Article

เพราะเหตุใด? การลงทุนของจีน🇨🇳ในไทย🇹🇭 หรือการเข้ามาทำธุรกิจของจีนในไทย ถึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลกว่าชาติอื่นๆ🇮🇳🇺🇲🇯🇵🇰🇷

การที่ธุรกิจจีนได้รับการจับตามองและก่อให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้ประกอบการไทยนั้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากปัจจัยหลายประการที่ซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกัน แม้ว่าการลงทุนในประเทศไทยทั้งค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าประเทศอื่น แต่นักลงทุนยังคงสนใจเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากศักยภาพด้านแรงงานไทยที่มีคุณภาพ และในภูมิภาคนี้ไทยคือคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของจีน จึงทำให้นักลงทุนจีนเข้ามาเปิดตลาดที่ใหญ่กว่า และเชื่อว่าคุ้มกับการลงทุน คลิกอ่านบทความก่อนหน้า มหาอำนาจ จีนกำลังลงทุนอะไรในอีสาน? จากบทสัมภาษณ์ตัวอย่างผู้ประกอบในอีสานของ ISAN Insight and Outlook พอจะสรุปสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยกังวลต่อการเข้ามาแข่งขันของธุรกิจ และการเข้ามาลงทุนของจีนในประเทศไทย และภาคอีสาน ดังนี้ การแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง: ธุรกิจจีนมักเข้ามาพร้อมกับทรัพยากรที่แข็งแกร่ง ทั้งในแง่ของเงินทุน เทคโนโลยี และประสบการณ์ ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาด ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยและรายกลางในประเทศ ราคาถูกต้นทุนต่ำ: จากข้อได้เปรียบจาก Economy of Scale การทุ่มตลาดด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ด้วยสายป่านที่ยาวจะทำให้สงครามราคาจีนได้รับชัยชนะ ก่อนกินส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ และควบคุมราคาขึ้น-ลง ได้ในภายหลังเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างที่ขาดทุนก่อนหน้า การนำระบบและซัพพลายเออร์จากจีนมาด้วย: การไม่พึ่งพา ห่วงโซ่อุปทาน(supply chain)ของประเทศที่เข้าไปลงทุน เช่น รถยนต์ญี่ปุ่นตั้งโรงงานประกอบในไทย อะไหล่ กระจก พลาสติก ล้วนพึ่งพาซัพพลายเออร์ในไทย รวมถึงสร้างงานและการจ้างงานให้คนในประเทศ แต่ธุรกิจจีนพึ่งพาตัวเองสูง และลดการพึ่งพาซัพพลายเออร์ในประเทศคู่ลงทุน เช่น เครื่องดื่ม นำเข้าวัตถุดิบจากจีน เครื่องจักรจากจีน และอาจมีการจากงานแรงงานต่างด้าวเป็นหลัก ทำให้เกิดความกังวลในการใช้ทรัพยากรของประเทศไทยแต่ผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจไม่คุ้มค่า และทำให้ SME และซัพพลายเออร์ในไทยได้รับผลกระทบ การเข้าซื้อกิจการและการควบรวมกิจการ: การที่ธุรกิจจีนเข้ามาซื้อกิจการของบริษัทไทยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการผูกขาดตลาด การสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญา และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ: การลงทุนของธุรกิจจีนในปริมาณมากอาจส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจนำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการทำงาน: ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการทำธุรกิจและการบริหารจัดการองค์กร อาจเป็นอุปสรรคในการปรับตัวและทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการไทยและจีน แต่ที่น่ากลัวกว่าทุนจีนอย่างถูกกฎหมาย คือ การระบาดของทุนจีนเทา ที่เกิดจากการปราบปรามในจีนแผ่นดินใหญ่ จนทำให้เกิดการหลบหนี และย้ายถิ่นการตั้งสำนักงานมาในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะไทยที่มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและครบครัน ตัวอย่างกลุ่มอาณาจักร มาดูธุรกิจทุนจีน 10 อันดับ ได้แก่ 1. ทัวร์ศูนย์เหรียญ พามาเที่ยว มากิน มาซื้อจากร้านจีนด้วยกันเอง 2.สถานบันเทิงจีน 3. พนันออนไลน์จีน 4. อสังหาทุนจีน หมู่บ้านจีน 5. เงินกู้นอกระบบ 6. ขอทานจีนก็มา..ได้เดือนละหลายหมื่น 7. วีซ่าผิดกฎหมาย ล่าสุดเห็นพี่จีนขายสัญชาติกันแล้ว 8. ผลิตสินค้าปลอม อันนี้ถนัดเรียกว่าปลอมแท้จริง 9. ขนส่งศูนย์เหรียญที่ทำให้ขนส่งไทยจอดนอนตายรอไฟแนนซ์มายึด 10. คอลเซ็นเตอร์จีน อย่างไรก็ตาม การมองธุรกิจจีนในแง่ลบเพียงอย่างเดียวอาจไม่ครอบคลุมภาพรวมทั้งหมด การเข้ามาของธุรกิจจีนก็ได้นำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างงาน และการขยายตลาดส่งออก เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจที่เหมาะสม นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจของคนไทยควบคู่ไปกับการเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ

มหาอำนาจ จีนกำลังลงทุนอะไรในอีสาน?

จับตา “ทุนจีน”รุกหนัก สร้างนอมินีถือหุ้นลงทุนและเดินเกมทุ่มตลาด หากไทยยังไม่ตื่นตัวจะไม่ทันการณ์ นักวิชาการแนะเร่งพัฒนาทักษะแรงงานสู้ ผลิตสินค้าที่จีนยังไม่มีและทำไม่ได้ ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การเข้ามาลงทุนในไทยของ 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และจีนนั้น ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มองว่า ส่วนใหญ่การเข้ามาลงทุนของทั้ง 2 ประเทศจะอยู่ในพื้นที่การท่องเที่ยว พื้นที่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะจีน เลือกลงทุนในพื้นที่ท่องเที่ยวเป็นหลัก เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ในรูปแบบของร้านอาหาร ทัวร์และที่พัก เป็นต้น ขณะที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุนในด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก “ภาคอีสานจะต่างออกไป ตลาดการท่องเที่ยวที่ยังไม่โดดเด่น พื้นที่การลงทุนที่เข้ามาเป็นปกติมีแต่เดิมอยู่แล้ว เพิ่มเติมจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้าการลงทุน คือ จังหวัดขนาดใหญ่ จังหวัดติดชายแดน และจังหวัดที่มีรถไฟเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่น ๆ การเข้ามาลงทุนในภาคอีสานจึงมาในรูปแบบภาคการผลิต เช่น โรงงานน้ำตาล การขนส่ง บรรจุภัณฑ์ ที่มีความเชื่อมโยงการโครงสร้างของเศรษฐกิจอีสาน การลงทุนของอเมริกาและจีนจะลงทุนต่างกัน อเมริกาเน้นการลงทุนด้านเทคโนโลยี แต่มูลค่าการลงทุน ก็ยังไม่มากเมื่อเทียบกับภูมิภาคหรือประเทศอื่น ผศ.ประเสริฐ ยังบอกอีกว่า กระแสการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาตินั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจจะทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบ บางส่วนอาจยุติปิดกิจการ ผู้ประกอบการไทยหายไป ถือเป็นปรากฎการณ์กลไกด้านการแข่งขัน แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการไทยต้องมีการปรับตัวทั้งด้านสินค้า บริการ และต้องหาวิธีเพิ่มมูลค่าสินค้า ไม่เน้นการแข่งเรื่องราคา พัฒนาสินค้าให้มีความเฉพาะ มีความพิเศษ การรักษามาตรฐานสินค้า การบริการหลังการขาย เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าเกิดการใช้ต่อ ใช้ซ้ำ และรักษาคุณภาพสินค้า ส่วนในระยะยาวผู้ประกอบการต้องมีการวางแผนทั้งการคิดค้นวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีความชัดเจนเชิงยุทธศาสตร์แต่ละจังหวัด “นอกจากผู้ประกอบการไทยแล้ว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรมีมาตรการรองรับช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยในระยะสั้นควรเข้ามาดูแลความเหมาะสมของการเข้ามาลงทุนว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ ออกแบบการลงทุนในระหว่างที่มีการเตรียมตัว ในระยะยาวหากปล่อยให้ผู้ประกอบการไทยจัดการกันเอง จะทำให้โดดเดี่ยว สู้ไม่ไหว และล้มหายออกจากระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม ควรผลักดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจ” แม้ว่าการลงทุนในประเทศไทยทั้งค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าประเทศอื่น แต่นักลงทุนยังคงสนใจเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากศักยภาพด้านแรงงานไทยที่มีคุณภาพ และในภูมิภาคนี้ไทยคือคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของจีน จึงทำให้นักลงทุนจีนเข้ามาเปิดตลาดที่ใหญ่กว่า และเชื่อว่าคุ้มกับการลงทุน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปี 2566 ประเทศไทยมีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนรวมกว่า 916,475 ล้านบาท แล้วรู้หรือไหมว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนมากแค่ไหน?.โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรามีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนกว่า 6,551 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.7% ของมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนทั้งหมดในประเทศ.   5 อันดับจังหวัดที่มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนมากที่สุด – นครราชสีมา มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนกว่า 2,271 ล้านบาท– กาฬสินธุ์ มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนกว่า 828 ล้านบาท– อุบลราชธานี มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนกว่า 793 ล้านบาท– อุดรธานี มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนกว่า 534 ล้านบาท– เลย มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนกว่า 525 ล้านบาท …

มหาอำนาจ จีนกำลังลงทุนอะไรในอีสาน? อ่านเพิ่มเติม »

บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่ของประเทศไทยที่ไม่ธรรมดา

บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่ของประเทศไทยที่ไม่ธรรมดา  เมืองส่งออกยางพารา สู่ดินแดนการท่องเที่ยวสายมู . . บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่ของประเทศไทย ที่ทุกคนรู้กันว่าเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศ โดยบึงกาฬก่อตั้งในปี 2554 ซึ่งถือว่าก่อตั้งมา 13 ปีแล้ว .  แต่รู้หรือไม่ว่าจังหวัดน้องใหม่จังหวัดนี้มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับ 7 ของภาคอีสาน ซึ่งมากกว่าจังหวัดใหญ่ๆบางจังหวัดเสียอีก ถึงแม้มูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดบึงกาฬจะเป็นอันดับที่ 17 ของภาคอีสาน . ทำไมจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจอันดับที่ 17 ของภูมิภาค ถึงกลายเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวมากเป็นอันดับ 7 ในภาคอีสาน ? . อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง . . บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสุดของไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติให้เป็นจังหวัดบึงกาฬ เมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นพื้นที่ที่แยกออกมาจาก อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และ อำเภอศรีวิไล จากการปกครองของจังหวัดหนองคาย ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย .  โดยบึงกาฬมีพื้นที่ 4,305 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของภาคอีสาน และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 400,000 คน โดยจัดเป็นอันดับที่ 18 ของภูมิภาค . ถึงแม้จะเป็นจังหวัดที่มีประชากรเพียงไม่กี่แสนคน และมีมูลค่าเศรษฐกิจในอันดับที่ 17ของภาคอีสาน . แต่ถ้าหากลองมาดู รายได้ต่อหัวในปี 2565 จะพบว่า บึงกาฬ มีรายได้ต่อหัว 89,033 บาท เป็นรองเพียงแค่นครราชสีมา ขอนแก่น เลย หนองคาย อุดรธานี และนครพนม ซึ่งมากกว่าหลายๆจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าบึงกาฬ  . ปัจจัยที่ทำให้ บึงกาฬ มีรายได้ต่อหัวอยู่ในลำดับต้นๆของภูมิภาค มีตั้งแต่ – เป็นแหล่งเพาะปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของภาคอีสาน – มีแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับความเชื่อและสายมูที่มีชื่อเสียง – มีชายแดนที่ติดกับประเทศลาว . . แหล่งเพาะปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของภาคอีสาน เมื่อพูดถึงแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของประเทศ ภาคอีสานของเราถือว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญภาคหนึ่ง จากการที่สามารถเพาะปลูกยางพาราได้ผลผลิตกว่า 1.3 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 27.7% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมดในประเทศ โดยเป็นรองเพียงแค่ภาคใต้เท่านั้น . ซึ่งในปี 2565 จังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตการเพาะปลูกยางพารามากทึ่สุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 208,035 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 15.6% อีกทั้งมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุดในภาคอีสาน และสูงที่สุดของประเทศด้วย โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 248 กิโลกรัม/ไร่ . และเมื่อดูสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรมมีมูลค่ามากที่สุด …

บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่ของประเทศไทยที่ไม่ธรรมดา อ่านเพิ่มเติม »

‘ฟ่าง ธีรพงศ์ ศิลาชัย’ หนุ่มจอมพลังจาก ศรีสะเกษ กับเหรียญเงินในโอลิมปิก สมัยแรกของเขา

ทำความรู้จักกับ ธีรพงศ์ ศิลาชัย หลังจากคว้าเหรียญทองในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก 2022 มาแล้ว ล่าสุดเป็นนักยกน้ำหนักชายคนแรกของไทยที่คว้าเหรียญเงินโอลิมปิกด้วย ประวัติ ฟ่าง ธีรพงศ์ ศิลาชัย ฟ่าง ธีรพงศ์ ทำผลงานที่ยอดเยี่ยมยกผ่านรวดทั้ง 6 ลิฟต์ สถิติที่ดีที่สุดของตัวเอง หลังจากเคยทำสถิติน้ำรวมของตัวเองดีที่สุดอยู่ที่ 299 กิโลกรัม ฟ่าง ธีรพงศ์ ศิลาชัย ในวัย 20 ก้าวสู่ 21 ปีเต็มในเดือนพฤศจิกายนนี้ จากเด็กน้อยบ้านนอกจากอีสานใต้ บ้านกระเบาเดื่อ ต.กระหวัน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ฟ่างเติบโตมากับครอบครัวสู้ชีวิต พ่อขายขับรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง เร่ขายมะพร้าวน้ำหอมลูกละไม่กี่บาท ไม่แปลกใจหลังฟ่าง ธีรพงศ์ ศิลาชัย คว้าเหรียญเงิน โอลิมปิก 2024 การแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก โอลิมปิก 2024 รุ่น 61 กิโลกรัม ด้วยการยกท่าสแนทช์ 132 กิโลกรัม ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 171 กิโลกรัม ทำให้ได้น้ำหนักรวม 303 กิโลกรัม ซึ่งบอกว่า จะเอาเงินไปสร้างบ้านให้พ่อ เหตุเพราะชีวิตลำบากมาเยอะ ธีรพงศ์ ศิลาชัย เริ่มต้นเส้นทางการแข่งขันยกน้ำหนักระดับยุวชนครั้งแรกในรายการกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39 ขุนด่านเกมส์ ที่จังหวัดนครนายก เมื่อปี 2561 โดยลงแข่งขันในรุ่นน้ำหนัก 50 กิโลกรัมชาย เขายกได้ 90 กิโลกรัมในท่าสแนตช์ และ 115 กิโลกรัมในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก รวมน้ำหนักทั้งหมดที่ยกได้ 205 กิโลกรัม ทำให้เขาคว้าเหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้ไปครอง ในขณะที่ยังเป็นนักยกน้ำหนักยุวชน ธีรพงศ์ ศิลาชัย คว้าเหรียญทองในการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย เมื่อปี 2563 ณ จังหวัดนครสวรรค์ และปี 2564 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ยกได้ 100 กิโลกรัมในท่าสแนตช์ และ 134 กิโลกรัมในท่าคลีนแอนด์เจิร์กรวม 234 กิโลกรัมในปี 2563 ทำลายสถิติประเทศไทยในท่าคลีนแอนด์เจิร์กและน้ำหนักรวม และยกได้ 106 กิโลกรัมในท่าสแนตช์และ 125 กิโลกรัมในท่าคลีนแอนด์เจิร์กรวม 231 กิโลกรัม ในปี 2564 ในช่วงที่ยังเป็นนักยกน้ำหนักเยาวชน เขาได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ในรุ่นน้ำหนัก 55 กิโลกรัม และสามารถคว้าได้ 3 เหรียญทอง (สแนตช์, คลีนแอนด์เจิร์ก และน้ำหนักรวม) ในปี 2565 ธีรพงศ์ ศิลาชัย ได้เข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก 2022 เป็นครั้งแรก และสร้างผลงานอันน่าทึ่งด้วยการคว้าเหรียญทองในรุ่นน้ำหนัก 55 กิโลกรัม โดยสามารถยกน้ำหนักรวมได้ 265 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการทำลายสถิติโลกเยาวชนทั้งในท่าคลีนแอนด์เจิร์กที่ 148 กิโลกรัม …

‘ฟ่าง ธีรพงศ์ ศิลาชัย’ หนุ่มจอมพลังจาก ศรีสะเกษ กับเหรียญเงินในโอลิมปิก สมัยแรกของเขา อ่านเพิ่มเติม »

จันทร์แจ่ม ความภูมิใจของชาวหนองคาย นักมวยหญิงไทยคนแรกคว้าเหรียญโอลิมปิก ปารีส 2024

เปิดประวัติน้องบี “จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง” นักมวยหญิงไทยคนแรกและคนเดียวคว้าเหรียญโอลิมปิกในประวัติศาสตร์ จากปารีสเกมส์ 2024 ที่ฝรั่งเศส เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของคนไทยหลังจาก “จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง” โชว์สุดยอดเพอร์ฟอร์มเอาชนะคู่แข่งมือหนึ่งจากตุรกีอย่าง “บูเซนาส ซูร์เมนลี่” เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2020 เข้ารอบรองชนะเลิศ และเตรียมพบกับ “อิมาน เคลิฟ” นักชกสาวจากแอลจีเรีย ที่ยังคงถูกพูดประเด็นทางเพศในโซเชียลอย่างต่อเนื่อง ด้วยความพยายามและไม่ย่อท้อทำให้ “บี” หรือ “จันทร์แจ่ม” นักมวยหญิงไทยก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของเหรียญโอลิมปิกแรกของไทยในวัย 23 ปี สร้างประวัติศาสตร์ให้กับประเทศไทยสำหรับโอลิมปิกเกมส์ 2024 โดยจันทร์แจ่มจะพบกับนักชกตัวเต็งของรุ่นจากแอลจีเรีย ที่กำลังพูดถึงกันอย่างมากในโลกออนไลน์ “อิมาน เคลิฟ” ในขณะนี้ ประวัติ “จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง” สำหรับ บี จันทร์แจ่ม อายุ 24 ปี เป็นชาว อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย และต่อด้วยการรับราชการทหาร ติดยศจ่าอากาศตรี สังกัดทหารอากาศ บีมีความชื่นชอบในมวยจากการเห็นคุณพ่อและคุณตาชื่นชอบในการชมกีฬามวย รวมถึงที่บ้านก็ยังทำธุรกิจค่ายมวย ทำให้เมื่อโตขึ้นในวัย 12 ปี เธอก็เริ่มก้าวเท้าเข้ามาในวงการมวยด้วยชื่อ “น้องบี ป.ประสิทธิ์” ก่อนย้ายสายจากมวยไทยและไปเริ่มต้นในเส้นทางมวยสากลมาจนปัจจุบัน และเริ่มเป็นที่รู้จักจากการแข่งขันมวยสากลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยประจำปี 2019 จากการคว้ารางวัลชนะเลิศมาครองในประเภทมวยหญิงรุ่น 69 กิโลกรัม “จันทร์แจ่ม” เริ่มชกมวยตอนอายุ 12 ปี โดยที่บ้านเป็นค่ายมวยและอยู่ชมรมมวยของโรงเรียน วังหลวงพิทยาสรรพ์ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย ก่อนจะมาในรอบรองชนะเลิศมวยสากลหญิงโอลิมปิก ปารีสเกมส์ “จันทร์แจ่ม” ผ่านสังเวียน สะสมประสบการจนเจนเวทีไม่น้อย ทั้ง เล่นกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ไปสู่ กีฬาแห่งชาติ และก้าวเข้าสู่ทีมชาติในนามสังกัดจังหวัดหนองคาย เข้าร่วมการแข่งขันชกมวยในหลายรายกา พูดถึงผลงานเด่นที่ผ่านมาของบีกันบ้าง กับรางวัลที่สร้างชื่อให้กับบีในวงการมวยสากล ไม่ว่าจะเป็น เหรียญเงินจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เหรียญเงินจากการแข่งขันมวยสากลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2023 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เหรียญรางวัลเหล่านี้ล้วนสร้างชื่อเสียงในวงการมวยสากลให้กับบี จนเป็นที่รู้จักของวงการ รวมถึงการแข่งขันนัดสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็นแมตช์หยุดโลกเลยก็ว่าได้ กับการลุ้นเหรียญรางวัลของ “บี จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง” กับคู่แข่งตัวเต็งอย่าง “อิมาน เคลิฟ” ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ เวลา 03.34 น. ตามเวลาในประเทศไทย โอลิมปิก ปารีส 2024: วันนี้ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 03:34 น. ตามเวลาในประเทศไทย ผลการแข่งขันมวยสากลโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่าง “จันทร์แจ่ม …

จันทร์แจ่ม ความภูมิใจของชาวหนองคาย นักมวยหญิงไทยคนแรกคว้าเหรียญโอลิมปิก ปารีส 2024 อ่านเพิ่มเติม »

ร้อยเอ็ด จังหวัดเกินร้อย จากเมืองประตู 101 ทิศสู่เมืองแลนด์มาร์คแห่งอีสาน

ร้อยเอ็ด จังหวัดเกินร้อย จากเมืองประตู 101 ทิศสู่เมืองแลนด์มาร์คแห่งอีสาน . เมืองร้อยเอ็ด เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “สาเกตนคร” หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจํานวนมาก ชื่อของเมืองร้อยเอ็ดนั้นได้มาจากเป็นเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกําแพง การตั้งชื่อเมืองให้มีความใหญ่เกินเพื่อให้เป็นสิริมงคล ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองโบราณ . ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งคนทั่วไปอาจรู้จักในนามของจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัท Global House หนึ่งในร้านค้าวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นบริษัทที่มีรายได้มากที่สุดในภาคอีสาน แต่ความจริงแล้ว ร้อยเอ็ดมีจุดแข็งและเสน่ห์ในหลายๆ ด้านที่คนอาจยังไม่ทราบกันมากนัก ภาพจาก Global House . ร้อยเอ็ด มีศักยภาพในด้านใดบ้าง ? อีสานอินไซต์ จะพามาเบิ่ง . . เศรษฐกิจของร้อยเอ็ด ปี 2565 มีมูลค่าเศรษฐกิจ (GPP) 83,818 ล้านบาท มากเป็นอันดับ 7 ของอีสาน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต้นๆของภาคอีสาน โดยเศรษฐกิจของร้อยเอ็ดสามารถสร้างรายได้ทั้งจากภาคเกษตรกรรมและภาคบริการเป็นหลัก โดยสัดส่วนโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดร้อยเอ็ด ในปี 2565 มาจาก – ภาคบริการ 56,159 ล้านบาท (67%) – ภาคเกษตรกรรม 17,055 ล้านบาท (20%) – ภาคอุตสาหกรรม 10,604 ล้านบาท (13%) . แต่เมื่อดูย่อยเป็นประเภทธุรกิจ ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคหลักที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับจังหวัดร้อยเอ็ดได้มากที่สุด โดยร้อยเอ็ดปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก โดยสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตกว่า 9.5 แสนตัน ในปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งถือว่าปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของภาคอีสาน . ซึ่งพันธุ์ข้าวที่จังหวัดร้อยเอ็ดปลูกมากที่สุด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งถือเป็นสินค้า GI ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมาก โดยร้อยเอ็ดมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มากที่สุดในภาคอีสาน จาก 5 จังหวัดที่มีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมีสัดส่วนพื้นที่กว่า 46% จากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ทั้งหมด จึงเป็นสินค้าหลักที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัด . และทำให้โรงสีข้าวในร้อยเอ็ดได้รับผลประโยชน์ไปด้วย โดยร้อยเอ็ดมีรายได้จากธุรกิจโรงสีข้าวมากที่สุดในภาคอีสาน โดยมีรายได้กว่า 10,076 ล้านบาทในปี 2566 และโรงสีข้าวที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท มีมากถึง 4 แห่ง จากบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาททั้งหมด 9 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 44% เลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทในร้อยเอ็ดส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว  . นอกจากพืชเศรษฐกิจหลักอย่างข้าวแล้ว หลายคนคงไม่รู้ว่าร้อยเอ็ดมีรายได้จากการปลูกพืชอย่างยาสูบอีกด้วย โดยร้อยเอ็ดมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตของยาสูบมากที่สุดในภาคอีสาน อีกทั้งเป็นจังหวัดที่ปลูกยาสูบมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เป็นรองเพียงจังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย …

ร้อยเอ็ด จังหวัดเกินร้อย จากเมืองประตู 101 ทิศสู่เมืองแลนด์มาร์คแห่งอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

12 นักกีฬาไทย ตะลุยโอลิมปิก จากแดนอีสาน

จุฑามาศ รักสัตย์ : มวยสากล รุ่น 50 กก.หญิง  โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 ภูมิลำเนา: บุรีรัมย์    ใบสน มณีก้อน : มวยสากล รุ่น 75 กก. หญิง โอลิมปิก 2 สมัย : 2020, 2024 ภูมิลำเนา: จ. กาฬสินธุ์     จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง : มวยสากล รุ่น 66 กก. หญิง โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 ภูมิลำเนา: จ. หนองคาย   บรรจง สินศิริ : มวยสากล รุ่น 63.5 กก. ชาย โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 ภูมิลำเนา : จ. ศรีสะเกษ   วีระพล จงจอหอ : มวยสากล รุ่น 80 กก. ชาย โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 “วีระพล” หลานสมจิตร จงจอหอ ภูมิลำเนา : จ. นครราชสีมา   อรวรรณ พาระนัง : เทเบิลเทนนิส หญิงเดี่ยว, ทีมหญิง โอลิมปิก 2 สมัย : 2020, 2024 ภูมิลำเนา : จ. อุบลราชธานี   “เมย์” รัชนก อินทนนท์ : แบดมินตัน ประเภทหญิงเดี่ยว โอลิมปิก 4 สมัย : 2012, 2016, 2020 และ2024 ภูมิลำเนา : จ. ยโสธร   สุภัค จอมเกาะ : แบดมินตัน …

12 นักกีฬาไทย ตะลุยโอลิมปิก จากแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ถนนไปที่ไหน ความเจริญไปที่นั่น จาก “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ สู่ มิตรภาพ” เส้นทางประตูสู่อีสาน

เราสัญจรบน ถนนมิตรภาพมานาน แต่น้อยคนจะรู้ที่มาของชื่อ “มิตรภาพ” นั้นหมายถึงมิตรภาพระหว่างใคร บ้างก็ว่าเป็น มิตรภาพไทย-ลาว แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ และยิ่งไปกว่านั้น ก่อนจะมาเป็นชื่อ “มิตรภาพ” ทางหลวงสายนี้ยังเคยใช้ชื่ออื่นมาก่อนด้วย ประวัติความเป็นมาของ ถนนมิตรภาพ ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสหรัฐในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ตั้งชื่อถนนช่วงสระบุรี–ปากช่อง–นครราชสีมาว่า “ถนนสุดบรรทัด” และในช่วงนครราชสีมา–ขอนแก่น–อุดรธานี–หนองคายได้รับการตั้งชื่อถนนว่า “ถนนเจนจบทิศ” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ก่อนที่จะได้รับการสนันสนุนการก่อสร้างจากสหรัฐ ซึ่งเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2498 จากสระบุรีจนถึงนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 148 กิโลเมตร โดยการสร้างถนนจากสระบุรี-นครราชสีมา ระยะแรกเริ่มต้นจากจังหวัดสระบุรี ไปสิ้นสุดที่จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 148 กิโลเมตร จะมีช่วงถนนผ่านเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ผ่านอำเภอปากช่อง เป็นอำเภอแรกสุดของการเดินทางจากถนนมิตรภาพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สีคิ้ว, สูงเนิน, และอำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จากนั้นเส้นทางออกจากเมืองขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอเฉลิมพระเกียรติ, โนนสูง, คง, โนนแดง, สีดา และอำเภอบัวลาย ก่อนเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น ต่อมาได้สร้างต่อไปยังจังหวัดหนองคาย รวมเป็นระยะทาง 509 กิโลเมตร ถนนสายนี้เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2508 นับว่าถนนมิตรภาพเป็นถนนสายหลักที่สามารถเดินทางไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามสำนวนที่ว่า เปิดประตูสู่อีสาน เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2498 โดยรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USOM) ในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง พร้อมทั้งได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันมาช่วยให้คำแนะนำ ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมทางหลวง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในการก่อสร้างถนนร่วมกัน จึงขนานนามถนนสายนี้เป็น ถนนมิตรภาพ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระอริสริยศในขณะนััน) เสด็จพระราชดำเนินมาทรประกอบพิธีเปิดถนนมิตรภาพบริเวณกิโลเมตรที่ 33 อำเภอมวกเล็ก จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 และมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500  และได้เปลี่ยนชื่อ ขนานนามใหม่ให้ถนนสายนี้ว่า ถนนมิตรภาพ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐในการก่อสร้างถนนร่วมกัน โดยมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501   ป้ายอนุสรณ์ ความร่วมมือ มิตรภาพ สหรัฐอเมริกา-ไทย   ถนนมิตรภาพ ช่วงลำตะคอง โคราชในอดีต เมื่อปี พ.ศ.2514 อนุสาวรีย์จำลอง อนุสรณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เดิม …

ถนนไปที่ไหน ความเจริญไปที่นั่น จาก “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ สู่ มิตรภาพ” เส้นทางประตูสู่อีสาน อ่านเพิ่มเติม »

“ปลาหมอคางดำ” ชี้แพร่ถึงอีสานยากแต่ยังมีโอกาส นักวิชาการ มข.แนะทางแก้เอเลี่ยนสปีชีส์ “เจอต้องจับ”

“ปลาหมอคางดำ” กลายเป็นคำค้นหายอดนิยมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จนทำให้บางคนอาจสงสัยว่าปลาชนิดนี้คือออะไร มีที่มาจากไหน รวมถึงมีประโยชน์หรืออันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร วันนี้ 16 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชวนมารู้จักกับ “ปลาหมอคางดำ” พร้อมไขคำตอบวิธีแก้ไขปัญหาการระบาดของเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) กับ ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ ปลาหมอคางดำ (Blackchin tilapia) ว่า มีลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ  ปลานิล แต่บริเวณใต้คางจะมีสีดำ และโดยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า ปลาชนิดนี้ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา กระทั่งถูกนำเข้ามายังประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนจนเกิดการแพร่ระบาด แต่ยังไม่เป็นที่สนใจเพราะยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่มีผลกระทบต่อการทำการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จนไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น  ปัจจุบันข้อมูลจากกรมประมงที่มีการรายงาน  พบว่า ปลาหมอคางดำ มีการแพร่กระจายออกไปแล้ว 13 จังหวัด ตั้งแต่อ่าวไทยรูปตัวกอ เช่น จังหวัดระยอง  ลงไปถึงทางใต้ในจังหวัดสงขลา “จะสังเกตว่า ปลาหมอคางดำอยู่บริเวณเขตชายฝั่งของประเทศไทยและแม่น้ำ ลำคลองที่เชื่อมต่อกับชายฝั่งเป็นหลัก โดยปัจจัยที่มีการแพร่กระจาย คือ ปลาหมอคางดำสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็มตั้งแต่ 0-45 PPT คือ อยู่ได้ทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และอาศัยอยู่ได้ดีมากในบริเวณน้ำกร่อย  อีกปัจจัย คือ ปลาหมอคางดำมีการฟักไข่ในปาก โดยเฉลี่ยครั้งหนึ่งจะมีไข่ 50-300 อาจจะถึง 500 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาด ซึ่งตัวผู้จะดูแลตัวอ่อนค่อนข้างดี ทำให้อัตราการรอดตายของลูกสูงขึ้น คอกหนึ่งอาจจะรอดถึง 90-95% และเมื่อลูกออกมาจากปากก็จะตัวโตพอหาอาหารได้เองแล้ว”   ภาพ : เว็บไซต์กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผศ.ดร.พรเทพ กล่าวต่อว่า สำหรับปลาหมอคางดำนั้น มีประโยชน์ คือ สามารถนำมาเป็นอาหารให้มนุษย์บริโภคได้ ทั้งผลิตเป็นปลาเค็มแดดเดียว น้ำปลา น้ำปลาร้า หรือนำไปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างการทำปลาป่น หรือนำไปทำเป็นปลาเหยื่อเลี้ยงปลาเนื้อ แต่อีกด้านปลาหมอคางดำก็มีลักษณะพิเศษ คือ หาอาหารเก่ง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้ไปแย่งอาหารปลาธรรมชาติ นอกจากนี้ ปลาหมอคางดำยังไปทำลายตัวอ่อนของสัตว์น้ำ กินได้ทั้งลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา ทำให้สัตว์น้ำในธรรมชาติก็ค่อย ๆ ลดลงไป และตัวมันก็แพร่พันธุ์เร็วและมากยิ่งขึ้น สำหรับโอกาสที่ปลาหมอคางดำจะแพร่มายังภาคอีสานหรือไม่นั้น  หัวหน้าสาขาวิชาประมง ระบุว่า ยังมีโอกาสอยู่ แต่การจะแพร่ตามธรรมชาติคงต้องใช้เวลา เนื่องจากภูมิประเทศ และระบบลำน้ำของภาคอีสานไม่ได้เชื่อมต่อกับภาคกลางมากนัก ซึ่งการแพร่พันธุ์จะเน้นแพร่มาจากแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งระบบลำน้ำปกติแล้วจะไหลออกไปยังแม่น้ำโขง ดังนั้น หากจะแพร่มาภาคอีสานได้อาจจะเข้ามาทางแม่น้ำโขง แต่ตัวการที่ทำให้เกิดการแพร่พันธุ์ คือ มนุษย์ที่นำพาปลาหมอคางดำเข้ามา จุดนี้เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ “คนเราต้องการอาหารโปรตีน ภาคอีสานการเลี้ยงสัตว์น้ำมันยาก เพราะดินไม่เหมาะสม การเก็บน้ำไม่อยู่ สารพัดอย่าง เพราะฉะนั้นแหล่งโปรตีนเราก็ต้องการ คนอีสานก็ชอบ ถ้าเกิดมาอยู่อีสานก็อาจจะหมดเลยก็ได้ในอนาคต เหมือนหอยเชอรี่ที่เมื่อก่อนก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ระบาดไปทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันในอีสานเริ่มขาดแคลนจนมีการเลี้ยงเพราะเป็นเมนูโปรดของหลายคน แต่ทางที่ดีคือ อย่ามีใครนำมาแพร่กระจายในภาคอีสานจะดีที่สุด ” แนะ 3 วิธีแก้ปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาดในแหล่งน้ำธรรมชาติ ผศ.ดร.พรเทพ แนะนำว่า วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเผชิญกับเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) อย่างปลาหมอคางดำ สิ่งสำคัญ คือ “เจอต้องจับ” เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดไปยังแหล่งน้ำอื่น ควบคุมไม่ให้สถานการณ์แย่ไปกว่านี้ อีกวิธี คือ …

“ปลาหมอคางดำ” ชี้แพร่ถึงอีสานยากแต่ยังมีโอกาส นักวิชาการ มข.แนะทางแก้เอเลี่ยนสปีชีส์ “เจอต้องจับ” อ่านเพิ่มเติม »

“มูเตลู” การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม จะต่อยอดการท่องเที่ยวอีสานได้อย่างไร?

เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวหลายคนอาจนึกถึงการเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ การพักผ่อนที่โรงแรมหรู หรือการชมธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังมีมิติหนึ่งของการท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเปี่ยมไปด้วยความลึกลับน่าค้นหา นั่นคือการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางจิตวิญญาณและพิธีกรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น หนึ่งในนั้นคือ “มูเตลู” ความเชื่อที่ลึกซึ้งและพิธีกรรมที่น่าหลงใหลที่ถักทอเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในหลายชุมชน ทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมโยงประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน มาร่วมค้นหามิติของมูเตลูและสัมผัสความงดงามของการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรมไปพร้อมกับ ดร.ริณา ทองธรรมชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านบทความนี้ไปด้วยกัน (ภาพที่ 1 : ดร.ริณา ทองธรรมชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ความหมายและมิติของความเชื่อใน “มูเตลู” “มูเตลู” คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เรื่องลี้ลับ ของขลัง ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ การดูไพ่ การเสริมดวงและโชคชะตา การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในปัจจุบัน “มูเตลู” เป็นการหลอมรวมความเชื่อพุทธ พราหมณ์ การนับถือผี และสิ่งเร้นลับเข้าด้วยกัน และกลายเป็นความเชื่อที่เสริมกำลังใจผู้นับถือบูชาให้สมหวังในสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น มูเตลูด้านการงาน การเงิน และความรัก (ThaiPBS, 2566) โดยความเชื่อในมูเตลูมีรากฐานมาจากความศรัทธาในวิญญาณของบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่ถูกนับถือในท้องถิ่น อาทิ ผีบ้าน ผีเรือน และผีฟ้า การปฏิบัติตามความเชื่อเหล่านี้มักจะมีพิธีกรรมและประเพณีที่เข้มงวด เช่น พิธีสู่ขวัญ พิธีไหว้ครู พิธีแห่นางแมว และบุญบั้งไฟ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงถึงความศรัทธา แต่ยังเป็นวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย (ภาพที่ 2 : ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร. ราชกิจ กรรณิกา, 2562) ดังนั้นคำว่า “มูเตลู” นำมาอธิบายกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ไม่ได้เคร่งทางศาสนา และในปัจจุบันการมูเตลูถูกมองผ่านเครื่องประดับหรือเครื่องรางของขลังทั้ง พระเครื่อง หินสี สร้อยข้อมือมงคล นอกจากนี้ยังมีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พราหมณ์ พญานาค พระพิฆเนศ รวมถึงผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การทำบุญ การไหว้พระ การสวดมนต์ หรือแม้กระทั่งการดูไพ่ยิปซี ภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่เป็นรูปเทพต่าง ๆ  หรือกิจกรรมที่ทำแล้วสบายใจ ไม่เครียด เข้าถึงง่ายและเหมือนแฟชั่นหรือการตามเทรนด์ แทนการเข้าวัดหรือสถานที่ทางศาสนานั่นเอง (ภาพที่ 3 : การดูไพ่ยิปซี. สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 2566) มูเตลูกับการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม Paranormal Tourism หรือ การท่องเที่ยวเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นการเยี่ยมชมสถานที่ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับผี วิญญาณ หรือปรากฏการณ์ลี้ลับต่าง ๆ นักท่องเที่ยวที่สนใจในรูปแบบการท่องเที่ยวลักษณะนี้ ต้องการสัมผัสหรือเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและตำนานที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ต่าง ๆ เหล่านั้น ในประเทศไทยมีการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอยู่ทุกพื้นที่ทุกจังหวัด โดยเป็นการเข้าร่วมพิธีกรรมและการบูชา เช่น การไหว้พระ การทำบุญ การสวดมนต์ การขอพรจากพระพิฆเนศ เจ้าแม่กวนอิม หรือพญานาค รวมถึงการเยี่ยมชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ …

“มูเตลู” การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม จะต่อยอดการท่องเที่ยวอีสานได้อย่างไร? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top