⏰พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน เคยร้อนสุด กี่องศา🥵🔥
ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
24 ราย | 18 ราย | 57 ราย | 12 ราย | 7 ราย | 8 ราย | 37 ราย | 63 ราย |
สถานการณ์ผู้เสียชีวิตในปี 2567
มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 63 ราย
เพศชาย 54 ราย เพศหญิง 9 ราย
อายุระหว่าง 30 – 95 ปี (เฉลี่ย 62 ปี)
ประกอบอาชีพรับจ้าง คิดเป็น 25%
ผู้เสียชีวิตอยู่ใน 31 จังหวัด
- อุดรธานี = 9 ราย
- ชัยภูมิ นครราชสีมา และศรีสะเกษ = จังหวัดละ 4 ราย
- ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ และสมุทรสงคราม = จังหวัดละ 3 ราย
- ชลบุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี แพร่ ลำปาง ลำพูน และสุราษฎร์ธานี = จังหวัดละ 2 ราย
- ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ นครนายก นครศรีธรรมราช น่าน ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พะเยา มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระยอง สมุทรปราการ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี = จังหวัดละ 1 ราย
สถานการณ์ในปี 2568
พบผู้ป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน “กลุ่มฮีทสโตรก” แล้วจำนวน 34 ราย โดยจังหวัดตราดมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาคือ สระแก้ว ปราจีนบุรี เลย นครราชสีมา และแพร่
.
ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากฮีทสโตรกย้อนหลัง 8 ปี (ปี 2560 – 2567) จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค มีผู้เสียชีวิตจากฮีทสโตรกสะสมจำนวน 226 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 28 ราย โดยปีที่พบผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ ปี 2567 จำนวน 63 ราย รองลงมาปี 2562 จำนวน 57 ราย และปี 2566 จำนวน 37 ตามลำดับ
.
ผู้เสียชีวิตจากฮีทสโตรกส่วนใหญ่เป็นเพศชาช ที่มีอายุระหว่าง 41 – 60 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น โรคประจำตัว ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และดื่มสุรา
สำหรับสถานการณ์ในปี 2568 พบผู้ป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน กลุ่มฮีทสโตรก แล้วจำนวน 32 ราย คิดเป็น 0.07 ต่อแสนประชากร โดยจังหวัดตราดมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาคือ สระแก้ว ปราจีนบุรี เลย นครราชสีมา และแพร่
ที่มา: Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ, กรุงเทพธุรกิจ
ฮู้บ่ว่า? ภาคอีสานมีสถิติผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนสูงสุดกว่า 54% โดยสาเหตุหลัก คือ การดื่มสุราและทำงานกลางแจ้ง อีกทั้งยังพบว่าเดือนเมษายนซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 44 องศาเซลเซียส พบผู้เสียชีวิตมากที่สุดกว่า 70%