ชวนมาเบิ่ง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ในภาคอีสานมีมากแค่ไหน

“มะเร็งปอด” โรคร้ายที่มักตรวจพบเจอเมื่อมีอาการและโรคเข้าสู่ระยะลุกลามทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง บุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ควันบุหรี่มือสอง งานที่ต้องสัมผัสสารก่อมะเร็ง พันธุกรรมมีความเสี่ยง รวมถึงการดำเนินชีวิตท่ามกลางมลพิษและฝุ่น PM2.5 ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด

จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่า แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 2.5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1.8 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมะเร็งปอดพบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี

.

สำหรับประเทศไทยที่ปัจจุบันคนในหลายพื้นที่เผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะมะเร็งปอดกำลังคร่าชีวิตคนไทยในอัตราที่น่าตกใจถึงวันละ 40 ราย สูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 48 คน ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ในระยะลุกลาม เนื่องจากอาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน แม้ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสพบมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบ 10 เท่า แต่มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

.

ใประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีมากถึง 263,517 คน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากถึง 73,518 ราย คิดเป็น 27.9% ของจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดในประเทศ  .

โดยในจำนวนผู้ป่วย 73,518 ราย เป็นผู้ป่วยจาก

  • ขอนแก่น 11,549 คน ใน 1,000 คน จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งกว่า 7 คน
  • นครราชสีมา 8,138 คน ใน 1,000 คน จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งกว่า 3 คน
  • อุดรธานี 8,089 คน ใน 1,000 คน จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งกว่า 7 คน

ส่วนภูมิภาคอื่นๆ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้

  • ภาคกลาง มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากถึง 91,891 คน
  • ภาคใต้ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากถึง 60,453 คน
  • ภาคเหนือ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากถึง 37,655 คน

.

🦽จำนวนสะสมผู้ป่วยมะเร็งปอดแต่จังหวัดภาคอีสาน ปี 2566 เทียบกับสัดส่วนของประชากรรวมของแต่ละจังหวัด

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากเป็นอันดับที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากนั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ประชากรมีจำนวนมาก อัตราการสูบบุหรี่สูง มลพิษทางอากาศสูง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เป็นต้น

.

ด้วยเหตุนี้ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการในการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ โดยเน้นไปที่การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น รณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมมลพิษทางอากาศ และส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

.

.

อ้างอิงจาก:

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • www.medi.co.th
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Institute
  • Thai RSC
  • NCI

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ#เศรษฐกิจ#ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #สสส #สุขภาพอีสาน#มะเร็งปอด #บุหรี่

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top