พามาเบิ่ง 3 ร้านอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง 

พามาเบิ่ง 3 ร้านอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง 

 

เมื่อพูดถึงอีสาน หลายคนจะนึกถึงอาหารอีสานที่มีความแซ่บ ทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด วันนี้ ISAN Insight จะพาทุกคนมารู้จักกับร้านอาหารอีสาน ที่มาไกลถึงกรุงเทพฯ

 

ตำมั่ว (tummour)

ตอนนี้ ตำมั่ว ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด ศิรุวัฒน์เสริมว่าการตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย

อีกทั้งเพื่อให้จดจำง่ายสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ ได้ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นอย่าง Music marketing โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้องห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 50 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก

 

ซาว (ZAO)

ซาวอุบล คือร้านอาหารอีสานบนถนนเลี่ยงเมืองอุบลที่ก่อตั้งโดย คุณณัฐธิดา พละศักดิ์ (อีฟ) อดีตแฟชั่นดีไซเนอร์ที่กลับบ้านมาตั้งหลักปักฐานทำธุรกิจรถไถนาและขยายออกมาเป็นร้านอาหารอีสานสูตรจากยายจุย ภูภักดี

ก่อนจะเป็นร้านซาวอุบล อีฟเคยทำโปรเจกต์ลาวดีเพื่อหาคำตอบให้กับอาหารอีสาน และค่อยๆ เรียนรู้การเลือกใช้วัตถุดิบมาทำอาหารตามฤดูกาลของคนอีสาน การถนอมอาหาร รวมทั้งการปรุงอาหาร โดยเป้าหมายคือการขยายให้ซาวอุบลเติบโตเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน เพราะเลือกใช้พืชผัก เนื้อสัตว์ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาขายเอง

ตั้งชื่อร้านว่า ซาวอุบล เพราะในภาษาภาษาอีสานคำว่า “ซาว” แปลว่าควานหรือคว้าอะไรบางอย่างมาใส่ สื่อได้ว่ามีอะไรก็ซาวมาทำอาหาร ซาวพืชผักสวนครัวมา ซาววัตถุดิบที่ชาวบ้านนำมาจากต่างอำเภอ 

 

เผ็ดเผ็ด (Phed Phed)

กว่า 6 ปี ของการเริ่มต้นทำร้านสาขาแรก (ตั้งแต่ปี 2559) มาวันนี้เผ็ดเผ็ดสามารถปักหมุดหมายให้บริการลูกค้าในกว่า 6 สาขา ท่ามกลางสถานการณ์ความซบเซาของเศรษฐกิจ และธุรกิจร้านอาหารอีสานที่ดูจะเป็น Red Ocean ในประเทศไทย 

ไม่ต้องมีชะลอม กระติ๊บข้าวเหนียว หม้อดิน หรือพร็อพใดๆ ที่สื่อถึงความเป็นร้านอาหารอีสานให้มากความ เพราะเผ็ดเผ็ดเลือกที่จะหยิบจับความโมเดิร์น ความทันสมัย และลุคที่แตกต่างออกไปมาออกแบบร้านของพวกเขาในแต่ละสาขาให้หวือหวา และเก๋ไก๋

สาเหตุที่ทำให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายของ โควิด-19 ได้ คือเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยการรับลูกค้าในรูปแบบการ Take Away หรือเดลิเวอรี่ด้วย โดยปัจจุบันรายได้ของพวกเขาในส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนมากถึงกว่า 40-50% ต่อสาขาเลยทีเดียว 

เป้าหมายในอนาคต อาจจะเลือกแตกแบรนด์ไปทำอาหารในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ส้มตำ อาจจะเป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก โดยสาระสำคัญคือการที่ทั้งคู่ยังคงต้องสนุก และมีความสุขในสิ่งที่พวกเขาได้ทำ

 

อ้างอิงจาก: 

เว็บไซต์ทางการของบริษัท , Creden Data และ บทสัมภาษณ์จากสื่อต่างๆ 

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ 

https://linktr.ee/isan.insight 

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ตำมั่ว #tummour #ซาว #ZAO #เผ็ดเผ็ด #PhedPhed #นครพนม #อุบลราชธานี

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top