Siree Jamsuwan

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน   ซึ่งหลักการทั้ง 5 ข้อข้างต้นครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ของการผลิตอ้อยและน้ำตาลโดยต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เริ่มตั้งแต่   🔹 การตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินก่อนการปลูกอ้อย 🔹 กระบวนการในระหว่างการปลูกอ้อย 🔹 การบำรุงรักษาอ้อย 🔹 การเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อย 🔹 กระบวนการผลิตน้ำตาลในโรงงาน 🔹 การซื้อ-ขายน้ำตาล   ความท้าทายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ความต้องการน้ำตาล BONSUCRO จากไทยยังมีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดส่งออกน้ำตาลของไทยส่งออกกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจยังไม่มีนโยบาย Low Carbon ในอุตสาหกรรมน้ำตาลเหมือนประเทศในกลุ่มยุโรป    อย่างไรก็ตาม กระแสโลกด้านสิ่งแวดล้อมทำให้หลายประเทศต้องปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก เมื่อเห็นสัญญาณแนวโน้มของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และยังสามารถขยายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเท่านั้นได้    โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนโรงงานและไร่อ้อยให้ได้รับมาตรฐาน BONSUCRO มากขึ้น เพราะท้ายสุดหากไม่สามารถผลิตน้ำตาลให้ได้มาตรฐาน อาจทำให้สูญเสียลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย   อ้างอิงจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย mitrpholmodernfarm   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BONSUCRO #มาตรฐานBONSUCRO 

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน   ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจำนวนมากขึ้นทุกปีแต่จำนวนจิตแพทย์ในไทยกลับขาดแคลน   ข้อมูลจาก Mental Health ATLAS 2020 ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า จำนวนจิตแพทย์ใน 156 ประเทศทั่วโลก มีค่ามัธยฐานของอัตราส่วนของจิตแพทย์อยู่ที่ 1.7 คนต่อประชากร 100,000 คน   โดยในประเทศไทยนั้น ตามรายงานจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช กรมสุขภาพจิต ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ระบุว่า ไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน คิดเป็นจิตแพทย์ 1.28 คนต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก   เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในอีสาน พบว่าจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.นครราชสีมา 19,158 คน 2.อุบลราชธานี 12,752 คน 3.ขอนแก่น 10,684 คน 4.บุรีรัมย์ 8,701 คน 5.ศรีสะเกษ 7,699 คน   เมื่อพิจารณาภาระความรับผิดชอบ พบว่า จิตแพทย์ในภาคอีสานนั้นมีภาระสูงสุด โดยจิตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงถึง 10,994 คน และต้องดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอีก 827 คน   โดยสาเหตุที่จิตแพทย์ขาดแคลนมาจากกระบวนการผลิตจิตแพทย์ที่ทำได้ยากและใช้เวลานาน ต้องรอจนกว่าแพทย์เรียนจบหลักสูตร 6 ปี ใช้ทุนอีก 3 ปี จึงจะกลับมาเรียนแพทย์เฉพาะทางต่อ จิตแพทย์ผู้ใหญ่ใช้เวลาเรียน 3 ปี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 4 ปี   นอกจากระยะเวลาในการเรียนแล้ว ข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่ง คือ การขาดแคลนอาจารย์ สำหรับจิตแพทย์ 1 คน ต้องใช้อาจารย์แพทย์ประมาณ 3 คน ด้วยอัตราแบบนี้ทำให้เพิ่มจำนวนได้ช้า เพราะคนที่อยู่ในระบบมีน้อย   ปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตและสมาคมจิตวิทยาการปรึกษา อยู่ระหว่างการผลักดันมาตรฐานการให้บริการด้านจิตเวชให้ครอบคลุมจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ในการแก้ปัญหาของภาครัฐ ที่ไม่เพียงต้องป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้า แต่ยังต้องคำนึงถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำจากทรัพยากรสาธารณสุขที่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่อีกด้วย   อ้างอิงจาก : กรุงเทพธุรกิจ รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2564    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า #จิตแพทย์ 

PTT ผุดโครงการ ‘ไทยเด็ด’ พื้นที่ของเด็ดของคนไทย ช่วยให้ชุมชนเติบโตอย่างยั่งยืน

พามาเบิ่ง PTT ผุดโครงการ ‘ไทยเด็ด’  พื้นที่ของเด็ดของคนไทย ช่วยให้ชุมชนเติบโตอย่างยั่งยืน   ปัจจุบันหน้าที่ของ ปั๊มน้ำมัน สถานที่ที่เหล่านักเดินทางต่างคุ้นเคย กลับเป็นมากกว่าสถานบริการแจกจ่ายเชื้อเพลิงให้ทุกคนไปถึงจุดหมาย เป็นแหล่งสัญจรชั้นดีของการแวะพักผ่อนจากการเดินทาง การพักทานอาหาร และการจับจ่ายซื้อสินค้าอีกด้วย   เมื่อปี พ.ศ.2561 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกับอีก 6 หน่วยงานจัดตั้งโครงการ ‘ไทยเด็ด’ ที่มีเป้าหมายในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เติมเต็มคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีให้แก่ชาวบ้าน ชุมชน เกษตรกร และสังคมไทย   โดย OR ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีและเด็ดประจำท้องถิ่นทั่วประเทศไทย จากกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนกว่า 238 ชุมชน มาสนับสนุนด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย และนำมาวางขายในร้านค้าและมุมสินค้า ‘ไทยเด็ด’ ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศกว่า 83 สถานีที่ร่วมรายการ   โดยสินค้าที่มีอยู่กว่า 254 รายการ มีความหลากหลายครอบคลุมตั้งแต่ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ มีสินค้าครบทุกภาคทั่วประเทศไทย ซึ่งมีสินค้าจากภาคอีสานมากมาย   ยกตัวอย่างเช่น ผัดไทยภูเขาไฟ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งหลังจากที่เข้าโครงการทำให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จาก 10,000 ซองต่อปี เป็น 480,000 ซองต่อปี และมีการขยายเครือข่ายชุมชนผัดไทยภูเขาไฟที่ส่งวัตถุดิบให้ทางโรงงานเพิ่มขึ้น จากเดิม 8 ชุมชน เป็น 20 ชุมชน      ซึ่งมีอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์คือการผสานรวมของทั้งเอกลักษณ์และคุณภาพจากวัตถุดิบประจำท้องถิ่น เมื่อได้รับการปรับปรุงวิธีการนำเสนอและเสริมจุดแข็งด้านสถานที่จำหน่าย ซึ่งก็คือ สถานีบริการ PTT station ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เข้าถึงได้ง่ายและมียอดขายที่สูงขึ้น เพราะสามารถส่งต่อสินค้าสู่มือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง   ผลลัพธ์จากการดำเนินงานมาตลอด 4 ปี คือนอกจากจะเป็นการช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานและก้าวไกลสู่ระดับสากลแล้ว โครงการไทยเด็ดยังช่วยสร้างโอกาส สร้างรายได้ และความภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น   อ้างอิงจาก: เว็บไซต์บริษัท workpointtoday thestandard    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ไทยเด็ด #Thaidet #ปตท #PTT #OR

“ภูกระดึง” หนาว 13 องศา นักท่องเที่ยวคึกคัก พร้อมภาพไวรัล “ต้นสนเดียวดาย”

“ภูกระดึง” หนาว 13 องศา นักท่องเที่ยวคึกคัก พร้อมภาพไวรัล “ต้นสนเดียวดาย”   เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2565 อุณหภูมิลดฮวบเหลือ 13 องศาฯ นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นสัมผัสความเย็น และดูแสงแรกอาทิตย์ยามเช้า ชมทะเลหมอก เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ปลายฝนต้นหนาว โดยมีนักท่องเที่ยวจับจองขึ้นภูกระดึง ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 2565 จนเต็ม ซึ่งทางอุทยานฯ สามารถรองรับ นักท่องเที่ยวได้ถึงวันละ 600 คน   นายอดิสร เหมทานนท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เปิดเผยว่า หลังเปิดการท่องเที่ยวและพักแรมบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 65 มีนักท่องเที่ยว มาพิชิตยอดภูกระดึงกันมากขึ้น โดยเฉพาะในวันหยุดยาว บรรยากาศท่องเที่ยวคึกคัก ตั้งแต่ช่วงเดือนแรกของ High Season    มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้าสู่ประตูเมืองเลย ที่ ตำบลผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โดยมีการลงทะเบียนเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึง บนความสูง 1,288 เมตร จากระดับทะเลปานกลางด้วยระยะทาง 8 กม.   อีกทั้งยังมีภาพไวรัลที่มาจาก เพจ “ชมรมคนรักภูกระดึง” ซึ่งเป็นเพจกลุ่มสาธารณะ ที่เปิดให้คนรักภูกระดึงและผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติโพสต์ภาพ ประสบการณ์ และเรื่องราวน่าสนใจในการขึ้นไปเที่ยวบนภูกระดึง ได้เกิดเทรนด์ตัดต่อภาพแบบไอเดียกระฉูดขึ้น    โดยชาวเน็ตส่วนหนึ่งได้นำภาพ “ต้นสนเดียวดาย” ที่ยืนต้นอยู่กลางถนนดินในเส้นทางเดินเท้าจาก “หลังแป” ไปศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จุดกลางเต็นท์วังกวาง ซึ่งปกติเป็นหนึ่งในจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปคู่กับสนต้นนี้ มาตัดต่อเป็นภาพและลีลาต่าง ๆ ตามไอเดียของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นภาพคนยืนห้อยโหนบนกิ่งสนที่ยื่นออกมา ภาพคนเกาะ ไต่ ปี นั่งอยู่บนต้นสน เป็นต้น   ยอดภูกระดึงมีจุดไฮไลต์ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของภูแห่งนี้คือ “ผาหล่มสัก” ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการชมพระอาทิตย์ตกที่มีเอกลักษณ์และสวยงามมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย   นอกจากนี้บนยอดภูกระดึงยังมีเส้นทางสายน้ำตก เช่น น้ำตกโผนพบ น้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกถ้ำสอเหนือ ฯลฯ เป็นต้น   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์ ไทยรัฐ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภูกระดึง #ต้นสนเดียวดาย  

พามาเบิ่ง 6 อุทยานแห่งชาติ  ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด

พามาเบิ่ง 6 อุทยานแห่งชาติ  ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด   ข้อมูล ม.ค.- ก.ย. 2565   อ้างอิงจาก :  กรมชลประทาน #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุทยานแห่งชาติ #นครราชสีมา #บึงกาฬ #นครพนม #ชัยภูมิ #อุบลราชธานี  #ศรีสะเกษ #เลย  

สรุป เงื่อนไขค่าเบี้ยประกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าใด๋

สรุป เงื่อนไขค่าเบี้ยประกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าใด๋ อ้างอิงจาก :  กรมสรรพากร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ลดหย่อนภาษี #กรมสรรพากร #ค่าเบี้ยประกัน 

5 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

พามาเบิ่ง 5 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน . . อ้างอิงจาก :  กรมชลประทาน . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เขื่อนอีสาน #ขอนแก่น #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #สกลนคร #นครราชสีมา

ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ?

พามาเบิ่ง ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ?   ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงสร้างการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ สาขาพืช ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 67.5 ของผลิตภัณฑ์ภาค ภาคเกษตร หรือ GRP ภาคเกษตร รองลงมา คือ สาขาปศุสัตว์ 20.1% สาขาบริการทางการเกษตร 8.7% สาขาประมง 3.2%  และสาขาป่าไม้ 0.5%.   สถานการณ์เศรษฐกิจไทยโดยรวมปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวได้ รวมทั้ง มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนให้มีการเดินทางท่องเที่ยว และการบริโภคสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น     โดยมีปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร ได้แก่ สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ต่อการทำการเกษตรและปริมาณฝนที่มีมากขึ้น ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณนํ้าเพียงพอสำหรับ การเพาะปลูกและประสบปัญหาภัยแล้งลดลง การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง ของภาครัฐ   อ้างอิงจาก :  ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ปริมาณน้ำฝนอีสาน #ปริมาณอ่างเก็บน้ำ

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ? 

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ?    ข้อมูลปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 – สิงหาคม 2565) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก   การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกทั่วประเทศ มีจํานวนทั้งสิ้น 52,540 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละ 4,776 ครั้ง มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 19.95 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564   มีเพียงเดือนสิงหาคม 2565 ที่จํานวนอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 และจํานวนรถที่เกิดอุบัติเหตุฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 ทั้งนี้คาดว่าเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลายลงและภาครัฐได้ยกเลิกมาตรการการควบคุมฯ ทําให้ประชาชนมีการเดินทางกลับเข้าสู่ภาวะปกติส่งผลให้จํานวนครั้งและจํานวนรถที่เกิดอุบัติเหตุฯ เพิ่มขึ้น   ผู้เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 4,919 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละ 447 ราย ลดลงร้อยละ 13.14 เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564 (5,663 ราย) โดยจังหวัดนครราชสีมามีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 249 ราย (ร้อยละ 5.06)   อ้างอิงจาก : กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบัติเหตุบนท้องถนน #จราจร

เพิ่มพื้นที่สีเขียว 4 จังหวัดภาคอีสาน โครงการ “ปลูกป่า ปลูกอนาคต” ของ CP ALL

เพิ่มพื้นที่สีเขียว  4 จังหวัดภาคอีสาน  โครงการ “ปลูกป่า ปลูกอนาคต” ของ CP ALL   ซีพี ออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ส่งมอบกล้าไม้ 120,000 ต้น สู่วัดและชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวใน 4 จังหวัดภาคอีสาน คือ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ จ.ศรีษะเกษ และ จ.สกลนคร    นายตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิด CP ALL Planting Model ภายใต้ชื่อโครงการ “ปลูกป่า ปลูกอนาคต” โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของโครงการผ่านกระบวนการจัดการแบบห่วงโซ่คุณค่า (Supply chain values) โดยแบ่งออก 3 ช่วง   ช่วง “ต้นน้ำ” คือการเพาะกล้าไม้ รวมถึงสร้างโรงเรือนต่างๆ ระบบน้ำในการดูแลรักษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน เมื่อกล้าไม้พร้อมที่ลงปลูกจะดำเนินการในช่วง “กลางน้ำ” ส่งมอบให้แก่บ้าน วัด ชุมชน นำไปปลูกในพื้นที่กว่า 200 วัด และชุมชนใน 4 จังหวัด ซึ่งได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จัดตั้งเป็นศูนย์กระจายกล้าไม้ภาคอีสาน เป็นจำนวนกว่า 120,000 ต้น   และ “ปลายน้ำ” จะเป็นกิจกรรมในการเก็บข้อมูลในการปลูกป่าและติดตาม ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ให้เติบโตเพื่อใช้งานตามหลักประโยชน์ 4 อย่างอันได้แก่ ประโยชน์พอกิน พอใช้ พออยู่ และพอร่มเย็นซึ่งรวมถึงการช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกไปด้วยพร้อมๆกัน   ด้วยนโยบาย 7 GO GREEN ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดย ซีพี ออลล์ มีเป้าหมายที่จะปลูกต้นไม้ให้ได้ทั้งสิ้น 1 ล้านต้น ภายในปี 2568 ซึ่งทาง ซีพี ออลล์ ได้เริ่มดำเนินโครงการปลูกต้นไม้ ตั้งแต่ปี 2563 ดำเนินการปลูกไปแล้วกว่า 3 แสนต้น   อ้างอิงจาก :  https://www.matichon.co.th/publicize/news_3561547  https://www.ryt9.com/s/prg/3357056    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ปลูกป่า #CPAll #สุรินทร์ #บุรีรัมย์ #ศรีษะเกษ #สกลนคร 

Scroll to Top