March 2025

พาส่องเบิ่ง ทุนญี่ปุ่นเบอร์ 1 ของอีสาน เปิดรายชื่อ 15 ยักษ์ใหญ่ เงินลงทุนมหาศาล

เมื่อพูดถึงการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทสำคัญมายาวนาน ด้วยการลงทุนมหาศาลในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ ภาคอีสานแม้จะเป็นพื้นที่ที่เคยเน้นเกษตรกรรม แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่ที่ดึงดูดทุนญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลล่าสุด พบว่ามีบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่กว่า 15 บริษัท ที่เข้ามาลงทุนในภาคอีสาน โดยมีเม็ดเงินลงทุนรวมกันหลายพันล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพของภูมิภาคนี้ในการรองรับอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีและแรงงานทักษะสูง   ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปี 2567 เผยให้เห็นว่าญี่ปุ่นได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 7,533 ล้านบาทในภูมิภาคนี้   อีสานอินไซต์จะพาเปิดรายชื่อ 15 ยักษ์ใหญ่ ที่ทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในอีสาน   บจก.คาสิโอ (ประเทศไทย)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตนาฬิกา โดยมีมูลค่าการลงทุน 1,020 ล้านบาท   บจก.โคยามา แคสติ้ง (ประเทศไทย)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การหล่อเหล็ก โดยมีมูลค่าการลงทุน 855 ล้านบาท   บจก.นิชิกาว่า เตชาพลาเลิศ คูปเปอร์📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาโดยมีมูลค่าการลงทุน 490 ล้านบาท   บจก.เจวีซีเคนวูด ออพติคัล อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์โดยมีมูลค่าการลงทุน 488 ล้านบาท   บจก.สตาร์ ไมโครนิคส์ (ประเทศไทย)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไป โดยมีมูลค่าการลงทุน 406 ล้านบาท   บจก.คายาม่า เอ็นจิเนียริ่ง📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตเครื่องทำความเย็นโดยมีมูลค่าการลงทุน 380 ล้านบาท   บจก.ฮอนด้า เฟาดรี (เอเซียน)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ โดยมีมูลค่าการลงทุน 327 ล้านบาท   บจก.ฟูจิคูระ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตสายไฟฟ้า, เคเบิลและอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีมูลค่าการลงทุน 261 ล้านบาท   บจก.ไทย อะคิบะ📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การหล่อโลหะ โดยมีมูลค่าการลงทุน 238 ล้านบาท   บจก.แอลป์ส ทูล (ประเทศไทย)📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตเครื่องจักร โดยมีมูลค่าการลงทุน 224 ล้านบาท   บจก.ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช📍นครราชสีมา ประกอบธุรกิจ การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ โดยมีมูลค่าการลงทุน 217 ล้านบาท   บจก.แอดเดอรานสไทย📍บุรีรัมย์ ประกอบธุรกิจ การผลิตเครื่องประดับ โดยมีมูลค่าการลงทุน 210 ล้านบาท   บจก.ยานอส (ไทยแลนด์)📍นครราชสีมา …

พาส่องเบิ่ง ทุนญี่ปุ่นเบอร์ 1 ของอีสาน เปิดรายชื่อ 15 ยักษ์ใหญ่ เงินลงทุนมหาศาล อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง พื้นที่สีเขียว ปอดของแต่ละภาคและแผ่นดิน ก้าวสู่อนาคตสีเขียวของไทย

พามาเบิ่ง พื้นที่สีเขียว ปอดของแต่ละภาคและแผ่นดิน ก้าวสู่อนาคตสีเขียวของไทย . ภาค พื้นที่สีเขียว (ตร.ม) พื้นที่สีเขียว (ตร.ม) / ประชากร (คน) พื้นที่สีเขียว / ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 49,845,704 2.31 0.03% ภาคเหนือ 41,535,394 3.49 0.02% ภาคกลาง 33,833,473 1.48 0.03% ภาคใต้ 10,079,756 1.06 0.01%   หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 หน่วย ตารางเมตร ต่อ 1 คน   ฮู้บ่ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 135,294,300 ตร.ม. (84,558.95 ไร่) หรือคิดเป็นเพียง 0.03% ของพื้นที่ทั้งหมด และมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร อยู่ที่ 2.04 ตร.ม ต่อ คน ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง พื้นที่สีเขียวกลายเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดอุณหภูมิของเมือง หรือสร้างความสุขให้กับผู้คนที่อยู่อาศัย ทว่า หากพิจารณาสัดส่วนพื้นที่สีเขียวของแต่ละภาคในไทย เรากลับพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่เราต้องเผชิญ   อีสานของเราเป็นผู้นำด้านพื้นที่สีเขียวแต่ยังมีอุปสรรค ปัจจุบันอีสานมีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดในประเทศ คิดเป็น 49.85 ล้านตารางเมตร แม้ตัวเลขนี้จะดูสูง แต่เมื่อพิจารณาในแง่ของพื้นที่สีเขียวต่อประชากร กลับพบว่ามีเพียง 2.31 ตารางเมตรต่อคน และในภาพใหญ่ของไทย พื้นที่สีเขียว ต่อคน มีเพียง 2.04 ตร.ม. ต่อคนเพียงเท่านั้น ซึ่งยังต่ำกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน    เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่สีเขียวของแต่ละภาค พบว่าภาคเหนือแม้มีพื้นที่สีเขียวรวมรองลงมา (41.53 ล้านตารางเมตร) แต่กลับมีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรสูงที่สุดที่ 3.49 ตารางเมตรต่อคน ในขณะที่ภาคกลางมีพื้นที่สีเขียวเพียง 1.48 ตารางเมตรต่อคน และภาคใต้ต่ำที่สุดที่ 1.06 ตารางเมตรต่อคน นอกจากนี้ หากดูสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่ภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีเพียง 0.03%ขณะที่ภาคเหนืออยู่ที่ 0.02% และภาคใต้ต่ำสุดเพียง 0.01%   ด้วยตัวเลขที่ยังถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานมาก นี่อาจเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของประเทศไทยคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้ โดยต้นไม้ 1 ต้นสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 9-15 กิโลกรัมต่อปี นั่นหมายความว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในอีสานและภูมิภาคอื่น ๆ ให้ได้ …

พามาเบิ่ง พื้นที่สีเขียว ปอดของแต่ละภาคและแผ่นดิน ก้าวสู่อนาคตสีเขียวของไทย อ่านเพิ่มเติม »

ตลอด 10 ปีมานี้ คนอำเภอเมือง Big 4 แห่งอีสาน เริ่มหายไป?

Big 4 แห่งอีสาน หรือ 4 จังหวัดในภาคอีสานที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด ประกอบไปด้วย นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดเหล่านี้โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง มีการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบคมนาคม สาธารณูปโภค สิ่งปลูกสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีการเชิดชูวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว หวังดึงดูดการลงทุนและสร้างโอกาสในการทำงาน  โดยการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ในพื้นที่อำเภอเมืองของจังหวัดใหญ่ในอีสาน โดยในด้านผู้คน ก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการขยายของตัวเมือง หรือที่คนมักพูดกันว่า “เมืองไหนคนมากแสดงว่าเจริญ” อย่างไรก็ดี แม้ว่าในเมืองใหญ่จะมีการกระจุกตัวของประชากรสูง แต่หากมาดูที่ข้อมูลของกรมการปกครอง ด้านสถิติการเคลื่อนย้ายประชากรออกในเขตพื้นที่อำเภอเมืองของกลุ่ม Big 4  ตั้งแต่ปี 2558 – 2568 จะพบตัวเลขที่สำคัญคือ “มีการย้ายออกมากกว่าการย้ายเข้ามาอยู่”  โดยเพื่อความชัดเจนในเชิงการอธิบายการเคลื่อนย้ายประชากรในช่วง 10 ปีนี้ จะใช้วิธีวัดจาก อัตราการย้ายถิ่นสุทธิ (Net Migration Rate) คำนวณจาก (จำนวนผู้ย้ายเข้าช่วง 10 ปีนี้ – จำนวนผู้ย้ายออกช่วง 10 ปีนี้)/จำนวนประชากรเฉลี่ยตลอด 10 ปี และเพื่อสะท้อนแนวโน้มการเพิ่มขึ้น-ลดลงของจำนวนประชากรในช่วง 10 ปีนี้ เทียบกับประชากร 1,000 คน จะประเมินการเติบโตของจำนวนประชากรโดยวิธีอัตราการเติบโตของประชากรแบบทบต้น (CAGR) โดยได้ผลลัพธ์ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ 1. อำเภอเมืองขอนแก่น ข้อมูลประชากรเบื้องต้น: จำนวนประชากร: 199,258 คน สัดส่วนประชากรต่อทั้งจังหวัด: 15% ความหนาแน่นของประชากร: 209 คน/ตร.กม. อำเภอเมืองขอนแก่นมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเท่ากับ – 289 ต่อ 1,000 คนในช่วง 10 ปีนี้ หรือก็คือถ้าประชากรเมืองมี 1,000 คน ในปีแรก นั่นแปลว่าใน 10 ปี มีคน ย้ายออกสุทธิประมาณ 289 คน นอกจากนั้นยังมีการแนวโน้มประชากรที่ลดลงจากอัตราการเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ -2.5% ต่อปี  ซึ่งเมืองขอนแก่นมีแนวโน้มประชากรย้ายออกและลดลงมากที่สุดในบรรดากลุ่ม Big 4    2. อำเภอเมืองอุบลราชธานี ข้อมูลประชากรเบื้องต้น: จำนวนประชากร: 166,791 คน สัดส่วนประชากรต่อทั้งจังหวัด: 9% ความหนาแน่นของประชากร: 411 คน/ตร.กม. อำเภอเมืองอุบลราชธานีมีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเท่ากับ -245 ต่อ 1,000 คนในช่วง 10 ปีนี้ แสดงว่าเมืองกำลังสูญเสียประชากรจากการย้ายถิ่นฐานเป็นรองแค่เมืองขอนแก่น ประชากรเมืองมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ย และมีแนวโน้มของจำนวนประชากรที่ลดลงเท่ากับ -0.12% ต่อปี   3. อำเภอเมืองอุดรธานี ข้อมูลประชากรเบื้องต้น: …

ตลอด 10 ปีมานี้ คนอำเภอเมือง Big 4 แห่งอีสาน เริ่มหายไป? อ่านเพิ่มเติม »

🌊💦“ชวนเบิ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสานล่าสุด!”

ชื่อ จังหวัด ความจุอ่าง (ล้าน ลบ.ม.) น้ำในอ่าง ปริมาณน้ำปัจจุบัน  (ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นเปอร์เซ็น เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 1,966 1,181 60% เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 1,980 1,169 59% เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร 520 286 55% เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 2,431 1,193 49% เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 155 76 49% เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี 136 65 48% เขื่อนลำแชะ จ.นครราชสีมา 275 126 46% เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 141 63 45% เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 165 69 42% เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ 164 65 39% เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 121 39 32% เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา 314 65 21% หมายเหตุ: ข้อมูลนี้มาจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อ้างอิงจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2568 🌊💦“ชวนเบิ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสานล่าสุด!” . 🌧️การจัดการน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ของภาคอีสานในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่บางแห่งมีระดับน้ำลดลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา วันนี้วันที่ 12 มีนาคม 2568 ปีนี้ มีน้ำกักเก็บในอ่าง 4,398 ล้าน ลบ.ม แต่ถ้าเทียบกับวันนี้ 12 มีนาคม ปีที่แล้ว มีปริมาณน้ำมากกว่าปีนี้ถึง 580 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดจากปัจจัยหลายประการ ทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวนและความต้องการใช้น้ำในพื้นที่จำนวนมาก เช่น การเกษตรและการผลิตไฟฟ้า . 🌪️ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีระดับน้ำในเขื่อนลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานตามปกติ แต่ถึงแม้ว่าจะมีการลดลงของระดับน้ำในเขื่อน แต่ยังสามารถใช้น้ำได้ในบางส่วน เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคภายในพื้นที่ได้ตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดไว้ เพียงแต่ต้องมีการควบคุมการใช้น้ำอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น . 💧ปัญหาการจัดการน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ของภาคอีสานจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการวางแผนอย่างรอบคอบ และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน รวมถึงการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในเรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำในอนาคต และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ การเตรียมความพร้อมและการปรับตัวในเรื่องนี้จะช่วยให้การจัดการน้ำมีความสมดุลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น . หมายเหตุ: ข้อมูลนี้มาจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อ้างอิงจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2568 . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ …

🌊💦“ชวนเบิ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสานล่าสุด!” อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และจำนวนเตียงในภาคอีสาน

ทั่วราชอาณาจักร แห่ง 1,401 เตียง 171,359   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แห่ง 390 เตียง 43,943 เรียงน้อยไปมากโดย อิงจากจำนวนสถานพยาบาล เป็นหลัก จังหวัด แห่ง เตียง 1.นครราชสีมา 47 5,901 2.อุบลราชธานี 35 4,326 3.ขอนแก่น 33 5,291 4.อุดรธานี 29 3,166 5.บุรีรัมย์ 25 2,876 6.ศรีสะเกษ 24 2,344 7.ร้อยเอ็ด 21 2,237 8.สุรินทร์ 20 2,707 9.สกลนคร 20 2,284 10.กาฬสินธุ์ 19 1,839 ชัยภูมิ 18 2,008 เลย 17 1,370 มหาสารคาม 15 1,567 นครพนม 14 1,194 หนองคาย 12 1,180 ยโสธร 11 955 มุกดาหาร 8 710 บึงกาฬ 8 671 อำนาจเจริญ 7 674 หนองบัวลำภู 7 643 หมายเหตุ: จำนวนโรงพยาบาลรวมทั้งภาครัฐและเอกชน ข้อมูลมาจากปี 2566   สัดส่วนสถานพยาบาลรายภูมิภาคของไทย สัดส่วนจำนวนสถานพยาบาลรายภูมิภาคของไทย กรุงเทพฯ 10.35% ภาคกลาง 26.91% ภาคเหนือ 19.34% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27.84% ภาคใต้ 15.56% สัดส่วนจำนวนตียงรายภูมิภาคของไทย กรุงเทพฯ 17.91% ภาคกลาง 26.99% ภาคเหนือ 16.53% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25.64% ภาคใต้ 12.93%   👀🫵🏻”เบิ่งให้ชัด! สถานพยาบาลและเตียงผู้ป่วยในภาคอีสาน—พอไหมหรือยังต้องเพิ่ม?” . 🏥ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถานพยาบาลที่สามารถรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้ 390 แห่ง และมีเตียงรวม 43,943 เตียง ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน ประมาณ 2 เตียงต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานสากลที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 3-5 เตียงต่อประชากร 1,000 คน (World …

พามาเบิ่ง จำนวนสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และจำนวนเตียงในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ทุเรียนเวียดนามบุกตลาดจีน คู่แข่งสำคัญของไทยในเวลาเพียง 3 ปี

ฮู้บ่ว่า ครั้งหนึ่งจีนเคยนำเข้าทุเรียนสดทั้งหมดจากไทยเพียงประเทศเดียว แต่ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ทุเรียนจากเวียดนามได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ และกลายเป็นคู่แข่งหลักของไทย โดยครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 42%    . ในอดีต จีนนำเข้าทุเรียนโดยพึ่งพาการส่งออกจากไทยเพียงประเทศเดียว เนื่องจากคุณภาพของทุเรียนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และความนิยมในกลุ่มลูกค้าชาวจีน ยิ่งผลักดันให้ทุเรียนไทยสามารถครองตลาดได้อย่างสมบูรณ์   . ผลผลิตของทุเรียนไทยกว่าครึ่งมาจากภาคตะวันออก โดยเฉพาะสามจังหวัดหลัก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง และตราด ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตทุเรียนของประเทศมาอย่างยาวนาน ด้วยสภาพภูมิอากาศและดินที่เอื้อต่อการปลูกทุเรียนคุณภาพสูง ส่งผลให้ในปี 2566 พื้นที่เหล่านี้ให้ผลผลิตรวมกว่า 776,914 ตัน และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต ความสำคัญของภาคตะวันออกในการเป็นแหล่งผลิตหลักสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของเกษตรกรและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมทุเรียน   นอกเหนือจากภาคตะวันออก ภาคใต้ก็เป็นอีกแหล่งผลิตสำคัญ โดยคิดเป็น 43% ของผลผลิตรวมของประเทศ ขณะที่พื้นที่อื่นๆ มีสัดส่วนประมาณ 6% แม้ว่าสัดส่วนของภาคใต้จะยังเป็นรองภาคตะวันออก แต่ก็มีแนวโน้มเติบโตเนื่องจากมีฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่แตกต่าง ทำให้สามารถกระจายผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้ยาวนานขึ้น การกระจายพื้นที่เพาะปลูกในหลายภูมิภาคช่วยลดความเสี่ยงด้านสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิต โดยทุเรียนของไทยก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน จากจุดเด่นด้านคุณภาพ รสชาติ และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์   . ทุเรียนไทยไม่เพียงแต่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีคุณภาพสูงจนสามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ ตลาดจีน ซึ่งเป็นปลายทางหลักของการส่งออกทุเรียนสดจากไทย คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 97% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ไทยยังส่งออกทุเรียนไปยังกัมพูชา เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของทุเรียนไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ   . บทบาทของด่านการค้าชายแดนภาคอีสานในการส่งออกทุเรียนไทย ด่านการค้าชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีบทบาทสำคัญในการส่งออกทุเรียนไทยไปยังตลาดจีน โดยปัจจุบัน กว่า 80% ของการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนดำเนินการผ่านด่านศุลกากรในภาคอีสาน โดยเฉพาะที่ ด่านมุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าผ่าน สปป.ลาว ก่อนเข้าสู่จีน เส้นทางดังกล่าวช่วยลดระยะเวลาการขนส่งเมื่อเทียบกับเส้นทางเรือ ทำให้ทุเรียนสดสามารถคงคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น   ความสำคัญของด่านการค้าในภาคอีสานจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่สูงขึ้นในตลาดจีน และการเติบโตของผลผลิตทุเรียนในประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ มูลค่าการค้าชายแดนของภาคอีสานขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของปริมาณสินค้าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ . ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดทุเรียนจีนอย่างรวดเร็ว หลังจากที่จีนอนุมัติให้นำเข้าทุเรียนจากเวียดนามอย่างเป็นทางการในปี 2565 โดยเวียดนามสามารถใช้ข้อได้เปรียบในด้าน ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่า และฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่แตกต่างจากไทย ทำให้สามารถส่งออกทุเรียนไปยังจีนได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณการนำเข้าทุเรียนจากไทยจะไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่จีนกลับเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจากเวียดนามมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกลไกราคา หรือแม้กระทั่งการขยายตัวของการผลิตทุเรียนไทยที่อาจถึงจุดอิ่มตัว   จากสถิติการนำเข้าทุเรียนของจีน พบว่า เวียดนามสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2022 เป็น 32% และล่าสุดแตะระดับ 42% ส่งผลให้ไทยซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกรายเดียวต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักของทุเรียนไทย   . อนาคตของทุเรียนไทยในตลาดจีน แม้ไทยจะยังคงเป็นผู้นำในการส่งออกทุเรียนไปจีน แต่การแข่งขันจากเวียดนามทำให้ไทยต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับคุณภาพสินค้า การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเพื่อขยายช่วงเวลาส่งออก และการทำตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาฐานลูกค้าในจีน การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดทุเรียนจีนกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และผู้ส่งออกไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นในอนาคต   …

ทุเรียนเวียดนามบุกตลาดจีน คู่แข่งสำคัญของไทยในเวลาเพียง 3 ปี อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง แสงไทยเมทัลชีท กล้าฝันกล้าลอง 17 ปีสู่ความสำเร็จรายได้พันล้าน

แสงไทยเมทัลชีท กล้าฝันกล้าลอง 17 ปีสู่ความสำเร็จรายได้พันล้าน ความทะเยอทะยาน และการไม่ยอมแพ้ สู่ความสำเร็จขององค์กร และมิตรภาพ ชื่อบริษัท: บริษัท แสงไทยเมทัลชีท จำกัด ปีที่ก่อตั้ง: พ.ศ. 2551 ที่ตั้ง: หนองบัวลำภู ผู้ก่อตั้ง: คุณ ทัศพงษ์ สง่ามงคลศรี (แบงค์) รายได้ (2566): 1,030 ล้านบาท (+6% YoY) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (2566): 9 ล้านบาท (+107% YoY) ส่วนแบ่งรายได้รวมในอีสาน* (2566): 32% จำนวนสาขา: 17 สาขา ขอนแก่น 2 สาขา ชัยภูมิ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด 2 สาขา สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี 2 สาขา ภาคกลาง 1 สาขา ภาคตะวันออก 2 สาขา ภาคเหนือ 3 สาขา   ไทม์ไลน์จุดเริ่มต้นจากตนเอง สู่ธุรกิจเพื่อนฝูง คุณแบงก์วัย 23 ปี หลังจากไปทำงานหาประสบการณ์อยู่ 1 ปี กลับมาช่วยธุรกิจก่อสร้างของครอบครัวที่ จ.หนองบัวลำภู แต่อยากทำอะไรด้วยตัวเอง เลยเริ่มต้นออกมาทำธุรกิจ คุณแบงค์มองเห็นโอกาสในธุรกิจผลิตเมทัลชีทที่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่ กทม. และต้องกระจายมายังต่างจังหวัด สมัยก่อนจึงยังเป็น Blue Ocean ก่อตั้งบริษัท แสงไทยเมทัลชีท ในปี พ.ศ. 2551 เริ่มต้นศึกษา และลงมือด้วยตนเองทุกอย่างจึงเข้าใจปัญหา เริ่มเปิดสาขาแรกที่หนองบัวลำภูบ้านเกิด และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าหลังจากเปิดบริการมา 4 – 5 เดือน มีความคิดอยากขยายธุรกิจ จึงเริ่มชวนเพื่อนเข้ามาทำงานด้วยกัน จนถึงปัจจุบันผู้บริหารแต่ละสาขาก็คือกลุ่มเพื่อนที่ค่อยๆเติบโตขึ้นมาด้วยกัน เนื่องจากเห็นโอกาสในธุรกิจ จึงขยายสาขาต่อเนื่องทุกปีจนปัจจุบัน มีทั้งหมด 17 สาขา พ.ศ. 2565 ก่อตั้งบริษัท โซลาร์ วิง เอนเนอร์ยี่ จำกัด สร้างความท้าทายใหม่ และเป้าหมายในการเป็นที่ 1 ของต่างจังหวัดเหมือนแสงไทยเมทัลชีท เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงโซลาร์เซลล์ได้มากขึ้น พ.ศ. 2566 แสงไทยเมทัลชีทรายได้แตะ 1,000 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งการตลาดในอีสาน 32%   เมทัลชีทเป็นวัสดุมุงหลังคาที่ได้รับความนิยมหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ทั้งความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศ และอายุการใช้งานที่ยาวนาน …

พามาเบิ่ง แสงไทยเมทัลชีท กล้าฝันกล้าลอง 17 ปีสู่ความสำเร็จรายได้พันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง คนไทย 34.5 ล้านคนเล่นพนัน เงินหมุนเวียนทะลุ 8 แสนล้าน อีสานครองแชมป์ยอดนักพนันมากสุดในประเทศ

พาสำรวจเบิ่ง คนไทย 34.5 ล้านคนเล่นพนัน เงินหมุนเวียนทะลุ 8 แสนล้าน อีสานครองแชมป์ยอดนักพนันมากสุดในประเทศ . . คนไทยกว่า 34.5 ล้านคน หรือ 63.1 % ของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เล่นการพนัน ผู้หญิง 17.7 ล้านคน ผู้ชาย 16.8 ล้านคน   สัดส่วนและประมาณการคนที่เล่นการพนัน ปี 2566 ภาคเหนือ 60.5% คิดเป็น 5.9 ล้านคน ภาคอีสาน 66.1% คิดเป็น 12.1 ล้านคน ภาคกลาง 57.2% คิดเป็น 6.4 ล้านคน กรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็น 68.2% 5.2 ล้านคน ภาคใต้ 62.0% คิดเป็น 4.7 ล้านคน   การขยายตัวของคนที่เล่นการพนันทั่วประเทศ 8 ปี ที่ผ่านมา คนไทยทั่วประเทศเล่นการพนันเพิ่มขึ้น 7.123 ล้านคน ประเภทการพนันที่คนไทยเล่น สลากกินแบ่งรัฐบาล 27.5 ล้านคน หวยใต้ดิน 21.9 ล้านคน ไพ่พนัน 4.7 ล้านคน สลอตแมชชีน/ตู้พนัน 4.1 ล้านคน พนันทายผลฟุตบอล 3.9  ล้านคน   วงเงินหมุนเวียนของการพนัน พนันทายผลฟุตบอล 270,415 ล้านบาท หวยใต้ดิน 164,069 ล้านบาท สลากกินแบ่งรัฐบาล 160,239 ล้านบาท พนันในบ่อนออนไลน์ 154,819 ล้านบาท หวยอื่นๆ (หวยต่างประเทศ หวยหุ้น จับยี่กี หวยปิงปอง หวยสัตว์) 97,738 ล้านบาท ถ้าคนอีสานจะถูกรางวัลที่หนึ่งแบบเเน่นอน 100% ต้องหาเงินกี่ปี? ที่มา: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน

ถ้าคนอีสานจะถูกรางวัลที่หนึ่งแบบเเน่นอน 100% ต้องหาเงินกี่ปี?

ถ้าคนอีสานจะถูกรางวัลที่หนึ่งแบบเเน่นอน 100% ต้องหาเงินกี่ปี? คำตอบทำเอาน้ำตาไหล . เปิดคำนวณแล้ว! คนอีสานแต่ละจังหวัดต้องหาเงินซื้อเลอตเตอรี่กี่ปีกว่าจะมีโอกาสถูกรางวัลที่ 1 (โอกาส 1:1,000,000)โอกาสถูกรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทย . สลากกินแบ่งรัฐบาลไทยเป็นหนึ่งในรูปแบบการพนันที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ผู้คนจำนวนมากซื้อลอตเตอรี่โดยมีความหวังว่าจะถูกรางวัลที่หนึ่งและเปลี่ยนชีวิตของตนเองไปตลอดกาล อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของสถิติ โอกาสในการถูกรางวัลที่หนึ่งนั้นถือว่าน้อยมาก . โอกาสถูกรางวัลที่หนึ่งมีเท่าไร? . สลากกินแบ่งรัฐบาลไทยมีหมายเลข 6 หลัก ตั้งแต่ 000000 ถึง 999999 ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้ทั้งหมด 1,000,000 หมายเลข ในแต่ละงวดจะมีเพียงหนึ่งหมายเลขเท่านั้นที่ถูกรางวัลที่หนึ่ง ดังนั้นโอกาสที่ลอตเตอรี่ 1 ใบจะถูกรางวัลที่หนึ่งคือ . หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ 1 ใน 1,000,000 ซึ่งเป็นโอกาสที่ต่ำมาก บอกเลยว่า…น้ำตาจะไหล! 😭 หากต้องหาเงิน 80ล้านบาทจากรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพื่อซื้อฉลากกินเเบ่งรัฐบาลหนึ่งล้านใบ . จังหวัด ปี ขอนแก่น 345 ปี ศรีสะเกษ 336 ปี ร้อยเอ็ด 328 ปี อุบลราชธานี 328 ปี สกลนคร 323 ปี กาฬสินธุ์ 324 ปี มหาสารคาม 315 ปี อุดรธานี 314 ปี บุรีรัมย์ 304 ปี นครพนม 302 ปี สุรินทร์ 300 ปี ชัยภูมิ 293 ปี เลย 281 ปี ยโสธร 273 ปี หนองบัวลำภู 272 ปี มุกดาหาร 267 ปี บึงกาฬ 265 ปี หนองคาย 254 ปี นครราชสีมา 240 ปี อำนาจเจริญ 234 ปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 296 ปี TOP 5 จังหวัดที่ต้องรอนานที่สุด: 1️⃣ ขอนแก่น: 345 ปี  2️⃣ ศรีสะเกษ: 336 ปี  3️⃣ ร้อยเอ็ด/อุบลฯ: 328 ปี  4️⃣ กาฬสินธุ์: 324 ปี  …

ถ้าคนอีสานจะถูกรางวัลที่หนึ่งแบบเเน่นอน 100% ต้องหาเงินกี่ปี? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ตัวเลขการเปิด – ปิด โรงงานอุตสาหกรรม ในอีสานในปี 2567  

พามาเบิ่ง ตัวเลขการเปิด – ปิด โรงงานอุตสาหกรรม ในอีสานในปี 2567 . จังหวัด เปิดโรงงาน เงินลงทุน (ล้านบาท) ปิดโรงงาน เงินลงทุน (ล้านบาท) นครราชสีมา 40                               2,414 21                               4,064 ขอนแก่น 33                               1,412 9                                 198 อุบลราชธานี 33                                 744 12                                 177 สุรินทร์ 26           …

พามาเบิ่ง ตัวเลขการเปิด – ปิด โรงงานอุตสาหกรรม ในอีสานในปี 2567   อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top