Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง🧐ประโยชน์ของแร่เกลือหิน🧂สู่โซเดียมแบตเตอรี่🔋 หลัง มข. ส่องมอบแบตฯ เสริม กองทัพ

เกลือหิน (rock salt) คือ ทรัพยากรแร่ตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเล เกลือหินหลากสี พบเหนือชั้นโพแทซ มีความหนาเฉลี่ย 3 เมตร มีสีต่างๆ เช่น สีส้ม แดง เทา ดำ และขาว เป็นชั้นสลับกัน และพบเฉพาะบริเวณที่มีชั้นโพแทซเท่านั้น และในปัจจุบันเเร่เกลือหินถูกนำไปใข้ประโยชน์ในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมแบตเตอรี่ . ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของอาเซียนในปี 2565 ซึ่งความสำเร็จครั้งนั้นนับเป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ ให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต . ภาตอีสานของเราก็ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญของวัตถุดิบหลักของแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน อย่างแร่เกลือหินเนื่องจากในภาคอีสานมีแหล่งแร่เกลือหินอยู่จำนวนมาก โดยครอบคลุมถึง 16 จังหวัดในภาคอีสาน โดยจังหวัดที่โดดเด่น มีแร่เกลือหินใต้ผิวดินมากกว่า 50% ได้แก่ หนองคาย: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 86% มหาสารคาม: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 85% นครพนม: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 79% ร้อยเอ็ด: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 66% สกลนคร: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 58% ยโสธร: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 53% แนวโน้มในอนาคตทั่วโลกให้ความสนใจในพลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งความต้องการของแบตเตอรี่ก็จะเพิ่มขึ้นควบคู่กันไป แต่แบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก แบตเตอรี่โซเดียมไอออนเป็นอีกหนึ่งในอนาคตของแบตเตอรี่ที่คาดว่าจะมีความปลอดภัยมากขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งจะสามารถช่วยทั้งโลก และมนุษย์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่เซเดียม-ไอออน ยังคงต้องการเวลาในการพัฒนาอีกไม่น้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้น มข. ส่งมอบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสนับสนุนกองทัพ เสริมความมั่นคงชายแดน พิธีส่งมอบ จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2568 เวลา 12.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี เป็นประธานในการส่งมอบ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน, รศ.นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ และพลตรี กิตติพงษ์ เนื่องชมภู ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่น เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณะทหารมณฑลทหารบกที่ 23 การสนับสนุนแบตเตอรี่ เพื่อการปฏิบัติการทางทหารนั้น เป็นรูปแบบการให้ยืมเป็นระยะเวลาชั่วคราว ประกอบด้วย 1. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 24V100Ah ซึ่งสามารถนำไปใช้งานสำหรับจั๊ม สตาร์ทเครื่องยนต์รถบรรทุก จำนวน 3 แพ็ก 2. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 24V50Ah ซึ่งสามารถนำไปใช้งานสำหรับจั๊ม สตาร์ทเครื่อยนต์ตระกูลนาโต้ จำนวน 3 แพ็ก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี (ยืนกลาง) รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือยาวนานกับกองทัพ และมณฑลทหารบกที่ 23 โดยมีความร่วมมือทั้งในลักษณะกึ่งทางการและเป็นทางการ […]

พามาเบิ่ง🧐ประโยชน์ของแร่เกลือหิน🧂สู่โซเดียมแบตเตอรี่🔋 หลัง มข. ส่องมอบแบตฯ เสริม กองทัพ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เปิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจังหวัดนครพนม

จังหวัดนครพนม พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทั้งหมด 395.22 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของพื้นที่ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นครั้งคราว มีน้ำท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี จำนวน 225.77 ตร.กม. รองลงมาได้แก่พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง มีน้ำท่วมขัง 4-7 ครั้ง ในรอบ 10 ปี จำนวน 136.88 ตร.กม. และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ 32.57 ตร.กม.   อำเภอท่วมมากเป็นอันดับ 1 คือ อำเภอ ศรีสงคราม มีพื้นที่อยู่ 671,317 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภออยู่ 24,289 หลังคาเรือน   อำเภอท่วมที่สุดเป็นอันดับ 2 คือ อำเภอ นาทม มีพื้นที่อยู่ 398,129 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภอยู่ 7,058 หลังคาเรือน   อำเภอท่วมเป็นอันดับ 3 คือ อำเภอ นาหว้า มีพื้นที่อยู่ 288,448 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภออยู่ 15,668 หลังคาเรือน   ย้อนเบิ่งเหตุการณ์น้ำท่วมสำคัญใน นครพนม เหตุการณ์น้ำท่วมสำคัญแม่น้ำโขงยังคงเป็นภัยสำคัญของจังหวัดนครพนม ชาวบ้านริมฝั่งยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ในปี 2561 เคยมีการเพิ่มระดับน้ำผิดปกติ ทำให้ชุมชนริมโขงต้องจัดเวรเฝ้าน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันน้ำท่วมซ้ำรอยเหตุการณ์ใหญ่ปี 2521 ซึ่งน้ำท่วมตลาดธาตุพนมเป็นเวลานานถึง 1 เดือน 🔎พาอัพเดตเบิ่ง แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอีสาน☔️🌧️🌊 อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 เหตุการณ์น้ำท่วมกลับมาอีกครั้ง แต่รุนแรงและส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อน โดยมีหลายอำเภอได้รับผลกระทบหนักทั้งน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ทำให้ประชาชนกว่า 11,000 คนต้องเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วมและความเสียหายที่มากกว่าในอดีต สาเหตุหลักยังคงเหมือนเดิม คือระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระบายน้ำจากฝั่ง สปป.ลาวที่ส่งผลให้ลำน้ำสาขาไม่สามารถระบายน้ำลงได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ต่ำริมแม่น้ำ จากเหตุการณ์ในอดีตถึงปัจจุบัน ชาวบ้านและหน่วยงานท้องถิ่นยังคงร่วมมือกันในการเฝ้าระวัง เตรียมพร้อมรับมือภัยน้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เหตุการณ์น้ำท่วมที่สำคัญล่าสุดที่เพิ่งเกิดไปในจังหวัดนครพนมเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 สาเหตุหลักมาจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลำน้ำสาขา เช่น ลำน้ำสงครามและลำน้ำอูน ไม่สามารถระบายลงแม่น้ำโขงได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและชุมชนในหลายอำเภอของจังหวัด พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ อำเภอบ้านแพง อำเภอนาหว้า และอำเภอศรีสงคราม โดยเฉพาะในอำเภอศรีสงคราม มีบางตำบลที่ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ส่งผลให้ประชาชนต้องอพยพและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในอำเภอบ้านแพง ระดับน้ำโขงเพิ่มขึ้นวันละ 10–15 เซนติเมตร ส่งผลให้บ้านเรือนริมน้ำถูกน้ำท่วม ประชาชนต้องอพยพและย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เสี่ยง พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 60,000 ไร่ ส่วนในอำเภอเมืองนครพนม

พามาเบิ่ง เปิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจังหวัดนครพนม อ่านเพิ่มเติม »

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠

ผ้าไหมเทียม ทะลักจาก ชายแดน ไทย-ลาว #กระทบอุตสาหกรรมผลิตและทอผ้าไหมในอีสาน ตัดราคา 10 เท่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐานพบ เป็นเส้นใยผสม เส้นใยพลาสติก ไม่ใช่ผ้าไหมแท้ ISAN Insight พามาเบิ่ง ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย . [ข้อมูลมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้า “หม่อนไหม” ภายในประเทศ] ปี 2564 ยังมีมูลค่าสูงถึง 6,614.12 ล้านบาท แบ่งเป็น รังไหม 273.50 ล้านบาท เส้นไหม 195.61 ล้านบาท ผ้าไหม 2,196.41 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม 3,803.96 ล้านบาท หม่อนผลสด 79.11 ล้านบาท ใบหม่อนชา, หม่อนอาหารสัตว์ 50.16 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 15.37 ล้านบาท ข้อมูลมูลค่าของอุตสาหกรรมจาก “หม่อนไหม” จะพบว่าอุตสาหกรรมนี้ตั้งแต่ปลูกม่อน> เลี้ยงหนอนไหม> สาวไหม> ถักเส้นใย> ย้อมสี> จนทอผ้า ออกมาเป็นผืน ทุกๆ ขั้นตอนล้วนเป็นห่วงโซ่คุณค่า ที่หล่อเลี้ยง ชาวบ้านใน สายห่วงโซ่อุปทานการผลิต 86,482 ครัวเรือน(กรมหม่อนไหม ปี 2565) โดยข้อมูลคาดการณ์จากข้อมูลกรมพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คาดการณณ์ว่าภาคอีสานเป็นแหล่งช่างฝีมือทอผ้าขนาดใหญ่ คาดว่ามีถึง 100,000-200,000 คน กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน ____________________________ [ความเป็นมาของท้องถิ่นสู่ผ้าไหมปักธงชัย] . สำหรับอำเภอปักธงชัย มีประวัติอันยาวนาน มีความสำคัญตั้งแต่สมัยกรงศรีอยุธยา โดยปรากฏวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านการแต่งกายหรือภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา โดยสมัยก่อนนั้นอำเภอปักธงชัย (เมืองปัก) เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครราชสีมา ในบริเวณดังกล่าวมาแต่โบราณ มีการทำนา ทำไร่ การปลูกหม่อน ปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งเป็นการพอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง หากมีเหลือก็จะนำไปแลกเปลี่ยนกันกับพ่อค้าคนกลาง ที่เรียกตัวเองว่า นายฮ้อย ซึ่งนายฮ้อยจะนำผ้าไหมไปขายยังพื้นที่ต่างๆ อำเภอปักธงชัย ถือเป็นแหล่งที่มีการผลิตผ้าไหมที่สำคัญที่สุดของจังหวัดนครราชสีมา และมีการผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จนมีการเรียกผ้าไหมที่ได้มีการผลิตในพื้นที่อำเภอปักธงชัยว่า “ผ้าไหมปักธงชัย” ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแหล่งผลิตผ้าไหมปักธงชัยเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมาเป็นอย่างมาก ลักษณะของผ้าไหมปักธงชัยที่ได้ผลิตตามกรรมวิธีและภูมิปัญญาตั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาคือ ผ้าพื้น ซึ่งทำการทอด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกี่กระตูก ผ้าไหมมีลักษณะเป็นผ้าสีพื้น (ผ้าพื้นเรียบ)ทอแบบ 2 ตะกอ ผ้าไหมมีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 นิ้ว เนื้อผ้าหนาแน่น สีคงทน ไม่ตก จนกระทั่งได้ทำการขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผ้าไหมปักธงชัย”

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠 อ่านเพิ่มเติม »

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา .อุบลฯ ปักหมุด “นิคมอุตสาหกรรม” 5,000 ล้านบาท จุดประกายเศรษฐกิจพลิกโฉมภูมิภาค รับแรงงานคืนถิ่น! อุบลราชธานี กำลังก้าวสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยศักยภาพ ด้วยการก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ณ อำเภอเดชอุดม ซึ่งเป็นโครงการยักษ์มูลค่า 5,000 ล้านบาท โครงการนี้ไม่ได้เป็นเพียงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หากแต่กำลังวางรากฐาน “โอกาส” และ “อนาคต” ที่จะเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจภาคอีสาน และวางตำแหน่งอุบลฯ ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงประเทศในกลุ่ม CLMV พร้อมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไร้ขีดจำกัด.พื้นที่รวม 1,748 ไร่ ของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการลงทุนและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของภาคอุตสาหกรรม โดยมีพื้นที่โรงงานมากถึง 1,230 ไร่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการผลิต พื้นที่สาธารณูปโภคกว่า 300 ไร่ เพื่อรองรับการดำเนินงานที่ราบรื่น รวมถึงพื้นที่พาณิชย์และออฟฟิศขนาด 10 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจและบริการ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชนกว่า 209 ไร่ ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม นอกจากการแบ่งส่วนพื้นที่ดังกล่าวแล้ว นิคมฯ แห่งนี้ยังแบ่งออกเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมทั่วไปและเขตปลอดภาษี เพื่อเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้.การขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี คือการมุ่งเน้นดึงดูดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ที่สอดรับกับกระแสพลังงานสะอาดและนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของโลกและประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรพิมพ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตอบรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีความต้องการสูงในตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตยางรถทางการเกษตร ที่สามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบหลักในท้องถิ่นอย่างยางพารา และตอบสนองความต้องการของภาคเกษตรกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสุดท้ายคือ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งจะต่อยอดศักยภาพด้านวัตถุดิบทางการเกษตรและอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของภาคอีสาน เพื่อนำไปแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่ตลาดสากล การก่อสร้างเฟสแรก 1,000 ไร่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปี ซึ่งจะเปิดรับสมัครพนักงานต่อไป เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกต่อตลาดแรงงานในภูมิภาคที่กำลังจะคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด.โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีนี้มิได้เป็นเพียงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แต่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างผลประโยชน์รอบด้าน ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะพลิกโฉมอุบลราชธานีและภาคอีสาน การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการลงทุนภายในประเทศ จะสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เม็ดเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท จะเป็นตัวกระตุ้นภาคการก่อสร้าง ภาคบริการ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างงานมากกว่า 20,000 อัตรา ซึ่งเป็นการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยตรง ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานในเมืองใหญ่ และยังเป็นโอกาสทองสำหรับ “แรงงานคืนถิ่น” ที่อยากกลับมาทำงานในบ้านเกิด การลงทุนนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานยุคใหม่.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีจะกลายเป็น “ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งอีสาน” ที่สำคัญยิ่ง ด้วยทำเลที่ตั้งอันได้เปรียบ ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เวียดนาม และเมียนมา) และยังได้รับการสนับสนุนจากโครงข่ายคมนาคมที่ทันสมัย ทั้งรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่จะช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระดับนานาชาติ การลดต้นทุนการขนส่งจะส่งผลให้สินค้าจากไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาด CLMV ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง บทบาทนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขนส่งสินค้าสำเร็จรูป แต่ยังรวมถึงการเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่สามารถส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประกอบหรือแปรรูปขั้นสุดท้าย และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่มีพื้นที่เชิงพาณิชย์และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ จากผู้ประกอบการ SMEs จะช่วยให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีต้นทุนต่ำและสามารถแข่งขันได้.นอกจากนี้

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา อ่านเพิ่มเติม »

‘สงคราม ส่งด่วน’ ฉบับชีวิตจริง พามาฮู้จัก ‘คมสันต์ แซ่ลี’ จากเด็กดอยสู่บัลลังก์เจ้าพ่อโลจิสติกส์หมื่นล้าน

จากกระแสซีรีส์ “สงครามส่งด่วน Mad Unicorn (2025)” กำลังเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์บน Netflix เรื่องราวการต่อสู้ของสตาร์ทอัพขนส่งด่วนที่เริ่มต้นจากศูนย์ สู่การเป็นผู้นำตลาด ได้จุดประกายความอยากรู้ถึงบุคคลเบื้องหลังแรงบันดาลใจนั้น นั่นคือ “คมสันต์ แซ่ลี” หรือ “คมสันต์ ลี” ผู้ก่อตั้ง Flash Express ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ชีวิตจริงไม่แพ้ในซีรีส์ และกำลังถูกถ่ายทอดสู่สายตาผู้ชมโดยนักแสดงมากฝีมืออย่าง ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ ในบทบาท “สันติ แซ่ลี”   จากดอยวาวี สู่สมรภูมิธุรกิจ จุดเริ่มต้นของ ‘คมสันต์ แซ่ลี’ คมสันต์ ลี เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2534 บนดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ลูกชายคนโตของครอบครัวนักธุรกิจและครูสอนภาษาจีน พื้นเพที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ได้หล่อหลอมให้เขามีความมุ่งมั่นและกล้าที่จะแตกต่าง เส้นทางชีวิตของเขาเริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการนำเข้าสินค้าจากจีนมาขายให้นักศึกษา พร้อมกับการทำงานพาร์ตไทม์เป็นทั้งพนักงานบริษัทจีนและครูสอนภาษาจีน ประสบการณ์เหล่านี้คือบทเรียนแรกที่ปูทางสู่โลกธุรกิจอันกว้างใหญ่ หลังเรียนจบ คมสันต์ไม่รอช้าที่จะกระโดดเข้าสู่โอกาสใหม่ เขาเริ่มต้นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับชาวจีนที่เชียงใหม่ โดยทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์หรือนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต เพียงแค่ปีเศษ เขาสามารถสร้างกำไรได้สูงถึงกว่า 100 ล้านบาท นี่คือ “ต้นทุน” ก้อนโตที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่เม็ดเงิน แต่เป็น “ความกล้า” และ “วิสัยทัศน์” ที่ผลักดันให้เขาก้าวเข้าสู่แวดวงธุรกิจขนส่งอย่างเต็มตัว   4 T Express บทเรียนแรกในตลาดจีน สู่การมองเห็นโอกาสในไทย ด้วยทุนตั้งต้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คมสันต์ได้ก่อตั้ง 4 T Express (โฟร์ ที เอ็กซ์เพรส) ในปี 2555 โดยเป็นบริษัทโลจิสติกส์ที่เชี่ยวชาญการจัดส่งสินค้าจากทั่วโลกกระจายไปยังเมืองต่างๆ ในประเทศจีน ตลอดระยะเวลาประมาณ 3 ปีที่ดำเนินธุรกิจนี้ เขาไม่ได้เพียงแต่สั่งสมประสบการณ์ แต่ยังสร้างผลกำไรที่น่าทึ่งถึง 20-30 ล้านบาทต่อเดือนในรูปของเงินปันผลให้แก่หุ้นส่วน ประสบการณ์ในตลาดจีนนี่เองที่ทำให้คมสันต์มองเห็น “ช่องว่าง” และ “โอกาส” มหาศาลในประเทศไทย ในราวปี 2560 เขาเริ่มศึกษาตลาดโลจิสติกส์ไทยอย่างจริงจัง และพบว่าแม้ประเทศไทยจะมีพื้นที่เล็กกว่าจีนหลายเท่า แต่ค่าขนส่งกลับแพงกว่าอย่างน่าตกใจ ยิ่งไปกว่านั้น ระบบบริการในไทยยังบังคับให้ผู้บริโภคต้องไปเข้าแถวรอส่งสินค้าที่จุดบริการ ในขณะที่จีนมีบริการรับสินค้าถึงหน้าบ้าน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าตลาดไทยยังขาดผู้เล่นที่นำเสนอบริการที่เข้าถึงง่าย สะดวก และราคาเข้าถึงได้ นี่คือวิกฤติที่คมสันต์มองเห็นเป็นโอกาสทอง   “แฟลช เอ็กซ์เพรส” การปฏิวัติวงการขนส่งไทย Flash Express ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ภายใต้โมเดลธุรกิจที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยไม่รับทั้ง “Out Source” และไม่ใช้ระบบ “แฟรนไชส์” เพื่อควบคุมคุณภาพการบริการอย่างเบ็ดเสร็จ และที่สำคัญคือการลงทุนมหาศาลกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบ “หลังบ้าน”

‘สงคราม ส่งด่วน’ ฉบับชีวิตจริง พามาฮู้จัก ‘คมสันต์ แซ่ลี’ จากเด็กดอยสู่บัลลังก์เจ้าพ่อโลจิสติกส์หมื่นล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่งความลับ Darkweb ‘ข้อมูลคนไทย’ กำลังถูกซื้อขาย! เมื่อไทยติด 1 ใน 10 ประเทศที่ข้อมูลรั่วไหลสูงสุด

วิกฤตไซเบอร์โลก เมื่อ ‘ไทย’ ตกเป็นเป้าหมายสำคัญในสมรภูมิใต้เงา Darkweb ภัยคุกคามที่ซับซ้อนเกินกว่าที่คิด รายงาน High-Tech Crime Trends จาก Group-IB เผยข้อมูลว่า อาชญากรรมไซเบอร์ไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์โดดเดี่ยวอีกต่อไป แต่คือเครือข่ายที่ซับซ้อนและมีการโจมตีที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย กำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลายและรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หนึ่งในรูปแบบการโจมตีที่น่ากังวลที่สุดคือ Advanced Persistent Threat (APT) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 58% ระหว่างปี 2023-2024 โดยมีกว่า 20% ของการโจมตีเหล่านี้พุ่งเป้ามายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยตรง ในปี 2024 อินโดนีเซียขึ้นแท่นอันดับสองของภูมิภาคที่เผชิญการโจมตี APT มากที่สุด คิดเป็น 7% ของเหตุการณ์ทั้งหมด ตามมาด้วยมาเลเซีย 5% ความน่ากลัวของกลุ่ม APT ไม่ได้หยุดอยู่แค่การบุกรุกระบบ แต่ยังรวมถึงการก่ออาชญากรรมทางการเงินระดับโลก อย่างเช่นกรณีที่กลุ่ม Lazarus ซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือ ได้ขโมยสกุลเงินดิจิทัลกว่า 308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากแพลตฟอร์ม DMM ของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม 2024 ขณะเดียวกัน กลุ่ม APT น้องใหม่อย่าง DarkPink ก็กำลังสร้างความหวาดหวั่นจากการมุ่งเป้าโจมตีเครือข่ายรัฐบาลและกองทัพ เพื่อขโมยเอกสารลับ ติดตั้งมัลแวร์ผ่าน USB และเจาะเข้าถึงแอปพลิเคชันส่งข้อความบนเครื่องที่ถูกบุกรุก พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการลงทุนที่สูงและเป้าหมายที่ชัดเจนของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ ซึ่งอาจมีเบื้องหลังเป็นหน่วยงานรัฐสนับสนุนการจารกรรมข้อมูล   เปิดโลกมืดของ Initial Access Broker (IAB) และแรนซัมแวร์ จุดเชื่อมโยงที่น่ากลัว ความสำเร็จของอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการใช้บริการของ Initial Access Broker (IAB) หรือโบรกเกอร์ผู้เข้าถึงระบบ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจาะระบบและขายสิทธิ์การเข้าถึงเครือข่ายองค์กรเป้าหมายบนตลาดมืดของ Darkweb ในปี 2024 มีรายการขายสิทธิ์เข้าถึงระบบองค์กรโดย IAB เพิ่มขึ้นถึง 15% ทั่วโลก โดยมีจำนวนสูงถึง 3,055 รายการ และที่น่าตกใจคือ 427 รายการอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีอินโดนีเซีย ไทย และสิงคโปร์ เป็นสามประเทศที่ได้รับผลกระทบจากกรณีเหล่านี้คิดเป็น 6% นั่นหมายความว่า ข้อมูลขององค์กรไทยจำนวนมากกำลังถูกเปิดประมูลบนตลาดมืด  นอกจาก APT และ IAB แล้ว แรนซัมแวร์ ยังคงเป็นหนึ่งในรูปแบบอาชญากรรมไซเบอร์ที่ทำกำไรได้มากที่สุด การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 10% ทั่วโลกในปี 2024 โดยมีปัจจัยหนุนจากโมเดล Ransomware-as-a-Service (RaaS) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ถึง 467 ครั้ง โดยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ภาคการผลิต และบริการทางการเงิน คือเป้าหมายหลักของการโจมตี อีกทั้งยังพบว่ามีการสมัครพันธมิตรแรนซัมแวร์ในตลาดมืดเพิ่มขึ้น 44% สะท้อนถึงการเติบโตของอาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนมากขึ้น   ภัยเงียบที่ร้ายแรง ข้อมูลรั่วไหล

พาเปิดเบิ่งความลับ Darkweb ‘ข้อมูลคนไทย’ กำลังถูกซื้อขาย! เมื่อไทยติด 1 ใน 10 ประเทศที่ข้อมูลรั่วไหลสูงสุด อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อเงินดอลลาร์หลั่งไหลสู่อีสาน! พามาเบิ่ง สหรัฐฯ ทุ่มทุนกว่า 3.4 พันล้านบาท กระจายอยู่จังหวัดไหนบ้าง

เงินดอลลาร์หลั่งไหลอีสาน การลงทุนสหรัฐฯ 3.4 พันล้านบาท ใครรุ่ง? ใครร่วง? จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ากว่า 97% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดจากสหรัฐฯ มุ่งไปที่ “ภาคการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล” ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการย้ายฐานการผลิต หรือการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (ICT) มายังประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานที่มีศักยภาพด้านแรงงานและต้นทุนที่แข่งขันได้ การลงทุนที่เหลืออีก 2% อยู่ในภาคบริการ (การให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ) และ 1% ในภาคการค้า (การขายส่งข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโรงสีข้าว) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนจากสหรัฐฯ ครั้งนี้มีเป้าหมายหลักที่การสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรม มากกว่าการค้าและบริการทั่วไป   แชมป์ผู้รับการลงทุน นครราชสีมากับบทบาทประตูสู่อีสาน การที่ จังหวัดนครราชสีมา กวาดเม็ดเงินลงทุนไปสูงถึง 2,890 ล้านบาท ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากพิจารณาจากศักยภาพและบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัด นครราชสีมาเป็นเสมือน “ประตูสู่ภาคอีสาน” ที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบครัน ทั้งด้านคมนาคมขนส่ง (ถนนสายหลัก, รถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ที่กำลังพัฒนา) การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนจากต่างชาติอยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะในระดับหนึ่ง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริมการลงทุนที่รองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้โคราชมีความได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุนในภาคการผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ซึ่งต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวย   ดาวเด่นรองลงมา สุรินทร์-ขอนแก่นกับบทบาทที่แตกต่าง จังหวัดสุรินทร์ มีมูลค่าการลงทุนกว่า 278 ล้านบาท ซึ่งอาจสร้างความประหลาดใจเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดใหญ่อื่นๆ อย่างขอนแก่นหรืออุดรธานี การลงทุนในสุรินทร์อาจชี้ให้เห็นถึงการกระจายตัวของฐานการผลิต โดยมีบริษัท เอชบีไอ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 277 ล้านบาท ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตเสื้อผ้าชั้นนอก ขณะที่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของภาคอีสาน กลับได้รับเม็ดเงินลงทุน 176 ล้านบาท น้อยกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้เมื่อเทียบกับศักยภาพในภาพรวมของจังหวัด อย่างไรก็ตาม ขอนแก่นอาจมีความโดดเด่นในภาคบริการ การศึกษา และการแพทย์มากกว่าภาคการผลิตหนักๆ การลงทุนในขอนแก่นจึงอาจมุ่งเน้นไปที่ภาคบริการ เช่น การให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งเป็นรากฐานของ Smart City ที่ขอนแก่นกำลังผลักดันอยู่ การที่เม็ดเงินลงทุนด้านการผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลไปลงที่โคราชมากกว่า อาจบ่งชี้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมหนักของขอนแก่นยังไม่เทียบเท่า หรือบริษัทผู้ลงทุนมีซัพพลายเชนเดิมอยู่ในพื้นที่โคราชอยู่แล้วนั่นเอง   การลงทุนจากสหรัฐฯ ในภาคอีสานครั้งนี้จะช่วยยกระดับภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งเน้นที่การผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล จะช่วยยกระดับขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมของอีสาน จากฐานเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ การสร้างงานที่มีมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาทักษะแรงงานในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะยังกระจุกตัวอยู่ในนครราชสีมาเป็นหลัก แต่การที่จังหวัดอื่นๆ ได้รับส่วนแบ่งบ้างก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแรงงานในจังหวัดรองๆ มากขึ้น การลงทุนจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในการลงทุนในภูมิภาคอีสาน ซึ่งอาจเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนจากประเทศอื่นๆ หรือจากภาคเอกชนไทยให้เข้ามาเพิ่มเติมในอนาคตนั่นเอง     อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business

เมื่อเงินดอลลาร์หลั่งไหลสู่อีสาน! พามาเบิ่ง สหรัฐฯ ทุ่มทุนกว่า 3.4 พันล้านบาท กระจายอยู่จังหวัดไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

สมรภูมิเดือด! เขตแดนทับซ้อน เปิดตำนาน “ช่องบก” หรือ สามเหลี่ยมมรกต จุดชนวนไทย-กัมพูชา พร้อมข้อตกลงล่าสุด

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงปะทะจากชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณ “ช่องบก” จังหวัดอุบลราชธานี ได้ปลุกความกังวลขึ้นอีกครั้ง เสียงที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05.30 น. จากรายงานของหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี ที่ระบุถึงการวางกำลังของทหารกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิ์ และการใช้อาวุธก่อน ทำให้ฝ่ายไทยต้องตอบโต้ นับเป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำว่า “ช่องบก” ไม่ได้เป็นเพียงชื่อสถานที่ แต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และยุทธศาสตร์อันซับซ้อนที่ยังคงส่งผลสะเทือนมาถึงปัจจุบัน ช่องบก ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการขนานนามว่า “สามเหลี่ยมมรกต” (Emerald Triangle) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมต่อชายแดนสามประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และกัมพูชา การบรรจบกันของสามดินแดนนี้ ทำให้ช่องบกกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่งยวด ย้อนกลับไปในอดีต ช่องบกเคยเป็น “สมรภูมิช่องบก” อันดุเดือดในช่วงปี พ.ศ. 2528-2530 ซึ่งเป็นการปะทะโดยตรงระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพเวียดนามที่เข้ายึดครองกัมพูชาในขณะนั้น การต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยครั้งนั้น ต้องแลกมาด้วยความสูญเสียชีวิตของทหารหาญไทยกว่า 109 ชีวิต ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจถึงราคาของเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดน พื้นที่ “สามเหลี่ยมมรกต” ครอบคลุมประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร โดยจุดหลักของช่องบกอยู่ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และเชื่อมโยงไปยังจังหวัดศรีสะเกษของไทย แขวงจำปาศักดิ์และแขวงสาละวันของลาว รวมถึงจังหวัดพระวิหาร จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดสตึงเตร็งของกัมพูชา แม้เวลาจะผ่านมาหลายสิบปี แต่ช่องบกยังคงเป็น “พื้นที่ชายแดนที่มีข้อพิพาทและพื้นที่ทับซ้อน” ในเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นชนวนสำคัญที่อาจนำไปสู่ความตึงเครียดหรือการปะทะกันได้เป็นครั้งคราว ปัจจัยหลักที่ยังคงคุกคามสันติภาพในพื้นที่นี้ประกอบด้วย พื้นที่พิพาทที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจน ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิในพื้นที่และเป็นที่มาของความขัดแย้ง การเคลื่อนไหวทางทหาร เนื่องจากทั้งสองประเทศยังคงมีการตรึงกำลังทหารเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันอธิปไตยของตนเอง ความเข้าใจผิดหรือการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน ระหว่างเจ้าหน้าที่ภาคสนาม ซึ่งอาจนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะโดยไม่ตั้งใจได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยและพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่ได้อยู่ในแนวชายแดนพิพาทโดยตรง “ถือว่าปลอดภัย” และยังคงสามารถท่องเที่ยวได้ตามปกติ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้อง “ห้ามเข้า” พื้นที่ที่ประกาศว่าเป็นเขตหวงห้ามหรือเขตอันตรายโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจมีการวางทุ่นระเบิดเก่าที่หลงเหลือจากอดีต หรือเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของทหารที่ยังคงมีการเคลื่อนไหว ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ล่าสุด ผู้บัญชาการทหารบกไทยได้เข้าหารือกับ พล.อ. เมา โซะพัน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกกัมพูชา ณ จุดประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม การหารือครั้งนี้มุ่งเน้นการเจรจาด้วยสันติวิธี เนื่องจากทหารทั้งสองฝ่ายยังคงวางกำลังในลักษณะเผชิญหน้ากัน เบื้องต้นได้ข้อตกลง 3 ข้อ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ความตึงเครียด ได้แก่ การเร่งรัดการแก้ปัญหาเขตแดนในรูปแบบคณะกรรมการปักปันเขตแดน (JBC) ซึ่งจะดำเนินการภายใน 2 สัปดาห์ การให้กำลังพลถอยออกจากจุดปะทะ 200 เมตร เพื่อลดโอกาสการเผชิญหน้า การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับหน่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะซ้ำในพื้นที่อีก   ผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจจากเหตุการณ์การปะทะกันในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นคลื่นใต้น้ำที่น่ากังวล แม้ข้อตกลงเบื้องต้นจะดูเป็นสัญญาณที่ดี แต่เหตุการณ์ปะทะที่ช่องบกนี้ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาคอีสาน และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นประตูด่านหน้า ไม่ว่าจะเป็น การค้าชายแดนที่ต้องหยุดชะงักและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ช่องบกและพื้นที่เชื่อมโยงเป็นเส้นเลือดหลักของการค้าขายกับลาวและกัมพูชา เมื่อเกิดความตึงเครียดขึ้น ย่อมสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุน การขนส่งสินค้าอาจต้องหยุดชะงัก หรือประสบความล่าช้าจากการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นบริเวณด่านชายแดน สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานให้กับธุรกิจนำเข้าและส่งออก และอาจทำให้มูลค่าการค้าลดลง หรือแม้กระทั่งภาคการท่องเที่ยวที่เปราะบางกว่าที่คิด แม้ทางการจะยืนยันว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ปลอดภัย

สมรภูมิเดือด! เขตแดนทับซ้อน เปิดตำนาน “ช่องบก” หรือ สามเหลี่ยมมรกต จุดชนวนไทย-กัมพูชา พร้อมข้อตกลงล่าสุด อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ส่งออกสะดุด ทุเรียนเวียดนามเบนเข็มเข้าตลาดไทย หวั่นใช้เป็นฐานการส่งออก

ฮู้บ่ว่า เวียดนาม การส่งออกทุเรียนเวียดนามในไตรมาสที่ 1 เพิ่มสัดส่วนการส่งออกมายังไทยเพิ่มขึ้น ทดแทนการพึ่งพาจากตลาดจีนเพียงที่เดียว สร้างขอสังเกตุเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกทุเรียนโดดเด่นอยู่แล้ว หวั่นเวียดนามต้องการใช้ไทยเป็นทางผ่านก่อนส่งออกเข้าไปจีน ในไตรมาสแรกของปี 2025 เวียดนามส่งออกทุเรียนได้ประมาณ 26,900 ตัน คิดเป็นมูลค่า 98.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 53% ในด้านปริมาณ และ 61% ในด้านมูลค่า ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 3,655 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 18% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักของการหดตัวดังกล่าวมาจาก การเข้มงวดด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักที่รองรับทุเรียนเวียดนามมากกว่า 90% โดยเฉพาะหลังจากมีรายงานพบสาร “สีเหลือง O” ในทุเรียนบางล็อตที่นำเข้าจากไทยช่วงต้นปี ทำให้จีนเข้มงวดกับทุเรียนจากทุกประเทศมากขึ้น เวียดนามก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดทุเรียนจีนอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากจีนอนุมัติให้นำเข้าทุเรียนจากเวียดนามอย่างเป็นทางการในปี 2565 โดยเวียดนามได้เปรียบทั้งด้าน ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า, ระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่า, และ ฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ต่างจากไทย ทำให้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดจีนได้ต่อเนื่อง ทุเรียนเวียดนามบุกตลาดจีน คู่แข่งสำคัญของไทยในเวลาเพียง 3 ปี แม้ว่าการนำเข้าทุเรียนจากไทยจะยังคงมีอยู่ในระดับสูง แต่สัดส่วนของเวียดนามในตลาดจีนก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จาก 5% ในปี 2022 เป็น 32% และล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 42% ส่งผลให้ไทยซึ่งเคยครองตลาดเพียงรายเดียวต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อจำกัดด้านมาตรการนำเข้าของจีน ทำให้เวียดนามต้องกระจายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ ประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นปลายทางใหม่ที่มีสัดส่วนการนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม สูงถึง 26% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเวียดนามในไตรมาสแรกของปี 2025     ทุเรียนเวียดนามส่งออกไปไทยมากถึง 26% ของส่งออกรวม ยอดส่งออกทุเรียนของเวียดนามไตรมาสแรกปีนี้ลดลงจากปีก่อนถึง 53% ในแง่ปริมาณน้ำหนัก เนื่องจากจีนลดการซื้อลงแต่กระนั่นตัวเลขการส่งออกหลักของเวียดนามยังเป็นประเทศจีน ถึง 51% ของภาพรวม ลำดับสองทุเรียนเวียดนามส่งไปไทย 26% และลำดับสามส่งไปฮ่องกง 11% ราคาเฉลี่ยสามเดือนแรกปีนี้ 3,655 USD/ตัน, ต่ำกว่าปีก่อน 18% เป็นที่น่าแปลกใจว่าไทยและเวียดนามต่างเป็นผู้ผลิตทุเรียนเหมือนกันแต่มีทุเรียนเวียดนามส่งไปไทยแล้วถึง 26% ของการส่งออกรวม ประเด็นนี้สร้างข้อสังเกตสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยเองเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายหลักของโลก การนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามในระดับสูงเช่นนี้จึงก่อให้เกิดความกังวลว่า เวียดนามอาจใช้ไทยเป็นทางผ่าน (transit point) เพื่อส่งต่อไปยังจีนในลักษณะ re-export โดยอาศัยต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาและภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยในตลาดโลก สถานการณ์ดังกล่าวจึงสะท้อนถึงความจำเป็นที่ไทยต้อง ตรวจสอบแหล่งที่มาของทุเรียนอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าและการใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกโดยมิชอบ พร้อมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือในฐานะผู้ส่งออกทุเรียนคุณภาพของภูมิภาคต่อไป จากกาแฟแพง สู่ทุเรียนถูก บทเรียนเกษตรกร เมื่อเวียดนามหันมาปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการหดตัวลงของการปลูกกาแฟ ทุเรียน 3 ชาติสวมสิทธิ์ทุเรียนไทย ส่งออก สารพัดปัญหา-กดราคาต่ำสุดในรอบ 5 ปี ราคาทุเรียนต่ำกว่า 100 บาท/กก. ดิ่ง 90-95 บาท/กก. เหตุจีนเจอ

พามาเบิ่ง ส่งออกสะดุด ทุเรียนเวียดนามเบนเข็มเข้าตลาดไทย หวั่นใช้เป็นฐานการส่งออก อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง🌈PROUD อีหลี “อีสานไพรด์” แผนที่อีสาน #ม่วนหลายPridemonth 2025🏳️‍🌈

17 เทศกาล อีสานไพรด์ ทั่วภาคอีสาน ปี 2568 มัดรวมพิกัดสถานที่เฉลิมฉลอง Pride Month เทศกาลแห่งสีสันและความภาคภูมิใจของเหล่า LGBTQ+ ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศไทย ตลอดเดือนมิถุนายน 2567 นี้ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น! ร่วมสนับสนุนความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศไปพร้อมๆ กัน #ม่วนหลายPridemonth บุญบั้ง Pride Yasothon จัดพร้อมงานบุญบั้งไฟ เมื่อ 17-18 พฤษภาคม 2568 Loei Pride Month 2025 จ.เลย 7 มิถุนายน 2568 ศีขรภูมิไพรด์ (อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์)  7 มิถุนายน 2568 ซะเร็นไพรด์ (จ.สุรินทร์) 14 มิถุนายน 2568 UBON PRIDE (จ.อุบลราชธานี) 14 มิถุนายน 2568 Korat Pride (จ.นครราชสีมา)  7, 8, 14 มิถุนายน 2568 อุดรธานีไพรด์ (จ.อุดรธานี)  21 มิถุนายน 2568 บุรีรัมย์ไพรด์ (จ.บุรีรัมย์) 21-22 มิถุนายน 2568 ศรีสะเกษไพรด์ (จ.ศรีสะเกษ) 22 มิถุนายน 2568 มหาสารคามไพรด์ MahaPride (จ.มหาสารคาม) 23 มิถุนายน 2568 ปราสาทไพรด์ (อ.ปราสาท จ.สุรินทร์) 27 มิถุนายน 2568 หอแก้วสีรุ้ง Mukdahan Pride Festival 2025 (จ.มุกดาหาร) 27 มิถุนายน 2568 หนองบัวลำภูไพรด์ (จ.หนองบัวลำภู) 28 มิถุนายน 2568 เขมราฐไพรด์ (จ.อุบลราชธานี) 28 มิถุนายน 2568 สาเกตไพรด์ (จ.ร้อยเอ็ด) 28 มิถุนายน 2568 อีสานไพรด์เฟสติวัล(จ.ขอนแก่น) และ ขอนแก่นไพรด์ 30 มิถุนายน 2568 ชัยภูมิไพรด์ (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ) 29 มิถุนายน 2568 สกลสีรุ้ง Sakonpride2025 (จ.สกลนคร) 28 – 29

ชวนมาเบิ่ง🌈PROUD อีหลี “อีสานไพรด์” แผนที่อีสาน #ม่วนหลายPridemonth 2025🏳️‍🌈 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top