หนึ่งในข้อความจากเพจ ลาว”มอง”ไทย “แรงงานลาวไปทำงานในต่างประเทศ จาก 73% ในปี 2023 มาเป็น 93% ในปี 2024” แม้ข้อความข้างต้นจะไม่ปรากฏข้อมูลตัวเลขอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีข่าวและข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจต่างๆ ที่พูดถึงวิกฤตทางการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ประเทศเล็กๆ ที่ไร้ทางออกทะเล ที่ต้องการฟื้นเปลี่ยนสภาพจาก land locked ให้เป็น land linked ประสานกับยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ทำให้ลาวต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ แต่กลับกันการลงทุนเหล่านั้นก็ได้สร้างหนี้พอกพูนมากขึ้นเป็นลำดับ “ภาคอีสาน และ สปป.ลาว ล้วนพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด ดังนั้นการหดตัวทางเศรษฐกิจลาวย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจอีสานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” สถานการณ์ของลาวประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะในระดับวิกฤตเมื่อมองไปที่นี่เงินกู้ของประเทศตอนนี้สูงถึง 122 % ของ GDP ซึ่งทำให้ลาวกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 9 ของโลกตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่หลายคนกล่าวถึงลาวว่ากำลัง “ติดกับดักนี่ทางการทูต” จากจีนหรือไม่? จนนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าลาวได้กลายเป็นรัฐเงา(shadow state) ของจีนไปด้วยซ้ำ แต่ในขณะเดียวกันลาวก็ไม่ได้มีทางเลือกในการพัฒนามากนักการต้านจีนจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากการเชื่อมโยงพัฒนาเข้ากับจีนดูเหมือนจะเป็นทางเดียวที่ลาวจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่พรรคประชาชนปฏิวัติเราเองก็ต้องการความชอบธรรมด้านผลงานจากการพัฒนาเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างมีราคาต้องจ่าย ISAN Insight and Outlook จะ พามาเบิ่ง ว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของลาว ได้เกิดผลกับลาวอย่างไรและได้ส่งผลต่อประเทศไทยรวมถึงภาคอีสานที่ถือเป็นชายแดนติดกับประเทศลาวอย่างไรบ้างตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจลาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะหนี้สิน และผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจลาวก็มีสัญญาณการฟื้นตัวและพัฒนาในหลายด้าน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจลาว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟมาตรฐาน และเขื่อน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงลาวเข้ากับภูมิภาค การลงทุนจากต่างประเทศ: การลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาว แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของประเทศ ภาคการเกษตร: ภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจลาว แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนเทคโนโลยี ภาคการท่องเที่ยว: ภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจลาว แต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจลาวในอนาคต การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป: แม้ว่าเศรษฐกิจลาวจะเริ่มฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวก็ยังมีความเปราะบางและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สงครามการค้า สภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวน ความท้าทายด้านหนี้สิน: ภาระหนี้สินของลาวยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข การพัฒนาอย่างยั่งยืน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปรียบเทียบศักยภาพเศรษฐกิจลาว และ ภาคอีสาน ลาว ยังเป็นผู้ลงทุน Top3 ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลข้างต้น ณ 30 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จะพบว่า ลาว ยังเป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานอย่างต่อเนื่องและติด TOP 3 มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฝั่งแรงงานจากลาว ก็ถือเป็นอันดับ 2 ของไทยที่ขับเคลื่อนแรงงานต่างด้าว เป็นรองเพียง … Continue reading เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ?
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed