Nanthawan Laithong

เริ่ดคักหลายพี่น้อง กรมขนส่งฯ เตรียมเซ็นสัญญา สร้าง “ศูนย์การขนส่งชายแดน” จ.นครพนม รองรับการขนส่งสินค้า เชื่อมต่อ 4 ประเทศ

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน และร่างสัญญาร่วมลงทุน (PPP) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยมีบริษัท สินธนโชติ จำกัด เป็นผู้ที่ ผ่านการประเมินสูงสุด ทั้งนี้ เอกชนรายดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบลงทุนค่าก่อสร้างในองค์ประกอบอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ และเครื่องมืออุปกรณ์ และรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (Operation and Maintenance : O&M) รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ ตามรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ในการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 30 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ มีมูลค่าโครงการทั้งในส่วนที่ภาครัฐและเอกชนลงทุนรวมกว่า 1,361 ล้านบาท นายจิรุตม์ กล่าวว่า โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม จัดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) และโครงการนำร่องโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยรองรับการขนส่งสินค้าทางถนน ระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R12 เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย – สปป.ลาว – เวียดนาม – จีนตอนใต้ ผ่านด่านพรมแดน นครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) จัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนครพนมและพื้นที่ใกล้เคียง และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรองรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการศูนย์การรขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นายจิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับการนําเนินการตามแผนพัฒนาโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกได้เร่งรัดจัดการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนให้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อภาคเอกชนจะได้เตรียมการดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุน (PPP) และเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการโครงการได้ตามแผนในปี 2568 ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในส่วนที่ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางและอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง 624 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงปลายปี พ.ศ. 2567 พร้อมกับการก่อสร้างในส่วนที่ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ อ้างอิงจาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/business/1053271/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ศูนย์การขนส่งชายแดน #นครพนม #โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน

ชวนเบิ่ง จำนวนผู้ประกอบการในภาคอีสาน

แต่ละจังหวัดเป็นจั่งใด๋แหน่??       อ้างอิงจาก: – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนผู้ประกอบการในภาคอีสาน #จำนวนผู้ประกอบการ  

พามาเบิ่ง ข้อมูลที่น่าสนใจของจำนวนผู้ประกอบการในภาคอีสาน

เป็นจั่งใด๋แหน่ อ้างอิงจาก: – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทสินทรัพย์รวมหมื่นล้าน #บริษัทหมื่นล้าน

ชวนเบิ่ง บริษัทในภาคอีสานที่มีสินทรัพย์รวมเกินหมื่นล้าน

สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิง เศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง สามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือสินทรัพย์อื่นที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว โดยปกติจะไม่เกิน 1 ปี 2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยเร็วซึ่งมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี อ้างอิงจาก: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทสินทรัพย์รวมหมื่นล้าน #บริษัทหมื่นล้าน

ชวนเบิ่ง มูลค่าโครงการต่างชาติยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่??

การลงทุนในอีสานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ประกอบการภาคการผลิตเริ่มมีการเพิ่มปริมาณการผลิต รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่อยู่ในระดับเชื่อมั่น อย่างไรก็ตาม การลงทุนในอีสานได้รับปัจจัยบวก จากอุปสงค์ในพื้นที่ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ช่วยกระตุ้นการใช้ จ่ายในพื้นที่ และอุปสงค์จากการเปิดประเทศของจีน ยังเป็นอีกปัจจัยบวกที่มีผลต่อการลงทุน มูลค่าโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในภาคอีสานปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2565 โดยเฉพาะโครงการจากต่างประเทศที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศ และการย้ายฐานการผลิต มูลค่าโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมสะสมปี 2565 ในภาคอีสานมีจํานวน 29 โครงการ หรือ เพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อนหน้า และมีมูลค่าการลงทุนของโครงการ 30,874 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 1,227% จากปีก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด อยู่ที่ 30% รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง อยู่ที่ 28% อ้างอิงจาก: – สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) – ธนาคารแห่งประเทศไทย – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน #มูลค่าโครงการต่างชาติขอรับการเสริมการลงทุน #การลงทุนในอีสาน #การลงทุน

เริ่ดคักหลาย ธนาสิริฯ เตรียมรุกอสังหาริมทรัพย์ภาคอีสาน วางกลยุทธ์เติบโตปีละ 30%

นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (THANA) ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจที่บริษัทยึดมั่นพันธกิจสู่การเติบโตน่าอยู่ยั่งยืนว่า ตามโรดแมปแผน 3 ปีจากนี้ (2566-2568) บริษัทได้วางกลยุทธ์ที่จะรักษาการเติบโตทั้งในเรื่องของยอดขายและรายได้อยู่ระดับ 30% ทุกปี และมีอัตรากำไรที่เติบโตระดับ 10% ขึ้นไปทุกปีเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี 2565 ธนาสิริฯ มีการเติบโตในเชิงตัวเลขอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก นอกจากนี้ มองว่าปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีการแข่งขันรุนแรงมาก จึงมีแนวความคิดที่จะขยายพอร์ตไปตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ได้ร่วมทุนกับพันธมิตรใน จังหวัดอุดรธานี พัฒนาโครงการแนวราบภายใต้แบรนด์สิริวิลเลจ อุดรธานี-แอร์พอร์ต และสิริวิลเลจ ภูเก็ต-อนุสาวรีย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาเอง โดยที่สิริวิลเลจ อุดรธานี-แอร์พอร์ต ในกลางปี 2566 มีแผนที่จะเปิดขายเฟส 2 อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีแผนที่จะปรับแบรนด์ “สิริวิลเลจ” ที่พัฒนาในโครงการต่างจังหวัดให้มีแบรนด์ของธนาสิริเข้าไปด้วย เพื่อสร้างความจดจำของผู้บริโภค และหากแลนด์ลอร์ดที่ดินในต่างจังหวัดสนใจที่จะนำที่ดินว่างเปล่าให้บริษัทเข้าไปร่วมพัฒนา สนใจที่จะร่วมทุน ซึ่งอยู่ในระหว่างเจรจาอยู่ 2 ราย คือ ทางภาคเหนือและภาคอีสาน คาดว่าในปีนี้จะมีความชัดเจน 1 ราย สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ บริษัทวางเป้าเปิด 4 โครงการใหม่ มูลค่า 3,300 ล้านบาท มีการกระจายสินค้าในแต่ละระดับราคาให้ครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้า โดยจะเริ่มขยับการขายสินค้าที่มีราคาใกล้เข้าเมืองมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งให้ธนาสิริมีก้าวต่อไปที่เติบโตน่าอยู่ยั่งยืน เนื่องจากบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกค้าที่ไม่ใช่เพียงการพัฒนาบ้านที่มีคุณค่า แต่ให้ความสำคัญในมิติของคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดระยะเวลาการเป็นลูกค้า ภายใต้พันธกิจ “Lifetime Total Living Solution” รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development : ESG) ที่สร้างสมดุลของผลประกอบการในเชิงตัวเลข เพื่อเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า เพื่อนบ้านข้างเคียง สังคม และร่วมลดผลกระทบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน โดยผลประกอบการในปี 2565 สามารถทำยอดขายได้ 1,422 ล้านบาท ขณะที่รายได้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้คือ 1,024 ล้านบาท และประสิทธิภาพการทำกำไรสุทธิกว่า 12% มากกว่าปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว ปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และขาย 5 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) 198 ล้านบาท อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9660000019499 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธนาสิริ #สิริวิลเลจ

พาย้อนเบิ่ง สถิติที่น่าสนใจของธุรกิจห้องพักในภาคอีสาน ค่าห้องพักที่ขายได้(เฉลี่ย) เปลี่ยนไปส่ำใด๋แหน่ในช่วง 8 ปีนี้

ในปี 2565 สถิติค่าห้องพักที่ขายได้เฉลี่ยของภาคอีสาน อยู่ที่ 577.84 บาทต่อห้อง เนื่องจากกำลังซื้อ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Young Traveler และเดินทางมาคนเดียว Solo traveler ซึ่งมีงบประมาณจำกัด โดยจะแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เช่น ภูเขา อ่างเก็บน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่พัก Resort/Villa ที่พักชุมชน หรือที่พักที่มีลานกางเต้นท์ การท่องเที่ยวแบบแคมปิ้ง (Camping Tourism) และมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำในที่พักและถ่ายภาพ ซึ่งสอดคล้องไปกับพฤติกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้ง เศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับหลากหลายปัจจัยลบทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่สูง ราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มผันผวนและปรับตัวขึ้นอีก ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชน ขณะเดียวกันสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้หลายประเทศในยุโรปยังเผชิญกับปัญหาวิกฤติพลังงานรุนแรงขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมและที่พักยังเปราะบางและไม่ทั่วถึง ขณะที่ในระยะข้างหน้าต่อจากนี้ธุรกิจต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นจากตลาดนักท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนและสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ ในขณะที่การแข่งขันในภาคธุรกิจโรงแรมและที่พักที่สูง จากแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่เพิ่มขึ้นและจำนวนที่พักเปิดใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นยังเป็นแรงกดดันต่อธุรกิจ ปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกิดใหม่มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว ขณะที่ธุรกิจยังต้องเผชิญสถานที่พักเปิดใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างในเมืองท่องเที่ยวหลัก ซึ่งสร้างแรงกดดันในการแข่งขัน โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมและที่พักที่สร้างมานานและอยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวจะเสียเปรียบ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2566 รายได้ของธุรกิจโรงแรมและที่พักน่าจะเติบโตต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง โดยกลุ่มโรงแรมและที่พักที่น่าจะฟื้นตัวได้ดี มองว่า ยังเป็นกลุ่มที่อยู่ในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องระมัดระวังในการลงทุน รวมถึงการศึกษาตลาดมากขึ้น ทั้งในเรื่องของเทรนด์และความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทรนด์ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและตอบแทนสู่สังคมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ โดยผู้ประกอบการควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในพื้นที่ที่มี Supply ห้องพักสูง และหากจะลงทุนในพื้นที่ใด ก็ควรศึกษาพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยวในแต่ละปี ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงฤดูกาลท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว และถ้าเป็นไปได้ควรเลือกลงทุนในแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลมากำหนดรูปแบบที่พัก ขนาดหรือจำนวนของห้องพัก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ รวมไปถึงการออกแบบกิจกรรมภายในที่พักที่จะให้บริการนักท่องเที่ยว อ้างอิงจาก: – กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา – Splendor-Biz #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การท่องเที่ยว #ที่พัก #ห้องพัก #ค่าห้องพัก

พาย้อนเบิ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในภาคอีสาน ที่ผ่านมามีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ไปส่ำใด๋แหน่

“DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566” เผยคาดการณ์ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัว หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณบวกต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 โดยมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และยังคาดว่าจะมีจำนวนอุปทานใหม่ ๆ เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2566 โดยเฉพาะสินค้าประเภทแนวราบ เพื่อตอบรับกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และมีกำลังซื้อเพียงพอ ในขณะที่ สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในปี 2566 ต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน อันเป็นผลกระทบมาจากเศรษฐกิจระดับมหภาค ห่วงโซ่อุปทานโลกจะสะดุด และสถานการณ์เงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ทำให้ตลาดอสังหาฯ เชิงพาณิชย์หลายประเภทต้องเผชิญความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นตลาดพื้นที่ค้าปลีกที่มีทั้งขาขึ้นและขาลงตามทำเล ตลาดสำนักงานที่อนาคตยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจให้เช่าที่อยู่อาศัยรวม (Multifamily properties) ยังคงเติบโตได้ดี อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาทองสำหรับภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย อ้างอิงจาก: – กรมที่ดิน – ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ตลาดอสังหาริมทรัพย์ #มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ #ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์

พาส่องเบิ่ง จังหวัดใด๋แหน่ที่มีมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติ ในภาคอีสาน

เปลี่ยนไปส่ำใด๋ในช่วง 3 ปีนี้ อ้างอิงจาก: – กรมที่ดิน – ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด #การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด #มูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติ #มูลค่าการถือครองของชาวต่างชาติ #การถือครองของชาวต่างชาติ #ห้องชุด

ชวนเบิ่ง อาณาจักรเซ็นทรัลแห่ง BIG 4 of ISAN แต่ละหม่องแตกต่างกันจั่งใด๋??

บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ก้าวเข้ามาลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าครั้งแรกเมื่อปี 2552 เป็นการเข้ามาซื้อกิจการของกลุ่มเจริญศรีและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี” นับเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นก็ทยอยขยายกิจการและเปิดเพิ่มอีก 3 แห่งคือ เซ็นทรัลพลาซ่าขอนแก่น ในปี 2552 เซ็นทรัลพลาซ่าอุบลราชธานี ในปี 2556 และ เซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา ในปี 2560 นับเป็นการเข้ามาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของ 4 จังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – UBON NOW #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เซ็นทรัลพัฒนา #เซ็นทรัลอุดร #เซ็นทรัลขอนแก่น #เซ็นทรัลอุบล #เซ็นทรัลโคราช

Scroll to Top