Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง🧐การค้าชายแดนไทย – กัมพูชาเสี่ยงชะลอตัว หากต้องปิดด่านระยะยาว

ฮู้บ่ว่าหากไทยและกัมพูชามีการปิดด่านการค้าชายแดนอย่างเต็มรูปแบบ อาจทำให้การค้าระหว่างไทย และกัมพูชากว่า 40% ต้องชะลอตัวลง   มููลค่าการค้าปี 2568 (ม.ค. – เม.ย.) มูลค่าการค้าทั้งหมด มูลค้าการค้าชายแดน มูลค่าการค้าช่องทางอื่นๆ นำเข้า 17,900 14,387 3,513 ส่งออก 108,383 50,225 58,158 มูลค่าการค้า 126,283 64,612 61,671   ด่านการค้าสำคัญ ส่งออก (ลบ.) นำเข้า (ลบ.) ศก. อรัญประเทศ (สระแก้ว) 30,576 11,865 ศก. คลองใหญ่ (ตราด) 9,707 1,328 ศก. จันทบุรี (จันทบุรี) 9,036 982 ศก. ช่องจอม (สุรินทร์) 900 1,992   สถานการณ์ตึงเครียดเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 จากกรณีข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ชายแดนช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีรายงานเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา โดยกองทัพบกไทยระบุว่าทหารกัมพูชาได้เข้ามาขุด “ช่องคูเลต” หรือร่องสนามเพาะ เตรียมตั้งแนวรบในพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ ส่งผลให้เกิดการยิงตอบโต้กันนานราว 10–25 นาที ในช่วงเช้ามืดของวันดังกล่าว มีรายงานว่าทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวว่าอีกฝ่ายเป็นผู้เริ่มยิงก่อน   . ส่งผลให้ในวันที่ 7 มิถุนายน 2025 ผู้บัญชาการทหารบกได้ออกคำสั่งที่ 806/2568 ซึ่งประกาศใช้มาตรการควบคุมการเปิด–ปิดด่านอย่างเป็นทางการ ‒ เริ่มจากการจำกัดการผ่านแดนเฉพาะกรณีจำเป็น (เช่น การค้า แรงงาน) ลดเวลาทำการ และค่อยๆ ปิดจุดที่มีความเสี่ยงสูง โดยในปัจจุบัน ณ วันที่ 16/6/2568 มีด่านการค้าจำนวนมากที่มีการควบคุมเวลาเปิดทำการ เช่น จุดผ่านแดน ไทย – กัมพูชาในจังหวัดสระแก้ว จุดผ่านแดนถาวร บ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวร สะพานมิตรภาพไทย – กัมพูชา จุดผ่อนปรนการค้า บ้านหนองปรือ เป็นต้น รวมถึงในพื่นที่จังหวัดอื่นๆ อย่าง บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตราด จันทบุรี ซึ่งอาจเป็นผลทำให้การนำเข้า ส่งออกสินค้า การเดินทางของนักท่องเที่ยว และการโยกย้ายของแรงงานทำได้ยากมากขึ้น   มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ของไทย และกัมพูชา ในเดือน มกราคม ถึงเดือนเมษายน คิดเป็นมูลค่ากว่า 64,612 […]

พามาเบิ่ง🧐การค้าชายแดนไทย – กัมพูชาเสี่ยงชะลอตัว หากต้องปิดด่านระยะยาว อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เพื่อนบ้าน GMS นิยมเข้าไทยผ่านด่านไหน

  จำนวนผู้ผ่านด่านบกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 68 สัญชาติ จำนวนคน 5 เดือนแรก 68 (คน) %YoY 5 เดือน ลาว 1,201,542 -13.0% กัมพูชา 475,690 -14.1% เวียดนาม 41,650 -19.6% เมียนมาร์ 34,924 332.0%   จังหวัด สัญชาติ จำนวนคน 5 เดือนแรก 68 %YoY 5 เดือน เลย ลาว 48,578 -6.8% หนองคาย ลาว 456,286 12.2% เวียดนาม 20,613 -10.0% บึงกาฬ ลาว 848 -34.1% นครพนม ลาว 36,853 -8.8% เวียดนาม 10,888 -30.9% มุกดาหาร ลาว 161,639 0.1% เวียดนาม 7,045 -25.5% อุบลราชธานี ลาว 118,760 12.6% เวียดนาม 3,104 -16.4% ศรีสะเกษ กัมพูชา 31,610 0.3% สุรินทร์ กัมพูชา 44,109 -25.8% สระแก้ว กัมพูชา 281,123 -3.1% ลาว 163,838 -37.1% จันทบุรี ลาว 147,089 -50.0% กัมพูชา 93,044 -35.9% ตราด กัมพูชา 25,804 -7.1% เชียงราย เมียนมาร์ 34924 332.0% ลาว 17271 22.7% พะเยา ลาว 26793 36.4% น่าน ลาว 16472 11.8% อุตรดิตถ์ ลาว 7115 -31.0% ที่มา: Travel Link เขตแดนประเทศดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สุดเขตแดนประเทศไทย พื้นที่ชายขอบของประเทศที่หลายคนอาจมองว่าไกลโพ้นและเงียบเหงา แท้จริงแล้วกลับเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง จุดบรรจบของผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา

พามาเบิ่ง เพื่อนบ้าน GMS นิยมเข้าไทยผ่านด่านไหน อ่านเพิ่มเติม »

จาก ‘หน้าฮ้าน’ สู่ ‘เงินล้าน พามาเบิ่ง 14 หมอลำหญิงเสียงทองแห่งแดนอีสาน

เสียงพิณเสียงแคนสะท้านโลก นักร้องหมอลำหญิง ปลดล็อก Soft Power อีสาน สู่มูลค่าเศรษฐกิจพันล้านบาท ภาคอีสาน ดินแดนแห่งวัฒนธรรมอันสวยงาม ไม่ได้มีเพียงข้าวเหนียวและทุ่งกุลาร้องไห้ แต่มี “หมอลำ” ที่เป็นมากกว่าการแสดงพื้นบ้าน แต่มันคือจิตวิญญาณแห่งวิถีชีวิตของคนอีสาน เป็นเครื่องมือสื่อสารเรื่องราวประวัติศาสตร์ สังคม และความรู้สึกนึกคิดของคนอีสาน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการที่หมอลำได้ขึ้นมาเป็น Soft Power อันทรงพลัง ที่ไม่เพียงสร้างความบันเทิง แต่ยังเป็นจักรกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจในภูมิภาคให้เติบโตอย่างมหาศาล    หมอลำ Soft Power อีสาน ที่หยั่งรากลึกและผลิบาน ในยุคที่ Soft Power ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หมอลำได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่นนี้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเนื้อหาที่เข้าถึงง่าย ดนตรีที่มีจังหวะเร้าใจ และการแสดงที่เต็มไปด้วยพลัง หมอลำได้ก้าวข้ามขีดจำกัดทางภูมิศาสตร์และภาษา ไม่ใช่แค่คนอีสานเท่านั้นที่หลงใหล แต่ยังขยายฐานแฟนคลับไปทั่วประเทศและในหมู่คนไทย รวมถึงชาวต่างชาติที่เริ่มให้ความสนใจ นักร้องหมอลำหญิง คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของ Soft Power ชิ้นนี้ ด้วยน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ ลีลาการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ และความสามารถในการสื่อสารอารมณ์ผ่านบทเพลง ต่างก็ได้กลายเป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันผ่านเสียงเพลง ไม่ว่าจะเป็น “ราชินีหมอลำ” ระดับตำนาน ไปจนถึงดาวรุ่งพุ่งแรงในยุคดิจิทัล พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้ขายเพียงบทเพลง แต่ขาย “ตัวตน” “เรื่องราว” และ “วิถีชีวิต” ที่สะท้อนความเป็นอีสานอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความผูกพันทางอารมณ์กับผู้ฟังอย่างลึกซึ้งนั่นเอง   จากเวทีสู่มูลค่าเศรษฐกิจ หมอลำสร้างเงินได้อย่างไร? การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของหมอลำนั้นมีความซับซ้อน แต่สามารถประมาณการณ์ได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า พันล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่านี้เกิดจากหลายภาคส่วนที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะหมอลำเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน ซึ่งธุรกิจการแสดงและคอนเสิร์ต นี่คือแหล่งรายได้หลักที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด วงหมอลำคณะใหญ่ๆ โดยเฉพาะวงที่มีนักร้องหมอลำหญิงและชายเป็นแม่เหล็กดึงดูด สามารถทำรายได้จากการเดินสายแสดงทั่วประเทศได้มหาศาลต่อปี ค่าจ้างแสดงของศิลปินเบอร์ต้นๆ และวงขนาดใหญ่ มีตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้านบาทต่อคืน หากรวมค่าใช้จ่ายในการจัดงาน เวที แสง สี เสียง ทีมงาน การขนส่ง และค่าบัตรเข้าชม จะเห็นว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือฤดูกาลการแสดง ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างแท้จริง หรือแม้กระทั่ง ธุรกิจบันเทิงดิจิทัลในยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มออนไลน์ได้กลายเป็นช่องทางสร้างรายได้มหาศาล นักร้องหมอลำหญิงหลายคนมีผู้ติดตามบน YouTube, TikTok, Facebook และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอื่นๆ เป็นจำนวนมาก รายได้จากยอดวิว โฆษณา การขายเพลงดิจิทัล การไลฟ์สด และการรับบริจาค (Super Chat/Sticker) เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างคอนเทนต์เบื้องหลัง การทำ Vlog ชีวิตส่วนตัว และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนคลับผ่านช่องทางดิจิทัล ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย สินค้าที่ระลึกและธุรกิจต่อเนื่อง ความนิยมของนักร้องหมอลำนำไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ระลึกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ โปสเตอร์ อัลบั้มเพลง หรือแม้กระทั่งสินค้าแบรนด์ของศิลปินเอง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น นอกจากนี้ ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น

จาก ‘หน้าฮ้าน’ สู่ ‘เงินล้าน พามาเบิ่ง 14 หมอลำหญิงเสียงทองแห่งแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 9 แหล่งน้ำชุมชน 3 จังหวัด ภาคอีสาน สิงห์อาสา จับมือ ม.ขอนแก่น ยกระดับคุณภาพชีวิต แหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน

รายงานแห่งชาติฉบับที่ 4 (NC4) ได้เผยให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด . จากข้อมูลในรายงาน พบว่า 7 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด มีความเสี่ยงสูงสุดต่อภัยความร้อน และจังหวัดนครราชสีมายังมีความเสี่ยงสูงสุดทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมอีกด้วย . ทั้งนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย ภาคการจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การปนเปื้อนของน้ำ และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครสวรรค์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ที่มีที่ตั้งโรงงาน อยู่ที่ จ.ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม ได้แก่ บจ.ขอนแก่นบริวเวอรี่ และ บจ.มหาสารคามเบเวอเรช มีแนวทางที่องค์กรธุรกิจใช้ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานการบำบัดน้ำเสียของโรงงาน รวมถึงไม่สร้างมลพิษทางน้ำ อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่โรงงานต้องใช้ร่วมกับชุมชน, นอกเหนือจากการแสวงหาผลกำไร บริษัทจึงให้ความสำคัญกับ “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร(CSR)” โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อชุมชน, สังคม, และสิ่งแวดล้อม และร่วมแก้ปัญหา และจัดการทรัพยากรน้ำ ภัยแล้ง และความสะอาดของแหล่งน้ำ ที่เป็นปัญหาในภาคอีสาน สิงห์อาสา ร่วมกับ ม. ขอนแก่น สร้างแหล่งน้ำชุมชนยั่งยืนภาคอีสานต่อเนื่องปีที่ 6 รองรับการใช้น้ำเพียงพอตลอดท้งปี สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าขยายโครงการสิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนปีที่ 6 ที่บ้านโนนรัง ต.สาวะถี อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่รองรับการใช้น้ำของชุมชนตลอดทั้งปี เป็นทั้งบ่อกักเก็บน้ำในฤดูฝน ป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งอย่างยั่งยืน โดยนับตั้งแต่ปี 2563 มีแหล่งน้ำชุมชนสิงห์อาสาในจังหวัดภาคอีสานถึง 8 แห่ง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ชาวบ้านมีน้ำใช้เพียงพอและยังสามารถใช้น้ำทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว พืชผัก ผลไม้ และยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชน สร้างรายได้เพราะมีปลาในบ่อให้ชาวบ้านจับเป็นอาหารได้ รวมถึงระบบน้ำประปาสามารถใช้งานได้ตลอดทั้งปี ปัญหา ‘ภัยแล้ง’ ​เป็นหนึ่งในความเดือดร้อนสำคัญของพี่น้อง​ภาคอีสานมาเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันจาก​ภาวะโลกเดือด ทั้งปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ทำให้ความรุนแรงของปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และสำหรับทำการเกษตรมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง​เป็นลูกโซ่ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต สุขภาพ รวมถึงรายได้ที่ไม่เพียงพอของผู้คนในพื้นที่ การมีแหล่งน้ำที่สะอาดในปริมาณที่เพียงพอ​​ จึงเป็นหนึ่งปัจจัยพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)​ จึงร่วมกับ “สิงห์อาสา” พร้อมด้วยบริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด บริษัทในเครือบุญรอดฯ และ เครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 สถาบัน สร้างสรรค์โครงการ “สิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน” ต่อเนื่องหลายปี เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี และยังทำหน้าที่เป็นบ่อกักเก็บน้ำและช่วยชะลอการหลากของน้ำในช่วงฤดูฝน ช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย

พามาเบิ่ง 9 แหล่งน้ำชุมชน 3 จังหวัด ภาคอีสาน สิงห์อาสา จับมือ ม.ขอนแก่น ยกระดับคุณภาพชีวิต แหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม »

มนต์เสน่ห์แห่งทุ่งปศุสัตว์ วิถีชีวิตและลมหายใจแห่งอีสาน

    จังหวัดในภาคอีสานที่มีรายได้เกินพันล้าน จังหวัด รายได้จากการเลี้ยงหมูเนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากภาคธุรกิจการเกษตรรวม (ล้านบาท) บุรีรัมย์ 2,122 8,513 13,351 นครราชสีมา 767 6,620 11,604 อุบลราชธานี 226 4,339 4,794 ชัยภูมิ 573 1,899 3,555 ขอนแก่น 1,334 2 3,659 สุรินทร์ 3 1,014 3,001   ภูมิภาค รายได้จากการเลี้ยงหมูเนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากภาคธุรกิจการเกษตรรวม (ล้านบาท) ภาคกลาง 43,142 42,783 131,993 กรุงเทพและปริมณฑล 27,694 48,307 121,291 ภาคอีสาน 6,414 22,559 42,975 ภาคใต้ 1,725 11,917 23,164 ภาคเหนือ 5,624 2,852 19,368   ตัวอย่างธุรกิจ จังหวัด ตัวอย่างธุรกิจ รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) อุบลราชธานี บริษัท ก้าวหน้าไก่สด จำกัด 4,339 160 ขอนแก่น บริษัท ทองอุไรพัฒนา จำกัด 1,163 -19 ชัยภูมิ บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์ม จำกัด 846 4 บุรีรัมย์ บริษัท สินพรพงศ์ จำกัด 700 8 นครราชสีมา บริษัท ไทยเจริญพัฒนาเกษตรผสมผสาน จำกัด 613 -21 สุรินทร์ บริษัท เคเอ 88 ฟาร์ม จำกัด 255 11 ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   สถานการณ์เนื้อสุกรและเนื้อไก่ของไทย และทิศทางตลาดโลก เนื้อไก่และเนื้อสุกรนับเป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายเมนูอาหารไทย รายงานจากกรมปศุสัตว์ระบุว่า ในปี 2565 คนไทยบริโภคเนื้อไก่เฉลี่ย 32.9 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประมาณ 2.7 กิโลกรัมต่อเดือน ขณะที่การบริโภคเนื้อสุกรเฉลี่ยอยู่ที่ 21.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประมาณ 1.8 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งสะท้อนถึงความแตกต่างด้านราคาที่ส่งผลต่อความสามารถในการเข้าถึง

มนต์เสน่ห์แห่งทุ่งปศุสัตว์ วิถีชีวิตและลมหายใจแห่งอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

จาก “วอชิงตัน” สู่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” พาเปิดเบิ่ง 15 โรงงาน “ทุนสหรัฐฯ” ปักธงอีสาน

สหรัฐฯเข้ามาลงทุนธุรกิจในภาคอีสานมูลค่ากว่า 3,420 ล้านบาท โดยกว่า 97% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดจากสหรัฐฯ มุ่งไปที่ “ภาคการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล” ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการย้ายฐานการผลิต หรือการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (ICT) มายังประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานที่มีศักยภาพด้านแรงงานและต้นทุนที่แข่งขันได้ การลงทุนที่เหลืออีก 2% อยู่ในภาคบริการ (การให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ) และ 1% ในภาคการค้า (การขายส่งข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโรงสีข้าว) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนจากสหรัฐฯ ครั้งนี้มีเป้าหมายหลักที่การสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรม มากกว่าการค้าและบริการทั่วไป การหลั่งไหลของการลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานยักษ์ใหญ่ถึง 15 แห่งเข้ามาปักธงในพื้นที่ ข้อมูลนี้ไม่ใช่เพียงตัวเลขการลงทุน แต่คือสัญญาณที่กำลังปรับเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจไทย และการมองเห็นศักยภาพที่ซ่อนเร้นในพื้นที่ที่เคยถูกมองข้ามในอดีต   ทำไมอีสานถึงเป็นแม่เหล็กดึงดูดทุนสหรัฐฯ? การตัดสินใจเข้ามาลงทุนของ 15 โรงงานสหรัฐฯ ในภาคอีสาน ซึ่งกระจายตัวอยู่ในจังหวัดสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เพราะมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่สนับสนุนการตัดสินใจนี้อย่างน่าสนใจ การที่บริษัทสัญชาติอเมริกันหันมาลงทุนในภูมิภาคอย่างอีสาน สะท้อนแนวโน้มที่ชัดเจนของการกระจายฐานการผลิตออกจากการพึ่งพาจีนเพียงแหล่งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ลดผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และลดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก ภาคอีสานจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีต้นทุนแรงงานที่ยังคงแข่งขันได้ มีโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือความมั่นคงทางการเมือง ดังนั้น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Kyocera หรือผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปชั้นนำอย่าง Hanes Brands Inc. จึงเข้ามาเพื่อสร้าง Supply Chain Resilience ให้กับเครือข่ายการผลิตของตัวเอง หรือแม้กระทั่ง การเข้าถึงตลาดของกลุ่ม CLMV และ GMS ถึงแม้ข้อมูลจะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าการลงทุนทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งออกเป็นหลัก แต่การที่โรงงานเหล่านี้ตั้งอยู่ในภาคอีสาน ซึ่งมีพรมแดนติดกับ สปป.ลาว และกัมพูชา ย่อมทำให้การเข้าถึงตลาด CLMV ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นไปได้โดยสะดวก และยังสามารถใช้ประเทศไทยเป็นประตูในการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายขึ้น การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่อาหารและเครื่องดื่ม (Mondelez) ยางรถยนต์ (Sumitomo Riko) ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ (Amcor Flexibles) อาจสะท้อนการมองเห็นศักยภาพของตลาดผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของภาคอีสาน คือ ศักยภาพด้านแรงงานและต้นทุนที่แข่งขันได้ ภาคอีสานมีประชากรจำนวนมากและมีต้นทุนแรงงานที่ยังคงสามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่างภาคตะวันออก อย่างไรก็ตาม การลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี จะนำมาซึ่งการยกระดับทักษะแรงงานในพื้นที่ และการเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาวนั่นเอง แม้ว่าโรงงานเหล่านี้อาจไม่ได้อยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยตรง แต่การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่ การขยายสนามบินในจังหวัดใหญ่ และการพัฒนาจุดผ่านแดนสำคัญ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคนี้มีความน่าสนใจในเชิงโลจิสติกส์มากขึ้น นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาตัดสินใจปักหลักในพื้นที่   ในมิติทางเศรษฐกิจและธุรกิจในภาคอีสานของการเข้ามาของทุนสหรัฐฯ การเข้ามาของ 15 โรงงานสหรัฐฯ นี้ไม่ได้เป็นเพียงการเพิ่มจำนวนสถานประกอบการ แต่เป็นก่อให้เกิดการพัฒนาในหลายมิติ ที่จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงานและการยกระดับคุณภาพชีวิต ยอดการลงทุนที่สูงและประเภทอุตสาหกรรมที่หลากหลายจะสร้างงานที่มีคุณภาพในระดับทักษะที่แตกต่างกัน ตั้งแต่แรงงานทั่วไปจนถึงแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางในภาคการผลิต การจ้างงานโดยตรงและทางอ้อมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจไม่มากก็น้อย และที่สำคัญคือชะลอการย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากอีสานไปยังเมืองใหญ่

จาก “วอชิงตัน” สู่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” พาเปิดเบิ่ง 15 โรงงาน “ทุนสหรัฐฯ” ปักธงอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ประโยชน์ของแร่เกลือหิน🧂สู่โซเดียมแบตเตอรี่🔋 หลัง มข. ส่องมอบแบตฯ เสริม กองทัพ

เกลือหิน (rock salt) คือ ทรัพยากรแร่ตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเล เกลือหินหลากสี พบเหนือชั้นโพแทซ มีความหนาเฉลี่ย 3 เมตร มีสีต่างๆ เช่น สีส้ม แดง เทา ดำ และขาว เป็นชั้นสลับกัน และพบเฉพาะบริเวณที่มีชั้นโพแทซเท่านั้น และในปัจจุบันเเร่เกลือหินถูกนำไปใข้ประโยชน์ในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมแบตเตอรี่ . ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของอาเซียนในปี 2565 ซึ่งความสำเร็จครั้งนั้นนับเป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ ให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต . ภาตอีสานของเราก็ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญของวัตถุดิบหลักของแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน อย่างแร่เกลือหินเนื่องจากในภาคอีสานมีแหล่งแร่เกลือหินอยู่จำนวนมาก โดยครอบคลุมถึง 16 จังหวัดในภาคอีสาน โดยจังหวัดที่โดดเด่น มีแร่เกลือหินใต้ผิวดินมากกว่า 50% ได้แก่ หนองคาย: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 86% มหาสารคาม: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 85% นครพนม: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 79% ร้อยเอ็ด: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 66% สกลนคร: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 58% ยโสธร: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 53% แนวโน้มในอนาคตทั่วโลกให้ความสนใจในพลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งความต้องการของแบตเตอรี่ก็จะเพิ่มขึ้นควบคู่กันไป แต่แบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก แบตเตอรี่โซเดียมไอออนเป็นอีกหนึ่งในอนาคตของแบตเตอรี่ที่คาดว่าจะมีความปลอดภัยมากขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งจะสามารถช่วยทั้งโลก และมนุษย์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่เซเดียม-ไอออน ยังคงต้องการเวลาในการพัฒนาอีกไม่น้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้น มข. ส่งมอบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสนับสนุนกองทัพ เสริมความมั่นคงชายแดน พิธีส่งมอบ จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2568 เวลา 12.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี เป็นประธานในการส่งมอบ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน, รศ.นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ และพลตรี กิตติพงษ์ เนื่องชมภู ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่น เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณะทหารมณฑลทหารบกที่ 23 การสนับสนุนแบตเตอรี่ เพื่อการปฏิบัติการทางทหารนั้น เป็นรูปแบบการให้ยืมเป็นระยะเวลาชั่วคราว ประกอบด้วย 1. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 24V100Ah ซึ่งสามารถนำไปใช้งานสำหรับจั๊ม สตาร์ทเครื่องยนต์รถบรรทุก จำนวน 3 แพ็ก 2. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 24V50Ah ซึ่งสามารถนำไปใช้งานสำหรับจั๊ม สตาร์ทเครื่อยนต์ตระกูลนาโต้ จำนวน 3 แพ็ก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี (ยืนกลาง) รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือยาวนานกับกองทัพ และมณฑลทหารบกที่ 23 โดยมีความร่วมมือทั้งในลักษณะกึ่งทางการและเป็นทางการ

พามาเบิ่ง🧐ประโยชน์ของแร่เกลือหิน🧂สู่โซเดียมแบตเตอรี่🔋 หลัง มข. ส่องมอบแบตฯ เสริม กองทัพ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เปิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจังหวัดนครพนม

จังหวัดนครพนม พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทั้งหมด 395.22 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของพื้นที่ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นครั้งคราว มีน้ำท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี จำนวน 225.77 ตร.กม. รองลงมาได้แก่พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง มีน้ำท่วมขัง 4-7 ครั้ง ในรอบ 10 ปี จำนวน 136.88 ตร.กม. และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ 32.57 ตร.กม.   อำเภอท่วมมากเป็นอันดับ 1 คือ อำเภอ ศรีสงคราม มีพื้นที่อยู่ 671,317 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภออยู่ 24,289 หลังคาเรือน   อำเภอท่วมที่สุดเป็นอันดับ 2 คือ อำเภอ นาทม มีพื้นที่อยู่ 398,129 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภอยู่ 7,058 หลังคาเรือน   อำเภอท่วมเป็นอันดับ 3 คือ อำเภอ นาหว้า มีพื้นที่อยู่ 288,448 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภออยู่ 15,668 หลังคาเรือน   ย้อนเบิ่งเหตุการณ์น้ำท่วมสำคัญใน นครพนม เหตุการณ์น้ำท่วมสำคัญแม่น้ำโขงยังคงเป็นภัยสำคัญของจังหวัดนครพนม ชาวบ้านริมฝั่งยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ในปี 2561 เคยมีการเพิ่มระดับน้ำผิดปกติ ทำให้ชุมชนริมโขงต้องจัดเวรเฝ้าน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันน้ำท่วมซ้ำรอยเหตุการณ์ใหญ่ปี 2521 ซึ่งน้ำท่วมตลาดธาตุพนมเป็นเวลานานถึง 1 เดือน 🔎พาอัพเดตเบิ่ง แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอีสาน☔️🌧️🌊 อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 เหตุการณ์น้ำท่วมกลับมาอีกครั้ง แต่รุนแรงและส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อน โดยมีหลายอำเภอได้รับผลกระทบหนักทั้งน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ทำให้ประชาชนกว่า 11,000 คนต้องเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วมและความเสียหายที่มากกว่าในอดีต สาเหตุหลักยังคงเหมือนเดิม คือระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระบายน้ำจากฝั่ง สปป.ลาวที่ส่งผลให้ลำน้ำสาขาไม่สามารถระบายน้ำลงได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ต่ำริมแม่น้ำ จากเหตุการณ์ในอดีตถึงปัจจุบัน ชาวบ้านและหน่วยงานท้องถิ่นยังคงร่วมมือกันในการเฝ้าระวัง เตรียมพร้อมรับมือภัยน้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เหตุการณ์น้ำท่วมที่สำคัญล่าสุดที่เพิ่งเกิดไปในจังหวัดนครพนมเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 สาเหตุหลักมาจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลำน้ำสาขา เช่น ลำน้ำสงครามและลำน้ำอูน ไม่สามารถระบายลงแม่น้ำโขงได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและชุมชนในหลายอำเภอของจังหวัด พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ อำเภอบ้านแพง อำเภอนาหว้า และอำเภอศรีสงคราม โดยเฉพาะในอำเภอศรีสงคราม มีบางตำบลที่ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ส่งผลให้ประชาชนต้องอพยพและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในอำเภอบ้านแพง ระดับน้ำโขงเพิ่มขึ้นวันละ 10–15 เซนติเมตร ส่งผลให้บ้านเรือนริมน้ำถูกน้ำท่วม ประชาชนต้องอพยพและย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เสี่ยง พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 60,000 ไร่ ส่วนในอำเภอเมืองนครพนม

พามาเบิ่ง เปิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจังหวัดนครพนม อ่านเพิ่มเติม »

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠

ผ้าไหมเทียม ทะลักจาก ชายแดน ไทย-ลาว #กระทบอุตสาหกรรมผลิตและทอผ้าไหมในอีสาน ตัดราคา 10 เท่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐานพบ เป็นเส้นใยผสม เส้นใยพลาสติก ไม่ใช่ผ้าไหมแท้ ISAN Insight พามาเบิ่ง ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย . [ข้อมูลมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้า “หม่อนไหม” ภายในประเทศ] ปี 2564 ยังมีมูลค่าสูงถึง 6,614.12 ล้านบาท แบ่งเป็น รังไหม 273.50 ล้านบาท เส้นไหม 195.61 ล้านบาท ผ้าไหม 2,196.41 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม 3,803.96 ล้านบาท หม่อนผลสด 79.11 ล้านบาท ใบหม่อนชา, หม่อนอาหารสัตว์ 50.16 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 15.37 ล้านบาท ข้อมูลมูลค่าของอุตสาหกรรมจาก “หม่อนไหม” จะพบว่าอุตสาหกรรมนี้ตั้งแต่ปลูกม่อน> เลี้ยงหนอนไหม> สาวไหม> ถักเส้นใย> ย้อมสี> จนทอผ้า ออกมาเป็นผืน ทุกๆ ขั้นตอนล้วนเป็นห่วงโซ่คุณค่า ที่หล่อเลี้ยง ชาวบ้านใน สายห่วงโซ่อุปทานการผลิต 86,482 ครัวเรือน(กรมหม่อนไหม ปี 2565) โดยข้อมูลคาดการณ์จากข้อมูลกรมพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คาดการณณ์ว่าภาคอีสานเป็นแหล่งช่างฝีมือทอผ้าขนาดใหญ่ คาดว่ามีถึง 100,000-200,000 คน กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน ____________________________ [ความเป็นมาของท้องถิ่นสู่ผ้าไหมปักธงชัย] . สำหรับอำเภอปักธงชัย มีประวัติอันยาวนาน มีความสำคัญตั้งแต่สมัยกรงศรีอยุธยา โดยปรากฏวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านการแต่งกายหรือภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา โดยสมัยก่อนนั้นอำเภอปักธงชัย (เมืองปัก) เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครราชสีมา ในบริเวณดังกล่าวมาแต่โบราณ มีการทำนา ทำไร่ การปลูกหม่อน ปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งเป็นการพอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง หากมีเหลือก็จะนำไปแลกเปลี่ยนกันกับพ่อค้าคนกลาง ที่เรียกตัวเองว่า นายฮ้อย ซึ่งนายฮ้อยจะนำผ้าไหมไปขายยังพื้นที่ต่างๆ อำเภอปักธงชัย ถือเป็นแหล่งที่มีการผลิตผ้าไหมที่สำคัญที่สุดของจังหวัดนครราชสีมา และมีการผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จนมีการเรียกผ้าไหมที่ได้มีการผลิตในพื้นที่อำเภอปักธงชัยว่า “ผ้าไหมปักธงชัย” ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแหล่งผลิตผ้าไหมปักธงชัยเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมาเป็นอย่างมาก ลักษณะของผ้าไหมปักธงชัยที่ได้ผลิตตามกรรมวิธีและภูมิปัญญาตั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาคือ ผ้าพื้น ซึ่งทำการทอด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกี่กระตูก ผ้าไหมมีลักษณะเป็นผ้าสีพื้น (ผ้าพื้นเรียบ)ทอแบบ 2 ตะกอ ผ้าไหมมีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 นิ้ว เนื้อผ้าหนาแน่น สีคงทน ไม่ตก จนกระทั่งได้ทำการขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผ้าไหมปักธงชัย”

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠 อ่านเพิ่มเติม »

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา .อุบลฯ ปักหมุด “นิคมอุตสาหกรรม” 5,000 ล้านบาท จุดประกายเศรษฐกิจพลิกโฉมภูมิภาค รับแรงงานคืนถิ่น! อุบลราชธานี กำลังก้าวสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยศักยภาพ ด้วยการก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ณ อำเภอเดชอุดม ซึ่งเป็นโครงการยักษ์มูลค่า 5,000 ล้านบาท โครงการนี้ไม่ได้เป็นเพียงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หากแต่กำลังวางรากฐาน “โอกาส” และ “อนาคต” ที่จะเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจภาคอีสาน และวางตำแหน่งอุบลฯ ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงประเทศในกลุ่ม CLMV พร้อมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไร้ขีดจำกัด.พื้นที่รวม 1,748 ไร่ ของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการลงทุนและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของภาคอุตสาหกรรม โดยมีพื้นที่โรงงานมากถึง 1,230 ไร่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการผลิต พื้นที่สาธารณูปโภคกว่า 300 ไร่ เพื่อรองรับการดำเนินงานที่ราบรื่น รวมถึงพื้นที่พาณิชย์และออฟฟิศขนาด 10 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจและบริการ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชนกว่า 209 ไร่ ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม นอกจากการแบ่งส่วนพื้นที่ดังกล่าวแล้ว นิคมฯ แห่งนี้ยังแบ่งออกเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมทั่วไปและเขตปลอดภาษี เพื่อเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้.การขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี คือการมุ่งเน้นดึงดูดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ที่สอดรับกับกระแสพลังงานสะอาดและนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของโลกและประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรพิมพ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตอบรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีความต้องการสูงในตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตยางรถทางการเกษตร ที่สามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบหลักในท้องถิ่นอย่างยางพารา และตอบสนองความต้องการของภาคเกษตรกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสุดท้ายคือ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งจะต่อยอดศักยภาพด้านวัตถุดิบทางการเกษตรและอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของภาคอีสาน เพื่อนำไปแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่ตลาดสากล การก่อสร้างเฟสแรก 1,000 ไร่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปี ซึ่งจะเปิดรับสมัครพนักงานต่อไป เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกต่อตลาดแรงงานในภูมิภาคที่กำลังจะคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด.โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีนี้มิได้เป็นเพียงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แต่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างผลประโยชน์รอบด้าน ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะพลิกโฉมอุบลราชธานีและภาคอีสาน การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการลงทุนภายในประเทศ จะสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เม็ดเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท จะเป็นตัวกระตุ้นภาคการก่อสร้าง ภาคบริการ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างงานมากกว่า 20,000 อัตรา ซึ่งเป็นการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยตรง ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานในเมืองใหญ่ และยังเป็นโอกาสทองสำหรับ “แรงงานคืนถิ่น” ที่อยากกลับมาทำงานในบ้านเกิด การลงทุนนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานยุคใหม่.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีจะกลายเป็น “ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งอีสาน” ที่สำคัญยิ่ง ด้วยทำเลที่ตั้งอันได้เปรียบ ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เวียดนาม และเมียนมา) และยังได้รับการสนับสนุนจากโครงข่ายคมนาคมที่ทันสมัย ทั้งรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่จะช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระดับนานาชาติ การลดต้นทุนการขนส่งจะส่งผลให้สินค้าจากไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาด CLMV ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง บทบาทนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขนส่งสินค้าสำเร็จรูป แต่ยังรวมถึงการเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่สามารถส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประกอบหรือแปรรูปขั้นสุดท้าย และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่มีพื้นที่เชิงพาณิชย์และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ จากผู้ประกอบการ SMEs จะช่วยให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีต้นทุนต่ำและสามารถแข่งขันได้.นอกจากนี้

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top