April 2025

พาเปิดเบิ่ง🥵สถิติภัยร้ายหน้าร้อน 🌡️”ฮีทสโตรก” คร่าชีวิตคนอีสานสูงสุดในประเทศ โดยเดือนเมษาฯ หนักสุด

⏰พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน เคยร้อนสุด กี่องศา🥵🔥 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 24 ราย 18 ราย 57 ราย 12 ราย 7 ราย 8 ราย 37 ราย 63 ราย สถานการณ์ผู้เสียชีวิตในปี 2567 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 63 ราย เพศชาย 54 ราย เพศหญิง 9 ราย   อายุระหว่าง 30 – 95 ปี (เฉลี่ย 62 ปี) ประกอบอาชีพรับจ้าง คิดเป็น 25%   ผู้เสียชีวิตอยู่ใน 31 จังหวัด อุดรธานี = 9 ราย ชัยภูมิ นครราชสีมา และศรีสะเกษ = จังหวัดละ 4 ราย ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ และสมุทรสงคราม = จังหวัดละ 3 ราย ชลบุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี แพร่ ลำปาง ลำพูน และสุราษฎร์ธานี = จังหวัดละ 2 ราย ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ นครนายก นครศรีธรรมราช น่าน ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พะเยา มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระยอง สมุทรปราการ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี = จังหวัดละ 1 ราย   สถานการณ์ในปี 2568 พบผู้ป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน “กลุ่มฮีทสโตรก” แล้วจำนวน 34 ราย โดยจังหวัดตราดมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาคือ สระแก้ว ปราจีนบุรี เลย นครราชสีมา และแพร่ […]

พาเปิดเบิ่ง🥵สถิติภัยร้ายหน้าร้อน 🌡️”ฮีทสโตรก” คร่าชีวิตคนอีสานสูงสุดในประเทศ โดยเดือนเมษาฯ หนักสุด อ่านเพิ่มเติม »

ร้อนบ่มื้อนี้?🥵เปิดเบิ่ง 11 จังหวัดในอีสานที่ทุบสถิติใหม่ “อุณหภูมิสูงสุด”🌡️

จากข้อมูลสถิติย้อนหลัง ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาระหว่าง พ.ศ. 2494 – 2566 พบว่า ภาคอีสานเคยม่ีสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน อยู่ที่ 44.1 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 โดยจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่พบว่ามีอุณหภูมิสูงที่สุด https://www.facebook.com/photo.php?fbid=700492755586687&set=pb.100068779069701.-2207520000&type=3 ⏰พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน เคยร้อนสุด กี่องศา🥵🔥 . และเมื่อ 28 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา 11 จังหวัดเหล่านี้ ได้ทุบสถิติ อุณหภูมิสูงสุดของจังหวัดตัวเองที่เคยบันทึกตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่า ปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมาในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การเป็นอยู่ และทรัพย์สินของประชาชนมากมาย อีกทั้งเวลาอีก 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีวี่แววว่าอากาศของฤดูร้อนจะลดน้อยลงไปเลย . ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2567 นี้อาจจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงเพิ่มมากขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งก็สามารถทำลายสถิติในปี 2559 จึงทำให้ทั่วโลกต้องเตรียมพร้อมในการรับมือต่อปรากฏการณ์ของเอลนีโญที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้ . และเมื่อกลางปีที่แล้ว นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ออกมาประกาศว่ายุคโลกร้อน (Global Warming) สิ้นสุดลงแล้ว และพวกเรากำลังเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling) โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น . ในขณะที่ รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช จากคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของไทย คาดว่า อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการคาดการณ์ล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) . “ภาพฉายปัจจุบันที่เป็นอยู่ก็คือ ภายใต้การดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของนานาประเทศ ปรากฏว่าเมื่อครึ่งศตวรรษ อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นอีกประมาณ 2.7 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ตรงนี้ก็เป็นประเด็น เพราะหากเราลองคิดภาพอุณหภูมิสูงขึ้นอีก 2.7 องศาในเดือนเมษายน มีความเป็นไปได้สูงมากเลยว่าอุณหภูมิสูงสุดมันจะเหวี่ยงเกินกว่าระดับ 50 องศาเซลเซียส” รศ.ดร.วิษณุ กล่าว . จากข้อมูลสถิติย้อนหลังและการคาดการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ เราได้ข้อสรุปแล้วว่า ปีนี้ได้ทำลายสถิติไปหลายพื้นที่ และหวังว่าปัญหานี้จะถูกแก้ไข เพื่อไปให้ปีหน้าทำลายสถิติไปมากกว่านี้ . หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2567 ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา bbc news : สำรวจชีวิตจริงที่ “ร้อนแบบอยู่ไม่ได้” ของคนจนไทยในยุคโลกเดือด . ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight

ร้อนบ่มื้อนี้?🥵เปิดเบิ่ง 11 จังหวัดในอีสานที่ทุบสถิติใหม่ “อุณหภูมิสูงสุด”🌡️ อ่านเพิ่มเติม »

⏰พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน เคยร้อนสุด กี่องศา🥵🔥

หากพูดถึงสภาพอากาศของโลกในปัจจุบัน พูดได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากสภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในหลายๆ ที่ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งที่ขั้วโลกเกิดการละลายตัว อย่างรวดเร็ว รวมถึงระบบนิเวศตามธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบ.จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ อีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความสำคัญ เพราะเนื่องจากปรากฏการณ์นี้จะเป็นตัวกำหนดสภาพอากาศต่างๆ บนพื้นโลก ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และขณะนี้ปรากฏการณ์เอลนีโญก็ได้กลับมาอีกครั้ง และเป็นครั้งที่หนักที่สุดเท่าที่เคยมีมา.ปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2567 นี้อาจจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงเพิ่มมากขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งก็สามารถทำลายสถิติในปี 2559 จึงทำให้ทั่วโลกต้องเตรียมพร้อมในการรับมือต่อปรากฏการณ์ของเอลนีโญที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้.อีสานอินไซต์จะพาไปย้อนดูว่า ที่ผ่านมาแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน “ร้อนมากที่สุด” กี่องศา?.ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาระหว่าง พ.ศ. 2494 – 2566 พบว่า ภาคอีสานเคยม่ีสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน อยู่ที่ 44.1 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 โดยจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่พบว่ามีอุณหภูมิสูงที่สุด..จากข้อมูลสถิติย้อนหลังและการคาดการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ เรามาติดตามกันต่อว่า ปีนี้จะทำลายสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วง 70 ปีที่ผ่านมาได้หรือไม่..อ้างอิงจาก:– ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา– Krungsri Plearn Plearn.ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่https://linktr.ee/isan.insight.#ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #อุณหภูมิสูงที่สุด #อุณหภูมิสูง #ฤดูร้อน #ร้อน #ปรากฏการณ์เอลนีโญ #เอลนีโญ #โลกร้อน #ภัยแล้ง   พาย้อนเบิ่ง ในช่วงกว่า 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน “เคยหนาวสุด” มากแค่ไหน

⏰พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน เคยร้อนสุด กี่องศา🥵🔥 อ่านเพิ่มเติม »

ปลุกกระแส “กินของไทย ใช้ของไทย” พามาฮู้จัก MiT (Made in Thailand)

Made in Thailand (MiT) เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ การสนับสนุนสินค้าไทยผ่านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จะช่วยลดการพึ่งพาสินค้านำเข้า สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย และกระจายรายได้สู่ประชาชนในทุกระดับ   ปีงบประมาณ 2565 มีบริษัทสมาชิกได้งานถึง 1,600 บริษัท รวมมูลค่ากว่า 102,000 ล้านบาท   ปัจจุบันมีผู้ประกอบการขึ้นทะเบียน MiT แล้วกว่า 5,000 กิจการ ครอบคลุมมากกว่า 60,000 รายการสินค้า กลุ่มสินค้าที่ได้รับการรับรองมากที่สุด อุปกรณ์งานก่อสร้าง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก เครื่องปรับอากาศ ปูนซีเมนต์   สินค้าที่ได้ใบรับรอง MiT ในภาคอีสาน (หน่วย: รายการ) นครราชสีมา 846  ขอนแก่น 321  บุรีรัมย์ 261 กาฬสินธุ์ 193 ชัยภูมิ 187 ศรีสะเกษ 167 อุบลราชธานี 155 หนองบัวลำภู 136 สุรินทร์ 132 ร้อยเอ็ด 123 มหาสารคาม 113 สกลนคร  104 เลย 101 บึงกาฬ 99 นครพนม 86 อุดรธานี 67 ยโสธร 60 อำนาจเจริญ 37 หนองคาย 36 มุกดาหาร 35    ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ประชาชาติธุรกิจ และมติชนออนไลน์

ปลุกกระแส “กินของไทย ใช้ของไทย” พามาฮู้จัก MiT (Made in Thailand) อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง ในปี 2567 ภาคอีสานจ่ายภาษีสรรพสามิตไปกว่า 32,068 ล้านบาท จังหวัดไหนจ่ายหนักสุด?

ในปี 2567 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั้งหมดรวมกัน อยู่ที่ 32,068 ล้านบาท โดยภาษีเบียร์เป็นประเภทสินค้าที่มีมูลค่าการเก็บภาษีได้มากที่สุด 16,339 ล้านบาท รองลงมา คือ ภาษีสุรา 12,090 ล้านบาท และภาษีเครื่องดื่ม 2,302 ล้านบาท ตามลำดับ   5 อันดับจังหวัดที่มีการจ่ายภาษีสรรพสามิตมากสุด – ขอนแก่น จ่ายภาษีสรรพสามิตกว่า 20,854 ล้านบาท – อุบลราชธานี จ่ายภาษีสรรพสามิตกว่า 2,997 ล้านบาท – หนองคาย จ่ายภาษีสรรพสามิตกว่า 2,843 ล้านบาท – บุรีรัมย์ จ่ายภาษีสรรพสามิตกว่า 2,660 ล้านบาท – นครราชสีมา จ่ายภาษีสรรพสามิตกว่า 2,150 ล้านบาท   หากดูเป็นรายจังหวัดจะพบว่ามูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกว่า 65% เป็นมูลค่าการจัดเก็บภาษีจากจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20,854 ล้านบาท   ทำไมขอนแก่นถึงมีมูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้มากที่สุดในอีสาน? ประเภทสินค้าที่มีมูลค่าการเก็บภาษีได้มากที่สุดในขอนแก่น คือ ภาษีเบียร์ มากถึง 15,932 ล้านบาท สาเหตุที่ภาษีเบียร์มากที่สุด อาจจะเป็นเพราะที่ขอนแก่นมีอาณาจักรสิงห์บริวเวอรี่ หรือ บริษัท ขอนแก่น บริวเวอรี่ จำกัด ที่ดำเนินกิจการผลิตเครื่องดื่มเเอลกอฮอลล์ ลีโอเบียร์ ได้ขยายฐานการผลิตสู่ภูมิภาค และตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายในประเทศ ซึ่งมีฐานการผลิตในภาคอีสานแค่ที่ขอนแก่นจังหวัดเดียว ในขณะที่จังหวัดใหญ่อย่างอุบลราชธานีและนครราชสีมาตามมาในอันดับรองๆ ก็สะท้อนถึงขนาดเศรษฐกิจและกิจกรรมทางธุรกิจที่เข้มข้นในหัวเมืองหลักเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จังหวัดที่มีมูลค่าการเก็บภาษีสรรพสามิตได้น้อยนั้น อาจมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กกว่า หรือมีลักษณะธุรกิจที่แตกต่างออกไป อาจเน้นไปที่ภาคเกษตรกรรม การท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอาจไม่ได้สร้างรายได้จากภาษีสรรพสามิตในอัตราที่สูงนักนั่นเอง     อ้างอิงจาก: – กรมสรรพสามิต   ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ภาษีสรรพสามิต #ภาษี #ภาษีเบียร์ #ภาษีสุรา #ภาษีเครื่องดื่ม

พาเปิดเบิ่ง ในปี 2567 ภาคอีสานจ่ายภาษีสรรพสามิตไปกว่า 32,068 ล้านบาท จังหวัดไหนจ่ายหนักสุด? อ่านเพิ่มเติม »

เครือ MKG Global Group ผลักดัน Soft Power บุกเซ็นทรัล โคราช ในงาน ESAN F.A.C.E.2025

มหกรรม Soft Power อีสาน ครั้งใหญ่ที่ไม่ควรพลาด!!! E-SAN F.A.C.E. ‘จิ๊บ วสุ – ดร.โก้ ธีรศักดิ์’ ร่วมแถลง พร้อมชวนร่วมงาน 23-25 พฤษภาคม นี้ ที่เซ็นทรัล โคราช   วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2568 MKG Global Group โดย อาจารย์มงคลพัฒน์ ทิพยจันทร์ (มงคลพัฒน์ ดวงและฮวงจุ้ย) , คุณสมเกียรติ ทวีสิทธิ์ , คุณวรฉัตร สัมมาชีวกุล , คุณอรรถพล จันทรวงศ์ไพศาล , คุณณัฏฐสิทธิ์ วีนาซีมูทู และคณะผู้จัดงาน ได้จัดงานแถลงข่าว E-SAN F.A.C.E. : The Future of E-SAN Soft Power โดยได้รับเกียรติอย่างสูงจาก คุณกร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมแขกผู้มีเกียรติ ดร. ไจตันยะ ประกาศ โยคี ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมสวามี วิเวกานันท์ สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย กรุงเทพฯ , ดร.ฤทธิ์ ลือชา , สัญญา พรนารายณ์ ,แสนรัก เมืองโคราช ,สุมิตร สัจจเทพ , ดีเจ โจ้ เฉลิมศักดิ์ อังศุพันธุ์ , ดร.พรนารายณ์ มณีรุ่งโรจน์ทวี บ.ดาราอินไซค์ทีวี จำกัด และ ดารา นักแสดง คุณจิ๊บ วสุ แสงสิงห์แก้ว , ดร.โก้ ธีรศักดิ์ พันธุจริยา , คุณปุ๋ย นิทัศน์, คุณปิงปอง สะแกวัลย์ , นักแสดงดาวรุ่ง จิก้า ณัฐนนท์ เพ็ชรรัตน์ จากซีรีส์วาย เรื่อง อาการมันเป็นยังไงไหนบอกหมอ ,รักฝังเข็ม และ ยกนี้พี่ต้องชนะ , ธานัท จุลสัตย์ Mister Landscapes International Thailand 2025 , ธงดนัย แตงอวบ National Director Mister Landscapes

เครือ MKG Global Group ผลักดัน Soft Power บุกเซ็นทรัล โคราช ในงาน ESAN F.A.C.E.2025 อ่านเพิ่มเติม »

อีสานเตรียม “ปั้นหมอ” เพิ่ม  พาเปิดเบิ่ง “หมอในอีสาน” มีมากแค่ไหน

🧑🏻‍⚕️🥼🩺ในปี 2566 หากมาดูจำนวนแพทย์ทั่วภาคอีสานจะพบว่า มีจำนวนแพทย์ทั้งหมด 8,447 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 290 คน ซึ่งในปี 2565 มีจำนวนแพทย์ทั้งหมด 8,157 คน ขณะที่ประชากรในภาคอีสานมีมากถึง 21.7 ล้านคน ทำให้ภาคอีสานมีสัดส่วนประชากร 2,565 คน ต่อแพทย์ 1 คน ซึ่งถือว่ามีตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เพราะ WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้แนะนำสัดส่วนมาตรฐานเอาไว้ โดยกำหนดว่าสัดส่วนที่เหมาะสมคือ แพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 1,000 คน นั่นเอง    🧑🏻‍⚕️5 อันดับจังหวัดที่มีแพทย์มากที่สุดในอีสาน อันดับที่ 1 ขอนแก่น มีจำนวน 1,647 คน อันดับที่ 2 นครราชสีมา มีจำนวน 1,243 คน อันดับที่ 3 อุบลราชธานี มีจำนวน 803 คน อันดับที่ 4 อุดรธานี มีจำนวน 586 คน อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีจำนวน 504 คน   🏥🧑🏻‍⚕️ขอนแก่น…ผู้นำทัพ “หมออีสาน” สู่เป้าหมาย Medical Hub โอกาสและความท้าทายบนเส้นทางศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ จากข้อมูลจำนวนแพทย์ใน 5 จังหวัดหลักของภาคอีสาน จะเห็นได้ว่าจังหวัดขอนแก่นมีจำนวนแพทย์ที่สูงสุดถึง 1,647 คน ทิ้งห่างจังหวัดใหญ่อื่นๆ อย่างนครราชสีมาและอุบลราชธานีอย่างเห็นได้ชัด โดยปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ขอนแก่นก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านนี้ คือการเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาชั้นนำที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่และมีความเชี่ยวชาญสูง อย่างเช่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้มแข็งเช่นนี้ ถือเป็นรากฐานสำคัญที่แข็งแกร่งในการผลักดันให้ขอนแก่นก้าวไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาตั้งแต่ปี 2558 และมีแผนยุทธศาสตร์รองรับอย่างชัดเจน (พ.ศ. 2560-2569) การเป็น Medical Hub ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การมีจำนวนแพทย์ที่มากเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์ที่ครบวงจร ตั้งแต่การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานไปจนถึงการรักษาเฉพาะทางขั้นสูง การมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา รวมถึงการมีระบบสนับสนุนด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ในขณะที่จำนวนแพทย์ในจังหวัดอื่นๆ ในกลุ่มท้ายตารางอย่างบึงกาฬ อำนาจเจริญ และหนองบัวลำภู นับว่ามีจำนวนแพทย์น้อยมาก ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาการกระจายตัวของบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่สมดุลในภูมิภาคอีสาน แม้ว่าจะมีจังหวัดที่เป็น “หัวเมือง” ที่มีจำนวนแพทย์หนาแน่น แต่จังหวัดรอบนอกหรือพื้นที่ห่างไกลอาจเผชิญกับภาวะขาดแคลนแพทย์อย่างแท้จริง วิกฤต “แพทย์ไม่พอ” ในอีสาน โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดข้างต้นนี้ นับว่าเป็นสถานการณ์น่าเป็นห่วงที่สุดนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสาธารณสุขและชีวิตของประชาชน การเข้าถึงการรักษาที่ล่าช้า คุณภาพการรักษาที่อาจลดลง และความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงบริการ เป็นผลกระทบที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

อีสานเตรียม “ปั้นหมอ” เพิ่ม  พาเปิดเบิ่ง “หมอในอีสาน” มีมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

4 พืชเศรษฐกิจอีสาน หัวใจเกษตรไทย กระดูกสันหลังของชาติ

บทความนี้เป็นการสรุปประเด็นสำคัญจากคลิปวิดีโอ “อีสาน กับ การเกษตร ข้าว มัน อ้อย ยาง ดินแดนแห่งพืชเศรษฐกิจกระดูกสันหลังของชาติ”  ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เนื่องจากคนไทยทำเกษตรกรรมกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งกว่าครึ่งของเกษตรกรในประเทศนั้นเป็นคนภาคอีสาน อีกทั้งภาคอีสานเป็นภาคที่มีพื้นที่ทำการเกษตรมากที่สุด ดังนั้นจะกล่าวได้ว่าภาคอีสานนั้นเป็นกระดูกสันหลังของชาติก็ว่าได้ แต่อาชีพเกษตรกรนั้นกลับมีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ และภาคอีสานมีปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถมีผลผลิตดีเท่าที่ควร ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสาน ระบบชลประทาน ภาคการเกษตรของภาคอีสาน เป็นภาคที่พึ่งฟ้าพึ่งฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากระบบชลประทานของภาคอีสานไม่ทั่วถึง โดยมีเพียง 11.9% ของพื้นที่การเกษตร(7.6 ล้านไร่) ที่อยู่ในเขตชลประทาน เท่านั้น อีกทั้งภาคอีสานเป็นภาคที่ปลูกข้าวเยอะ และมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวมากที่สุดในประเทศ แต่ข้าวเป็นพืชที่ต้องใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกมาก จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าปกติและแปรผันตามฟ้าฝนจากธรรมชาติ   ปัญหาดิน ดินในภาคอีสานเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ ทำให้เก็บน้ำได้น้อยและเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้ง่าย ดังนั้นภาคอีสานเผชิญทั้งปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมภายในปีเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากภาคกลางที่เป็นดินเหนียว จึงเหมาะกับการทำการเกษตรมากกว่าภาคอีสาน และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือภาคอีสานเผชิญกับปัญหาดินเค็ม เนื่องจากดินเค็มแพร่กระจายอยู่ทั่วจังหวัดในภาคอีสาน ทำให้ภาคอีสานทำการเกษตรได้ยากกว่าภาคอื่นๆ ถึงแม้ว่าภาคอีสานจะมีอุปสรรคที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร แต่ภาคอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาคที่มีผลผลิตทางการเกษตรเยอะเป็นอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคอีสานคือ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา ซึ่งเนื้อหาภายในคลิปวีดิโอนั้นได้พูดถึงเพียงแค่ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพาราเท่านั้น ข้าว ภาคอีสานเป็นภาคที่พื้นที่เพาะปลูกข้าวข้าวนาปีมากกว่า 39 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 61.9% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตมากกว่า 13 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 48.1% ของผลผลิตปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ ซึ่งทั้งพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีในอีสานมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ และยังเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมดอกมะลิ 105 ที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนข้าวนาปรัง ภาคอีสานมีผลผลิตข้าวนาปรังอยู่ที่1,080,911 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 17.5% ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยวอยู่ 574 กิโลกรัม/ไร่  โดยข้าวที่มีชื่อเสียงในภาคอีสานคือ ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งคือพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็น สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยมีข้อกำหนดว่าต้องปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้เท่านั้น   มันสำปะหลัง ในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรามีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 5.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 54% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตมากกว่า 18.7 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 55% ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งหมดในประเทศ หากพิจารณารายจังหวัด จะพบว่าผลผลิตมันสำปะหลังในภาคอีสานกระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมามากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 23.82% รองลงมาเป็นชัยภูมิ (11.5%) อุบลราชธานี (9.65%) อุดรธานี (9.07%) และกาฬสินธุ์  (6.56%) ยางพารา ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางพารามากที่สุดอันดับ 1 ของโลก มีแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ แต่ภาคอีสานก็เป็นภาคที่ปลูกยางพาราและสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพเป็นอันดับ 2

4 พืชเศรษฐกิจอีสาน หัวใจเกษตรไทย กระดูกสันหลังของชาติ อ่านเพิ่มเติม »

สถิติ 7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์ปี 68

อุบัติเหตุลดลง 8% เสียชีวิตลดลง 37% บาดเจ็บลดลง 6%  สงกรานต์และการเดินทางในอีสาน ปี 68 นี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี และได้รับความร่วมมืออย่างดีทั้งภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน   วันนี้ (18 เม.ย. 68) เวลา 10.30 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 แถลงสรุปผลการดำเนินงานความปลอดภัยทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ช่วงควบคุมเข้มข้น 7 วัน 11 – 17 เม.ย. 68 พร้อมสั่งบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินการเชิงรุกร่วมกันอย่างใกล้ชิดและเข้มข้นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ครอบคลุมทุกมิติ ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นต่อเนื่องตลอดทั้งปี มุ่งเน้นการลดปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดและการไม่สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย และให้ความสำคัญกับมาตรการดูแลความปลอดภัยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการ/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เปิดเผยว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงควบคุมเข้มข้น 7 วัน (11 – 17 เม.ย. 68) ของเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 พบว่า จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต ในช่วงควบคุมเข้มข้น ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในทุกระดับ โดยในปีนี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้นำแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 และมาตรการเชิงรุกไปใช้ดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ ไม่ว่าจะเป็น การประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ การกระตุ้นให้ประชาชนเคารพกฎจราจร การเพิ่มความเข้มงวดด้านความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ การคืนพื้นผิวจราจร การเปิดให้ใช้เส้นทางหลวงสายพิเศษต่าง ๆ เพื่อแบ่งเบาปริมาณการสัญจรบนถนนสายหลัก การเพิ่มตั๋วโดยสารรถสาธารณะรถไฟและเครื่องบิน เพื่อลดปริมาณการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงการตั้งจุดตรวจ และชุดเคลื่อนที่เร็วของตำรวจ จุดบริการประชาชน และ ด่านชุมชน ทั่วประเทศ โดยในเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินการด่านชุมชน จากการตั้งด่าน ณ ที่ตั้ง เป็นชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อลงไปเคาะประตูบ้าน และตรวจตราที่จุดจัดงานสงกรานต์ จุด zoning เล่นน้ำ และจุดที่มีการจัดงานประเพณี ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งการดำเนินการเชิงรุกที่ช่วยป้องปรามผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงและส่งผลช่วยให้อุบัติเหตุทางถนนลดลง “ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนให้กับประชาชนอย่างเข้มข้นตลอดช่วง 7 วันที่ผ่านมา แม้ตอนนี้จะสิ้นสุดการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 แล้ว แต่ขอให้ทุกภาคส่วนและจังหวัดดำเนินการสร้างความปลอดภัยทางถนนให้พี่น้องประชาชนต่อเนื่อง โดยถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ วิเคราะห์ข้อมูลในทุกมิติ เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการการดำเนินงานที่สามารถแก้ไขอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และร่วมมือกันบูรณาการการทำงานเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างใกล้ชิดและจริงจัง โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ เขต (กทม.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับภาคประชาชน จิตอาสา และอาสาสมัครในพื้นที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านคน ยานพาหนะ ถนน และสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การแนะนำ ตักเตือน ป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดและการไม่สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์เนื่องจากเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจ รวมไปถึงความตระหนักในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เพื่อสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยอย่างยั่งยืน” นายอนุทิน

สถิติ 7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์ปี 68 อ่านเพิ่มเติม »

👀”อีสานฟีเวอร์” … เมื่อธรรมชาติปลุกพลังเศรษฐกิจ  พาเปิดเบิ่ง ขุมทรัพย์ “อุทยานแห่งชาติ” ในอีสาน ปี 67 สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 229 ล้านบาท🌳🕊️

🌳อุทยานแห่งชาติในไทยมีทั้งหมด 156 แห่ง โดยในจำนวนนี้รวมอุทยานแห่งชาติที่เตรียมการฯ 23 แห่ง ซึ่งมีรายได้รวมมากกว่า 2,198 ล้านบาท แต่ละที่จะมีที่เที่ยวต่างๆ ที่โดดเด่นและแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีอุทยานสวยงามไม่แพ้ภาคอื่น   “อีสานเขียว” พลิกโฉมเศรษฐกิจ เมื่อเสน่ห์ธรรมชาติเบ่งบาน สร้างรายได้ท่องเที่ยวทะยานกว่า 229 ล้านบาท ในปี 67  🕊️โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุทยานแห่งชาติอยู่ทั้งหมด 29 แห่งด้วยกัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 18.6% ของจำนวนอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในไทย และมีรายได้รวมกว่า 229 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 10.4% ของรายได้อุทยานแห่งชาติทั้งหมดในไทย   หากลงไปดูข้อมูลยอดการจัดเก็บเงินอุทยานจะพบว่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ยังคงเป็นเสาหลักที่แข็งแกร่ง ด้วยยอดการจัดเก็บเงินอุทยานฯ สูงถึง 124.7 ล้านบาท และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1.9 ล้านคน โดยความโดดเด่นของเขาใหญ่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศที่ผสมผสานความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ยังคงเป็นดั่งแม่เหล็กที่ทรงพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของทั้งภูมิภาค   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาให้ลึกลงไป จะพบว่าเสน่ห์ของอีสานไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เขาใหญ่เท่านั้น การผงาดขึ้นของแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของ “อีสานเขียว” ที่พร้อมมอบประสบการณ์ที่แตกต่างและน่าประทับใจ “ภูหินร่องกล้า” จังหวัดเลย กลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางที่สำคัญ ด้วยยอดการจัดเก็บเงินอุทยานฯ สูงถึง 14.5 ล้านบาท และมีจำนวนนักท่องเที่ยว 223,790 คน เช่นเดียวกับ “ภูกระดึง” ในจังหวัดเลย ที่สร้างรายได้ 13.7 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยว 66,941 คน ปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า ความงามของธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ กำลังเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มองหาประสบการณ์ที่แท้จริงและแตกต่างจากการท่องเที่ยวในเมืองใหญ่   “จังหวัดเลย”…อัญมณีแห่งอีสานเหนือ การที่จังหวัดเลยมีแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆ หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นภูหินร่องกล้า ภูกระดึง หรือแม้แต่ อุทยานแห่งชาติภูเรือ ที่สร้างรายได้ 3.6 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยว 78,909 คน ยิ่งตอกย้ำถึงศักยภาพอันโดดเด่นของจังหวัดนี้ในการก้าวขึ้นเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ” ที่สำคัญของภาคอีสาน ภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่ภูเขาสูงตระหง่าน ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ไปจนถึงอากาศที่บริสุทธิ์และสดชื่น ได้กลายเป็นแรงดึงดูดอันทรงพลังที่เชื้อเชิญนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาสัมผัสเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์นี้   การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในอีสานได้จุดประกายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “ธุรกิจที่พัก” ที่ขยายตัวจากโรงแรมหรูและรีสอร์ทที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ไปจนถึงโฮมสเตย์ที่มอบประสบการณ์การสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนอย่างใกล้ชิด “ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม” ที่นำเสนอความอร่อยของอาหารพื้นถิ่นรสชาติต้นตำรับ ควบคู่ไปกับคาเฟ่บรรยากาศดีและอาหารริมทางที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ “ธุรกิจนำเที่ยวและกิจกรรม” ที่นำเสนอโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การผจญภัยที่น่าตื่นเต้น หรือการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง รวมถึงกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับความงดงามของธรรมชาติ เช่น การเดินป่า การปีนเขา และการดูนก และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “ธุรกิจสินค้าที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ชุมช” ที่ช่วยสนับสนุนงานหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูป และของที่ระลึกที่มีเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่ยังเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย   อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวก็มาพร้อมกับความท้าทายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ซึ่งรวมถึง การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

👀”อีสานฟีเวอร์” … เมื่อธรรมชาติปลุกพลังเศรษฐกิจ  พาเปิดเบิ่ง ขุมทรัพย์ “อุทยานแห่งชาติ” ในอีสาน ปี 67 สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 229 ล้านบาท🌳🕊️ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top