🤨เพราะอะไร? ผลผลิตข้าวต่อไร่ของอีสานถึงน้อยกว่าเวียดนามถึงเกือบ 3 เท่า
สิพามาเบิ่ง🧐ทำไมการปลูกข้าวของเวียดนามให้ผลผลิตมากกว่าอีสานมาก👩🌾 . 🤨เพราะอะไร? ผลผลิตข้าวต่อไร่ของอีสานถึงน้อยกว่าเวียดนามถึงเกือบ 3 เท่า 🇹🇭#อีสาน ปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักทั้งสำหรับการค้าและการบริโภค โดยที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยวคิดเป็นร้อยละ 55 ของพื้นที่การเก็บเกี่ยวข้าวทั้งหมดของประเทศไทย ให้ผลผลิตต่อปีมากถึงร้อยละ 43 ของผลผลิตข้าวจากทั้งประเทศ ในพื้นที่ภาคอีสานิยมปลูกข้าวแบบนาปี เนื่องจากเป็นที่ราบสูงและมีความแห้งแล้ง ทำให้ผลผลิตต่อไร่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆในประเทศไทย โดยมีข้าวที่เป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศอย่าง ข้าวหอมมะลิและข้าวดอกมะลิ ที่นับเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ด้วยเหตุนี้ภาคอีสานจึงนับเป็นภาคที่มีความสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย 🇻🇳#เวียดนาม ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวด้วยเช่นกัน โดยเป็นประเทศที่มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและไทย อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการวิจัยและพัฒนาจากรัฐบาล ทำให้ข้าวของเวียดนามเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับรางวัลระดับโลก อย่างข้าว ST25 ที่เป็นการผสมระหว่างข้าวหอมมะลิ ข้าวบาสมาตี และข้าวญี่ปุ่น นอกจากนี้เวียดนามยังนิยมปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง แม้ในบางสายพันธุ์จะคุณภาพไม่ดีนักเมื่อเทียบกับข้าวจากอีสาน แต่สามารถปลูกได้หลายครั้งในหนึ่งปี ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของเวียดนามนั้นสูงมาก . เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตข้าวต่อไร่ของอีสานและเวียดนามจะพบว่า ผลผลิตต่อไร่ของประเทศเวียดนามคิดเป็น 2.7 เท่าของผลผลิตต่อไร่ในภาคอีสาน นับว่าแตกต่างกันมากอย่างมีนัยยะสำคัญ และวันนี้ ISAN Insight สิพามาเบิ่งว่า ปัจจัยในด้านใดบ้างที่ทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ของอีสานและเวียดนามต่างกันมากขนาดนี้ . 🌾ปัจจัยด้านสายพันธุ์ข้าว 🇹🇭#อีสาน นิยมปลูกข้าวที่คุณภาพสูงเช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวดอกมะลิ ซึ่งนับว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นับว่าเป็นข้าวออแกนิกที่มีความต้องการสูงและเป็นสินค้าพรีเมียม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านการให้ผลผลิตที่ไม่สูงมากนัก 🇻🇳#เวียดนาม นิยมปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตสูงในเชิงพาณิชย์ และสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี แต่คุณภาพข้าวบางสายพันธุ์ยังไม่ดีมากนัก ทำให้ราคาถูกลงมา ตอบโจทย์การบริโภคในตลาดกลาง นอกจากนี้เวียดนามยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเพื่อตอบโจทย์ในตลาดพรีเมียม อย่างข้าว ST25 ที่ได้รับรางวัลระดับโลกในปี 2023 และข้าวจัสมินที่มีความใกล้เคียงกันกับข้าวหอมมะลิของไทย . 💧ปัจจัยด้านระบบการจัดการน้ำ 🇹🇭#อีสาน มีระบบชลประทานที่ไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และด้วยสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวของคนในภาคอีสานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 95 ของพื้นที่เพาะปลูก เป็นการปลูกข้าวแบบนาปีที่สามารถทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น 🇻🇳#เวียดนาม เนื่องจากเวียดนามมีสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกข้าวเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และมีการลงทุนด้านระบบชลประทานที่สูงและเข้าถึงทุกพื้นที่ โดยเฉพาพื้นที่ในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและแม่น้ำแดง ทำให้สามารถปลูกข้าวได้ 2-3 ครั้งต่อปี เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของเวียดนามสูงกว่าอีสานมาก . 🏦ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการสนับสนุนจากภาครัฐ 🇹🇭#อีสาน มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตข้าวบ้างในบางพื้นที่ แต่เนื่องจากการคาดแคลนเงินทุนและการเข้าถึงเทคโนโลยี ทำให้คนในภาคอีสานส่วนใหญ่ยังใช้วิธีแบบดั้งเดิม ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ มีการด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบชลประทาน แต่ยังคงไม่สามารถครอบคลุมได้ในทุกพื้นที่ 🇻🇳#เวียดนาม มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวและลดต้นทุนการผลิต และรัฐบาลเวียดนามมีการลงทุนเพื่อพัฒนาการผลิตข้าวของประเทศในด้านต่างๆ เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบชลประทาน เครื่องจักร รวมไปถึงการลงทุนด้านฐานข้อมูลเพื่อควบคุมและวางแผนการผลิต . 🍃ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม 🇹🇭#อีสาน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในที่ราบสูง และมีความแห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวจึงต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก เนื่องจากระบบชลประทานยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ …
🤨เพราะอะไร? ผลผลิตข้าวต่อไร่ของอีสานถึงน้อยกว่าเวียดนามถึงเกือบ 3 เท่า อ่านเพิ่มเติม »