ที่มีการใช้น้ำปลาร้าในปริมาณค่อนข้างมาก จึงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ บริษัท เค.เอส.เอฟ. ฟู๊ดส์ โปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำปลาร้าเจ้าดังและได้รับมาตรฐานของไทย จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท เซ็น แอนด์ โกสุม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด เพื่อผลิตป้อนให้กับร้านตำมั่ว ขณะเดียวกันก็ต่อยอดไปสู่การทำเป็นสินค้าที่เจาะเข้าช่องทางร้านค้าปลีก น้ำปลาร้าศิริพร รสแซ่บ เริ่มก่อตั้งในการผลิตนำปลาร้าบรรจุขวดเจ้าแรกในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเริ่มผลิตจากปลาน้ำจืดที่หาได้ตามท้องถิ่น เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง จึงคิดว่าปลาน้ำจืดคงไม่เพียงพอกับการทำธุรกิจ จึงได้คิดหาความแตกต่างและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารด้วยวัตถุดิบจากปลาทะเลชั้นดี เช่น ปลากระตัก ปลาทู เป็นต้น เพื่อมาใช้ในการหมักทำเป็นน้ำปลาร้า น้ำปลาร้าภาทอง คุณวีรดาอร เล่าว่า ธุรรกิจโรงงานปลาร้าเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 จากเดิมครอบครัวทำธุรกิจฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ และประสบภาวะปัญหาขาดทุน ในปี2550 จึงได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานที่บ้าน จากเดิมสินค้าจากโรงงานจะเป็นปลาร้าหมักแบบตัว ต่อมาได้เพิ่มเป็นน้ำปลาร้าต้มสุก ปัจุบันธุรกิจน้ำปลาร้าแข่งขันกันค่อนข้างสูงมาก ทางโรงงานก็ต้องมีการปรับตัวทั้งด้านคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าให้ตรงกับความต้องการ อีกทั้งมีการแตกไลน์ในการผลิตสินค้าจากปลาร้าไปเป็นอาหารอย่างอื่นที่เป็น ready to eat มากขึ้น แต่ก็ยังคง concept เดิมคือราคาต้องเข้าถึงง่าย อ้างอิงจาก – เว็บไซต์ของบริษัท – OTOP Loei – …

พาส่องเบิ่ง แบรนด์ น้ำปลาร้า สุดแซ่บ จากแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ปัจจัยอิหยัง ? ก่อหนี้สินในอีสานหลายที่สุด ?  ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง

ปัจจัยอิหยัง ? ก่อหนี้สินในอีสานหลายที่สุด ?  ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/Q2_2566.pdf     อ้างอิงจาก: ISAN Insight & Outlook แบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน  เมื่อวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 512 คน   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าใช้จ่าย #หนี้สิน #ภาระหนี้สิน #ครัวเรือนอีสาน 

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน ต้องการมาตรการช่วยเหลืออิหยังหลายที่สุด ?

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน ต้องการมาตรการช่วยเหลืออิหยังหลายที่สุด ?   มาตรการช่วยเหลือที่ครัวเรือนอีสานต้องการมากที่สุดคือการแจกเงินเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท ในขณะกลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่านั้น ต้องการความช่วยเหลือที่ยั่งยืนมากขึ้น  เช่นการกระตุ้นการท่องเที่ยว การส่งเสริมผู้ประกอบการและการลงทุน   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/Q2_2566.pdf    อ้างอิงจาก: ISAN Insight & Outlook แบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน  เมื่อวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 512 คน   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าใช้จ่าย #หนี้สิน #ภาระหนี้สิน #ครัวเรือนอีสาน #มาตรการช่วยเหลือ

สิพาจอบเบิ่ง ประมาณการโครงสร้างราคาสุรากลั่นกิจการขนาดเล็กในภาคอีสาน

ผลประกอบการกำไรส่วนใหญ่ของกิจการสุรากลั่นอยู่ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ในภาคกลางเป็นหลัก ซึ่งกิจการสุรากลั่นท้องถิ่น (กิจการขนาดเล็ก) มีส่วนแบ่งกำไรน้อย โดยส่วนมากอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งมักจะเป็นกิจการขนาดที่เล็กมาก มูลค่ากำไรต่อหน่วยของสุรากลั่นขึ้นอยู่กับรูปแบบของสุรา โดยรูปแบบ premium มีกำไรต่อหน่วยมากที่สุด ซึ่งมากกว่า 50% ของราคาสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบ premium จำเป็นต้องใช้เวลาในการผลิตและตรวจสอบคุณภาพมากกว่ารูปแบบ classic (standard) และผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นนักสะสมหรือนักดื่มที่ต้องการรสชาติที่ดีกว่ารูปแบบ classic (standard) อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #กิจการสุรากลั่น #สุรากลั่น #กิจการสุรากลั่นอีสาน #สุรากลั่นอีสาน #โครงสร้างราคาสุรากลั่น

ชวนมาเบิ่ง กระบวนการผลิตของกิจการสุรากลั่นท้องถิ่นในภาคอีสาน

กิจการกลั่นสุราพื้นบ้านในภาคอีสานมีการกระจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดนอกเหนือจากจังหวัดใหญ่ ๆ ในภูมิภาค ซึ่งแสดงถึงความสามารถในแต่ละท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการเข้ามาสร้างสรรค์การผลิตและเป็นผู้เล่นภายในตลาดเกิดใหม่นี้ได้ไม่ยาก สุรากลั่นอีสานนิยมใช้วัตถุดิบเป็นอ้อย และข้าวเหนียวเพราะมีกลิ่นเฉพาะ อีกทั้งยังมีวัตถุดิบมากในพื้นที่ และยังมีการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศในการเติมกลิ่นเพิ่มเติม นอกจากนั้น สุรากลั่นท้องถิ่นยังมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจหลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #กิจการสุรากลั่น #สุรากลั่น #กิจการสุรากลั่นอีสาน #สุรากลั่นอีสาน

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน มีภาระหนี้สินจั้งใด๋แหน่ ?

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน มีภาระหนี้สินจั้งใด๋แหน่ ?   ISAN Insight & Outlook ได้จัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน จะเห็นพฤติกรรม 65% ของผู้ตอบแบบสำรวจในอีสานมีภาระทางหนี้สิน โดยเมื่อกระจายการออมเงินตามการมีภาระหนี้สิน กลุ่มผู้ที่ไม่มีภาระหนี้สินมีการออมเงินในสัดส่วนที่มากกว่าอย่างชัดเจน   อีกทั้งครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจในอีสานที่มีภาระหนี้สิน มีจำนวนหนี้สินคงเหลือน้อยกว่าจำนวนรายได้ในแต่ละเดือน แต่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนของผู้ที่มีหนี้สินสูงกว่ารายได้กว่าเท่าตัวในสัดส่วนที่มาก ซึ่งสะท้อนระยะเวลาการใช้หนี้ที่ยาวนาน โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อการบริโภคซึ่งไม่สร้างผลตอบแทนอีกด้วย   ด้านสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ปรับเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ยิ่งมีรายได้มากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ก็เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น โดยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ตอบที่มีรายได้น้อย เผชิญกับปัญหาในการชำระหนี้ และยิ่งกว่านั้น 20% ของผู้ตอบที่มีรายได้น้อย เลือกที่จะหยุดชำระหนี้ในกรณีที่รายได้ไม่เพียงพอกับการชำระหนี้   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/Q2_2566.pdf    อ้างอิงจาก: ISAN Insight & Outlook แบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน  เมื่อวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 512 คน    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าใช้จ่าย #หนี้สิน #ภาระหนี้สิน #ครัวเรือนอีสาน

พามาเบิ่ง ธุรกิจ SME ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป “จั๊บ จั๊บ”

ในปี 2559 คุณมนัสชญาณ์ อู่สมบัติชัย หรือ คุณยุ้ยเห็นข่าวงานวิจัยเส้นก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป ของ ผศ.ดร.จิตรา สิงห์ทอง อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะศิษย์เก่าและโปรดปรานเมนูนี้มาก เลยคิดต่อยอดทำธุรกิจ ด้วยการขอซื้อสิทธิบัตรงานวิจัยดังกล่าวใช้เงินทุน 60,000 บาท คณะอาจารย์เล็งเห็นถึงความตั้งใจจริง มอบสิทธ์ทางการค้าให้ ส่วนเครื่องเคียงมาเพิ่มเองทีหลัง ปัจจุบันนี้ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป จั๊บ จั๊บ มีแบบถ้วย และแบบซอง มีรสดั้งเดิม กับ รสต้มยำกุ้ง ภายในบรรจุด้วยเส้นก๋วยจั๊บอบแห้งปราศจากสารกันเสีย ผงน้ำซุป หมูยอ กระเทียมเจียว ต้นหอมซอย เทน้ำร้อนเดือดจัด ทิ้งไว้ 5 นาที พร้อมทาน อายุการเก็บรักษานาน 6 เดือน จุดเด่น เส้นก๋วยจั๊บเหมือนกับเส้นต้มสด น้ำซุปกลมกล่อม หอมพริกไทย แม้สินค้าจะเป็นที่รู้จักดีในจังหวัดอุบล แต่ก็แค่เฉพาะกลุ่ม หนทางแห่งความสำเร็จที่จะทำให้คนทั้งประเทศรู้จักได้ คือ รางวัลจากเวที เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ ปี 2017 ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมและให้โอกาสแก่ผู้ประกอบการ SME นับว่ารางวัลดังกล่าวช่วยสร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ให้กับธุรกิจตามมา ปี 2560 ได้ตัดสินใจเข้าประกวด เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ ปรากฏได้รับรางวัล เสมือนเป็นใบเบิกทางให้ธุรกิจ เพราะเวทีดังกล่าวช่วยให้คนทั้งประเทศรู้จักก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป จั๊บ จั๊บ หลังประกวดยอดขายก็เพิ่มขึ้น ตลาดกว้างขึ้น หลายๆ อย่างถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ความสำเร็จนี้ เกิดจากทีมงานเซเว่น เข้ามามีบทบาท นับตั้งแต่ช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิต จนได้รับเครื่องหมาย GMP, HACCP, Codex ช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ช่วยโปรโมท ตลอดจนสินค้าได้ไปวางจำหน่ายในเซเว่น กว่า 3,600 สาขา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางเขตในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันตลาดหลักของสินค้า 70 เปอร์เซ็นต์ นักธุรกิจสาวส่งเข้าห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และขายผ่านออนไลน์ ส่วนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ส่งขายผ่านร้านเซเว่น หรือเดือนละประมาณ 16,000 ห่อ แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด ยอดขายก็ไม่ลดลง กลับเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย ทุกวันนี้อาณาจักรก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป จั๊บ จั๊บ บริหารงานโดย 5 พี่น้อง ตระกูล “อู่สมบัติชัย” โดยมีมนัสชญาณ์เป็นหัวเรือใหญ่ ธุรกิจอาหารที่เกิดขึ้นจากความชอบ เอาสิ่งใกล้ตัวมาเพิ่มมูลค่า สร้างแบรนด์ จนกลายมาเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – AP ALL ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : …

พามาเบิ่ง ธุรกิจ SME ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป “จั๊บ จั๊บ” อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ศึกอาณาจักรนมวัวเจ้าดังระดับประเทศ

ถ้าถามว่าแบรนด์นมวัวในประเทศไทยแบรนด์ไหนที่คนไทยให้เป็นแบรนด์ที่สุดยอดบ้าง ในนั้นต้องมี “ฟาร์มโชคชัย” และ “แดรี่โฮม” อยู่ด้วย แต่ก่อนที่ทั้ง 2 จะกลายมาเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่ระดับประเทศ มีที่มาที่ไปเป็นยังไงบ้าง ISAN Insight & Outlook สิเว้าสู่กันฟัง เริ่มต้นที่ “ฟาร์มโชคชัย” ฟาร์มโชคชัยก่อตั้งในปี 2500 โดย คุณโชคชัย บูลกุล ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา คุณโชคชัย เป็นผู้ที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบคาวบอยมาตั้งแต่เด็กและใฝ่ฝันจะเห็นฝูงโคตัวใหญ่ พร้อมกับเห็นฝูงม้าที่มีคาวบอยขี่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกนั้นคุณโชคชัยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จนในปี 2512 บริษัทได้บุกเบิกกิจการฟาร์มโคเนื้อ จนถึงปี 2519 ฟาร์มโชคชัยประสบปัญหาการผลิต ทำให้กิจการต้องผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจโคนม จนได้สร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมขึ้น ในช่วงปี 2535 โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมเจอวิกฤตอีกครั้ง จนกลุ่มฟาร์มโชคชัยมีหนี้สินกว่า 500 ล้านบาท ทำให้ต้องตัดใจขายธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นมออกไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินในปี 2537 โดยคงไว้แต่เพียงธุรกิจหลักคือ ฟาร์มโคนม ช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่ทางคุณโชค บูลกุล ลูกชายของคุณโชคชัย บูลกุล ได้เข้ามาบริหารงานต่อจากคุณพ่อ คุณโชคเข้ามาทำการปฏิรูประบบจัดการของฟาร์มโชคชัย โดยการพยายามสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มฟาร์มโชคชัยผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ปัจจุบัน ฟาร์มโชคชัย ทำธุรกิจลักษณะการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีกิจกรรมสันทนาการ มีร้านอาหารและที่พักให้บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละปีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวไม่ต่ำกว่าปีละ 240,000 คน และนับเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนเนื้อที่กว่า 20,000 ไร่ มีแม่พันธุ์โคนมถึง 3,000 ตัว ในขณะที่ “แดรี่ โฮม” คุณพฤฒิ เกิดชูชื่น เคยเป็นนักวิชาการสอนปรับปรุงพันธุ์โคนม ที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเคยทำงานอยู่ที่ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านฟาร์มโคนมมายาวนาน 10 กว่าปี กระทั่งปี 2535 เขาลาออกจากงานประจำ เพื่อมาสร้างฝันให้เป็นจริง นั่นคือ อาณาจักรฟาร์มโคนมออร์แกนิก ปี 2542 แดรี่โฮม ถือกำเนิดขึ้นด้วยการจำหน่ายนมในขวดแก้ว น้ำนมที่ใช้เป็นนมออร์แกนิก ซื้อจากฟาร์มโคนมที่รู้จักกันให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ แต่ละวันรับนมเพียง 10 ลิตร จากนั้นขยับเพิ่มเป็น 100 ลิตร หลังกระแสการตอบรับดี ส่งเสริมเกษตรกรหน้าใหม่ให้เลี้ยงวัวออร์แกนิก เพราะนอกจากประหยัดต้นทุน น้ำนมยังขายได้ราคาสูงกว่าตลาดประมาณ 20% จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของ “แดรี่ โฮม” คือใน 2548 ประเทศไทยประกาศเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรี (FTA : Free Trade Area) กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย และจะมีผลบังคับใช้ใน 2568 เมื่อถึงตอนนั้นนมสัญชาติไทยจะเหลือน้อยมาก และเกษตรกรไทยจะเริ่มลำบาก เพราะเราสามารถนำเข้านมจากต่างประเทศได้อย่างเสรี ทำให้เขาต้องเร่งพัฒนามาตรฐานออร์แกนิกของไทยร่วมกับภาครัฐ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ ได้การรับรองให้เป็นฟาร์มโคนมออร์แกนิกแห่งแรกในประเทศไทย และประกาศว่าเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – …

ชวนเบิ่ง ศึกอาณาจักรนมวัวเจ้าดังระดับประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานหลายที่สุด ในแต่ละจังหวัด มีอิหยังแหน่ ? 

สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานหลายที่สุด ในแต่ละจังหวัด มีอิหยังแหน่ ?    สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาระยะหนึ่งอาจเริ่มหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการ ตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เป็นแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง มาตรฐานการเกษตรของสินค้าเกษตรในอีสานยังมีจำนวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มาตรฐาน GAP อยู่น้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ โดยอันดับ 1 ภาคเหนือ (37.1%) อันดับที่ 2 ภาคกลาง (26.2%) อันดับที่ 3 ภาคอีสาน (17.3%) และอันดับที่ 4 ภาคใต้ 16.4% ซึ่งหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังจะเป็นจุดแข็งรายพื้นที่ ที่สามารถยกระดับภาคเกษตรของพื้นที่ได้   อ้างอิงจาก:  สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ https://actorganic-cert.or.th/th/manual-th/organicstandard-th/ https://www.baanlaesuan.com/233023/garden-farm/farm-guru/gapthai   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สินค้าเกษตร  #มาตรฐานGAP

Scroll to Top