ทำไม บึงกาฬ จึงเป็นจังหวัดเดียวในอีสานที่เศรษฐกิจหดตัว ปี 66 เจาะลึกปัญหา และ โอกาสที่ต้องเผชิญ

 บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่กับปัญหา และ โอกาสที่ต้องเผชิญ

จังหวัดบึงกาฬหรือจังหวัดน้องใหม่เป็นจังหวัดที่มีการพึ่งพาภาคการเกษตรมากที่สุดในภาคอีสานจังหวัดบึงกาฬเป็นหนึ่งในจังหวัดสำคัญในการปลูก ต้นยาง และ ปาล์มน้ำมัน เพื่อส่งออกเป็นรายได้ให้กับจังหวัดจังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดในภาคอีสานรวมไปถึงปาล์มน้ำมันก็เช่นเดียวกันที่การปลูกมากที่สุดในภาคอีสาน การท่องเที่ยวก็เช่นกันมีการท่องเที่ยวเชิง ศาสนาที่เดินตามรอยพยานาค

จังหวัดน้องใหม่ที่มีขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่อันดับที่ 17 ของภูมิภาค แต่มีรายได้ต่อหัวสูงถึง อันดับที่ 7 ของภูมิภาค อะไรที่ทำให้จังหวัดน้องใหม่อย่างบึงกาฬมีรายได้ต่อหัวที่สูงขนาดนี้ และ จังหวัดบึงกาฬจะสามารถพัฒนาไปในทิศทางไหนได้บ้าง 

พาส่องเบิ่ง GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน

.

.

อีสานอินไซต์ สิพามาเบิ่ง

ทำไม บึงกาฬ จังหวัดเดียวที่เศรษฐกิจหดตัว?

.
🧐ก่อนอื่นอาจจะต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของจังหวัดบึงกาฬก่อน เพราะจังหวัดบึงกาฬนั้นมีแรงงานกว่า 80% อยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมันและปลูกข้าว ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับราคาของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเกษตรกรเหล่านี้ก็นำเงินที่ได้ไปจับจ่ายใช้สอยซึ่งทำให้เกิดมูลค่าในเศรษฐกิจภาคการค้าและบริการในจังหวัด
.
ในภาคการเกษตรนั้น หากจะกล่าวก็คือบึงกาฬนั้นเป็นจังหวัดที่มีผลิตภาพทางการเกษตรสูงสุด นั่นหมายความว่าเกษตรกร 1 คนมีมูลค่าที่ได้จากการผลิตทางการเกษตรนั้นสูงที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน เพราะ บึงกาฬนั้นมีผลิตผลผลิตทางการเกษตร สูงสุดคือ ยางพารา
.
แต่ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ดัชนีราคายางพาราทั่วประเทศนั้น ค่อนข้างตกต่ำในรอบหลายปี ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นรายได้หลักและเป็นเศรษฐกิจภาคการเกษตรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดบึงกาฬ เมื่อเกษตรกรรายได้ลดลงการจับจ่ายใช้สอยและการซื้อสินค้าคงทน ทั้งรถยนต์รวมไปถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือน การหดตัวของสินเชื่อและรวมถึงความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อทำให้การซื้อและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หดตัวลงเช่นกัน
นอกจากนั้นในฝั่งภาคการลงทุนด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในภาคอีสานนั้น มักจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แต่กลับพบว่าการลงทุนเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นโรงงานการแปรรูปยางพารา ลงทุนในจังหวัดใกล้เคียงอย่าง เช่น สกลนคร และ นครพนม ซึ่งมีพื้นที่ติดกับชายแดนและเขตพื้นที่การค้า ทำให้บทบาทของจังหวัดบึงกาฬนั้นกลายเป็นเพียงพื้นที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ส่วนพื้นที่แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าการผลิตทางการเกษตรนั้น ไปเติบโตในจังหวัดใกล้เคียง
และเมื่อภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ถูกลงทุน ภาคการเกษตรที่เป็นรายได้หลักหดตัวจากราคาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง การบริโภคหดตัวลงและส่งผลกระทบต่อภาคการค้าและภาคบริการในจังหวัด ทั้งหมดนี้จึงทำให้จังหวัดบึงกาฬเป็นเพียงแค่จังหวัดเดียว ที่มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หรือ GPP หดตัวถึง 5.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเป็นเพียงแค่จังหวัดเดียวในภาคอีสานที่ขนาดเศรษฐกิจหดตัวลงนั่นเอง

 

โดยจะแยกรายละเอียดเพิ่มเติมถึงโอกาส และ ความท้าทายที่จังหวัด บึงกาฬ ได้ 5 ประเด็น ดังนี้

.

 

1. อย่างที่เรารู้กันจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นจังหวัดที่มีการ ปลูก ยางพารา และ ปาล์มน้ำมันมากที่สุด

ในภาคอีสาน ซึ่งยางพาราสามารถให้ผลผลิตกว่า 1.3ล้านตัน จังหวัดบึงการมีการพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลัก และ ในปี 2565 จังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตการเพาะปลูกยางพารามากทึ่สุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 208,035 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 15.6% อีกทั้งมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุดในภาคอีสาน และสูงที่สุดของประเทศด้วย โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 248 กิโลกรัม/ไร่ ถ้าเราดูสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจ มีสัดส่วนภาคเกษตรกรรมมากที่สุดโดยมีสัดส่วนสูงถึง 32% จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มูลค่าเศรษฐกิจของ “บึงกาฬ” ถูกขับเคลื่อนด้วยพืชเศรษฐกิจหลัก อย่าง “ยางพารา” มากที่สุด 

แต่ในปีต่อมาอย่างปี 66 มูลค่าการเกษตรของจังหวัดได้ตกลงอย่างมากส่งผลให้เกษตรกรที่อยู่ในจังหวัด ได้มีเกษตรกรหลายๆรายได้เริ่มมีการเร่งขายยางก้อนถ้วย[1] เนื่องจากราคายางที่ตกต่ำตลอดทั้งปี[2] และ เกษตรกรกลัวราคายางจะลดลงอีก แล้วมันเกิดอะไรขึ้นทำไมราคายางถึงตก

 

.

.

สำหรับผลกระทบที่มีต่อธุรกิจในปี 2566 คาดว่า ธุรกิจยางพาราขั้นกลางของไทย คงเผชิญรายได้ที่ลดลง จากคำสั่งซื้อที่หดหาย ผนวกกับในช่วงปลายปีที่ผลผลิตยางพาราคงลดลงจากเอลนีโญ ทำให้มีปริมาณผลผลิตไม่คุ้มค่าต่อการเดินเครื่องจักร จึงทำให้รายได้ในช่วงนี้หายไป ซึ่งภาพเช่นนี้คงมีให้เห็นในช่วงเวลาที่เหลือส่วนใหญ่ของปีนี้ และจะกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ประกอบการส่งออกยางพาราขั้นต้นของไทยให้เผชิญรายได้ที่ลดลงเช่นกัน ส่วนธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อส่งออกก็น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะถุงมือยาง เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมาก จากโควิดที่คลี่คลายขึ้น ขณะที่การผลิตยางพาราต้นน้ำ สะท้อนสถานะทางการเงินของเกษตรกรชาวสวนยางโดยรวมที่ยังยากลำบาก

 

.

.

 

 

2. หลังจากปี 66 ราคายางก็กลับขึ้นมาปกติหลังจากผ่านวิกฤติในปีนั้นมาแล้ว

แต่ในปัจจุบันของเราหนึ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจในกลุ่ม G3 อย่างสหรัฐอเมริกาได้มีการออกนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าแบบฐานขั้นต่ำในอัตรา 10% จากทุกประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ[3] โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้ ซึ่งจะถูกเก็บภาษีในอัตรา 36%ก่อน ที่ในเวลาต่อมาเอกสารแนบท้ายของประกาศจะมีการปรับแก้ตัวเลขเป็น 37% ซึ่งในนโยบายนี้ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนในการเจรจา และ ต่อรองอยู่ต้องรอูในอนาคตันอีกรอบนึงว่าผลการเจรจาจะออกมาเป็นอย่างไร ถ้าการเจรจาไม่ได้เป็นผลดีนัก และ สินค้าไทยถูกเก็บภาษีในอัตรา 37% จริง ๆ “เศรษฐกิจบ้านเราจะหดตัวแรงมาก GDP ของปะเทศเราจากที่จะโต 2.5% ในปีนี้ ก็จะกลายเป็น -1.1% ทันที”  

 

.

🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓

จริงอยู่ว่า เหตุ “แผ่นดินไหวทางเศรษฐกิจ” จากมาตรการภาษีที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ของทรัมป์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อไทยโดยตรงเพิ่งจะเกิดขึ้น และยังต้องอาศัยเวลาและข้อมูลในการคำนวณเพิ่มเติม แต่จากการประเมินขั้นต้น ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด

กล่าวว่า สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ย่อมสุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบอย่างมหาศาลแน่นอน

ผลิตภัณฑ์ยางเป็นหนึ่งในสินค้าสำคัญของประเทศเราที่มีการส่งออก กว่า 10.6% จากสินค้าสำคัญที่ส่งออกทั้งหมด เป็นมูลค่ากว่า  4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการที่บึงกาฬเป็นผู้ผลิตยางพาราแหล่งสำคัญของภาคอีสานและไทย จึงมีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่มาตรการทางการค้าดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวสวนยางและโรงงานแปรรูปยาง ทั้งในบึงกาฬและหลายจังหวัดในอีสาน

 

.

 

3.การท่องเที่ยวสายมู

แหล่งท่องเที่ยวของสายมูที่บึงกาฬ[3]ที่เราจะไม่พูดถึงเลยไม่ได้คือ ถ้ำนาคา ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูลังกา มีความสวยงามโดดเด่นจากความมหัศจรรย์และซับซ้อนของธรรมชาติที่ทำให้หินบริเวณถ้ำนาคามีลักษณะคล้ายเกล็ดงู ในทางวิทยาศาสตร์ด้านธรณีวิทยาเรียกว่า “ซันแครก” (Sun Crack) ซึ่งเกิดจากการแตกผิวหน้าของหิน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างกลางวันและกลางคืนอย่างรวดเร็ว ทำให้หินเกิดการขยายตัวและหดตัวสลับไปมา จนแตกเป็นลายเหลี่ยม ต่อมามีการผุพังและกัดเซาะโดยน้ำและอากาศในแนวดิ่ง ทำให้เกิดลักษณะเป็นชั้น ๆ และด้วยลวดลายที่โดดเด่นคล้ายกับพญานาค เป็นที่มาของเรื่องเล่าว่า เจ้าปู่อือลือราชาเป็นราชาผู้ถูกสาปให้เป็นพญานาคเฝ้าถ้ำแห่งนี้ชั่วนิจนิรันดร์ เพราะเป็นต้นเหตุของรักไม่สมหวังระหว่างพญานาคกับมนุษย์ ทำให้เมืองที่เจริญรุ่งเรืองล่มสลายกลายเป็นบึงโขงหลง พระอือลือราชาจะพ้นคำสาปก็ต่อเมื่อบังเกิดเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งในอดีตพื้นที่นี้ขึ้นกับจังหวัดหนองคาย แต่ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดใหม่คือบึงกาฬ การเดินทางขึ้นไปยังถ้ำนาคาสามารถขึ้นได้ทางเดียว คือบริเวณสำนักสงฆ์ฐิติสาราราม (วัดตาดวิมานทิพย์) เส้นทางน้ำตกตาดวิมานทิพย์ จุดนี้ระหว่างทางจะพบประตูเต่า หินหัวเรือ หัวนาคาหัวที่ 3 และเมื่อขึ้นถึงบนเขาจะมีทางไปพบหัวนาคาหัวที่ 1 ซึ่งจะเป็นทางเดินป่าขึ้นเขา 2 กิโลเมตร เป็นทางดินสลับกับบันได และมีบางช่วงจะต้องดึงเชือก เส้นทางเดินป่าชัดเจน มีป้ายบอกทาง และมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดต่าง ๆ เพื่อแนะนำและรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว  

“มูเตลู” การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม จะต่อยอดการท่องเที่ยวอีสานได้อย่างไร?

.

ที่ต่อมาคือวัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร[5] นี่ก็เป็นอีกหนึ่งท่องเที่ยวทางศาสนา และ วัฒนธรรม 

 ภูทอก เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร หรือ วัดภูทอก ตั้งอยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จังหวัดบึงกาฬ โดยมี พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งคำว่า ภูทอก ในภาษาอีสานนั้น แปลว่า ภูเขาโดดเดี่ยว ที่นี่จะมีภูเขาอยู่ 2 ลูก ด้วยกัน คือ ภูทอกใหญ่ และ ภูทอกน้อย ส่วนที่สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่จะอยู่ห่างออกไป และยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เริ่มจากก่อนขึ้นไปสู่ยอดภูทอก ใครจะแวะมาไหว้พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ก่อนก็ได้ ซึ่งท่านเป็นผู้เจอสถานที่และได้เข้ามาสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่เกิดจากการนิมิตรเห็น จึงเดินทางมาพิสูจน์ และได้พบกับที่นี่ จนได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างวัดเจติยาคีรีวิหาร รวมถึงสะพานไม้สุดน่าทึ่ง ที่เปรียบเสมือนสะพานนรก-สวรรค์

หลังจากไหว้พระด้านล่างเสร็จแล้ว ก็เริ่มเดินขึ้นไปยังยอดภูทอกได้เลย ซึ่งจุดเด่นของภูทอกคือบันไดและสะพานไม้วนแบบ 360 องศา ที่สร้างขึ้นรอบๆเขาหิน โดยมีทั้งหมด 7 ชั้น และใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม โดยไม่ใช้เครื่องจักรกลใดๆเลย สะพานไม้ทั้งหมดเกิดจากฝีมือ และแรงกายแรงใจ รวมถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีความศรัทธาต่อสถานที่แห่งนี้

สะพานไม้ในการขึ้นภูทอกนั้น 7 ชั้นด้วยกัน ซึ่งแต่ละชั้นก็ความแตกต่างกันดังนี้

  • ชั้นที่ 1 เป็นการเริ่มขึ้นบันไดไม้ โดยจะมีพรรณไม้ต่างๆ หลายสายชนิดให้ชมตลอดทาง
  • ชั้นที่ 2 เมื่อเดินไปเรื่อยๆ จะเห็นสถานีวิทยุชุมชนของวัดอยู่ด้านขวามือซึ่งทัศนียภาพไม่ต่างกับชั้น 1 เท่าไหร่
  • ชั้นที่ 3 เริ่มมีสะพานเวียนรอบเขา โดยจะมีโขดหิน ลานหิน หน้าผา และไม้ยืนต้นขึ้นกางกิ่งใบให้ร่มเงา
  • ชั้นที่ 4 จากชั้นนี้มองลงไปข้างล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกันเรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับ           “ภูลังกา” ชั้นนี้จะมีที่พักของแม่ชีด้วย
  • ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งศาลาและกุฏิพระภิกษุสงฆ์ ตามทางเดินมีถ้ำตื้นๆ หลายถ้ำ มีที่นั่งพักได้หลายจุด ถือเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด
  • ชั้นที่ 6 จะเป็นสะพานไม้แคบๆ ติดกับหน้าผาสูงชัน โดยมีความยาวทั้งหมด 400 เมตร ถึงจะดูน่ากลัวแต่เป็นจุดชมวิวที่ค่อนข้างสวย
  • ชั้นที่ 7 เป็นทางค่อนข้างชันและเดินลำบาก รวมถึงมีป่าไม้รกทึบ จึงไม่แนะนำให้เดินเท่าไหร่ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษ

 และเค้ามีความเชื่อกันว่าถ้าใครที่ขึ้นไปถึงจุดสุงสุดของวัดภูทอกแล้ว ถือว่าได้หลุดพ้นจากสิ่งไม่ดีทั้งปวง เนื่องจากต้องใช้ความพยายามและต้องครองสติระหว่างทางเดินอย่างมากในการขึ้นมาถึงยอดภูทอกได้

 

.

 

ถ้าเรามาดูจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยในปี 67 เราจะเห็นได้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมามีถึง 886,121 คน และ ถ้าเรามาดูจำนวนผู้เยี่ยมเยือนในปี 62 ที่มีจำนวนเพียง 599,471 คน 

จากการที่มีอัตราการเติบโตของผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นกว่า 47% จากช่วงก่อนโควิด ปัจจัยส่วนหนึ่งมากจากการที่แหล่งท่องเที่ยวของบึงกาฬได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวสายมูที่โด่งดังขึ้นในจังหวัดอย่าง ถ้ำนาคา จึงแสดงให้เห็นถึงโอกาสของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ควรค่าแก่การพัฒนาและประชาสัมพันธ์ส่งเสริม 

 

.

 

4.ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานอย่างแพทย์อินเทิร์น และ แพทย์ลาออกเยอะ

ในจังหวัดบึงกาฬมีจำนวนแพทย์ลาออกมากเป็นอันดับ 1 ของภาคอีสานเลยทีเดียว[6] โดยแพทย์ 1 คนจะมีคนไข้อยู่ในการดูแลถึง 5000 กว่าคนซึ่งถือว่ามากเกินไปต่อแพทย์ 1 คน   

มีหลายปัจจัยทำให้ตัดสินใจลาออกแต่หลักๆ คือ ขีดความสามารถค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งที่บึงกาฬ อย่างปีนี้ มีแผนกอายุรกรรม มีแพทย์เฉพาะทางเพียง 4 คนต่ออินเทิร์น 16 คน[7] ศัลยกรรมมีแพทย์เฉพาะทางเพียง 1 คนต่ออินเทิร์น 16 คน สูตินรีเวชกรรมมี 2 คน และกุมารเวชกรรมมี 3 คน  ซึ่งจริงๆในโรงพยาบาล(รพ.)บึงกาฬ แต่ละสาขาจะแพทย์เฉพาะทางครบ แต่มีน้อยมาก ปัญหาคือ มีแต่ไม่พอ

นอกจากนี้  ยังมีปัญหาเรื่องการส่งต่อคนไข้ เพราะขีดความสามารถของรพ.บึงกาฬ  ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่ ยิ่งหากไปอยู่รพ.ชุมชน ซึ่งขนาดเล็กลงไปจากรพ.บึงกาฬ ยิ่งเกินขีดความสามารถของรพ.ชุมชนไปอีก สุดท้ายก็ต้องส่งต่อผู้ป่วยอยู่ดี อย่าง รพ.ชุมชน  ในอ.บึงโขงหลง หรืออ.เซกา จะอยู่ใกล้ทางจ.สกลนครมากกว่า ประกอบกับแนวทางการส่งต่อ ต้องส่งทางสกลนคร เพราะรพ.ใหญ่กว่า แต่ทางปฏิบัติทางสกลนครก็ไม่ค่อยรับ แจ้งว่าให้ส่งกลับไปบึงกาฬ  กลายเป็นว่า จากข้อจำกัด รพ.บึงกาฬ ที่กำลังคนด้านสุขภาพก็ไม่พอ แต่ก็ต้องรับผู้ป่วยที่รพ.ปลายทางไม่ยอมรับ กลายเป็นว่า  คนไข้สะสมมากเกินไป

อีสานเตรียม “ปั้นหมอ” เพิ่ม  พาเปิดเบิ่ง “หมอในอีสาน” มีมากแค่ไหน

.

 

5.สะพานมิตรภาพกำลังจะสร้างเสร็จ,การค้าชายแดน ไทย-ลาว

สะพานข้ามแม่น้ำถือเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ เป็นการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ส่งผลสำคัญอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสปป.ลาวนั้น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 [8] ที่กำลังก่อสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อจังหวัดบึงกาฬของไทยกับแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว จะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการประมาณเดือนพฤษภาคม ปี 2568ซึ่งคาดหมายว่าจะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจอนาคตได้อย่างมากมายอีกด้วย

สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 เป็นโครงการสะพานแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยกับสปป.ลาว เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 โครงการนี้จะข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขงและเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของสปป.ลาวที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก ตัวสะพานมีรูปแบบเป็นสะพานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องจราจร ความยาว 13.5 กิโลเมตร ขนาด 2 ช่องจราจร โดยทั้งโครงการมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 16.18 กิโลเมตร แบ่งเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12.13 กิโลเมตร และฝั่งลาว 3.18 กิโลเมตร

 

.

 

สปป.ลาว มีชายแดนติดต่อกับไทยเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร โดยมี 12 จังหวัดชายแดน ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้มีการพัฒนาโครงการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางถนนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันไทยกับสปป.ลาว มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศแล้ว จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

  1. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) มูลค่าส่งออก/นำเข้าปี 2566 รวม 101,742 ล้านบาท
  2. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) มูลค่าส่งออก/นำเข้าปี 2566 รวม 339,509 ล้านบาท
  3. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) มูลค่าส่งออก/นำเข้าปี 2566 รวม 115,190 ล้านบาท
  4. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) มูลค่าส่งออก/นำเข้าปี 2566 รวม 74,383 ล้านบาท

.

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพไม่มีคำอธิบายรูปภาพไม่มีคำอธิบายรูปภาพไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

.

 

โดยนับตั้งแต่เริ่มเปิดงานใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ในปี 2537 สะพานแห่งนี้ก็ได้สร้างประโยชน์ให้กับไทยและสปป.ลาวอย่างมากมาย ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เนื่องจากสะพานแห่งนี้ได้อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและบริการจากไทยผ่านสปป.ลาว ไปยังเวียดนาม และจีนอีกด้วย ซึ่งแต่เดิมจะเป็นการขนถ่ายกันโดยใช้แพขนานยนต์ จากความสำเร็จของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 นี้ จึงทำให้เกิดการพัฒนาสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2,3 และ 4 ตามลำดับ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงด้านการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาคในเส้นทางอื่นๆ

จนมาถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นี้ ก็นับเป็นการเพิ่มช่องทางในการขนส่งสินค้าตามแนวชายแดนมากขึ้น ก่อให้เกิดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกับจังหวัดบึงกาฬและแขวงบอลิคำไซได้เป็นอย่างดีในอนาคต อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

 เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และลดการติดขัดจราจร รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญ โดยธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในพื้นที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว สะพานแห่งนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยและสปป.ลาว โดยเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของผู้คนสองฝั่งแม่น้ำโขง และเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือระหว่างไทยกับสปป.ลาว ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ

ทั้งนี้สํานักงานศุลกากรบึงกาฬ คาดการณ์ว่าเมื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมบึงกาฬและแขวงบอลิคำไซแล้วเสร็จ จะช่วยดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ การค้าชายแดนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นล้านบาทต่อปี 

.

 

อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายการค้าชายแดนที่ 30,000 ล้านบาทต่อปีนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง การอำนวยความสะดวกทางการค้า การส่งเสริมการลงทุน และความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค. การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องจะเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบว่าเป้าหมายดังกล่าวสามารถบรรลุได้หรือไม่?

หมายเหตุ: GPP, GRP หรือแม้กระทั่ง GDP ที่แสดงถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมนั้น ไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของประชากร, ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม, การกระจายรายได้รวมถึงความเหลื่อมล้ำ, และ เศรษฐกิจนอกระบบ

ที่มา

  1. ThaiPBS อีสาน, เร่งขายยางก้อนถ้วยกลัวราคาตกต่ำ จ.บึงกาฬ
  2. การยางแห่งประเทศไทย, ราคายางวันนี้
  3. BBC News ไทย, สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้ไทย 37% กระทบสินค้าส่งออกอะไรบ้าง ?
  4. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), ถ้ำนาคา 
  5. กรมประชาสัมพีนธ์, วัดภูทอก หรือ วัดเจติยาคีรีวิหาร
  6. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานอย่างแพทย์อินเทิร์น และ แพทย์ลาออกเยอะ 
  7. ‘หมออินเทิร์น’ วางแผนลาออกก่อนปฏิบัติงาน 3.5% ไทยยังจำเป็นต้องมี ‘แพทย์เพิ่มพูนทักษะ’ หรือไม่  
  8. SCB, สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 เชื่อมบึงกาฬและแขวงบอลิคำไซ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top