โคราช ถูกเสนอเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2หลังถูกพูดถึงอีกครั้ง
ในการประชุมแก้ปัญหาวิกฤต กทม. เมืองหลวงที่กำลังจะจมน้ำจากภาวะโลกร้อน
หลังจากมีข่าว กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และ
สรุปผลการพิจารณาข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ แยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- ในส่วนของแผนการจัดน้ำที่ดี กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่รองรับน้ำและกักเก็บน้ำเพิ่มเติมสำหรับแผนการจัดการน้ำในระยะกลางแล้ว และได้ดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ซึ่งเป็นอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่แล้ว 4 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 แห่ง และมีแผนสร้างคันกั้นน้ำด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเพื่อการจัดการน้ำในระยะยาวอีกด้วย
- ในส่วนของโครงสร้างการป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงสร้างแบบแข็ง (เขื่อนกันคลื่น/กำแพงกันคลื่น) และแบบอ่อน (เนินทราย/ป่าชายเลน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดสมุทรสาคร และกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลียทางด้านวิชาการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะระบบระบายน้ำ
- การย้ายเมืองหลวง จากกรุงเทพมหานครไป จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่า การการย้ายเมืองหลวงจะต้องมีการทำประชามติ และประเมินผลกระทบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการและการจ้างงาน และกระทบต่อวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชน
ดังนั้น การสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือดำเนินการเพิ่มเมืองศูนย์กลาง ระดับภาคและศูนย์กลางรองระดับภาคเพื่อสร้างสมดุลให้แก่ระบบเมืองของประเทศ น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า - ความเหมาะสมของจังหวัดนครราชสีมา ที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมือง และกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการศึกษาและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้ว เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาด้านทรัพยากรน้ำในทุกมิติให้เกิดความมั่นคงและความสมดุลกับความต้องการน้ำในอนาคต และศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงของประเทศอื่นเป็นแนวทางและเทียบเคียงด้วย - การศึกษาในเรื่องน้ำทะเลที่สูงขึ้นอันเกิดจากภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการศึกษา เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เช่น การจัดทำ Sea barrier ได้แก่ การพัฒนาเขื่อน ประตูกั้นปากแม่น้ำ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำทะเล
รวมทั้งการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาแนวทางการป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และการศึกษาการคาดการณ์อนาคต ระดับน้ำที่สูงขึ้นในแต่ละช่วงปี เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาให้เกิดความครอบคลุมและควรศึกษาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและปัญหาอย่างต่อเนื่อง - การศึกษาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่า ควรมีการจัดทำฉากทัศน์ เพื่อเปรียบเทียบ สถานการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางเลือกและผลได้ผลเสียเปรียบเทียบ และควรศึกษาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นให้รอบคอบเพื่อกำหนดแผนป้องกัน แก้ไข และการจัดการแบบปรับตัว (Adaptive Management) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาในการออกแบบอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ควรมีการศึกษาการออกแบบอาคารใหม่ และการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิมแบ่งตามประเภทอาคารที่ใช้งานรวมถึงขนาดและความสูงของอาคาร ควรมีการปรับปรุง Rule Curve ของแต่ละอาคารบังคับน้ำและอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมทั้งควรเตรียมการด้านกฎหมายและการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ควบคู่กันไป และควรมีการปรับกฎหมายสิ่งก่อสร้างให้สอดรับกับการปรับโครงสร้างอาคารสถานที่
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ประชุมครม.ได้มีมติรับทราบผลการพิจารณา เรื่อง ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของประเทศไทย หรือการสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ประสบปัญหากำลังจะจมบาดาล เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนจากนี้จะแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบตามขั้นตอนต่อไป
ล่าสุด 4/2/2568 : ครม.รับฟังข้อเสนอ เมืองหลวงแห่งที่ 2 หนีวิกฤตกรุงเทพฯ จมน้ำ
กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ แค่แก้ไขหรือย้ายไปเลย?
วิจัยก่อนหน้านี้ของ Climate Central คาดการณ์ว่าหลายเมืองในเอเชีย รวมถึงกรุงเทพมหานครจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
แต่ทว่าจากการคำนวณใหม่โดยได้อาศัยวิธีการที่แม่นยำมากขึ้นจากภาพถ่ายดาวเทียมตามระดับความสูงของที่ดิน ซึ่งจากภาพถ่ายดาวเทียมก่อนหน้านี้ผู้วิจัยพบปัญหาที่ไม่สามารถแยกความสูงของตึกอาคารกับต้นไม้จากความสูงของระดับพื้นดินได้ จึงอาศัยเทคโนโลยีใหม่และนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบกับวิธีใหม่ในการประเมินผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในพื้นที่ขนาดใหญ่และพบว่าตัวเลขที่คาดคะเนไว้ในวิจัยก่อนหน้านี้อยู่ในแง่ดีเกินไป
ภาพ : New York Times
จากข้อมูลใหม่พบว่าตัวเลขผลกระทบของผู้คนตามเมืองใหญ่นั้นจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า หากเทียบกับวิจัยก่อนหน้า ภายในปี 2050 หรือในพ.ศ. 2593
หลายเมืองในพื้นที่ทางใต้ของเวียดนามเกือบจะหายไปจากแผนที่ รวมถึงนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจของเวียดนามจะได้รับผลกระทบเกือบครึ่งเมือง ประเมินว่าผู้คนราว 20 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรเวียดนามที่อาศัยอยู่บนบกในขณะนี้ เสี่ยงสูงที่จะถูกน้ำท่วมในอนาคต
งานวิจัยดังกล่าวประเมินแค่ปัจจัยผลกระทบการเพิ่มสูงของระดับน้ำทะเลเท่านั้น ยังไม่ได้นำปัจจัยเสริมด้านการเติบโตของประชากรในอนาคต หรือการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งจากการกัดเซาะของทะเลมารวมในวิจัยครั้งนี้ด้วย นั้นหมายความว่าในความเป็นจริง อาจเลวร้ายกว่าในรายงานฉบับนี้ระบุ
สำหรับประเทศไทย พื้นที่เกือบทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร หรือคิดเป็นพลเมืองมากกว่า 10 % ที่อาศัยบนพื้นดินใกล้ชายฝั่ง รวมถึงในกรุงเทพมหานครเสี่ยงได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูง หรือเผชิญกับอุทกภัย ภายในปี พ.ศ. 2593 เทียบกับผลวิจัยก่อนหน้าที่คาดว่าจะกระทบต่อประชาชนเพียง 1 % ของกรุงเทพฯเท่านั้น หรือเลวร้ายจากการประเมินครั้งก่อนถึง 12 เท่า
การแก้ปัญหานี้มีอยู่ 2 แนวทางหลัก ได้แก่
- การสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมถาวร เช่น อุโมงค์ระบายน้ำ คันกั้นน้ำ และเขื่อนป้องกันน้ำทะเล
- การกระจายศูนย์กลางการปกครอง หรือการย้ายเมืองหลวงไปที่ใหม่ โดยมีนครราชสีมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญ
ทำไมโคราช ถึงถูกเสนอให้ทำการศึกษา เมืองหลวงแห่งที่ 2 ในครั้งนี้?












ที่มา:
- Climate Central
- “คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของประเทศไทย” กระทรวงมหาดไทย