ชวนมาเบิ่ง “ชนกลุ่มน้อยในอีสาน” เกือบ 15,000 คน กระจายอยู่ไหนบ้าง
ชวนมาเบิ่ง “ชนกลุ่มน้อยในอีสาน” เกือบ 15,000 คน กระจายอยู่ไหนบ้าง . . สังคมไทยมีผู้คนหลากหลายอัตลักษณ์ “ชนเผ่าพื้นเมือง” หรือ “Indigenous People” คือ กลุ่มสังคมที่มีวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี และภาษาสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มากกว่า 70 กลุ่มชาติพันธุ์ หรือประมาณ 6.1 ล้านคน . ข้อมูลในปี 2567 มีการให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์รวมแล้วมีทั้งหมด 489,636 คน โดยในภาคอีสานมี 14,677 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 3% . “ชนเผ่าพื้นเมือง” มีทุกภูมิภาค แต่ส่วนมากจะอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย และทางภาคใต้ พวกเขามีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ คือ อยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยความพอดี เช่น ทำไร่หมุนเวียน ที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นไร่เลื่อนลอย หรือทำประมงแบบพออยู่พอกิน . ปัญหาอคติทางวัฒนธรรมเหลายอย่าง ทำให้ “ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ กลุ่มชาติพันธุ์” ถูกละเมิดสิทธิในด้านต่าง ๆ ทั้ง (1) ความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน เพราะถูกจำกัดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติตามวิถีวัฒนธรรม (2) ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมือง เพราะยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย (3) ถิ่นฐานที่ตั้งในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ “ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ กลุ่มชาติพันธุ์” เข้าไม่ถึงสิทธิในบริการต่าง ๆ ของรัฐ และ (4) ปัญหาการสูญเสียอัตลักษณ์ และภูมิปัญญา อันเป็นต้นทุนสำคัญในการพึ่งพาตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ในปัจจุบันชาติพันธุ์ต้องสูญเสียศักยภาพของการพึ่งพาตนเอง . . อ้างอิงจาก: – สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง – ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) – The Active Thai PBS ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ชาติพันธุ์ #คนอีสาน #ชนกลุ่มน้อย
ชวนมาเบิ่ง “ชนกลุ่มน้อยในอีสาน” เกือบ 15,000 คน กระจายอยู่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »