เมื่อรายได้ต่อหัวของคนอีสานเพิ่มขึ้น 1 บาท ปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้น 8 ตัน

คำเตือน: บทความนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเท่านั้น บนสมมติฐานที่ว่า “หากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลต่อการบริโภคที่มากขึ้น จะส่งผลต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้น” ลดปริมาณ “ขยะอาหาร” เป็นเป้าหมายโลก การลดขยะอาหารเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่ง UN ได้ตั้งเป้า ให้ในปี ค.ศ. 2030 ขยะอาหารที่เกิดจากการจำหน่ายและการบริโภคทั่วโลกต้องลดลง 50% ฝรั่งเศส ออกกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านขยะอาหาร สหรัฐอเมริกา เน้นมาตรการสร้างแรงจูงใจในการลดขยะอาหาร มากกว่าการลงโทษ เกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการลด ปริมาณขยะอาหารในภาคครัวเรือนด้วยเทคโนโลยี สำหรับประเทศไทย ค่านิยม “เหลือ…ดีกว่าขาด” ทำให้อาหารส่วนเกินจำนวนมาก กลายเป็นขยะอาหาร แล้วส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ขยะอาหารของไทยมีมาก และยังจัดการไม่ดีพอ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าในปี 2560 มีขยะอาหารคิดเป็นร้อยละ 64 ของปริมาณทั้งหมด หรือ 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ไทยมีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากเทศบาลส่วนมากไม่มีการแยกขยะ และในส่วนของ กทม. สามารถรีไซเคิลขยะอาหารได้เพียง 2 % เท่านั้น ISAN Insight and Outlook สิ พามาเบิ่ง สถานการณ์ขยะในภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ถือเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งย่อมตามมาด้วยการบริโภคสูงที่สุดในประเทศเช่นกัน ขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมทางเศรษฐกิจตั้งแต่ในระดับประเทศ จนไปถึงระดับจังหวัด แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้น แต่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ส่งผลกระทบในเชิงลบภายนอกเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นจากบรรจุภัณฑ์ จากการบริโภคที่มากขึ้น โดยปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษรายงานว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณขยะเกิดขึ้น 26.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ประมาณ 5% เฉพาะในภาคอีสานมีปริมาณขยะตลอดทั้งปี 6.52 ล้านตัน หรือ 24% ของทั้งประเทศ ซึ่งปริมาณขยะที่มากจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น การสะสมของเชื้อโรคหรือต้นทุนในการกำจัดที่เพิ่มขึ้น โดยงานศึกษานี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวและปัจจัยอื่น ๆ ว่ามีผลต่อปริมาณขยะในแต่ละจังหวัดในภาคอีสานอย่างไร  การศึกษาครั้งนี้ได้อ้างอิงวิธีการศึกษาและการคัดเลือกตัวแปรจากงานศึกษาของ Blagoeva (2023) ที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อหัวและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลในบัลแกเรียเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมในบัลแกเรียและประเทศอื่นๆ ส่งผลต่อปริมาณขยะมูลฝอย  โดยในการศึกษาครั้งนี้ต้องการที่จะเจาะจงในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย โดยจะใช้แบบจำลองถดถอยเชิงพหุคูณหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษา ได้แก่  ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวรายจังหวัด(GPP per capita) เฉลี่ย 10 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2565 ของทุกจังหวัดในภาคอีสาน (ที่มา: สภาพัฒน์) จำนวนประชากรแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน ปี 2565 (ที่มา: สภาพัฒน์) ดัชนีผสม มิติสิ่งแวดล้อม …

เมื่อรายได้ต่อหัวของคนอีสานเพิ่มขึ้น 1 บาท ปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้น 8 ตัน อ่านเพิ่มเติม »