Siree Jamsuwan

ชาวอุดรฯ ปลื้มแฮง หนุน “อุทยานฯภูพระบาท” ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ชาวอุดรฯ ปลื้มแฮง หนุน “อุทยานฯภูพระบาท”  ขึ้นทะเบียนมรดกโลก   นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ เรื่อง อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (กอม.) ได้ทราบความคืบหน้าการดำเนินการขอขึ้นทะเบียน เมืองโบราณศรีเทพ แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน และได้พิจารณาเห็นชอบ เสนอให้ “อุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท” ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Nomination Dossier)  ซึ่งเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่อง มีจำนวน 2 พื้นที่ ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,661 ไร่เศษ ในพื้นที่ อ. บ้านผือ จ.อุดรธานี ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความก้าวหน้าการอนุรักษ์พื้นที่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน รวมทั้งแหล่งอื่น ๆ ด้วย ให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อยืนยันความทุ่มเท และความจริงใจ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก ทุกแห่งของประเทศไทย ให้คงคุณค่าตามหลักสากล และเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานคนไทย สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีที่มาจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขา และภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทยังมีเสาหิน และเพิงหินขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่ทั่วไป เพิงหินเหล่านี้เป็นหินทรายของหมวดหินภูพาน มีอายุราว 130 ล้านปีมาแล้ว ที่ถูกกระบวนการทางธรรมชาติกัดเซาะ โดยน้ำและลมมาเป็นเวลาหลายล้านปีจึงทำให้สภาพภูมิประเทศแปรเปลี่ยนเป็นเสาหิน และเพิงหินรูปร่างสวยงามแปลกตาเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2535 กรมศิลปากร ดำเนินการก่อตั้ง “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” ขึ้นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาในส่วนที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดี และโบราณสถานอีกมากมาย ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของภูพระบาท  โบราณที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่าง คือ หอนางอุสา ถือเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีลักษณะเป็นเพิงหินธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ มีความสูง 10 เมตร รูปร่างคล้ายดอกเห็ด ตั้งอยู่กลางลานหินโล่งกว้างทำให้ดูโดดเด่นกว่าโบราณสถานจุดอื่น ๆ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า หอนางอุสามีอายุเก่าแก่ถึงสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 โดยถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  ฐานเศรษฐกิจ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #อุดรธานี #อุทยานภูพระบาท #หอนางอุสา #มรดกโลก #บ้านผือ

ปังหลาย “ผ้าไหมปักธงชัย เนื้อโคราชวากิว” สินค้าโคราชต้อนรับผู้นำ APEC 2022

โคราชสุดภูมิใจ 2 สินค้า “ผ้าไหมปักธงชัย เนื้อโคราชวากิว” ต้อนรับผู้นำ APEC 2022   APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) เป็นเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโลก มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ    ซึ่งในปี 2022 นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคตลอดทั้งปี รวมถึงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์ของ จ.นครราชสีมา ได้รับการคัดเลือกเพื่อจัดทำ “ของที่ระลึก APEC 2022”  โดยถูกบรรจุเป็น 1  ในรายการของที่ระลึก ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นไทยที่โดดเด่นร่วมสมัย สะท้อนถึง “Soft Power” ให้นานาชาติประชาสัมพันธ์ขยายผลต่อยอด และเผยแพร่ได้รับรู้อย่างกว้างขวาง ซึ่งของที่ระลึก คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ จากเปลือกมะพร้าว ภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา พิมพ์ลายตราสัญลักษณ์ชะลอม ประกอบด้วย เนคไท ผ้าคลุมไหล่ ผ้าเช็ดหน้า หน้ากากผ้า ของขวัญและของที่ระลึกนี้ บรรจุในกล่องไม้ยางพาราฆ่าเชื้อ ประดับตราสัญลักษณ์ APEC 2022 ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์   ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC (Gala Dinner) เมื่อค่ำวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เมนูอาหารทุกจานเป็นไปตามแนวคิดหลักของการประชุม Open. Connect. Balance. Open. หมายถึง เปิดประสบการณ์สู่อาหารไทย อาหารทุกจานเป็นอาหารเมนูฟิวชัน มีความหลากหลายของสี กลิ่น และสัมผัส สร้างความพึงพอใจให้กับผู้นํา APEC คู่สมรส และผู้เข้าร่วมการประชุม   โดยเนื้อวัวโคราชวากิวเสิร์ฟเป็นเมนูอาหารเรียกน้ำย่อย จากการคัดของดีจาก 4 ภาค  ออกมาเป็นเมนูโคราชวากิวย่างถ่านสมุนไพรจิ้มแจ่ว ดึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเนื้อวัวโคราชวากิวออกมาได้อย่างโดดเด่น ซึ่งเนื้อวัวโคราชวากิว ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ โดย รศ. ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย จากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เนื้อวัวโคราชวากิวมีจุดเด่น คือ คล้ายกับเนื้อของออสเตรเลีย เป็นวากิวลูกผสมเหมือนกัน  มีการเลี้ยงที่บ้านของเกษตรกรรายย่อย ขุนประณีตแบบญี่ปุ่น มีการดูแลอย่างทั่วถึง และข้อได้เปรียบคือ อาหารธัญพืชใช้สำหรับขุน ตั้งแต่รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด หรือแม้แต่มันสำปะหลัง เป็นแหล่งอาหารที่จะช่วยทำให้มีไขมันแทรกดี ซึ่งเกษตรกรมีพร้อมทั้งต้นทุนและวิธีการเลี้ยงดู การประชุม APEC ครั้งนี้ ถือว่าเป็นการสนับสนุนสินค้าไทย โปรโมทของดีเมืองโคราช ทําให้ทั่วโลกรู้จักและสร้างโอกาสจะทําให้เกิดอาชีพ เกิดรายได้ สําคัญที่สุดจะทําให้โคราชเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป เพราะคนอยากจะมากินเนื้อวากิวโคราช อยากมาซื้อผ้าไหมปักธงชัยเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเจริญเติบโตการกระตุ้นเศรษฐกิจ  …

ปังหลาย “ผ้าไหมปักธงชัย เนื้อโคราชวากิว” สินค้าโคราชต้อนรับผู้นำ APEC 2022 อ่านเพิ่มเติม »

เมืองย่าโม จ.นครราชสีมา  อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง เป็นจั้งใด๋?

เมืองย่าโม จ.นครราชสีมา  อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง เป็นจั้งใด๋?   ภาพรวมเกษตรกรรมมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 อันดับแรก คือ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมีเนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง 1,676,987 ไร่ ทำให้โคราชมีปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังรวมรายปีมากที่สุดในประเทศ โดยปริมาณการใช้พื้นที่แบ่งเป็น พื้นที่เพาะปลูกศักยภาพสูง S1 และ พื้นที่เพาะปลูกศักยภาพปานกลาง S2 ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ง อ.ครบุรี เป็นอําเภอที่มีปริมาณผลผลิตสูงที่สุด อยู่ที่ 718,654 ตัน ด้านปริมาณผลผลิตนั้น มีความสอดคล้องกับการผลิตเอทานอลอีกด้วย มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมในการผลิตเอทานอลมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมาก โดยเฉพาะใน จ.นครราชสีมา โดยมันสำปะหลัง 1 ตัน สามารถผลิตเอทานอลได้ประมาณ 280 ลิตร    โอกาสและความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรม  ด้านพื้นที่เพาะปลูกควรส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เป็นอำเภอที่มีการใช้พื้นที่เพาะปลูกศักยภาพสูงถึงปานกลาง โดยมี 3 อำเภอ คือ อ.ด่านขุนทด มีพื้นที่คงเหลือ 285,199 ไร่ อ.สีคิ้ว พื้นที่คงเหลือ 259,288 ไร่ และ อ.ปากช่อง 437,148 ไร่ หากจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้ดีขึ้นอาจทําให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจีนหรือยูเครน เนื่องจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เกิดการกักตุนเมล็ดธัญพืช ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเอทานอล จึงมีการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนธัญพืช ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักเศรษฐกิจการเกษตรและกระทรวงพลังงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #นครราชสีมา #โคราช #มันสำปะหลัง

การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทย ในภาคอีสานเป็นจั้งใด๋ ? (ม.ค – ก.ย 2565)

การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทย ในภาคอีสานเป็นจั้งใด๋ ? (ม.ค – ก.ย 2565) ในเดือน กันยายน ปี 2565 ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยว 2,789,487 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวคนไทย 2,680,022 คน และนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ 109,465 คน อีกทั้งยังมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 4,829.9  ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ 3 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทยสูงสุด ในปี 2565 เทียบกับ ปี 2562 (ก่อนเกิดเหตุการณ์ COVID-19) อันดับ 1. นครพนม ฟื้นตัว 132% จำนวนนักท่องเที่ยวปัจจุบัน 144,267 คน อันดับ 2. บุรีรัมย์     ฟื้นตัว 130% จำนวนนักท่องเที่ยวปัจจุบัน 256,030 คน อันดับ 3. บึงกาฬ     ฟื้นตัว 123% จำนวนนักท่องเที่ยวปัจจุบัน 58,687   คน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆดีขึ้น คนเริ่มหันมาท่องเที่ยวมากขึ้นโดย ในจังหวัดนครพนม มีแหล่งท่องเที่ยวที่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นพระธาตุพนม พระธาตุเรณูนคร พญาศรีสัตตนาคราช อีกทั้งยังมีร้านกาแฟ ร้านอาหารแหล่งใหม่และด้านโรงแรมมีการปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น  ทางด้านจังหวัดบุรีรัมย์ก็มีการแข่งขันฟุตบอล ณ ช้างอารีนา บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยในเดือนกันยายน มีการแข่งไฮลักซ์ รีโว่ ไทยลีก 3 คู่ อีกทั้งยังมีการแข่งโออาร์ บีอาร์ไอซี ซูเปอร์ไบค์  ทางด้านจังหวัดบึงกาฬ ก็เป็นที่โด่งดังอยู่แล้วสำหรับถ้ำนาคา หรือจะเป็นหินสามวาฬ ภูสิงห์ และน้ำตกต่างๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติได้เป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาคของประเทศคาดว่าในไตรมาส 4 นี้สถานการณ์การท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (peak season) และการส่งเสริมกิจกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจาก ททท. โดยผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวจะดีขึ้นมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ รองลงมาคือภาคใต้ และกรุงเทพฯ หากมองเป็นรายธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหาร คาดว่าผลประกอบการในไตรมาส 4 นี้จะดีกว่าไตรมาส 3 ที่ผ่านมา รองลงมาคือ ธุรกิจที่พักแรม และร้านขายของฝาก/ของที่ระลึก อ้างอิงจาก:  กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประชาชาติ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #นักท่องเที่ยว #จำนวนนักท่องเที่ยว #นครพนม #บุรีรัมย์ #บึงกาฬ

ปังหลายเด้อ ! เปิดลิสต์ร้านใหม่ ร้านเด็ด คว้า ‘มิชลิน ไกด์ 2023’  บุกอีสาน ‘ขอนแก่น-อุบลฯ-โคราช-อุดรฯ’

ปังหลายเด้อ ! เปิดลิสต์ร้านใหม่ ร้านเด็ด คว้า ‘มิชลิน ไกด์ 2023’  บุกอีสาน ‘ขอนแก่น-อุบลฯ-โคราช-อุดรฯ’   มิชลิน ไกด์ (Michelin Guide) จับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกเดินทางเข้าสู่ประตูอีสาน เพื่อคัดสรรร้านอาหารจาก 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธานี และขอนแก่น สำหรับการจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ประจำปี 2566 สำหรับภาคอีสานของประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจทางด้านอาหาร เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำปศุสัตว์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง และยังมีปลาน้ำจืดให้เลือกเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารได้อีกด้วย รวมถึงเทคนิคการถนอมอาหารที่รู้จักกันดีอย่างปลาร้า ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญมากของวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวอีสาน มานูเอล มอนทานา ประธานกลุ่มมิชลิน ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย เปิดเผยว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีของการเปิดตัวมิชลิน ไกด์ ประจำปี 2566 เนื่องจากเวลานี้ ประเทศไทยกำลังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้เกิดการกระตุ้นการเดินทางอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม นอกจากนี้ การจัดอันดับร้านอาหารในมิชลิน ไกด์ ในแต่ละปีก็มีคู่มือของแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยมีแค่เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร กระทั่งครอบคลุมไปในภูมิภาคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน หรือจากจังหวัดในภาคอื่นๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา, เชียงใหม่, ภูเก็ต และพังงา อ้างอิงจาก: เว็บไซต์มิชลินไกด์ มติชน ไทยรัฐ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #อุดรธานี #MichelinGuide #มิชลินไกด์ #ร้านอาหารอีสาน #ร้านอาหารมิชลิน  #ร้านอาหารมิชลินไกด์

ม่วนคัก ! ใหญ่สุดในอีสาน “เฉียงเหนือเฟส” เทศกาลดนตรี

ม่วนคัก ! ใหญ่สุดในอีสาน “เฉียงเหนือเฟส” เทศกาลดนตรี   เทศกาลดนตรีใหม่และใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดย ช้าง มิวสิค คอนเนคชั่น และจัดโดยทีมผู้จัดงานที่มีไอเดียสุดสร้างสรรค์อย่าง ‘All Area’ ภายใต้หน่วยงาน ‘GMM SHOW’ ในเครือ ‘GMM GRAMMY’  สร้างประสบการณ์ใหม่และความประทับใจให้กับชาวภาคอีสาน ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อทำให้งานแตกต่างและตอบโจทย์แฟน ๆ มากที่สุด โดยจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บขส.3 ขอนแก่น   ‘GMM SHOW’ พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ ด้วยสุดยอดเทศกาลดนตรีที่ตอบโจทย์ความต้องการของชาวภาคอีสานมากที่สุด จากประสบการณ์ในการจัดคอนเสิร์ตและมิวสิกเฟสติวัลมาอย่างยาวนาน จึงเกิดเป็นเทศกาลดนตรีใหม่และใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดยมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวอีกด้วย   อีกทั้งเล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางความเจริญ ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การบริการและการท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความพร้อมทั้งในด้านทำเลที่เชื่อมกับ 9 จังหวัดรอบข้าง ได้แก่ นครราชสีมา, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ และเพชรบูรณ์ ขอนแก่นจึงเป็นจังหวัดที่มีโอกาสทางธุรกิจอย่างสูง   สำหรับจุดแข็งแรกของงานเฉียงเหนือเฟส คือ Line-Up ศิลปิน ที่มีทั้งศิลปินสายเลือดอีสาน และศิลปินที่ชาวอีสานอยากดูมากที่สุดกว่า 19 ศิลปิน บน 2 เวทีใหญ่ ‘เวทีเฉียง’ และ ‘เวทีเหนือ’ นำโดย Palmy, Cocktail, Three Man Down, Tilly Birds, Tattoo Colour, Polycat, Safeplanet, Taitosmith, Anatomy Rabbit, Whal & Dolph, ไปส่งกู บขส.ดู๊, UrboyTJ, Slapkiss, Sarah Salola, Asia7, โจอี้ ภูวศิษฐ์, Dept, Mirrr (เมอร์) และ Television Off    ซึ่งมีทั้งศิลปินที่สร้างแรงบันดาลใจ และความภาคภูมิใจให้ชาวอีสานอย่าง Tattoo Colour จากจังหวัดขอนแก่น, โจอี้ ภูวศิษฐ์ จากจังหวัดร้อยเอ็ด, Anatomy Rabbit จากจังหวัดอุดรธานี, ไปส่งกู บขส. ดู๊ จากจังหวัดขอนแก่น, SLAPKISS ที่มีสมาชิกในวงจากจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสกลนคร   ด้วยปัจจัยดังกล่าว ‘GMM …

ม่วนคัก ! ใหญ่สุดในอีสาน “เฉียงเหนือเฟส” เทศกาลดนตรี อ่านเพิ่มเติม »

เทื่อแรก ! ในอาเซียน นักวิจัย มข. ผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน ต่อยอดอุตสาหกรรม

เทื่อแรก ! ในอาเซียน  นักวิจัย มข. ผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า     มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม (กพร.) จัดงานแถลงข่าวโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ   รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  ปัจจุบันการประชุมทั่วโลกได้กล่าวถึงการใช้พลังงานสะอาด หรือพลังงานทางเลือก โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ นับเป็นความสำเร็จของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมโดย รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง   โดยแบตเตอรี่ตัวนี้ สามารถกักเก็บพลังงานทั้งจากแสงอาทิตย์ หรือจากกังหันลม แปลงมาเป็นกระแสไฟฟ้า แล้วเก็บในรูปแบบแบตเตอรี่ สิ่งนี้จะมาช่วยในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอนาคตพลังงานแบตเตอรี่เหล่านี้จะถูกลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน   ดร. ธีรวุธ  ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม  กล่าวว่า าประเทศไทยมีแหล่งแร่โปแตช หรือกลุ่มแร่ชนิดโซเดียมมักเกิดคู่กัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณมากที่สุด และมีปริมาณสำรองแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทยมี 18 ล้านล้านตัน ซึ่งแร่ชนิดดังกล่าวเป็นสารตั้งต้นในการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน   โครงการนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในอาเซียน กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ส่งเสริมเป้าหมายต่อไปคือ สร้างอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ครบวงจร  นำเกลือหินมาทำเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตแบตเตอรี่ อาจจะไปใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ใช้เป็นตัวพลังงานเพื่อทำสมาร์ทฟาร์มให้กับอุตสาหกรรมเกษตรต่อไป   เป้าหมายของกระทรวงคือผลักดันอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ครบวงจร สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศ ความสำเร็จเหล่านี้ส่งผลให้อุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคืออุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคต   เมื่อนำไปใช้กับ E – Bike หรือจักรยานยนต์ต้นแบบที่ใช้พลังงานจากโซเดียมไอออน ซึ่งเป็นความสำเร็จจากโครงการครั้งนี้ ในส่วนตัวเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์กิโลกรัมละไม่กี่บาท แต่พอมาทำเป็นตัววัตถุดิบตั้งต้นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนตัวนี้จะยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจแร่ตัวนี้อย่างมากในอนาคต และจะทำการต่อยอดให้เป็นอุตสาหกรรมต่อไป   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์ มติชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มข #มหาวิทยาลัยขอนแก่น #ขอนแก่น #แบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน

ซอมเบิ่ง 3 ธุรกิจบริการปี 2566 สร้างรายได้เข้าประเทศ

ซอมเบิ่ง  3 ธุรกิจบริการปี 2566  สร้างรายได้เข้าประเทศ   กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้า ปี 2566 ผลักดัน 3 ธุรกิจบริการ  “ร้านอาหาร  ดูแลผู้สูงอายุ  Wellness” สร้างรายได้เข้าประเทศ พร้อมเร่งผลักดันสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ ภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกเต็มที่   นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า จุดอ่อนสำคัญของธุรกิจบริการไทย คือ ขาดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ เช่น การคำนวณต้นทุน การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงินและบัญชี ระบบภาษี ความรู้ด้านกฎหมาย การนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้ง ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น   ดังนั้น การเพิ่มองค์ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจธุรกิจมากขึ้น มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความเข้มแข็งของธุรกิจระยะยาว พร้อมที่จะขยายและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจต่อเนื่องที่หลากหลาย   การค้าภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศในระดับสูง อีกทั้ง ความต้องการใช้บริการทุกภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยมี 3 ธุรกิจที่น่าจับตามองในปีหหน้าประกอบด้วย    – ธุรกิจร้านอาหาร  – ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ – ธุรกิจบริการความงามและสุขภาพ (Wellness)    โดยเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติ ทั้งการตลาด การบริหารจัดการธุรกิจ การเงินและบัญชี การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ กลยุทธ์การบริการเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ    ทั้งนี้ ภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุนภาคธุรกิจบริการเต็มที่ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และจะเป็นตัวกลางช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธุรกิจบริการกลุ่มเป้าหมายได้รับความสะดวกรวดเร็วในการประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป     อ้างอิงจาก: ฐานเศรษฐกิจ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจบริการ #ร้านอาหาร  #ดูแลผู้สูงอายุ  #Wellness #ผู้สูงอายุภาคอีสาน

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่?

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน  จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่?   พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองสำคัญอย่างไร? ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของคนเมือง เมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวในปริมาณที่เหมาะสม ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ยิ่งถ้าเมืองนั้นมีประชากรหนาแน่น พื้นที่สีเขียวก็จะยิ่งมีคุณค่า โดยเฉพาะต่อสุขภาวะทางกายและใจของคน รวมไปถึงคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองที่ส่งผลเป็นวงกว้าง เช่น การลดอุณหภูมิความร้อน การดูดซับมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง การเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ ระบายน้ำ เป็นต้น   โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานเพื่อส่งเสริมให้เมืองต่างๆ พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนประชากรในแต่ละเมือง โดยกำหนดเอาไว้ว่า ประชาชน 1 คนควรมีพื้นที่สีเขียว 9-15 ตารางเมตร เมืองนั้นจึงถือว่าเป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี   ซึ่งประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวมีมากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ด้านสุขภาพจิต ด้านสุขภาพทางร่างกาย ด้านสังคม นอกจากประโยชน์ทั้ง 3 ด้านนี้ พื้นที่สีเขียวก็ยังสร้างประโยชน์ให้แก่เมือง ทั้งการช่วยลดปัญหาฝุ่นควัน มลพิษต่างๆ ช่วยเพิ่มระดับคุณภาพทางอากาศ หรือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย   อีกทั้งเรายังควรอนุรักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวให้คงอยู่และมีมากขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเกิดเทรนด์ “การท่องเที่ยวสีเขียว” หนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียว คือ “การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)”   การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Tourism เป็นการท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำสามารถเป็นการท่องเที่ยวแบบง่ายๆ ตามความชอบของนักท่องเที่ยว เพียงแต่กิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นต้องให้ความสำคัญรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการลดก๊าซคาร์บอน   ยกตัวอย่างเช่น การเลือกยานพาหนะในการเดินทาง การรับประทานอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่น การทำกิจกรรมท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า ปลูกปะการัง การเก็บขยะ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่าการท่องเที่ยวแบบทั่วไป อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกและเพื่อเพิ่มไอเดียในการพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้ากับเทรนด์ในตอนนี้อีกด้วย   อ้างอิงจาก: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พื้นที่สีเขียว #พื้นที่สีเขียวต่อคน #พื้นที่สีเขียวต่อประชากร #LowCarbonTourism #การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ #บึงกาฬ #นครพนม #เลย  

ฮ่วมมือ ! อุบลฯ ลาว-กัมพูชา จัดอบรม ปลุกเศรษฐกิจอีสานใต้

ฮ่วมมือ ! อุบลฯ ลาว-กัมพูชา  จัดอบรม ปลุกเศรษฐกิจอีสานใต้   ม.อุบลราชธานี นำทีมวิทยากรจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ต่อจากการไปอบรมหลักสูตรการประมงพื้นที่ดินเค็มที่แขวงคำม่วน สปป.ลาว ขับเคลื่อนฟื้นเศรษฐกิจอีสานใต้ต่อประเทศเพื่อนบ้าน   โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา พยุหะ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมทีมวิทยากร ไปจัดอบรมหลัก สูตรระยะสั้น ด้าน “Food Technology, Animal Science and Aquaculture” ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ประเทศกัมพูชา   ภายใต้โครงการ “Higher Education Improvement Project-HEIP กับ Faculty of Agriculture and Food Processing Technology” ผศ.ดร.กาญจนา กล่าวว่า  ความร่วมมือทางวิชาการโครงการนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากธนาคารโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ได้ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับอาจารย์และนักวิชาการมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เพื่อศึกษาต่อ ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบันมีนักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน และระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน   ในปีงบประมาณ 2565 ทางคณะเกษตรศาสตร์ได้จัดอบรมระยะสั้นนานาชาติ จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่ Animal Science, Food Processing Technology, Aquaculture, Animal Nutrition, Post Harvest Technology and Agribusiness ในช่วงเดือนพ.ค. และส.ค. 2565 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว และผลการตอบรับจากผู้เข้าร่วมการอบรมดีมาก เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและประเทศในกลุ่มอาเซียนร่วมกันต่อไป   นอกจากนี้ที่วิทยาลัยเทคนิคการอาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าในพื้นที่ดินเค็ม” อีกด้วย โดยมีพันธกิจพัฒนาพื้นที่และชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคการวิชาชีพ ศูนย์ผลิตกสิกรรม เมืองเซบั้งไฟ แขนงการศึกษานอกระบบ   เพื่อตอบสนองทางเศรษฐกิจร่วมกัน ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานทรัพยากรชีวภาพสัตว์นํ้าให้เข้มแข็งและยั่งยืน บริเวณพื้นที่ราบลุ่มที่มีชั้นของเกลือหินและนํ้าเค็มใต้ดิน สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งยั่งยืนของพื้นที่เศรษฐกิจอนุภูมิภาค ลุ่มนํ้าโขง   ทั้งนี้ อุบลราชธานี มีพรมแดนติดต่อทั้งกับสปป.ลาว และกัมพูชา จึงใช้เป็นจุดแข็งผนึกความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นเศรษฐกิจร่วมกันหลังโควิด-19 คลี่ คลาย ทั้งฟื้นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา ความร่วมมือของภาคเอกชน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วการค้าการลงทุนในอนาคต     อ้างอิงจาก: https://www.thansettakij.com/business/546697    #ISANInsightAndOutlook …

ฮ่วมมือ ! อุบลฯ ลาว-กัมพูชา จัดอบรม ปลุกเศรษฐกิจอีสานใต้ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top