💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠

ผ้าไหมเทียม ทะลักจาก ชายแดน ไทย-ลาว #กระทบอุตสาหกรรมผลิตและทอผ้าไหมในอีสาน ตัดราคา 10 เท่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐานพบ เป็นเส้นใยผสม เส้นใยพลาสติก ไม่ใช่ผ้าไหมแท้ ISAN Insight พามาเบิ่ง ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย . [ข้อมูลมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้า “หม่อนไหม” ภายในประเทศ] ปี 2564 ยังมีมูลค่าสูงถึง 6,614.12 ล้านบาท แบ่งเป็น รังไหม 273.50 ล้านบาท เส้นไหม 195.61 ล้านบาท ผ้าไหม 2,196.41 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม 3,803.96 ล้านบาท หม่อนผลสด 79.11 ล้านบาท ใบหม่อนชา, หม่อนอาหารสัตว์ 50.16 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 15.37 ล้านบาท ข้อมูลมูลค่าของอุตสาหกรรมจาก “หม่อนไหม” จะพบว่าอุตสาหกรรมนี้ตั้งแต่ปลูกม่อน> เลี้ยงหนอนไหม> สาวไหม> ถักเส้นใย> ย้อมสี> จนทอผ้า ออกมาเป็นผืน ทุกๆ ขั้นตอนล้วนเป็นห่วงโซ่คุณค่า ที่หล่อเลี้ยง ชาวบ้านใน สายห่วงโซ่อุปทานการผลิต 86,482 ครัวเรือน(กรมหม่อนไหม ปี 2565) โดยข้อมูลคาดการณ์จากข้อมูลกรมพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คาดการณณ์ว่าภาคอีสานเป็นแหล่งช่างฝีมือทอผ้าขนาดใหญ่ คาดว่ามีถึง 100,000-200,000 คน กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน ____________________________ [ความเป็นมาของท้องถิ่นสู่ผ้าไหมปักธงชัย] . สำหรับอำเภอปักธงชัย มีประวัติอันยาวนาน มีความสำคัญตั้งแต่สมัยกรงศรีอยุธยา โดยปรากฏวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านการแต่งกายหรือภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา โดยสมัยก่อนนั้นอำเภอปักธงชัย (เมืองปัก) เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครราชสีมา ในบริเวณดังกล่าวมาแต่โบราณ มีการทำนา ทำไร่ การปลูกหม่อน ปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งเป็นการพอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง หากมีเหลือก็จะนำไปแลกเปลี่ยนกันกับพ่อค้าคนกลาง ที่เรียกตัวเองว่า นายฮ้อย ซึ่งนายฮ้อยจะนำผ้าไหมไปขายยังพื้นที่ต่างๆ อำเภอปักธงชัย ถือเป็นแหล่งที่มีการผลิตผ้าไหมที่สำคัญที่สุดของจังหวัดนครราชสีมา และมีการผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จนมีการเรียกผ้าไหมที่ได้มีการผลิตในพื้นที่อำเภอปักธงชัยว่า “ผ้าไหมปักธงชัย” ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแหล่งผลิตผ้าไหมปักธงชัยเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมาเป็นอย่างมาก ลักษณะของผ้าไหมปักธงชัยที่ได้ผลิตตามกรรมวิธีและภูมิปัญญาตั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาคือ ผ้าพื้น ซึ่งทำการทอด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกี่กระตูก ผ้าไหมมีลักษณะเป็นผ้าสีพื้น (ผ้าพื้นเรียบ)ทอแบบ 2 ตะกอ ผ้าไหมมีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 นิ้ว เนื้อผ้าหนาแน่น สีคงทน ไม่ตก จนกระทั่งได้ทำการขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผ้าไหมปักธงชัย” … Continue reading 💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠