เรื่องของ “วัวเนื้อ” กับข้อได้เปรียบจากการเลี้ยงเพื่อการส่งออกของอีสาน
จำนวนโคเนื้อ . ในปี 2564 ประเทศไทยมีโคเนื้อกว่า 7.58 ล้านตัว โดยภูมิภาคที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด คือ ภาคอีสาน 3.97 ล้านตัว (52.32%) รองลงมาเป็น ภาคกลาง 1.31 ล้านตัว (17.26%) ภาคเหนือ 1.21 ล้านตัว (15.97%) และภาคใต้ 1.10 ล้านตัว (14.45%) ส่วนจังหวัดที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุดในประเทศ ได้แก่ สุรินทร์ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ . สถานการณ์การนำเข้า-ส่งออกโคเนื้อ . ก่อนอื่นต้องรู้ว่า การนำเข้า-ส่งออก สินค้าที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อ จะแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้ . 1. โคเนื้อมีชีวิต ประกอบด้วย โคมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ และโคมีชีวิตอื่น ๆ . 2. เนื้อโคและส่วนอื่นที่กินได้ ประกอบด้วย เนื้อโคสดแช่เย็น เนื้อโคสดแช่แข็ง และเครื่องในโคเนื้อและส่วนอื่นที่บริโภคได้ . 3. ผลิตภัณฑ์เนื้อโค เช่น เนื้อโคแปรรูป . สำหรับการนำเข้า ปี 2564 ไทยนำเข้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์มากที่สุด (93.82%) เป็นจำนวน 48,678 ตัน มูลค่า 5,628.40 ล้านบาท โดยประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น . ส่วนการส่งออก ปี 2564 ไทยส่งออกโคเนื้อมีชีวิตมากที่สุด (99.43%) เป็นจำนวน 198,134 ตัว มูลค่า 3,527.24 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโคเนื้อมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ จำนวน 40,178 ตัว มูลค่า 621.95 ล้านบาท โดยประเทศที่ไทยส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สปป. ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย . ทั้งนี้ การส่งออกโคเนื้อมีชีวิตไป สปป. ลาว จะเป็นการส่งออกไปจีนผ่าน สปป.ลาว เป็นหลัก เนื่องจากต้องถูกกักเพื่อตรวจสอบโรค โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย และลัมปีสกิน ที่กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไม่มีตัวเลขการส่งออกไปจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของไทย . โดยจีนกำหนดคุณสมบัติโคที่จะรับซื้อว่า จะต้องเป็นลูกผสมอเมริกันบราห์มัน หรือลูกผสมยุโรปทุกสายพันธุ์ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 350 – 400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่งออกวันละ …
เรื่องของ “วัวเนื้อ” กับข้อได้เปรียบจากการเลี้ยงเพื่อการส่งออกของอีสาน อ่านเพิ่มเติม »