SHARP ADMIN

🪙คลังเตรียมเปิดตัว “สลากเกษียณ” ในรูปแบบสลากขูดดิจิทัล ผ่าน กอช. ลุ้นเงินล้านทุกสัปดาห์ ช่วยคนไทยเปลี่ยนเงินซื้อหวย เป็นเงินออมสลาก ถอนเงินซื้อสลากคืนได้เมื่อเกษียณ

คลังเตรียมเปิดตัว “สลากเกษียณ” ในรูปแบบสลากขูดดิจิทัล ใบละ 50 บาท ขายผ่านกอช. เพื่อจูงใจให้ออมเงินเพื่อเกษียณ โดยเงินที่ซื้อสลากจะถูกออมในกอช. ถอนได้เมื่ออายุครบ 60 ปี ออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. รางวัลที่ 1 รับ 1 ล้านบาท 5 รางวัล คาดเริ่มปี 2568 6 มิ.ย. 2567 ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยมีปัญหาประชาชนเข้าสู่วัยเกษียณ แต่ไร้เงินเก็บ ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของไทย และปัญหานี้แก้ไม่ได้ด้วยการอัดงบประมาณในรูปแบบเบี้ยคนชราจำนวนสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้วระบบงบประมาณไม่มีทางรับไหว ดังนั้น กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณา “นโยบายสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ” หรืออาจเรียกสั้นๆว่า “สลากเกษียณ” หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า “หวยเกษียณ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่รวมเอาลักษณะการชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมที่สามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ (อายุ 60 ปี) โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น (สามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง) ดังนี้ 1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ออกสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท เพื่อขายให้กับสมาชิก กอช. ผู้ประกันตน ม. 40 และแรงงานนอกระบบ (กลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง) ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน 2. สามารถซื้อสลากได้ทุกวัน แต่ออกรางวัลทุกวันศุกร์เวลา 17.00 น. ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที โดยที่เงินค่าซื้อสลากถูกเก็บเป็นเงินออม แม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม 3. รางวัลของ ทุกวันศุกร์ กำหนดดังนี้ (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม) 3.1. รางวัลที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล 3.2. รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล 4. เงินค่าซื้อสลากทั้งหมดจะเป็นเงินออมของผู้ซื้อสลาก (เงินสะสม) ซึ่งจะนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินออมรายบุคคลกับ กอช. โดย กอช. จะเป็นผู้บริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว และเมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี จะสามารถถอนเงินทั้งหมดที่ซื้อสลากมาทั้งชีวิตออกมาได้ ทั้งนี้ นโยบายนี้จะเข้าแก้ไขปัญหาคนไทยแก่แต่จน แก่แต่ไม่มีเงินเก็บ เพราะการออมภาคสมัครใจในปัจจุบันไม่ได้ผล ต้องอาศัยการออมที่ผูกกับแรงจูงใจซื้อสลาก ถูกกฎหมาย เงินไม่หาย กลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินเลย ไม่ถูกทุกบาททุกสตางค์จะถูกเก็บเป็นเงินออมยามเกษียณ ซื้อมาก ได้ลุ้นมาก มีเงินออมมาก “นโยบายนี้อยู่ระหว่างขัดเกลารายละเอียด และต้องใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของกองทุนการออมแห่งชาติ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน – 1ปี ไม่เกิดขึ้นเร็วอย่างแน่นอน แต่จะเร่งรัดให้เร็วที่สุด คาดว่าจะเริ่มขายได้ในปีหน้า” ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล ดร. เผ่าภูมิ เปิดเผยต่อว่า สำหรับรูปแบบสลากจะเป็นสลากดิจิทัลแบบขูด ตัวอย่างเช่น สลาก 1 ใบ …

🪙คลังเตรียมเปิดตัว “สลากเกษียณ” ในรูปแบบสลากขูดดิจิทัล ผ่าน กอช. ลุ้นเงินล้านทุกสัปดาห์ ช่วยคนไทยเปลี่ยนเงินซื้อหวย เป็นเงินออมสลาก ถอนเงินซื้อสลากคืนได้เมื่อเกษียณ อ่านเพิ่มเติม »

ISAN Insight Summit 2024 งานเสวนาเศรษฐกิจอีสานแห่งปี ในธีม ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อน ‘อีสานใหม่’ สู่สากล ‘งานเดียวที่ตอบโจทย์ ทั้งความรู้ และความ “ม่วน” ที่อยู่ในตัวคุณ’

ISAN Insight Summit 2024 __________________________________ ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อน ‘อีสานใหม่’ สู่สากล . เตรียมพบกับงานสัมมนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจาก ISAN Insight ‘งานเดียวที่ตอบโจทย์ ทั้งความรู้ และความ “ม่วน” ที่อยู่ในตัวคุณ’ . งานสัมมนาเศรษฐกิจแห่งปี พร้อมโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน จากนักวิชาการ นักธุรกิจ และ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรม 5F: Food Fashion Festival Fighting Film งานที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในวาระฉลองครบ 60 ปี จะเป็นสะพานเชื่อม นโยบายสู่โมเดลการพัฒนาเมือง เพื่อประชาชน และสร้างเศรษฐกิจต้อนรับ ‘อีสานใหม่’ . พบกับ 2 องค์ปาฐก ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนอีสานใหม่” นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ในหัวข้อ “ISAN Soft Power โอกาสและความท้าทายในการพลิกเศรษฐกิจอีสานให้รุ่งเรืองและยั่งยืน” . . พร้อมกับ เสวนาหัวข้อ “ISAN Soft Power 5 ขุมทรัพย์ (5F) ขับเคลื่อนอีสานใหม่สู่สากล” . Food อาหารอีสาน “แซ่บ” สู่การเป็นครัวของโลก โดย คุณศิโรรัตน์ เถาว์โท เจ้าของร้าน ‘หมก’ เสิร์ฟรสชาติ Authentic ที่อยู่ในครัวของคนอีสาน . Fashion ผ้าอีสาน “งามโพด” สู่แฟชั่นสร้างสรรค์อินเตอร์ โดย คุณรัฐพล ทองดี เจ้าของแบรนด์ ‘ครามพล’ แบรนด์อีสานที่หยิบผ้าไทยมาผสมผสานแฟชั่นสตรีทแวร์ สู่เวทีระดับสากล VIENNA FASHION WEEK 2023 . Festival เทศกาลอีสาน “ม่วน” สู่แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดย คุณสุชาติ อินทร์พรหม ผู้ก่อตั้งวงหมอลำ ‘อีสานนครศิลป์’ และผู้อำนวยการรายการ ‘หมอลำไอดอล’ ที่สร้างปรากฏการณ์หมอลำฟีเวอร์ . Fighting กีฬามวยอีสาน “คักขนาด” สู่เวทีมวย โดย ร.ต.อ.นิรันดร์ ยศพล เจ้าของค่ายมวย ‘ดาบรัน สารคาม’ ผู้นำพามวยไทย แดนอีสาน สู่สายตาชาวโลก . Film บันเทิง …

ISAN Insight Summit 2024 งานเสวนาเศรษฐกิจอีสานแห่งปี ในธีม ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อน ‘อีสานใหม่’ สู่สากล ‘งานเดียวที่ตอบโจทย์ ทั้งความรู้ และความ “ม่วน” ที่อยู่ในตัวคุณ’ อ่านเพิ่มเติม »

อาหารอีสาน แดน ปลาร้า “วันส้มตำสากล” 2 มิ.ย. เปิดประวัติ ‘ส้มตำ’ มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่?

2 มิถุนายน “วันส้มตำสากล” วันที่นานาชาติให้การยอมรับว่า ส้มตำไทย อร่อย และยกให้ ส้มตำ เป็น อาหารสากล เปิดที่มาของคำว่า “ส้มตำ” มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่ ส้มตำ ภาพจาก FREEPIK “วันส้มตำสากล” (International Somtum Day) ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันที่นานาชาติให้การยอมรับว่า ส้มตำไทย นั้นอร่อยและยกย่องให้ ส้มตำ เป็น อาหารสากล ชื่อ ส้มตำ เกิดจากการนำคำสองคำมาผสมกันนั่นเอง คำแรก “ส้ม” มาจากภาษาท้องถิ่น ที่หมายความว่ารสเปรี้ยว ส่วนคำที่สองคือ “ตำ” หมายความว่า การใช้สากหรือสิ่งของอื่นที่คล้ายคลึงทิ่มลงไปอย่างแรงเรื่อยๆ เมื่อสองคำมารวมกันก็จะได้ความหมายคือ อาหารรสเปรี้ยวที่ทำโดยการตำนั่นเอง ที่มาของวันส้มตำสากล เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยมีการเสนอให้ องค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) ขึ้นทะเบียน “ส้มตำ” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก้ ได้พิจารณาและ ให้การรับรองส้มตำ เข้าร่วมในรายการ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของไทย ความหมายของวันส้มตำสากล เป็นการ ยกย่อง ให้ “ส้มตำ” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นการ ส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ได้รู้จัก ลิ้มลอง และชื่นชอบอาหารไทย เป็นการ กระตุ้น เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและร้านอาหาร เป็นการ อนุรักษ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย กิจกรรมในวันส้มตำสากล มีการจัดงาน เทศกาลส้มตำ ทั่วประเทศ มีการ ประกวดตำส้มตำ ในรูปแบบต่างๆ มีการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาลองชิมส้มตำ มีการ เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับส้มตำ ผ่านสื่อต่างๆ ส้มตำ อาหารไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก เปรียบเสมือนตัวแทนของวัฒนธรรมไทย การมี “วันส้มตำสากล” จึงเป็นการช่วย ส่งเสริม ให้ส้มตำเป็นที่รู้จัก และ นิยมมากยิ่งขึ้น ข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของ ส้มตำ ส่วนผสมในเอกสารของส้มตำ ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมาในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มีกะหล่ำปลี และชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย (ในบางหลักฐานหลายอย่างชี้เห็นว่าชาวสยามกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนข้าวเจ้านั้นจะปลูกสำหรับให้กับเจ้านายขุนนางและสำนักราชวังเท่านั้น …

อาหารอีสาน แดน ปลาร้า “วันส้มตำสากล” 2 มิ.ย. เปิดประวัติ ‘ส้มตำ’ มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top