การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมารับประทานอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดน้ำผลไม้กลับมาเติบโตอีกครั้ง
.
ปี 2564 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้เป็นอันดับ 8 ของโลก คิดเป็นมูลค่า 2.02 หมื่นล้านบาท (+15.8%)
.
และในช่วงระยะเวลา 10 ปี (ปี 2555 – 2564) ไทยมีสินค้าน้ำผลไม้วางจำหน่ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก จำนวน 3,190 รายการ
.
ทั้งนี้ การส่งออกน้ำผลไม้ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการสินค้าเกษตร ป้องกันผลผลิตสินค้าเกษตรล้นตลาด รวมทั้งเป็นการขยายมูลค่าของสินค้าเพื่อจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
.
ตลาดส่งออกสำคัญ
.
– สหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออก 8.8 พันล้านบาท | แนวโน้มตลาด นิยมน้ำผลไม้ออร์แกนิค น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลหรือแคลอรีต่ำ
.
– จีน มูลค่าการส่งออก 1.6 พันล้านบาท | แนวโน้มตลาด นิยมน้ำผลไม้เข้มข้นสูง ไม่เติมสารให้ความหวาน สี หรือสารกันบูด และนิยมซื้อออนไลน์
– เนเธอร์แลนด์ มูลค่าการส่งออก 1.2 พันล้านบาท | แนวโน้มตลาด นิยมน้ำสับปะรด (คู่แข่งที่ส่งออกน้ำผลไม้ประเภทเดียวกัน ได้แก่ เวียดนาม และฟิลิปปินส์)
.
ประเด็นที่ถูกกล่าวอ้างถึงบนผลิตภัณฑ์มากที่สุด
.
1. ฮาลาล 49%
2. ไม่มีวัตถุเจือปนอาหาร/วัตถุกันเสีย 42%
3. บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม 31%
4. ปราศจากการเติมสารกันเสีย 28%
5. มังสวิรัติ 21%
6. รีไซเคิล 21%
7. ปราศจากการเติมสีสังเคราะห์ 20%
8. ไม่เติมน้ำตาล 16%
.
จะเห็นว่า ผู้ประกอบการต่างชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ที่นอกจากเรื่องพื้นฐาน ก็เริ่มหันมาสนใจผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาล งดเครื่องดื่มที่เติมสารกันเสีย/สีสังเคราะห์ คำนึงถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น
.
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องคอยติดตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีน้ำตาล มาตรฐานฉลากคาร์บอน การตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตและแบรนด์น้ำผลไม้ไทยสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ปรับปรุงรสชาติและเนื้อสัมผัส ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดส่งออกสำคัญได้
.
.
อ้างอิงจาก
https://kku.world/0jkd9
https://kku.world/7pgst
https://kku.world/hhnux
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #น้ำผลไม้ #ส่งออก