October 2024

พามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอีสาน กับ เมียนมาร์

พามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอีสาน กับ เมียนมาร์ . ด้านภูมิศาสตร์ #ภาคอีสาน: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 20 จังหวัด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาภูพานและภูหลวงเป็นแนวแบ่งเขตทางทิศตะวันตก แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล # เมียนมาร์: ตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง ส่วนภูมิประเทศทาง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบล้อมรอบด้วยพื้นที่สูงชัน พื้นที่สูงขรุขระ มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 5,881 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง . ด้านประชากร #ภาคอีสาน: มีประชากรประมาณ 21.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลาว พูดภาษาไทยอีสาน #เมียนมาร์: มีประชากรประมาณ 54.2 ล้านคน ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ใช้ภาษาพม่าเป็นหลัก ส่วนที่เหลือพูดภาษากระเหรี่ยง มอญ และจีนกลาง . ด้านวัฒนธรรม #ภาคอีสาน: ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ขอม และมีบางวัฒนธรรมร่วมกับลาว ประเพณีสำคัญคือบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่เทียนพรรษา #เมียนมาร์: มีวัฒนธรรมที่คล้ายกันกับภาคอีสานคือการนับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปะ นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมากจาก อินเดีย จีน และประเทศใกล้เคียง . ด้านเศรษฐกิจ #ภาคอีสาน: เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมมีรายได้จากการปลูกข้าว ข้าวโพด อ้อย และยางพารา มี GRP อยู่ที่ 1.76 ล้านล้านบาท โดยที่มีค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2567 อยู่ที่ 343 บาทต่อวันและมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 95,948 บาทต่อปี นอกจากนี้อิสานยังมีประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักคือ ลาว, จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของภาคอิสานที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศในแถบ GMS นี้ #เมียนมาร์: มีเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมที่มีรายได้จากการปลูกถั่ว ข้าว ข้าวโพด และยางพารา ซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับภาคอีสาน มี GDP อยู่ที่ 2.27 ล้านล้านบาท ค่าแรงขั้นต่ำพึ่งถูกให้ปรับสูงขึ้นเป็น 108 บาทต่อวันเมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2567 และมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 41,566 บาทต่อปี เศรษฐกิจในภาพรวมส่งสัญญาณที่จะฟื้นตัวขึ้น แต่ยังต้องเจอกับปัญหาเงินเฟ้อที่สูง และสถานการณ์ความไม่สงบภายในที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีภาคการผลิตสินค้าและแรงงานในต่างประเทศที่ยังคงผลักดันให้เศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ ส่วนภาคการท่องเที่ยว เมียนมาร์ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงโควิดที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2565 เหลือเพียง 2.3 แสนคนลดลง 95เปอร์เซ็น จากปี พ.ศ.2562 …

พามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอีสาน กับ เมียนมาร์ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง สถิติการขอหนังสือเดินทาง 2567 คนอีสานเดินทางไปต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน

พามาเบิ่งเปิดสถิติการขอหนังสือเดินทาง 2567 . หนังสือเดินทาง หรือเรียกง่ายๆว่า พาสปอร์ต (Passport) เป็นเอกสารที่รับรองสัญชาติของผู้ถือ และเป็นเอกสารแสดงตน (identity) ของผู้ถือซึ่งออกให้โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศสำหรับใช้เดินทางระหว่างประเทศ ข้อมูลสำคัญที่ปรากฏบนหนังสือเดินทาง ได้แก่ ชื่อ วันเดือนปีเกิด เพศ และสถานที่เกิดของผู้ถือหนังสือเดินทาง . โดยในภาคอีสานสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ทั้งหมด 6 สำนักงาน ได้แก่: สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี ชั้น 3 สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ขอนแก่น ชั้น 5 (ฝั่งขอนแก่นฮอลล์) สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ชั้น 3 สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังฝั่งทิศตะวันตก สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บุรีรัมย์ โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล (Buriram Castle) หน่วยบริการหนังสือเดินทางชั่วคราว หนองคาย ศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ชั้น 2 . ในปี 2567 ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน ทั่วประเทศไทยมีผู้ขอหนังสือเดินทางรวมทั้งสิ้น 1,540,736 คน ในส่วนเฉพาะภาคอีสานมีผู้ขอทั้งสิ้น 242,228 คน จากสถิติพบว่าคนอีสานก็มักจะนิยมมาดำเนินการขอหนังสือเดินทางอยู่ที่สำนักงานจังหวัดขอนแก่นมากที่สุด จำนวน 61,057 คน รองลงมาในจำนวนใกล้เคียงกันอยู่ที่สำนักงานจังหวัดอุดรธานี จำนวน 59,518 คน ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับข้อมูลแรงงานจังหวัดอุดรธานีที่ไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภูมิภาค จากสถิติหลายๆปีพบว่า ช่วงต้นปี โดยเฉพาะเดือนมกราคม จะมีจำนวนผู้ขอหนังสือเดินทางมากที่สุดเนื่องจากเป็นเวลาที่หลายคนวางแผนการเดินทางในช่วงวันหยุดทั้งในและต่างประเทศ บางคนอาจมีแผนท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์หรือวันหยุดยาวอื่น ๆ ดังนั้น การทำพาสปอร์ตล่วงหน้าจึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อให้พร้อมสำหรับการเดินทาง . ที่มา: กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ . ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #พาสปอร์ต #หนังสือเดินทาง #เที่ยวต่างประเทศ

ไทย-ลาว เซ็นร่วมมือ MOU 6 ฉบับ สถาปนา “เมืองมิตรภาพ” พร้อมถก 5 ประเด็นสำคัญระหว่างประเทศ

“แพทองธาร” นายกรัฐมนตรี เยือนประเทศลาว หารือกับนายกรัฐมนตรีลาว ยก 5 ประเด็นสำคัญไทย-ลาวร่วมแก้ปมแก๊งคอลเซนเตอร์-การจัดการน้ำโขง ยาเสพติด หมอกควันข้ามแดนและค้ามนุษย์ ร่วมลง MOU 6 ฉบับ วันนี้ (8 ต.ค.2567) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ และนายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนประเทศลาวอย่างเป็นทางการ และร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง พร้อมหารือกับนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีลาว ภายหลังเสร็จสิ้นนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญว่า น.ส.แพทองธาร และนายสอนไซ หารือแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และปัญหาข้ามแดนที่สำคัญ 5 ประเด็นคือยาเสพติด Online Scams การค้ามนุษย์ หมอกควันข้ามแดน และการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำโขง สำหรับปัญหายาเสพติด หน่วยงานไทย และลาว ได้ร่วมกันจัดทำกรอบแนวทางเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาตามชายแดน ซึ่งเป็นผลจากการหารือทางโทรศัพท์ระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน กับนายกรัฐมนตรีนายสอนไซ ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย เสนอจัดการประชุมระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับเจ้าแขวงชายแดน และหน่วยงานในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศในต้นปี 2568 เพื่อติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินการตามกรอบแนวทางดังกล่าว ไทย-ลาว MOU 6 ฉบับ นอกจากนี้ ไทยและประเทศลาว จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยเฉพาะการค้าการลงทุนการท่องเที่ยว ภายใต้แผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย-ลาว ระยะ 3 ปี (ค.ศ.2022-2025) ความร่วมมือด้านแรงงาน ยืนยันไทยต้องการให้แรงงานต่างชาติทุกคนได้เข้าถึงสิทธิ และบริการต่าง ๆ ในระหว่างที่ทำงานในไทย ขอให้ไทยและลาว ร่วมกันส่งเสริมให้แรงงานลาวเข้ามาทำงานในไทย สะพานน้ำโขงเชียงแมน-หลวงพระบาง จากนั้นผู้นำทั้ง 2 ประเทศร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงระหว่างไทย-ลาว จำนวน 6 ฉบับ และการส่งมอบผลการศึกษา และรายละเอียดการออกแบบโครงการก่อสร้างสะพานข้ามน้ำโขงเชียงแมน-หลวงพระบาง ดังนี้ 1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ 2.บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพ จ.ขอนแก่น กับนครหลวงเวียงจันทน์ 3.บันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือในการบริหารทรัพยากรบุคคล 4. บันทึกความเข้าใจ ระหว่างกรมการค้าภายใน กับ กรมมาตรฐานและวัดแทก 5. บันทึกการดำเนินการด้านเทคนิคสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟ และ 6.หนังสือแสดงเจตจำนง ระหว่างกรมทางหลวง และกรมขัวทาง ที่มา: สำนักข่าว ThaiPBS หนุนไทยสู่ฮับอาเซียน ไทย-ลาว เซ็นร่วมมือขนส่งสินค้าทางรางแบบไร้รอยต่อ คาดเพิ่มมูลค่ากว่า 26 ลบ.ต่อปี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประธานในพิธีลงนาม “บันทึกการดำเนินการด้านเทคนิคสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟ” ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย …

ไทย-ลาว เซ็นร่วมมือ MOU 6 ฉบับ สถาปนา “เมืองมิตรภาพ” พร้อมถก 5 ประเด็นสำคัญระหว่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต เชิญเที่ยวชมงาน อุโมงค์ไฟ ทะเลธุง “เทศกาลแห่งศรัทธา แห่ธุงพญานาค”

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมงานเทศกาลแห่งศรัทธา แห่ธุงพญานาค ภายใต้โครงการวิจัย แต่งกายพื้นถิ่น กินของพื้นบ้าน ร่วมสืบสานเทศกาลแห่ธุงพญานาค วันที่ 18-19 ตุลาคม 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา (ลานวัฒนธรรม) วัดประชามิตร (ลานแห่งศรัทธา) และพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต (ลานศิลปะร่วมสมัย)    

พามาฮู้จัก “กลุ่มชาติพันธุ์” กระจายอยู่ไหนบ้างในอีสาน

พามาฮู้จัก “กลุ่มชาติพันธุ์” กระจายอยู่ไหนบ้างในอีสาน . . ประเทศไทยมี 60 กลุ่มชาติพันธุ์ มี 4,011 ชุมชน หรือราว 6.1 ล้านคน กลุ่มชาติพันธุ์มีจุดเริ่มต้นในทศวรรษที่ 2420 หรือสมัย ร.5 ชนชั้นนำของสยามใช้คำเรียกรวม ๆ ว่า “ชาวป่า” หรือ “คนป่า” โดยสามารถแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ตามการตั้งถิ่นฐานได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในป่า เช่น มานิ มลาบรี, กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอบู่บนพื้นที่สูง เช่น กะเหรี่ยง ม้ง อาข่า, กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบ เช่น ไทดำ ไทลื้อ ภูไท ชอง กูย กะเลิง และ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะแก่งและชายฝั่ง เช่น อูรักลาโว้ย มอแกน มอแกลน . โดยในภาคอีสานมีกว่า 20 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วภาคอีสาน และในความเป็นจริง “เราทุกคน” ล้วนมีความเป็นชาติพันธุ์อยู่ . ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และรูปแบบการดำเนินชีวิต ตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ การกวาดต้อนไพร่พล หรือจากการหนีภัยสงครามเมื่อครั้งอดีต และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น . . ชาวอีสาน มาจากไหน? . ชาวอีสาน หรือ ฅนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ ทั้งภายในและภายนอกทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว (อาจถึง 10,000 ปีมาแล้ว) ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็น ชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย 2 พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศต่างๆ . . ในภาคอีสานมีชุมชนวัฒนธรรมท้องถิ่นมากมาย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะชาวไทลาวหรือชาวอีสานเท่านั้น หากมีกลุ่ม ชาติพันธุ์ ที่พูดภาษาถิ่น เช่น กลุ่มผู้ไท(ภูไท) แสก โซ่(โส้) กูย ญ้อ(ย้อ) โย้ย กะเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบางสิ่งบางอย่างแตกต่างกันเฉพาะ ความหลากหลายของ กลุ่มชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร ค่อนข้างจะเด่นชัดกว่า โดยเฉพาะที่จังหวัดสกลนครมีทั้งไทยอีสานหรือไทลาวที่ตั้งรกรากกระจัดกระจายทุกอำเภอ . . กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสานมีอะไรบ้าง? . กะเลิง 📍สกลนคร (อำเภอเมืองและอำเภอกุดบาก), นครพนม …

พามาฮู้จัก “กลุ่มชาติพันธุ์” กระจายอยู่ไหนบ้างในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ขอนแก่น แดนไดโนเสาร์ Khon Kaen Geopark ปล่อยกางเกงลายใหม่ “กางเกงอุทยานธรณีขอนแก่น” ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางธรณีวิทยา

มาแล้วจ้า “กางเกงอุทยานธรณีขอนแก่น” เชิญชวนให้หาไว้สวมใส่ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ทางธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณีขอนแก่น ดีไซน์สวยเก๋ ไม่เหมือนใคร มีให้เลือก 2 ลาย ได้แก่ Geo-Rock สีน้ำตาล-ส้ม Fossilla สีน้ำตาลและฟ้าพาสเทล กางเกงผ้าไหมอิตาลี เอวยางยืด Free Size มีกระเป๋า 2 ข้าง ราคาตัวละ 200 บาท ค่าส่งเริ่มต้น 50 บาท (1-2 ตัว) สามารถสั่งซื้อผ่าน inbox ของเพจนี้ได้เลยจ้า คลิก การโอนเงินค่ากางเกงและค่าส่ง กรุณาโอนผ่านบัญชี “กองทุนกิจกรรมอุทยานธรณีขอนแก่น” KTB ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 664-1-16176-5 (รายได้หลักหักค่าใช้จ่าย ใช้จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่อุทยานธรณีีขอนแก่น) ปล : สถานที่วางจำหน่าย (เริ่มวันที่ 9 ต.ค.67) จำนวนจำกัด  อบจ.ขอนแก่น (อาคารสำนักช่าง) ถ.หน้าเมือง ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น  ร้านเฮือนภูเวียง (ข้างโรงเรียนภูเวียงวิทยาคม) อ.ภูเวียง

พามาเบิ่ง อีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด แม้เกษียณก็ยังต้องทำงาน?

พามาเบิ่ง อีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด แม้เกษียณก็ยังต้องทำงาน? . “สถานการณ์แรงงานนอกระบบในปี 2566 ประมาณครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม  และลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างตำกว่าแรงงานในระบบ” ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำปี 2566 เปิดเผยให้เห็น ถึงภาพรวมว่าแรงงานในไทยทั้งหมดกว่า  40.1 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 21.0 ล้านคน (ร้อยละ 52.3) ซึ่งมากกว่าแรงงานในระบบที่มีจำนวน 19.1 ลานคน (ร้อยละ 47.7) โดยครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบอยในชวง 40-59 ปี และที่น่าสนใจคือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ยังทำงานอยู่ประมาณ 5.1 ล้านคนนั้น เป็นแรงงานนอกระบบมากถึง 4.4 ล้านคน แรงงานนอกระบบของทั้งประเทศ กว่าร้อยละ 55.4 ทำงานอยู่ ในภาคเกษตรกรรม โดยมีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสปดาห์ของแรงงานนอกระบบมีแนวโนมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย  . หากดูตัวเลขรายภูมิภาค จะพบว่าแรงงาน 40.1 ล้านคน ภาคอีสานมีแรงงานรวมเป็นรองแค่ภาคกลางเท่านั้น ซึ่งในจำนวนแรงงานของภาคกลางก็เป็นคนที่ย้ายภูมิลำเนาเพื่อมาทำงาน โดยยังมีคนจากภาคอีสานมากที่สุด เช่นกัน โดยเทียบจำนวนเป็นสัดส่วนต่อแรงงานทั้งประเทศได้ ดังนี้ ภาคกลาง 13,208,476 คน (32.9%) อีสาน 9,712,273 คน (24.2%) เหนือ 6,221,813 คน (15.5%) กทม 5,652,257 คน (14.1%) ใต้ 5,296,507 คน (13.2%) . และเมื่อเจาะลึกตัวเลข จำนวนแรงงานในตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 9,712,273 คน โดยมีแรงงานในระบบ 2,290,872 คน แต่กลับมีแรงงานนอกระบบสูงถึง 7,421,401 คน จะพบว่าภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ โดยเมื่อนำมาคิดสัดส่วนแรงงานนอกระบบในแต่ละภูมิภาคเทียบกับจำนวนแรงงานนอกระบบทั้งประเทศที่ 20,957,666 คน จะได้ ดังนี้ อีสาน 7,421,401 คน (35.4%) กลาง 4,918,196 คน (23.5%) เหนือ 4,295,682 คน (20.5%) ใต้ 2,937,453 คน (14.0%) กทม. 1,384,934 คน (6.6%) ยิ่งไปกว่านั้น หากเจาะลึกลงไปในช่วงอายุของแรงงานนอกระบบในภาคอีสาน ทั้ง 7,421,401 คน จะยิ่งพบข้อมูลกว่า 22.5% หรือ มากกว่า 1 ใน 5 ของแรงงานนอกระบบในภาคอีสาน เป็นแรงงานสูงวัยที่มีอายุตั้ง 60 …

พามาเบิ่ง อีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด แม้เกษียณก็ยังต้องทำงาน? อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง : อัตราการเกิดอาชญากรรมทางร่างกายของภาคอีสาน

ชวนมาเบิ่ง : อัตราการเกิดอาชญากรรมทางร่างกายของภาคอีสาน อาชญากรรมทางร่างกาย นับว่าเป็นความผิดรุนแรงที่สร้างความเดือดร้อน ความทุกข์ ให้กับเหยื่อรวมถึงคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางกายและทางใจ จึงส่งผลให้การกระทำดังกล่าวถูกจัดอยู่ในการกระทำผิดร้ายแรง ที่มีไม่อยากให้มีการก่อคดีในลักษณะนี้กับตนเองหรือคนใกล้ตัว   โดยสถิติการก่ออาชญากรรมสามารถแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้หลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านโครงสร้างทางสังคม ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานเป็นต้น   ในวันนี้เราสิพามาเบิ่งว่าที่ไหนบ้างในภาคอีสานที่มีสถิติการก่ออาชญากรรมทางร่างกายมากที่สุดโดยใช้ข้อมูลจากการจับกุมผู้ต้องหาในคดีความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย และเพศของแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน ว่าในประชากร 100,000 คน จะมีการเกิดอาชญากรรมทางร่างกายกี่ครั้ง   จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2565 จะพบว่าภายในภาคอีสานมีอัตราการเกิดอาชญากรรมทางร่างกาย 19.3 ที่ลดลงจากปีก่อนหน้า 1.7% นับว่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆของประเทศ โดยอัตราการเกิดอาชญากรรมของทั้งประเทศจะอยู่ที่ 26.98 มากที่สุดที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่อัตราการเกิดอาชญากรรมอยู่ที่ 43.4 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 10.6%   เมื่อเจาะลึกเข้ามาดูข้อมูลของจังหวัดในภาคอีสานจะพบว่าจังหวัดที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมทางร่างกายมากที่สุดคือ จังหวัดมุกดาหาร ที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมอยู่ที่ 33.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 14.8% ตามด้วยจังหวัดขอนแก่น 25 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 14.1% และจังหวัดที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมทางร่างกายน้อยที่สุดในภาคอีสานคือจังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมทางร่างกายแค่ 9.3 ลดลงจากปีก่อนหน้า 55.6% ตามด้วยจังหวัดสกลนคร 11.7 ลดลงจากปีก่อนหน้า 27.5% **** ข้อมูลสถิติคดีอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ประกอบด้วยคดีเกี่ยวกับ การฆ่าผู้อื่น, ทำร้ายผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย, พยายามฆ่า, ทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา และ อื่นๆ

เมื่อรายได้ต่อหัวของคนอีสานเพิ่มขึ้น 1 บาท ปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้น 8 ตัน

คำเตือน: บทความนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเท่านั้น บนสมมติฐานที่ว่า “หากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลต่อการบริโภคที่มากขึ้น จะส่งผลต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้น” ลดปริมาณ “ขยะอาหาร” เป็นเป้าหมายโลก การลดขยะอาหารเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่ง UN ได้ตั้งเป้า ให้ในปี ค.ศ. 2030 ขยะอาหารที่เกิดจากการจำหน่ายและการบริโภคทั่วโลกต้องลดลง 50% ฝรั่งเศส ออกกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านขยะอาหาร สหรัฐอเมริกา เน้นมาตรการสร้างแรงจูงใจในการลดขยะอาหาร มากกว่าการลงโทษ เกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการลด ปริมาณขยะอาหารในภาคครัวเรือนด้วยเทคโนโลยี สำหรับประเทศไทย ค่านิยม “เหลือ…ดีกว่าขาด” ทำให้อาหารส่วนเกินจำนวนมาก กลายเป็นขยะอาหาร แล้วส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ขยะอาหารของไทยมีมาก และยังจัดการไม่ดีพอ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าในปี 2560 มีขยะอาหารคิดเป็นร้อยละ 64 ของปริมาณทั้งหมด หรือ 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ไทยมีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากเทศบาลส่วนมากไม่มีการแยกขยะ และในส่วนของ กทม. สามารถรีไซเคิลขยะอาหารได้เพียง 2 % เท่านั้น ISAN Insight and Outlook สิ พามาเบิ่ง สถานการณ์ขยะในภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ถือเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งย่อมตามมาด้วยการบริโภคสูงที่สุดในประเทศเช่นกัน ขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมทางเศรษฐกิจตั้งแต่ในระดับประเทศ จนไปถึงระดับจังหวัด แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้น แต่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ส่งผลกระทบในเชิงลบภายนอกเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นจากบรรจุภัณฑ์ จากการบริโภคที่มากขึ้น โดยปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษรายงานว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณขยะเกิดขึ้น 26.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ประมาณ 5% เฉพาะในภาคอีสานมีปริมาณขยะตลอดทั้งปี 6.52 ล้านตัน หรือ 24% ของทั้งประเทศ ซึ่งปริมาณขยะที่มากจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น การสะสมของเชื้อโรคหรือต้นทุนในการกำจัดที่เพิ่มขึ้น โดยงานศึกษานี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวและปัจจัยอื่น ๆ ว่ามีผลต่อปริมาณขยะในแต่ละจังหวัดในภาคอีสานอย่างไร  การศึกษาครั้งนี้ได้อ้างอิงวิธีการศึกษาและการคัดเลือกตัวแปรจากงานศึกษาของ Blagoeva (2023) ที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อหัวและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลในบัลแกเรียเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมในบัลแกเรียและประเทศอื่นๆ ส่งผลต่อปริมาณขยะมูลฝอย  โดยในการศึกษาครั้งนี้ต้องการที่จะเจาะจงในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย โดยจะใช้แบบจำลองถดถอยเชิงพหุคูณหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษา ได้แก่  ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวรายจังหวัด(GPP per capita) เฉลี่ย 10 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2565 ของทุกจังหวัดในภาคอีสาน (ที่มา: สภาพัฒน์) จำนวนประชากรแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน ปี 2565 (ที่มา: สภาพัฒน์) ดัชนีผสม มิติสิ่งแวดล้อม …

เมื่อรายได้ต่อหัวของคนอีสานเพิ่มขึ้น 1 บาท ปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้น 8 ตัน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top