พามาเบิ่ง 8 “ชุดไทย” พระราชนิยม ที่ถูกเสนอขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของ ยูเนสโก ปี 2569

🇹🇭ไทยได้เสนอ “ชุดไทย” ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก ปี 2569 หลังมีประเด็น🇰🇭กัมพูชายื่นชุดคล้ายชุดไทย
ฮู้บ่ว่า? นอกจาก “ชุดไทย” แล้ว “มวยไทย” กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกระดับสากลในปี 2571 เพื่อยกระดับ Soft Power ไทยบนเวทีโลกอย่างสร้างสรรค์

พามาเบิ่ง 8 “ชุดไทย” พระราชนิยม ที่ถูกเสนอขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของ ยูเนสโก ปี 2569 หลังมีประเด็น กัมพูชา ยื่นชุดคล้ายชุดไทย

.
“ชุดไทย” เป็นอัตลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทย มีมายาวนานกว่า 1,400 ปี โดยพบว่ามีการนุ่งและห่มตั้งแต่สมัย ทวารวดี – อยุธยา – รัตนโกสินทร์ตอนต้น

  • พัฒนาการสำคัญของชุดไทยในปี 2503
    • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาและฟื้นฟูรูปแบบการแต่งกายสตรีไทย
    • สร้างสรรค์ ชุดไทยสตรี 8 แบบ และ ชุดสุภาพบุรุษ 3 แบบ
    • ใช้ฉลองพระองค์ในโอกาสเสด็จเยือน สหรัฐอเมริกา และยุโรป อย่างเป็นทางการ แสดงให้เห็นถึง “ความงาม + เอกลักษณ์ไทย” ต่อสายตาชาวโลก
  • การใช้ชุดไทยในชีวิตประจำวัน
    • สวมใส่ใน งานพิธีสำคัญ งานรัฐพิธี งานศาสนา เป็นแนวปฏิบัติทางสังค ของคนไทยในทุกภูมิภาค
    • ส่งเสริม งานหัตถศิลป์ไทย เช่น การทอผ้า การตัดเย็บ การปัก และประดับลวดลาย
  • สถานะชุดไทยในระดับชาติและสากล
    • ในปี 2566 ขึ้นบัญชี มรดกวัฒนธรรมของชาติ
    • 26 มี.ค. 2567 ครม.เห็นชอบเสนอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก ในชื่อ “ชุดไทย: ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ”
    • เตรียมพิจารณาในปี 2569 ในการประชุม UNESCO (สมัยที่ 21)

ข่าวลือกัมพูชายื่นชุดคล้ายชุดไทย

กัมพูชาจะเสนอ ‘ประเพณีแต่งงาน’ โดยสอดแทรก ‘ชุดไทย’ เป็นมรดกโลกนั้น ไม่เป็นความจริง กรมส่งเสริมวัฒนธรรมตรวจสอบแล้ว ยูเนสโกยังอยู่ในขั้นตอนให้แต่ละประเทศปรับแก้ข้อมูลข้อเสนอสำหรับปี 2025-2026 และไม่มีหลักฐานว่ากัมพูชาจะอ้างอิงถึง ‘ชุดไทย’ แต่อย่างใด

ชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบได้ถือกำเนิดขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อพุทธศักราช 2503 ได้พระราชทานพระราชดำริว่า สมควรที่จะสรรค์สร้างการแต่งกายชุดไทยให้เป็นไปตามประเพณีที่ดีงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการศึกษา ค้นคว้าเครื่องแต่งกายสมัยต่าง ๆ จากพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายใน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ แต่ให้มีการปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย ทรงเสนอรูปแบบที่หลากหลาย และได้ฉลองพระองค์อย่างงดงามเป็นแบบอย่าง ทั้งได้พระราชทานให้ผู้ใกล้ชิดแต่งและเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” มี 8 ชุด ใช้ในโอกาสที่แตกต่างกันดังนี้

1. ชุดไทยเรือนต้น

ชุดไทยเรือนต้น ตั้งชื่อตามเรือนต้น เป็นชุดไทยแบบลำลอง ลักษณะเป็นเสื้อแขนกระบอก ผ่าอก คอกลม ไม่มีขอบตั้ง นุ่งกับผ้าซิ่นทอใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงเชิง ตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้า ป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีตัดกับซิ่นลายขวาง ใช้ได้หลายโอกาส แต่นิยมใช้เป็นชุดเช้า ในงานที่ไม่เป็นพิธีการมากนักอย่างเช่น ไปทำบุญ ตักบาตร ไปวัด ไปงานมงคลต่าง ๆ

2. ชุดไทยจิตรลดา

ตั้งชื่อตามพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ลักษณะเป็นทางการกว่าชุดไทยเรือนต้น เป็นเสื้อคอกลม ขอบตั้งขึ้นมาเล็กน้อย เสื้อเป็นแขนกระบอก ตัวชุดใช้ผ้าไหมเชิงเกลี้ยงมีเชิงหรือทอยกดอกทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแยกชิ้นกัน ซิ่นยาวป้ายหน้า ใช้เป็นชุดพิธีกลางวัน หรืองานพิธีที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ ต้อนรับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการ ส่วนเนื้อผ้าสามารถเลือกให้เหมาะสมตามแต่วาระโอกาส ไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และชุดไทยจิตรลดานี้เป็นที่นิยมสวมใส่เป็นชุดไทยไว้ทุกข์หรือถวายความอาลัยในช่วงนี้

3. ชุดไทยอมรินทร์

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย แบบเหมือนกับชุดไทยจิตรลดา แต่เนื้อผ้าและเครื่องประดับหรูหรากว่า ใช้ผ้าไหมยกดอกที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อเป็นคอตั้ง แขนยาว เสื้อกับซิ่นคนละท่อน ไม่ใช้เข็มขัด ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มักใช้เป็นชุดพิธีตอนค่ำ เหมาะกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูมหรสพ พระราชพิธีต่างๆ พระราชพิธีสวนสนามวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือโอกาสที่กำหนดให้แต่งกายเต็มยศหรือครึ่งยศ และงานสโมสรสันนิบาต

4. ชุดไทยศิวาลัย

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งศิวาลัย เป็นชุดไทยของสตรีบรรดาศักดิ์ในสมัยก่อน มีลักษณะคล้ายกับชุดไทยบรมพิมาน คือเสื้อแขนยาว คอตั้งเล็กน้อย แต่ห่มสไบปักลายไทยอย่างสไบชุดไทยจักรพรรดิ แต่ไม่ต้องมีแพรจีบรองพื้นก่อน แล้วห่มทับเสื้อด้านในอีกชั้น ซิ่นเย็บติดกับตัวเสื้อแบบชุดไทยบรมพิมาน เป็นไหมยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด แต่งเครื่องประดับตามสมควร มักใช้ในงานตอนค่ำ งานเลี้ยง งานฉลองสมรส หรืองานพิธีเต็มยศ เหมาะสมสำหรับช่วงอากาศเย็น เพราะมีหลายชั้น

5. ชุดไทยจักรพรรดิ

ตั้งชื่อตามพระตำหนักจักรพรรดิพิมาน เป็นเครื่องแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ในสมัยโบราณ ลักษณะเป็นชุดไทยห่มสไบ คล้ายชุดไทยจักรี แต่ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศด้วยลูกปัดสีทองบนสไบชั้นนอก ผ้าซิ่นใช้ไหมยกดิ้นทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม รัดแขน รัดเกล้า สร้อยสังวาลย์ สร้อยข้อมือ ต่างหู สร้อยคอต่างๆ มักใช้สำหรับงานที่เป็นพิธีรีตองมากกว่าชุดไทยจักรี อย่างงานแต่งงาน งานพิธีหรือราชพิธีต่าง ๆ

6. ชุดไทยดุสิต

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ลักษณะตัวเสื้อเป็นแบบคอด้านหน้า-หลังคว้านกว้าง แขนกุด ลวดลายสวยงามแต่งด้วยลูกปัด ไข่มุก หรือเลื่อม เหมาะกับการใส่สายสะพายในพระราชพิธีเต็มยศ ซิ่นเป็นผ้าไหมยกดิ้นทอง ลายดอกพิกุล ตัดแบบหน้านาง มีชายพก ใช้เครื่องประดับอย่างไทยหรือตะวันตกได้ตามเหมาะสม มักใช้ในงานตอนค่ำ เช่น งานแต่งงาน งานราตรีสโมสร

7. ชุดไทยบรมพิมาน

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งบรมพิมาน ลักษณะเสื้อเป็นคอกลม ขอบตั้ง แขนยาว ผ่าด้านข้างหรือด้านหลัง ซิ่นจีบหน้ามีชายพกใช้ผ้าไหมหรือยกทองมีเชิง ยกทองทั้งตัวก็ได้ ซิ่นเย็บติดกันกับตัวเสื้อหรือคนละท่อนก็ได้ ใช้เข็มขัดคาด ความยาวซิ่นจรดข้อเท้า ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มักใช้สำหรับงานพิธีค่ำ งานเต็มยศหรือครึ่งยศ เช่น งานอุทยานสโมสร งานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ เป็นชุดเจ้าสาวในพิธีพระราชทานน้ำสังข์

8. ชุดไทยจักรี

ตั้งชื่อตามพระตำหนักจักรพรรดิพิมาน เป็นเครื่องแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ในสมัยโบราณ ลักษณะเป็นชุดไทยห่มสไบ คล้ายชุดไทยจักรี แต่ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศด้วยลูกปัดสีทองบนสไบชั้นนอก ผ้าซิ่นใช้ไหมยกดิ้นทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม รัดแขน รัดเกล้า สร้อยสังวาลย์ สร้อยข้อมือ ต่างหู สร้อยคอต่างๆ มักใช้สำหรับงานที่เป็นพิธีรีตองมากกว่าชุดไทยจักรี อย่างงานแต่งงาน งานพิธีหรือราชพิธีต่าง ๆ

ชุดไทยประยุกต์

แบบชุดโดยรวม ดัดแปลงผลิตสร้างจาก ชุดไทยพระราชนิยม ทั้ง 8 ชนิด เพื่อเติมเต็ม เพิ่มมูลค่าตลาด เพิ่มความพึงพอใจของแต่ละปัจเจกบุคคล โดยผ่านกระบวนการ “คัสตอมไมซ์” (customized) ส่วนต่างๆของ ชุดไทยแบบต่างๆ อย่างละ เล็กๆ น้อยๆ ขายความสดใหม่ให้ผู้สวม เอาใจตลาดคนกลุ่มแรก ในขณะเดียวกัน นอกจากเป็นการกลั่นประสบการณ์ ของนักออกแบบแล้ว ยังเป็นการแบ่งแยก ชั้นสินค้าไปในตัว อวดฝีมือ ผู้ผลิตแต่ละสำนัก ไหลไปตามพลวัตร ตลาด ตามทัศนคติของผู้ออกแบบ ที่มีต่อชุดไทย

ในระบบทุนนิยม ที่สินค้าในตลาดจะถูก สถาปนาให้เป็นส่วนประกอบสำคัญ เพิ่มบรรยากาศ ระบบคุณค่า ระบบหนึ่ง ที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” โดยวัฒนธรรมก็มักแปรรูป กลับไปเป็นสินค้า ใช้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ ปากท้อง ชุดไทยประยุกต์ (จึงอาจ) คือ ชุดไทยที่ผ่านศัลยกรรม จนมีกายภาพแตกต่าง เป็นเสื้อลูกไม้ใส่กับผ้าถุง คอจีน ก็อาจกลายเป็นคอวี กระฉับกระเฉงกว่า มีความเป็นอินเตอร์กว่า ตะวันตกมากกว่า มีพลวัต ถ่ายรูปขึ้น เพิ่มยอดขาย Like เพียบ ใส่แล้วคิดได้(เอง)ว่า แตกต่าง ดีอย่างนี้ อย่างนั้น ดูแลรักษาง่าย เป็นต้น

spd 20150916110049 b

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠

 

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top