Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

เป็นตาแซ่บหลาย “อึ่งอ่าง” เมนูสุดฮิตจากแดนอีสาน

เป็นตาแซ่บหลาย “อึ่งอ่าง” เมนูสุดฮิตจากแดนอีสาน   ISAN Insight & Outlook ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ “น้องอึ่ง” สัตว์ที่เป็นเมนคอร์สในเมนู “ต้มอึ่งใส่ใบมะขามอ่อน” ที่พี่น้องอีสานหลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห้ามพลาด” ที่คนในภาคอีสานนิยมนำอึ่งอ่างมาทำเป็นอาหารในช่วงนี้ เพราะอึ่งอ่างจะมีความมันและบางตัวอาจมีไข่ในท้องซึ่งไข่ของอึ่งอ่างจะมีความอร่อยในแบบเฉพาะตัว  โดยปกติแล้วต้มอึ่งจะหากินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น คือ ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่อึ่งอ่างจะออกมาเล่นน้ำ หาอาหาร และผสมพันธุ์กัน โดยพวกมันจะใช้การส่งเสียงร้องเรียกหาคู่ในขณะที่ฝนตก และหลังจากที่หมดช่วงนี้ไปอึ่งอ่างก็จะกลับไปจำศีลอยู่ใต้พื้นดิน จะออกมาให้เห็นใหม่อีกครั้งก็ช่วงฤดูฝนของปีถัดไป อาจกล่าวได้ว่า ช่วงที่อึ่งอ่างออกมาเล่นน้ำหาอาหารถือเป็นโอกาสทองให้ใครหลาย ๆ คนออกไปจับพวกมัน เพราะนอกจากจะนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนแล้ว หากเหลือก็ยังสามารถนำไปขายตามตลาดท้องถิ่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะในแถบพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลาง (ภาคที่คนอีสานอพยพเข้าไปทำงานมากที่สุด) ส่วนราคาของอึ่งในช่วงฝนแรกจะขึ้นอยู่กับชนิดของอึ่ง เช่น อึ่งข้างลายจะอยู่ที่ 350 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถ้าขายคละกับตัวมีไข่จะอยู่ที่ 350 บาท/กิโลกรัม หรือถ้าเฉพาะตัวที่มีไข่ก็ยิ่งมีราคาแพงขึ้น เฉลี่ยประมาณ 350 – 400 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงเทียบเท่ากับการซื้อเนื้อหมู เนื้อไก่ 2 – 3 กิโลเลยทีเดียว   น่าสังเกตว่า แม้จะมีราคาสูงตามความหายาก แต่ผู้บริโภคจำนวนมากก็ยอมจ่ายเพื่อให้ได้รับประทาน ส่งผลให้จำนวนอึ่งอ่างที่นำมาจำหน่ายในท้องตลาดยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นผู้ค้ารายใดที่สามารถนำอึ่งอ่างมาจำหน่ายช่วงนี้ได้ ก็มีโอกาสขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเช่นกัน ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลของอึ่งอ่างในระบบฐานข้อมูลโภชนาการของไทย แต่อึ่งอ่างจัดเป็นแหล่งโปรตีนของเนื้อสัตว์พื้นบ้านอาหารพื้นถิ่น เพราะกินแมลงชนิดต่างๆ จำพวกปลวก แมงเม่า และมด เป็นอาหารหลัก คุณค่าทางโภชนาการจึงใกล้เคียงกับกบ ซึ่งเป็นสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ใกล้กัน   อึ่งอ่างให้พลังงานและไขมันต่ำ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่น มีปริมาณโปรตีนระดับปานกลาง การกินอึ่งอ่างให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีนั้น ควรเพิ่มคุณค่าจากผักพื้นบ้านต่าง ๆ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เช่น ต้มยำ แกงอ่อม ต้มมะขาม หรือการทำเมนูอึ่งย่างหรือทอด ที่นิยมกินทั้งกระดูก อาจทำให้ได้แร่ธาตุเพิ่มอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  ฐานเศรษฐกิจ, มติชน, ไทยรัฐ, ผู้จัดการออนไลน์, dailynews   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อึ่งอ่าง #ต้มอึ่งใบมะขามอ่อน #อึ่งช็อต #คั่วแห้งอึ่งไข่ #ต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง

พามาเบิ่ง 4 จังหวัดภาคอีสาน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 

พามาเบิ่ง 4 จังหวัดภาคอีสาน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ    ภาครัฐประกาศแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” โดยแบ่งไปตามพื้นต่าง ๆ และใช้จุดแข็งของแต่ละพื้นที่มาเป็นจุดขาย พ่วงด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเน้น Bio Economy ภาคเหนือเน้นเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ภาคกลาง-ตะวันตกมุ่งพัฒนาไปสู่สินค้าเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง และอุตสาหกรรมสินค้าไฮเทค และภาคใต้ก้าวไปสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจการค้า   “ระเบียงเศรษฐกิจ” พิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : NeEC ต่อกันด้วยระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โดยมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมหมุนเวียน-Bio Economy และการเกษตรอย่างยั่งยืน”    เนื่องจากมีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่และเป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง และข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิ ที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดและมีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ    ดังนั้นเมื่อนำไปผสมผสานเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะช่วยทำให้เกิดการยกระดับการทำเกษตรกรรมเพื่อให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้นแต่ใช้ต้นทุนเท่าเดิมหรือลดลง ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มโอกาสส่งขายไปยังประเทศขนาดใหญ่และประเทศเพื่อนบ้านได้มากยิ่งขึ้น อันนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่มากขึ้น   นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ทั้งประเทศลาว เวียดนาม และจีน   อีกทั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) คือ พื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงเพื่อนบ้านเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งแก้ปัญหาความมั่นคง โดยพื้นที่ SEZ ถูกจัดตั้งขึ้นในพื้นที่จังหวัดตามชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา มาเลเซีย โดยตั้งอยู่ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี นราธิวาส หนองคาย นครพนม ตราด สงขลา ตาก สระแก้ว และมุกดาหาร   สำหรับยอดการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.- มี.ค.) ของปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหารอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรุงเทพธุรกิจ, moneybuffalo, workpointtoday   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook   #ISANInsightAndOutlook …

พามาเบิ่ง 4 จังหวัดภาคอีสาน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  อ่านเพิ่มเติม »

ฮ่วมมือ ! การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’ 

ฮ่วมมือ ! การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’    กทท. เปิดโมเดลสร้างท่าเรือบก นำร่องพื้นที่ขอนแก่น-โคราช 1.4 พันล้านบาท เล็งศึกษาดึงเอกชนร่วมทุน PPP-จัดตั้งบริษัท คาดได้ข้อสรุปปลายปีนี้ ลุ้นแผนสร้างท่าเรือบกฉะเชิงเทรา 1 พันไร่ในอนาคต การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย (กทท.) เร่งพัฒนา โครงการท่าเรือบก (Dry Port) หนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในอนาคต   นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยความคืบหน้าดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนที่จะนำร่องพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น และ จ.นครราชสีมา คาดว่า ผลการศึกษารูปแบบการลงทุนจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2566 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท. กระทรวงคมนาคม และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบผลการศึกษา ก่อนจะดำเนินการตามขั้นตอนตามผลการศึกษา หาก PPP ต้องจัดทำการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (เวนคืน) จัดหางบประมาณดำเนินการ และเปิดประกวดราคาต่อไป   นายเกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับท่าเรือบก จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโนนพยอม ต.ม่วงหวาน อ.นํ้าพอง จ.ขอนแก่น ใช้พื้นที่ 1,500-2,000 ไร่ ส่วน จ.นครราชสีมา อยู่ระหว่างการพิจารณาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพราะผลการศึกษาในอดีต ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ ต.กุดจิก อ. สูงเนิน จ.นครราชสีมา แต่ปัจจุบันพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงพิจารณาพื้นที่ใหม่ที่มีความเหมาะสม และมีศักยภาพมากกว่าพื้นที่เดิม เพราะต้องพิจารณาพื้นที่โดยรอบให้ครอบคลุมกับการขนส่งทางถนนและทางราง   ส่วนโครงการท่าเรือบก จ.นครราชสีมา มีการเสนอทำเลที่ตั้งใหม่ คือ บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน ต.กุดจิก อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งติดกับสถานีรถไฟและถนน รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยประสบปัญหานํ้าท่วมด้วย แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะใช้พื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใหม่ โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสม เนื่องจาก จ.นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง มีการขนส่งสินค้าเกษตรจำนวนมาก อาทิ แป้ง มันสำปะหลัง และข้าว ซึ่งการผลิตจะสามารถนำส่งสินค้าได้ทันที ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจมหาศาล โดยคาดว่าภายในปี 2566 จะได้ข้อสรุปตำแหน่งที่ตั้งของท่าเรือบก จ.นครราชสีมา ส่วนขนาดพื้นที่ จ.นครราชสีมา จะใช้พื้นที่น้อยกว่า จ.ขอนแก่น เนื่องจาก จ. นครราชสีมา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนอาจมีราคาสูง   …

ฮ่วมมือ ! การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’  อ่านเพิ่มเติม »

พาจอบเบิ่ง จำนวนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ของแต่ละภาคธุรกิจ

กิจการในภาคการค้าจดทะเบียนใหม่ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดหลัก (ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี) โดยประเภทที่มีมากสุด คือ การขายของออนไลน์การค้าสินค้าอุปโภคบริโภค และการขายผลผลิตทางการเกษตร โดยแนวโน้มการลงทุนนอกเขตเมืองปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กิจการภาคการก่อสร้างจดทะเบียนใหม่มีการกระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดหลักเช่นกัน โดยประเภท ที่มีมากที่สุดเป็นการก่อสร้างสำนักงาน โรงงาน สถานประกอบการ เป็นหลัก แต่ขนาดเฉลี่ยของผู้ประกอบการรายใหม่มีขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ ธุรกิจการเกษตรจดทะเบียนใหม่ กระจุกตัวอยู่ในบุรีรัมย์เป็นหลัก จากการจดทะเบียนของธุรกิจรายใหญ่ ในขณะที่ประเภทที่มีการจดทะเบียนใหม่มากที่สุด เป็นกลุ่มการเพาะปลูก สมุนไพร เครื่องเทศ ภาคการผลิตที่จดทะเบียนใหม่กระจุกตัวอยู่ในนครราชสีมาและขอนแก่นเป็นหลัก โดยเป็นประเภทการผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ในห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด โดยสัดส่วนของการจัดตั้งยังอยู่ในเขตนอกเมืองและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #จำนวนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ #จำนวนนิติบุคค

สิพามาเบิ่ง มูลค่าทุนจดทะเบียนใหม่ของ 4 จังหวัดหลักในภาคอีสาน

แต่ละจังหวัดแตกต่างกันหลายส่ำใด๋? สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่

ชวนเบิ่ง มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่และเลิกกิจการของภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋แหน่ในครึ่งปีแรก

ภาพรวมการจัดตั้งใหม่ของนิติบุคคลในอีสานครึ่งปีแรก ยังอยู่ในภาคการค้า การก่อสร้าง เป็นหลัก โดยการจัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าการจดทะเบียนเลิกกิจการชัดเจน ซึ่งขนาดเฉลี่ยของกิจการจดทะเบียนใหม่ และจดทะเบียนเลิกกิจการ มีขนาดใกล้เคียงกัน เว้นแต่ภาคการเกษตรที่มีการจดทะเบียนใหม่ของรายใหญ่ สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ #มูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกกิจการ

จับตาเบิ่ง มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคลของภาคอีสานในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋แหน่

การจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ในอีสานปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าชัดเจน ทั้งในด้านของจำนวน และมูลค่าทุนจดทะเบียน โดยกว่าครึ่งหนึ่งยังกระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดหลัก และในบุรีรัมย์ สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล

เช็กพิกัดงานบุญในอีสานกันเด้อจ้า  รวมที่จัดงานบุญ 2566 วันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา 

เช็กพิกัดงานบุญในอีสานกันเด้อจ้า  รวมที่จัดงานบุญ 2566 วันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา    วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาปีนี้ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 และ วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 ตามลำดับ ครั้งนี้ถือว่าพิเศษมากกว่าปีไหนๆ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องกันถึง 6 วัน ในวันสำคัญทางพุทธศาสนานี้ ชาวพุทธนิยมเดินทางมาไหว้พระทำบุญ โดยเฉพาะการตักบาตร เวียนเทียน ถวายผ้าอาบน้ำฝน และชมริ้วขบวนแห่เทียนพรรษาแต่ด้วยวันหยุดยาวที่มีต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน ทำให้ทางผู้จัดงานเพิ่มกิจกรรมและขยายระยะเวลาในการจัดด้วยในบางพื้นที่ด้วย   วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความสำคัญ และกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา ปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 1 ส.ค.66 ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา หรือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี หลังทรงตรัสรู้ได้ 2 เดือน    วันเข้าพรรษาแรก หรือปุริมพรรษา ปีนี้ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือถ้าหากปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง  โดยเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น    เมื่อโอกาสมาอำนวยถึงขนาดนี้แล้ว ถ้าใครพอมีเวลาว่างอยากให้ไปร่วมงานบุญครั้งนี้กันดูสักครั้ง หรือเวียนเทียนออนไลน์ https://season.sanook.com/candlewalk/?fbclid=IwAR2dYq5vfsdt3ZGKykykQSYS70w6e0ep-uejm8w80aboIX8-BQ57JnqR0hM  เว็บไซต์ “สนุกสายบุญ เวียนเทียนออนไลน์” เว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าไปเลือกคาแรกเตอร์ ใส่ชื่อ เลือกวัดได้ เพื่อเอาไว้โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียได้อีกด้วย    อ้างอิงจาก: pptvhd36, tnnthailand, ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #วันอาสาฬหบูชา #วันเข้าพรรษา #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #อุบลราชธานี #เลย #แห่เทียนพรรษา

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง  โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย รายจังหวัดในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?  

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง  โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย รายจังหวัดในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?     อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ First S-curve ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ และ New S-curve ที่เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม 1)    อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)   2)    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)  3)    อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)   4)    การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)   5)    อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)   7 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 1)    อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)  2)    อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)   3)    อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)  4)    อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)  5)    อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)  ซึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ในอีสานมีการขอส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติมากที่สุดอยู่ในกลุ่มการแพทย์ โดยเฉพาะการบริการเกี่ยวกับโรงพยาบาลและสถานพยาบาล   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมอีสาน 

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ?

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ?   ทุเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” (King of fruits) ด้วยรสชาติที่หวาน มัน และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและคนต่างชาติ (บางส่วน) หลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากพืชไร่หันมาเพาะปลูกพืชสวนกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง    ปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีชื่อเสียง ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผู้ค้า ในด้านของคุณภาพและความปลอดภัย มีบริเวณที่เพาะปลูกพื้นที่ภูเขาไฟ เป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ มีธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพืชปริมาณสูง   ปี 2564 มีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ 8,404 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,479 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,213 ตัน/ปี โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,220 ราย ด้านต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 18,430 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 5) เกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 204,000 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 185,570 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 160 – 180 บาท/กิโลกรัม   “ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” เป็นทุเรียนอีกหนึ่งอันที่ได้รับการการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  เนื่องจากในพื้นที่ของปากช่อง มีชุดดินที่เป็นดินภูเขาของดงพญาเย็น ซึ่งมีลักษณะเป็นธาตุอาหารเฉพาะ ส่งเสริมให้การปลูกทุเรียน ประกอบกับในเรื่องของ โอโซนต่างๆ และน้ำ ทำให้เหมาะแก่การผลิตทุเรียนอีกด้วย   “ทุเรียนเสิงสาง” ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียน มีการปลูกมานานเกือบ 10 ปี ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอเสิงสางที่มี ความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพดิน อากาศ และน้ำ ทำให้ผลไม้พืชผัก ที่ปลูกในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะทุเรียน มีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือหวานมัน เนื้อละเอียดเป็นครีม และที่สำคัญคือกลิ่นไม่แรง   “ทุเรียนโอโซน” ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ นั้นเน้นการรวมกลุ่มการผลิต และให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารจัดการแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต แปรรูปและการตลาด เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง และคุ้มค่า โดยในปี 2565 นี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขอรับรองมาตรฐาน GAP ในนามเกษตรแปลงใหญ่   “ทุเรียนเมืองช้าง” …

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top