เมืองย่าโม จ.นครราชสีมา
อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง
เป็นจั้งใด๋?
ภาพรวมเกษตรกรรมมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 อันดับแรก คือ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมีเนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง 1,676,987 ไร่ ทำให้โคราชมีปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังรวมรายปีมากที่สุดในประเทศ
โดยปริมาณการใช้พื้นที่แบ่งเป็น พื้นที่เพาะปลูกศักยภาพสูง S1 และ พื้นที่เพาะปลูกศักยภาพปานกลาง S2 ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ง อ.ครบุรี เป็นอําเภอที่มีปริมาณผลผลิตสูงที่สุด อยู่ที่ 718,654 ตัน
ด้านปริมาณผลผลิตนั้น มีความสอดคล้องกับการผลิตเอทานอลอีกด้วย มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมในการผลิตเอทานอลมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมาก โดยเฉพาะใน จ.นครราชสีมา โดยมันสำปะหลัง 1 ตัน สามารถผลิตเอทานอลได้ประมาณ 280 ลิตร
โอกาสและความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรม
ด้านพื้นที่เพาะปลูกควรส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เป็นอำเภอที่มีการใช้พื้นที่เพาะปลูกศักยภาพสูงถึงปานกลาง โดยมี 3 อำเภอ คือ อ.ด่านขุนทด มีพื้นที่คงเหลือ 285,199 ไร่ อ.สีคิ้ว พื้นที่คงเหลือ 259,288 ไร่ และ อ.ปากช่อง 437,148 ไร่ หากจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้ดีขึ้นอาจทําให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น
อีกทั้งการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจีนหรือยูเครน เนื่องจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เกิดการกักตุนเมล็ดธัญพืช ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเอทานอล จึงมีการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนธัญพืช ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
อ้างอิงจาก:
กรมพัฒนาที่ดิน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สำนักเศรษฐกิจการเกษตรและกระทรวงพลังงาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #นครราชสีมา #โคราช #มันสำปะหลัง