Rujimaphat Korchitwisarn

ฮู้จัก “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เมืองอุบลฯ

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ถือเป็นต้นแบบที่จะเข้ามาแทนโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นและยาวนานขึ้น พร้อมควบคุมด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) เพื่อบริหารจัดการไฟฟ้าได้แม่นยำมากขึ้น . โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด แห่งแรกของไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก . กฟผ. ได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด จำนวน 16 โครงการทั่วประเทศ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) . นำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแห่งแรก มีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ นับเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยมีกำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 . โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง . เป็นการใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double Glass ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง และทนความชื้นได้ดี สามารถออกแบบวางชิดผิวน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 10-15% ใช้ทุ่นลอยน้ำเป็นทุ่นพลาสติก ชนิด High Density Poly Ethylene (HDPE) ผสม UV Protection ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับท่อส่งน้ำประปา และมีอายุการใช้งานนานกว่า 25 ปี . ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ประมาณ 47,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าประมาณ 37,600 ไร่ รวมทั้ง การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ปกคลุมผิวน้ำยังช่วยลดการระเหยของน้ำได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศได้ถึง 730.62 พันล้าน BTU ต่อปี . กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนมีรายได้กว่า 30 ล้านบาท . ความท้าทายของการพัฒนาโครงการนี้ คือการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และคนงานเป็นคนในพื้นที่เป็นหลักถึง 80% ทั้งการจ้างเจ็ตสกีของชุมชน มาช่วยลากแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งในอ่างเก็บน้ำ การจ้างเรือหางยาวไว้รับส่งคนงาน และการจ้างแพท่องเที่ยวแบบมีหลังคาใช้เป็นที่พักคนงานกลางน้ำ . การบริหารคนงานก็ท้าทายไม่แพ้กัน เนื่องจากต้องใช้คนจำนวนมากทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงแรกในการก่อสร้างต้องใช้ประมาณ 300 – 600 คนต่อวัน ความปลอดภัยของสุขภาพกับคนงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ชุมชนมีรายได้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 กว่า 30 ล้านบาท . สร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ …

ฮู้จัก “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เมืองอุบลฯ อ่านเพิ่มเติม »

อุดรฯ แหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่งออกอันดับ 1 ของอีสาน คัดส่ง 2,000 ตัน/ปี

นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่งออกอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ . เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกจำนวนมาก มีระบบการปลูกที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ส่งผลให้มะม่วงมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ลาว มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา . ทางด้าน นายบุญช่วย พัฒนชัย ประธานกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี คาดว่า ในช่วงฤดูการผลิตปี 2565 ระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. จะมีมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 หรือมะม่วงคัดเกรดส่งออกตลาดต่างประเทศได้ประมาณ 2,000 ตัน . ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จังหวัดอุดรธานี ปีที่ผ่านมา พบว่า มีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองประมาณ 6,300 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 6,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 900-1,000 กิโลกรัม/ไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอำเภอหนองวัวซอ และกระจายอยู่ในอำเภอน้ำโสม วังสามหมอ กุมภวาปี . ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกมากกว่า 650 ราย ส่วนใหญ่มีการรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ราคาต้นพันธุ์อยู่ที่ 30 – 60 บาท/ต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะม่วงนอกฤดูเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ซึ่งจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 เริ่มทำนอกฤดูในปีที่ 4 และสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25 ปี) . ส่วนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวทั้งหมด 3 รอบ คือ รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม รอบที่ 2 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และรอบที่ 3 ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจังหวัดอุดรธานี มีผลผลิตจำหน่ายตลอดทั้งปี . ซึ่งหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เจ้าหน้าที่ของบริษัทส่งออกจะมารับผลผลิตถึงแหล่งผลิต โดยจะทำการคัดเกรดมะม่วงสำหรับส่งออกตลาดต่างประเทศและในประเทศ หลังจากคัดเกรดผลผลิตแล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อตามมาตรฐานการส่งออก . มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของ จังหวัดอุดรธานี ได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ที่เป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน อีกทั้ง จังหวัดยังมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ดีไม่มีของเสีย (Zero Waste) ซึ่งผลผลิตทุกส่วนสามารถสร้างรายได้ทั้งหมดไม่เหลือทิ้ง ประกอบกับมีการส่งเสริมด้านการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ . อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด …

อุดรฯ แหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่งออกอันดับ 1 ของอีสาน คัดส่ง 2,000 ตัน/ปี อ่านเพิ่มเติม »

ตลาดน้ำผลไม้ไทยมาแรง ดันส่งออก 2 หมื่นล้าน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมารับประทานอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดน้ำผลไม้กลับมาเติบโตอีกครั้ง . ปี 2564 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้เป็นอันดับ 8 ของโลก คิดเป็นมูลค่า 2.02 หมื่นล้านบาท (+15.8%) . และในช่วงระยะเวลา 10 ปี (ปี 2555 – 2564) ไทยมีสินค้าน้ำผลไม้วางจำหน่ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก จำนวน 3,190 รายการ . ทั้งนี้ การส่งออกน้ำผลไม้ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการสินค้าเกษตร ป้องกันผลผลิตสินค้าเกษตรล้นตลาด รวมทั้งเป็นการขยายมูลค่าของสินค้าเพื่อจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ .  ตลาดส่งออกสำคัญ . – สหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออก 8.8 พันล้านบาท | แนวโน้มตลาด นิยมน้ำผลไม้ออร์แกนิค น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลหรือแคลอรีต่ำ . – จีน มูลค่าการส่งออก 1.6 พันล้านบาท | แนวโน้มตลาด นิยมน้ำผลไม้เข้มข้นสูง ไม่เติมสารให้ความหวาน สี หรือสารกันบูด และนิยมซื้อออนไลน์ – เนเธอร์แลนด์ มูลค่าการส่งออก 1.2 พันล้านบาท | แนวโน้มตลาด นิยมน้ำสับปะรด (คู่แข่งที่ส่งออกน้ำผลไม้ประเภทเดียวกัน ได้แก่ เวียดนาม และฟิลิปปินส์) .  ประเด็นที่ถูกกล่าวอ้างถึงบนผลิตภัณฑ์มากที่สุด . 1. ฮาลาล 49% 2. ไม่มีวัตถุเจือปนอาหาร/วัตถุกันเสีย 42% 3. บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม 31% 4. ปราศจากการเติมสารกันเสีย 28% 5. มังสวิรัติ 21% 6. รีไซเคิล 21% 7. ปราศจากการเติมสีสังเคราะห์ 20% 8. ไม่เติมน้ำตาล 16% . จะเห็นว่า ผู้ประกอบการต่างชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ที่นอกจากเรื่องพื้นฐาน ก็เริ่มหันมาสนใจผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาล งดเครื่องดื่มที่เติมสารกันเสีย/สีสังเคราะห์ คำนึงถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น . อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องคอยติดตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีน้ำตาล มาตรฐานฉลากคาร์บอน การตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตและแบรนด์น้ำผลไม้ไทยสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ปรับปรุงรสชาติและเนื้อสัมผัส ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดส่งออกสำคัญได้ . . อ้างอิงจาก https://kku.world/0jkd9 https://kku.world/7pgst https://kku.world/hhnux . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #น้ำผลไม้ #ส่งออก

ฮู้บ่? คนอีสานทั้งชอปและสร้างคอนเทนต์ ผ่าน TikTok มากกว่าคนกรุงเทพฯ

TikTok แพลตฟอร์มคลิปสั้นที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2559 และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ข้อมูลจาก RouteNote เดือนมกราคม 2565 เผยประเทศที่มีผู้ใช้งาน TikTok สูงสุด . อันดับ 1 สหรัฐฯ มีผู้ใช้งาน TikTok อยู่ที่ 120.8 ล้านคน อันดับ 2 อินโดนีเซีย มีผู้ใช้งาน TikTok อยู่ที่ 87.5 ล้านคน อันดับ 3 บราซิล มีผู้ใช้งาน TikTok อยู่ที่ 72.3 ล้านคน ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 7 มีผู้ใช้งาน TikTok จำนวน 35.6 ล้านคน . ทั้งนี้ เป็นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก โดยสถิติแสดงให้เห็นว่า 85% ของคนไทยใช้สมาร์ทโฟนเพื่อความบันเทิง . คนอีสานมีส่วนร่วมกับสื่อออนไลน์มากแค่ไหน? . จากข้อมูลอินไซต์ของ TikTok Thailand พบว่า 84% ของคนอีสาน มีส่วนร่วมกับสื่อออนไลน์อย่างน้อย 1 สื่อต่อวัน ซึ่ง TikTok ก็อยู่ใน 3 อันดับแรกของแพลตฟอร์มที่พวกเขาเลือกใช้ในแต่ละวัน . และยังถือเป็นกลุ่ม Early Adopter หรือผู้ที่ชอบเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ อยากเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผู้ใช้ในกรุงเทพฯ . สอดคล้องกับผลสำรวจของ กสทช. ที่พบว่า พฤติกรรมผู้คนในอีสาน อยู่ในอันดับหนึ่งที่โลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ในขณะที่กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 3 สะท้อนถึงโอกาสของแบรนด์ที่จะให้พื้นที่ในการโฆษณาออนไลน์ เพื่อสื่อสารและโน้มน้าวให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีการตอบสนองกับแบรนด์ได้ . คนอีสานมีแนวโน้มที่จะสร้างคอนเทนต์บน TikTok มากกว่าคนกรุงเทพฯ 1.7 เท่า . TikTok ได้ทำการสำรวจเชิงลึกร่วมกับ Toluna พบว่า ผู้ใช้ในภาคอีสานใช้เวลาเกือบ 2.3 ชั่วโมง (138 นาที) บน TikTok ซึ่งมากกว่าเวลาเฉลี่ยของผู้ใช้ในกรุงเทพฯ และยังมีส่วนร่วมบน TikTok สูงมาก ไม่ว่าจะเป็น Like Share หรือ Comment . อีกทั้งผู้ใช้ในภาคอีสานมีแนวโน้มที่จะสร้างคอนเทนต์บน TikTok มากกว่า 1.7 เท่า และมีแนวโน้มที่จะคลิกโฆษณามากขึ้น 2 เท่า เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อเทียบกับผู้ใช้ในกรุงเทพฯ . ส่วนหมวดหมู่ยอดนิยม ได้แก่ …

ฮู้บ่? คนอีสานทั้งชอปและสร้างคอนเทนต์ ผ่าน TikTok มากกว่าคนกรุงเทพฯ อ่านเพิ่มเติม »

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ?

ปี 2564 ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 13 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 21,016 ล้านบาท ลดลง 56.2% จากปี 2563 ที่มีรายได้ 47,979 ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ . 5 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ปี 2564 เทียบกับ ปี 2563 . อันดับ 1. นครราชสีมา 5,807 ล้านบาท | 12,675 ล้านบาท อันดับ 2. ขอนแก่น 3,151 ล้านบาท | 8,690 ล้านบาท อันดับ 3. อุดรธานี 2,117 ล้านบาท | 5,692 ล้านบาท อันดับ 4. อุบลราชธานี 1,498 ล้านบาท | 3,416 ล้านบาท อันดับ 5. บุรีรัมย์ 1,456 ล้านบาท | 1,828 ล้านบาท . จะเห็นว่า ปี 2564 การท่องเที่ยวในภาคอีสานซบเซาอย่างหนัก ทำให้ปีนี้ ภาครัฐต้องเร่งใช้มาตรการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป แต่ยังต้องคำนึงถึงศักยภาพของภูมิภาค ซึ่งแบ่งได้ 3 มิติ . 1. Domestic Tourism . จากจำนวนผู้ใช้สิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน สะท้อนให้เห็นความต้องการเดินทางเพื่อพักผ่อนของนักท่องเที่ยวไทยได้อย่างมาก แต่การท่องเที่ยวในประเทศที่อยู่ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (Weekend Travel) เป็นหลักนั้น ไม่เอื้อต่อการจ้างงานแบบเต็มเวลาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว . ดังนั้น นโยบายภาครัฐและการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการส่งเสริมให้ออกมาทำงานนอกบ้าน (Work From Anywhere หรือ Workation) ตามลักษณะและความจำเป็นของงาน นอกจากจะช่วยลดความแออัดในสถานที่ทำงานแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมมีทางเลือกในการทำการตลาดและการจ้างงานแบบเต็มเวลามากขึ้น (เป็นผลดีกับลูกจ้างด้วย) . 2. E-Tourim Platform . จากผลสำรวจของ Fuel Travel Company ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำตลาดโรงแรม พบว่า หลังโรคระบาดครั้งนี้ กลุ่ม Gen Y หรือ Millennials มีแนวโน้มกลับมาเดินทางก่อนเป็นกลุ่มแรก เนื่องจากมีความกังวลน้อยกว่า Gen X ที่กำลังมีครอบครัว และ Baby Boomers ที่เป็นผู้สูงอายุ . โดยกลุ่ม …

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? อ่านเพิ่มเติม »

รู้จักกับ “หมากเม่า” ทองคำสีดำเทือกเขาภูพาน ผลไม้สร้างมูลค่าที่น่าจับตามอง

“หมากเม่า” พืชท้องถิ่นที่พบได้ทุกภาคในประเทศไทย แต่พบได้มากในภาคอีสาน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้กับแหล่งกำเนิดของสินค้าที่มีความเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมายาวนาน เช่น น้ำหมากเม่าสกลนคร ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสาคร ผ้าไหมยกดอกลำพูน เป็นต้น . ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกหมากเม่าเพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมของผู้นำชุมชนและทางจังหวัด ในด้านงบประมาณพร้อมผลักดันให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จนสามารถสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชน โดยมีเครือข่ายหมากเม่าประมาณ 400 ครอบครัว มีไร่หมากเม่ากว่า 1,900 ไร่ และมีโรงงานแปรรูปอีก 15 โรงงาน . ในอนาคตทิศทางของหมากเม่ามีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น จากเดิมที่ชาวบ้านนิยมกินผลสดและนำไปใส่ส้มตำ ปัจจุบันหมากเม่าถูกนำไปแปรรูปสารพัด เช่น นอกจากเครื่องดื่ม ยังมีแยมหมากเม่า คุกกี้ไส้หมากเม่า ชาใบเม่า น้ำใบเม่า สบู่และเครื่องสำอางประทินผิวน้ำหมากเม่า เป็นต้น . ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีสรรพคุณมาก ผลหมากเม่าสุก มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยชะลอความแก่ชราได้ รสฝาดของผลมะเม่าสุก มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย และรสขมของมะเม่า มีสารแทนนิน (Tannin) ช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้ . ที่ผ่านมา ด้านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร ก็ได้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการตลาดสินค้าเกษตรมาตรฐานให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการสินค้าเกษตร สินค้า GI ที่มีศักยภาพในจังหวัดสกลนคร ในหัวข้อ “พิชิตตลาดสินค้า GI วิถีใหม่ สู่โลกออนไลน์” . เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์จากหมากเม่า ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูก ในการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพ และน่าสนใจ เปิดช่องทางการตลาดให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น เพื่อปรับให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Norma) . . ที่มา: BEDO, Herbs Starter, Medthai และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร

ปีทองของการส่งออก ‘มันสำปะหลัง’ ไทย ดันราคาขายผลผลิตให้เกษตรกรอีสาน

ปี 2564 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 10.4 ล้านตัน (+46%) คิดเป็นมูลค่ากว่า 123,357 ล้านบาท (+48%) ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 . ประเทศที่ส่งออกไปมากที่สุด คือ จีน คิดเป็นมูลค่า 85,471 ล้านบาท รองลงมาเป็น ญี่ปุ่น 9,214 ล้านบาท, ไต้หวัน 4,861 ล้านบาท, สหรัฐอเมริกา 3,158 ล้านบาท และอินโดนีเซีย 3,125 ล้านบาท . ส่วนสาเหตุที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากจีน (ตลาดหลัก) ต้องการนำมันสำปะหลังไปเป็นวัตถุดิบแทนข้าวโพดเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ในช่วงการระบาดของ COVID-19 รวมถึงการผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากปริมาณสต๊อกข้าวโพดในประเทศจีนลดลง และมีราคาสูงขึ้น (แพงกว่ามันเส้น) จึงพยายามนำเข้ามันสำปะหลังซึ่งเป็นสินค้าทดแทนการผลิต จากไทยอีกทาง . ประกอบกับภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็น 0% ภายใต้ FTA อาเซียน-จีน ยิ่งสนับสนุนให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่จีนนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง . ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดในประเทศ ปีการผลิตปี 2564/65 มีเสถียรภาพ ปัจจุบันราคาเฉลี่ย 2.55 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจมาก . สำหรับปี 2565 นี้ ภาครัฐก็ได้เร่งดำเนินงานตามพันธกิจด้านการตลาดต่างประเทศ ในการส่งเสริมการส่งออก เช่น การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปและนวัตกรรมจากมันสำปะหลังเพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ประชุมเจรจาขยายตลาดผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับผู้ส่งออกและผู้ซื้อมันสำปะหลังในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง . และที่น่าจับตามอง อย่างการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากมันสำปะหลังนำร่อง ได้แก่ พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) และแป้งฟลาวมันสำปะหลังไปตลาดต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ผ่านกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ การจับคู่ธุรกิจในรูปแบบออนไลน์ (OBM) และสื่อประชาสัมพันธ์โฆษณา (Advertorial) ตลอดจนการเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานวิจัย เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างเป็นรูปธรรม . สุดท้าย การขยายตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์จะไม่ใช่เพียงผู้ส่งออกที่ได้ประโยชน์ แต่เกษตรกรก็พลอยจะขายได้ราคาดีตามไปด้วย โดยเฉพาะในภาคอีสานที่มีครัวเรือนเกษตรกรที่เพาะปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศ . . อ้างอิงจาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/761552/761552.pdf&title=761552&cate=1469&d=0 https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/753899/753899.pdf&title=753899&cate=1469&d=0 https://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดมันสำปะหลัง/TH-TH https://www.prachachat.net/economy/news-873583 https://mgronline.com/business/detail/9640000014819

สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย เมื่อรัฐเล็งยกเลิกใช้กล่องโฟม แก้ว-หลอดพลาสติก ภายในปี 65

ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาขยะพลาสติกกำลังถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง และผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ โดยปี 2562 ประเทศไทยได้ทำการแบนพลาสติกไปแล้ว 3 ชนิด ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม, ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ๊อกโซ่ และไมโครบีดจากพลาสติก . และภายในปี 2565 ไทยก็จะแบนพลาสติกอีก 4 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว (ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน), กล่องโฟมบรรจุอาหาร, แก้วพลาสติก (ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน) และหลอดพลาสติก . รวมไปถึง เรื่องของการนำพลาสติกเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% ของกลุ่มถุงพลาสติกหูหิ้ว, บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว, ขวดพลาสติกทุกชนิด, ฝาขวด, แก้วพลาสติก, ถาด/กล่องอาหาร และช้อน ส้อม มีดพลาสติก . ในระยะเวลาอีกไม่ถึงปีนี้ อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปดูว่า ที่ผ่านมามาตรการลดและเลิกใช้พลาสติกของภาครัฐได้ผลมากน้อยแค่ไหน จากเป้าที่ว่า จะลดปริมาณขยะพลาสติกลง 0.78 ล้านตันต่อปี . โดยเทียบเคียงจากข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย (ไม่ใช่ขยะพลาสติกทั้งหมด) ซึ่งปี 2562 ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศ 28.71 ล้านตัน (+0.78 ล้านตัน) ส่วนปี 2563 ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศ 25.37 ล้านตัน (-3.34 ล้านตัน) ที่แม้จะต้องใช้เวลาอีก 1 ปีให้หลังจึงเห็นผลแต่ก็ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะในจำนวนนี้เป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 33% ของปริมาณขยะที่ก่อ อีกทั้งสถานที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องยังลดลงจากปี 2562 จำนวน 366 แห่ง . เช่นเดียวกับภาคอีสาน ที่ปี 2562 ปริมาณขยะมูลฝอย 7.82 ล้านตัน (+0.04 ล้านตัน) ส่วนปี 2563 ปริมาณขยะมูลฝอย 6.49 ล้านตัน (-1.33 ล้านตัน) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากถึง 46.5% ของปริมาณขยะที่ก่อ ถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าทุกภูมิภาค รวมถึงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องก็ลดลงเช่นกัน โดยลดจากปี 2562 ประมาณ 205 แห่ง . อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขดังกล่าวจะไม่สามารถสะท้อนผลของนโยบายได้ชัดเจน แต่การแบนพลาสติกบางประเภท ก็เพื่อเปิดโอกาสให้วัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าได้เข้ามาแทนที่ และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้หันมาพกอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ซ้ำกันมากขึ้น . แน่นอนว่าเป็นโอกาสของภาคธุรกิจให้รีบปรับตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลาสติกที่ช่วงแรกต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงกว่าปกติ ดังนั้นภาครัฐอาจต้องเข้ามาช่วงผลักดันอีกแรง เช่น การมี Roadmap ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุทางเลือกอย่างไร จะมีมาตรการทางภาษีมาช่วยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องมีรายละเอียดเพื่อให้การแบนมีผลจริงในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น ส่วนธุรกิจอื่น ๆ เช่น จัดจำหน่ายถุงผ้า แก้วน้ำ-กล่องอาหารแบบใช้ซ้ำ ก็คงต้องมาแข่งขันกันอีกว่า …

สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย เมื่อรัฐเล็งยกเลิกใช้กล่องโฟม แก้ว-หลอดพลาสติก ภายในปี 65 อ่านเพิ่มเติม »

เปิดรายชื่อ 18 สินค้า ห้ามขึ้นราคา! กรมการค้าภายในขอให้ตรึงราคาต่อ

ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตสินค้าหลายชนิด จ่อ “ขึ้นราคาสินค้า” ภายในเมษายน 2565 โดยกลุ่มสินค้าที่จะปรับขึ้นราคา ได้แก่ . ไข่ไก่ ปรับราคาขึ้น 9 บาทต่อแผง น้ำมันปาล์ม ปรับราคาขึ้น 3 บาทต่อขวด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปรับราคาขึ้น 25 สตางค์ต่อซอง นมข้นหวาน ปรับราคาขึ้น 2 บาทต่อกระป๋อง มะนาว ปรับราคาขึ้น 5-7 บาทต่อลูก . อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศตรึงราคาสินค้าจำเป็น 18 หมวด มาตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยห้ามขึ้นราคาสินค้าโดยไม่จำเป็นทุกชนิด หวังจะช่วยบรรเทาสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศได้มากที่สุด . รายชื่อสินค้าจำเป็น 18 รายการ ที่ยังไม่ให้ขึ้นราคา มีดังนี้ . 1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2. หมวดอาหารสด (ไข่ไก่ เนื้อสัตว์) 3. อาหารกระป๋อง 4. ข้าวสารถุง 5. ซอสปรุงรส 6. น้ำมันพืช 7. น้ำอัดลม 8. นมและผลิตภัณฑ์จากนม 9. เครื่องใช้ไฟฟ้า 10. ผลิตภัณฑ์ซักล้าง 11. ปุ๋ย 12. ยาฆ่าแมลง 13. อาหารสัตว์ 14. เหล็ก 15. ปูนซีเมนต์ 16. กระดาษ 17. ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ 18. บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง . ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต จะขอปรับขึ้นราคาขายสินค้า เพราะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ต้องทำเรื่องมาที่กรมการค้าภายในเพื่อขออนุญาต และจะดำเนินการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป . สุดท้ายนี้ ถ้าประชาชนท่านใดพบเห็นการขายสินค้าเกินราคากว่าความเป็นจริง สามารถโทรศัพท์แจ้งโดยติดต่อมาที่ โทร.1569 สายด่วนกรมการค้าภายใน (ร้องเรียนสินค้าจำหน่ายเกินราคา) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าดังกล่าวได้ . . ที่มา: กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และกรุงเทพธุรกิจ

เกิดอะไรขึ้น อีสานถึงมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด

ผลสำรวจแรงงานนอกระบบ ปี 2564 จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งประเทศ 37.7 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 19.6 ล้านคน (52%) . หากเปรียบเทียบแรงงานนอกระบบจากจำนวนผู้มีงานทำในภูมิภาค จะพบว่า ภาคอีสาน มีแรงงานนอกระบบมากที่สุด (75.2%) รองลงมาเป็นภาคเหนือ (68.5%) ภาคใต้ (52.3%) ภาคกลาง (37.7%) และกรุงเทพมหานคร (21.9%) . เมื่อมาดูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แรงงานนอกระบบของประเทศส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในภาคเกษตร (58%) รองลงมา เป็นภาคการบริการและการค้า (32.2%) และภาคการผลิต (9.8%) . ทั้งนี้ แบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ปี 2563 พบว่า อีสานมีแรงงานในภาคเกษตร 6.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 53% ของผู้มีงานทำในภูมิภาค ดังนั้น สัดส่วนแรงงานเกษตรที่มากจึงสะท้อนแรงงานนอกระบบที่มากไปด้วย . โดยสิ่งหนึ่งที่แรงงานนอกระบบจะต้องเผชิญ คือ ถ้าไม่ได้สมัครเข้าประกันสังคม ก็จะไม่มีสวัสดิการคุ้มครองครอบคลุมในหลายกรณีเหมือนกับแรงงานในระบบ ซึ่งที่ผ่านมา แรงงานเกษตรในอีสานได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยเพียง 34 บาท/ชั่วโมง น้อยกว่าสาขาอื่น ๆ เป็นเท่าตัว การจะให้มาจ่ายเงินเพื่อซื้อสวัสดิการเหมือนแรงงานในระบบจึงเป็นเรื่องยาก . ยิ่งปัญหาของแรงงานนอกระบบ ปี 2564 ที่ส่วนใหญ่มีปัญหาจากการทำงาน (31.8%) โดยสิ่งที่พวกเขาต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุด คือ เรื่องของค่าตอบแทน จึงอาจกล่าวได้ว่า “จริง ๆ แล้วไม่ใช่ว่าแรงงานนอกระบบโดยเฉพาะในภาคเกษตร ไม่อยากจ่ายเงินเพื่อซื้อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่พวกเขาไม่มีให้จ่ายต่างหาก” เงินที่ได้เมื่อหักค่ากินค่าอยู่ก็แทบไม่เหลือ ไหนจะความไม่แน่นอนของรายได้ รวมไปถึงปัญหาหนี้สิน ที่ทำให้ไม่สามารถจ่ายได้ต่อเนื่อง . ซึ่งถ้าถามเหตุผลที่ยังทำเกษตรอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าสู่วัยสูงอายุของแรงงาน และจำนวนมากก็มีการศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า ทำให้การปรับเปลี่ยนอาชีพทำได้ยาก . ดังนั้น ภาครัฐอาจต้องหาวิธีให้แรงงานในภาคเกษตรได้พัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่ทำอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าแบบที่ไม่ยากหรือเป็นภาระพวกเขาเกินไป โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นตัวชี้วัด ควบคู่ไปกับการดึงคนรุ่นใหม่ที่สนใจและอยากพัฒนาการเกษตรของภูมิภาคและประเทศมาเป็นกำลังเสริมให้มากขึ้น ก่อนที่แรงงานเกษตร ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยจะหายไปหมด . . ที่มา: รายงาน การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564 จัดทำโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จัดทำโดยสำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

Scroll to Top