October 2024

มหาสารคาม สะดืออีสาน สู่ความท้าทาย ในการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคอีสาน

มหาสารคาม สะดืออีสาน สู่ความท้าทาย ในการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคอีสาน . . เมื่อพูดถึงจังหวัดมหาสารคามแล้วหลายๆ คนคงคิดถึง 3 อย่างนั่น คือ มหาวิทยาลัย มันแกวบรบือ และ    พระธาตุนาดูน แต่ที่จริงแล้วจังหวัดมหาสารคามมีทั้งความท้าทาย และโอกาสในการพัฒนาอีกมาก รวมทั้งยังเป็นจังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจจังหวัดเติบโตต่อเนื่องในตลอด ทศวรรษที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีการลงทุนใน ภาคอสังหาฯ ที่เติบโตกว่า 33% ซึ่งถือว่าสูงสุดในภูมิภาคอีกด้วย . นอกจากนั้นแล้วจังหวัดมหาสารคามยังนับเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมของชาวอีสาน มีชุมชนโบราณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านเชียงเหียน หมู่บ้านปั้นหม้อของชาวบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคามแหล่งโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนาก็มี พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน กู่บ้านแดง อำเภอวาปีปทุม ปรางค์กู่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ที่น่ามาศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง . เพราะเหตุใด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสะดืออีสาน ใจกลางภูมิภาค ถึงยังมีโอกาสเติบโตได้อีก   อีสานอินไซต์ จะพามาเบิ่ง   . 1. โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคามมีขนาดพื้นที่ประมาณ 5,292 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 944,605 คน ในปี 2564  มีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 66,024 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 85,228 บาท/ปี   . มีโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME ดังนี้ ภาคการบริการ คิดเป็น 51% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อยู่ที่ 3,195 ราย 2.ภาคการเกษตร คิดเป็น 21% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ อยู่ที่ 588 ราย 3.ภาคการผลิต คิดเป็น 17% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การสีข้าว อยู่ที่ 2,276 ราย 4.ภาคการค้า คิดเป็น 10% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ ร้านขายของชำ อยู่ที่ 6,072 ราย สินค้า GI ของจังหวัดก็คือ มันแกวบรบือ และข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้    . จากโครงสร้างเศรษฐกิจพบว่า GPP ของมหาสารคาม มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วง …

มหาสารคาม สะดืออีสาน สู่ความท้าทาย ในการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ส่องเบิ่ง 10 ปราสาทหิน ที่เที่ยวอีสาน อยู่หม่องใด๋แหน่ ?

ส่องเบิ่ง 10 ปราสาทหิน ที่เที่ยวอีสาน อยู่หม่องใด๋แหน่ ? . . ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ ปราสาทพนมรุ้ง หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แห่งนี้ เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ของ บุรีรัมย์ ที่มาจากอิทธิพลของอารยธรรมเขมรโบราณ ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นมาก็เพื่อถวายแด่พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ซึ่งก่อสร้างมาในช่วงหลายยุคหลายสมัยด้วยกัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15-18 . จึงทำให้มีความงดงามในด้านของสถาปัตยกรรม และความมหัศจรรย์ของปราสาทพนมรุ้ง นั่นก็คือ มีการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่แสงอาทิตย์สาดส่องทะลุ 15 ช่องประตูของปราสาทพนมรุ้งในทุกๆ ปี ปีละ 4 ครั้ง จนเกิดเป็นงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งที่จัดขึ้นทุกๆ ปี . ที่อยู่ : อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ พิกัด : https://goo.gl/maps/izNnHiBAHjXZJesL7   เปิดให้เข้าชม : 07.00-18.00 น. ค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท / ชาวต่างชาติ 100 บาท / สำหรับรถยนต์ 50 บาท โทร : 0-4466-6251 เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/Ensemble.of.Phanom.Rung  . ปราสาทหินเมืองต่ำ บุรีรัมย์ ปราสาทหินเมืองต่ำ หรือ ปราสาทเมืองต่ำ โดยเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู มีสถาปัตยกรรมแบบศิลปะขอมโบราณ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายในมีภาพจำหลักหินบนหน้าบัน และทับหลังที่สวยงามเหมาะแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศิลปะสมัยขอมโบราณเป็นอย่างมาก อีกทั้งส่วนของลักษณะสถาปัตยกรรมด้านในของปราสาทเมืองต่ำนั้น ก่อสร้างด้วยฝีมือช่างในระดับช่างหลวง เรียกได้ว่าเป็นโบราณสถานที่สวยงามแห่งหนึ่ง . ที่อยู่ : บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ พิกัด : https://goo.gl/maps/CqGqzk3PQQumvXCM8    เปิดให้เข้าชม : 08.00-18.00 น. โทร : 0-4466-6251 เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/muangtamtemple/ . ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ภายใน อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ภายในจะเป็นโบราณสถานสมัยขอมทั้งหมด ตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงชิ้นใหญ่โต โดยสร้างขึ้นตามความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์และโลกมนุษย์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ และปราสาทหินพิมายยังเป็น ปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย . ที่อยู่ : ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พิกัด : https://goo.gl/maps/224momsF3rCv6ewf9  เปิดให้เข้าชม : 07.00-18.00 น. …

ส่องเบิ่ง 10 ปราสาทหิน ที่เที่ยวอีสาน อยู่หม่องใด๋แหน่ ? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง สัดส่วน ศาสนิกชนของคนในอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS 

พามาเบิ่ง สัดส่วน ศาสนิกชนของคนในอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS  . ในภูมิภาคอีสานของไทย เฮาพบว่าศาสนาพุทธยังคงเป็นศาสนาหลักเด้อ นำหน้าด้วย 98.10% ของประชากรที่เฮ็ดบุญกัน นอกจากนั่นยังมีผู้บ่ถือศาสนาประมาณ 1% แล้วกะคริสต์อีก 0.40% ต่อมาด้วย  ลาวบ้านเฮือนข้างบ้านกะบ่แตกต่างกัน ศาสนาพุทธยังเป็นหลัก 95% ในขณะเดียวกันกะมีความเชื่อท้องถิ่นอยู่ที่ 5% ส่วนกัมพูชากะเฮ็ดบุญหลาย พุทธ 97% ส่วนมุสลิมมี 2% แล้วกะคริสต์มีอยู่ 1%  พม่า พุทธยังคงเป็นหลักอยู่ 87.9% แต่คริสต์กะมาหนักแน่นอยู่ 6.2% และมุสลิมอีก 4.3%  เวียดนามเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่บ่ได้ถือศาสนาเลยถึง 86.32% แต่ยังมีคนพุทธอยู่ 4.79% และคริสต์อีก 6.1%  จีน ที่คนบ่ถือศาสนาอยู่ที่ 31.8% นอกจากนั่นกะยังมีความเชื่อจีนโบราณอยู่ถึง 30.8% และพุทธอยู่ 16.6%  การเปรียบเทียบสัดส่วนศาสนิกชนในประเทศไทย ลาว พม่า เวียดนาม และจีน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิหลังทางสังคมที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อทางศาสนาของประชาชนในแต่ละประเทศ . ไทย ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท: เป็นศาสนาประจำชาติ มีผู้คนนับถือมากที่สุด ศาสนาอิสลาม: ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมสุนหนี่ กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ ศาสนาคริสต์: ส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ศาสนาอื่น ๆ: เช่น พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ . ลาว ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท: เป็นศาสนาประจำชาติ มีผู้คนนับถือมากที่สุด ศาสนาผี: ความเชื่อผสมผสานกับพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์: มีจำนวนน้อย ศาสนาอิสลาม: มีจำนวนน้อย . พม่า ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท: เป็นศาสนาประจำชาติ มีผู้คนนับถือมากที่สุด ศาสนาคริสต์: มีจำนวนน้อย ศาสนาอิสลาม: ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ . เวียดนาม ศาสนาพุทธนิกายมหายาน: เป็นศาสนาหลัก ศาสนาพื้นเมือง: ความเชื่อผสมผสานกับพุทธศาสนาและขงจื๊อ ศาสนาคริสต์คาทอลิก: มีผู้คนนับถือจำนวนมากในบางพื้นที่ ศาสนาคริสต์โปรเตสแตนต์: มีผู้คนนับถือน้อย . จีน ศาสนาไร้神论 (Wu Shen Lun): หรือลัทธิไร้พระเจ้า เป็นอุดมการณ์หลักของรัฐบาลจีน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน: มีผู้คนนับถือจำนวนมาก ศาสนาเต๋า: มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมจีน ศาสนาคริสต์: ส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ศาสนาอิสลาม: ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียง . หมายเหตุ: สัดส่วนศาสนิกชนอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและนโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศ . ปัจจัยที่ส่งผลต่อความหลากหลายทางศาสนา #ประวัติศาสตร์: การติดต่อสัมพันธ์กับต่างชาติ การรุกราน และการค้าขาย ส่งผลต่อการเผยแผ่ศาสนา #วัฒนธรรม: ความเชื่อ …

พามาเบิ่ง สัดส่วน ศาสนิกชนของคนในอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS  อ่านเพิ่มเติม »

อู่เชิดชัย-โคราช ผลิตบัสไฟฟ้า สัญชาติไทย ลุยตลาดอีวี รองรับดีมานด์ทั่วเอเชียแปซิฟิก 4 หมื่นล้านเหรียญ

การเดินทางของบริษัท เชิดชัยมอเตอร์เซลส์ จำกัด – พ.ศ. 2506 เริ่มผลิตโครงสร้างรถบัสด้วยไม้ – พ.ศ. 2508 เราคือผู้ผลิตโครงเหล็กรายแรกในประเทศไทย – พ.ศ. 2518 เราเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของอีซูซุในการผลิตตัวรถบัสบนแชสซีโมโนค็อกของอีซูซุในประเทศไทย – พ.ศ. 2530 เราเฉลิมฉลองให้กับตัวถังรถบัสจำนวน 1,200 คันบนตัวถังอีซูซุ – พ.ศ. 2531 ส่งออกรถโดยสาร 25 คันไปยังประเทศมาเลเซีย เชิดชัย เพื่อผลิตตัวถังรถบรรทุก (ตัวไม้) บริษัทให้บริการรถโดยสารระหว่างจังหวัด บริการรถนำเที่ยวและเพื่อความบันเทิง เพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ มากว่า 65 ปี เชิดชัยมอเตอร์เซลส์ เริ่มต้นธุรกิจด้วยบริการรถโดยสารประจำทางและโรงงานผลิตตัวถังรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุด ก่อนจะขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ธุรกิจเชิดชัยประกอบด้วยบริการรถโดยสารระหว่างจังหวัด โรงงานผลิตตัวถังรถบัส ตัวแทนจำหน่ายรถบัสวอลโว่ที่ได้รับอนุญาต และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทมีรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดกว่า 1,200 คัน ภายใต้สัมปทาน จาก บริษัท ขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม บริการส่วนใหญ่เป็นเส้นทางระยะไกล ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เชิดชัยทัวร์ยังให้บริการระยะกลางระหว่างกรุงเทพฯและนครราชสีมาและจุดหมายปลายทางทางตะวันออกบางแห่ง มรสุมโควิด-19 ฉุดบริษัทขาดทุน เดือนละล้าน ทางเชิดชัย ในตอนนี้ทำกิจการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเป็นผู้ให้บริการรถทัวร์เส้นทางสายอีสาน หรือบางสาย คือ การรับประกอบตัวถังรถทัวร์และบริการซ่อมรถทัวร์ด้วยตัวเอง ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ผู้ให้บริการรถทัวร์หลายเจ้าประสบปัญหาขาดทุน ซึ่งมีบางเจ้าถึงขั้นล้มละลาย ส่วนทางเชิดชัยประสบปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ไม่มีผู้ใช้บริการ ส่งผลให้เกิดการขาดทุนเดือนละล้าน หมายความว่าภายใน 1 ปี จะขาดทุนเท่ากับ 12 ล้าน แต่ทางเชิดชัยยังคงดำเนินการให้บริการถึงปัจจุบัน มีสาเหตุที่สามารถเปลี่ยนแปลงจากสภาวะทางการเงินที่ขาดทุน จนสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจแบบปกติ คือ การรีโนเวทการให้บริการลูกค้าและให้อนาคตจะมีการพัฒนาสร้าง รถบัสไฟฟ้า โดยการบริการที่มีมาตรฐานที่ดีขึ้นเป็นการเรียกให้ลูกค้าเริ่มกลับมา   ภาพจาก: Creden data โดยในปี 2564 ถือเป็นการขาดทุนในรอบทศวรรษของบริษัทเลยกว่าว่าได้ แต่ในขณะเดียวกันบริษัทก็เริ่มมองเทรนด์อนาคต และเตรียมพร้อมในการพัฒนาทั้งการผลิตรถบัส และปรับปรุงบริการธุรกิจขนส่งในการเดินทาง รถบัสไฟฟ้า เชิดชัย: ก้าวสู่การเดินทางที่ยั่งยืน เชิดชัยกรุ๊ป เป็นอีกหนึ่งบริษัทขนส่งที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน และได้หันมาให้ความสำคัญกับการนำรถบัสไฟฟ้ามาให้บริการ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและลดมลพิษทางอากาศ   เหตุผลที่เชิดชัยเลือกใช้รถบัสไฟฟ้า ลดต้นทุนระยะยาว: แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้อรถบัสไฟฟ้าจะสูงกว่ารถบัสดีเซล แต่เมื่อพิจารณาในระยะยาวแล้ว ต้นทุนการดำเนินงานของรถบัสไฟฟ้าจะต่ำกว่า เนื่องจากค่าไฟฟ้าถูกกว่าราคาน้ำมัน และค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: รถบัสไฟฟ้าไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษอื่นๆ ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 และภาวะโลกร้อน สร้างภาพลักษณ์ที่ดี: การนำรถบัสไฟฟ้ามาใช้ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทในฐานะองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร: ผู้โดยสารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเดินทางที่สะอาดและปลอดภัย รถบัสไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ   จุดเด่นของรถบัสไฟฟ้าเชิดชัย เทคโนโลยีทันสมัย: รถบัสไฟฟ้าของเชิดชัยมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ระบบปรับอากาศที่ประหยัดพลังงาน ระบบความปลอดภัยที่ครบครัน และระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ออกแบบโดยคนไทย: …

อู่เชิดชัย-โคราช ผลิตบัสไฟฟ้า สัญชาติไทย ลุยตลาดอีวี รองรับดีมานด์ทั่วเอเชียแปซิฟิก 4 หมื่นล้านเหรียญ อ่านเพิ่มเติม »

ข่าวดี! “เนื้อสุรินทร์กิว”🐂 กำลังจะได้จดทะเบียน GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) โคขุนพันธุ์ลูกผสมวากิว จ.สุรินทร์ 

แจ้งข่าวดี เนื้อสุรินทร์กิว กำลังจะได้จด GI ( สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ) วันที่ 18 ตุลาคม 2567 มีการประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียน GI ที่สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นาย อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัด เป็นหัวหน้าคณะ ท่านพาณิชย์จังหวัด นายวีรศักดิ์ พิษณุวงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัด อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคล วิทยาเขตอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ และกลุ่มผู้เลี้ยง วัววากิว ร่วมหารืออย่างพร้อมเพียงกัน โดยมีรายละเอียด คราวๆ ดังนี้ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทั้งอายุ น้ำหนัก การเลี้ยง แหล่งอาหารที่เด่น พื้นที่การเลี้ยง สัญญาลักษณ์ GI และเอกสาร มากมาย ให้ช่วยกันพิจารณา เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน ในการขอจดทะเบียน ซึ่งได้รับแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลายมิติมาก ซึ่งทุกความคิดเห็น จะได้รับการปรับแก้ไขและ สรุป ออกมานำเสนอ ให้กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อยื่นขอจดสิทธิบัตรในนามจังหวัดสุรินทร์ของเราต่อไป ซึ่งปัจจุบันคณะทำงารเราทำถึงขั้นตอนที่ 6 จาก 9 ขั้นตอน และอาจใช้เวลา อีก 120 วันเพื่อพิจารณาคำขอ 90 วันเพื่อประกาศใช้เผื่อมผู้คัดค้าน ( กรมสินทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นผู้พิจารณา ) และจะเปิดโอกาสให้ ผู้เลี้ยงได้ทำเรื่องของใช้ตราสัญลักษณ์ต่อไป เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถ้าสุรินทร์เราร่วมมือกัน ร่วมใจทุกภาคส่วน เราก็สามารถบรรลุเป้าหมายที่ประสงค์ได้ และก็เป็นอีกภารกิจที่ หอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดสุรินทร์ร่วมขับเคลื่อนเรื่อง วากิว มาตลอดกว่า 10 ปี และเร็วนี้กำลังจะมีงานใหญ่ เนื้อสุรินทร์กิว เฟสติวัล ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือน 17-19 มกราคม ต่อไปอีกด้วย ข้อมูลจากหอการค้าจังหวัดสุรินทร์   การขายโคลูกผสมวากิว เป็นตลาดแบบซื้อขายล่วงหน้า เมื่อในพื้นที่เริ่มมีการเลี้ยงโคลูกผสมวากิวมากขึ้น จึงเป็นผลให้ในเรื่องของตลาดก็ตามเข้ามาภายในพื้นที่ด้วย โดยร้านอาหารญี่ปุ่นได้ขอเข้ามาทำสัญญาซื้อขาย ตั้งแต่เริ่มขุนไปจนถึงโคที่เลี้ยงได้ขนาดไซซ์ที่ใหญ่ตามที่ต้องการ ซึ่งโคที่มีเลือดผสมวากิวอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ จะมีไขมันแทรกดีกว่าโคที่มีเลือดผสมวากิวอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งอายุการเลี้ยงตั้งแต่เกิดจนสามารถส่งจำหน่ายได้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 28 เดือน เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่ใช้เวลาเลี้ยงถึง 30 เดือน คุณภาพเนื้อที่มีไขมันแทรก “ในเรื่องของสายเลือดว่ากี่เปอร์เซ็นต์ดีที่สุด ตอนนี้ที่เราเลี้ยงกันมา สายเลือดวากิวอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ โคค่อนข้างมีโครงสร้างและไขมันแทรกที่ดี ซึ่งในเรื่องนี้เราก็ยังไม่หยุดพัฒนา ยังหาวิธีการพัฒนาดูกันไปเรื่อยๆ โดยการขายเราจะขายแบบเป็นซาก เอาตัวโคเข้าโรงเชือดที่ได้มาตรฐาน เอาเครื่องใน เขา ข้อเท้า และหาง ออกให้หมด เหลือแต่เนื้อที่ติดกับกระดูกแขวนบ่มไว้ 7 …

ข่าวดี! “เนื้อสุรินทร์กิว”🐂 กำลังจะได้จดทะเบียน GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) โคขุนพันธุ์ลูกผสมวากิว จ.สุรินทร์  อ่านเพิ่มเติม »

แชร์ลูกโซ่ โมเดลพีระมิดในหน้ากากของธุรกิจเครือข่าย กลโกงหลอกผู้ลงทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย

แชร์ลูกโซ่ โมเดลพีระมิดในหน้ากากของธุรกิจเครือข่าย กลโกงหลอกผู้ลงทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย   . “แชร์ลูกโซ่” ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ ยกตัวอย่างกรณีของไทยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี เช่นคดี แชร์แม่ชม้อย แชร์แม่มณี และ forex-3D ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนัก ทั้งหมดล้วนแล้วแต่สร้างความเสียหายให้กับผู้คน ธุรกิจ รวมไปถึงเศรษฐกิจอย่างรุนแรง    มูลค่าความเสียหายที่ประเมินได้นั้นส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก กรณีแชร์แม่ชม้อยในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2528 มีมูลค่าความเสียหาย 500 ล้านบาท ต่อมาที่แชร์แม่มณีในปี 2562 มูลค่าความเสียหาย 1,376 ล้านบาท และ forex-3D ในปี 2564 ที่สร้างมูลค่าความเสียหายมากถึง 2,500 ล้านบาท รวมถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายอีกนับไม่ถ้วนที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้   รูปแบบของการแชร์ลูกโซ่มีความเหมือนกันคือ การเสนอผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงผิดปกติ ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ลงทุนมาเป็นหุ้นส่วนกับเราวันนี้รับประกันผลตอบแทน 7 เปอร์เซ็นในทุกๆ เดือน และสร้างภาพลักษณ์ให้ดูประสบความสำเร็จ มีความมั่งคั่ง เพื่อให้ผู้ลงทุนรู้สึกไว้วางใจ โดยมีธุรกิจที่ใช้ในการอ้างอิงที่มาของผลตอบแทนนั้น เช่น การเทรด forex โดยใช้เอไอ การลงทุนเป็นหุ้นส่วนธุรกิจน้ำมัน หรือ การออมเงินร่วม ธุรกิจที่ใช้อ้างอิงเหล่านี้มักจะเสนอผลตอบแทนที่สูง โดยที่ไม่ได้มีสินค้าหรือไม่ได้มีการดำเนินกิจการจริง    วิธีที่ธุรกิจมิจฉาชีพเหล่านี้ใช้ในการจ่ายผลตอบแทนนั้นมักจะมาจาก การนำเงินของนักลงทุนใหม่ไปจ่ายให้กับนักลงทุนเดิม ซึ่งนักลงทุนที่เข้ามาแรกๆก็จะได้รับผลตอบแทนจริง แต่ระบบจะพังลงมาทันทีเมื่อไม่มีนักลงทุนใหม่ๆเข้ามา เนื่องจากไม่มีเงินหมุนในระบบอีกต่อไป และผู้ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆก็คือนักลงทุนใหม่ที่พึ่งเข้ามาในระบบ เนื่องจากไม่มีเงินหมุนเวียนมาเพื่อจ่ายผลตอบแทน ซึ่งรูปแบบของการลงทุนนี้จะเรียกได้ว่าเป็นแชร์ลูกโซ่ในรูปแบบ Ponzi scheme   แต่ยังมีแชร์ลูกโซ่ในอีกรูปแบบนึงที่มักจะถูกบังหน้าด้วยธุรกิจเครือข่าย และกำลังมีธุรกิจเครือข่ายขนาดใหญ่ของไทยในปัจจุบันกำลังถูกตั้งข้อสงสัยว่าเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่หรือไม่ รูปแบบของแชร์ลูกโซ่ดังกล่าวก็คือ ธุรกิจแบบพีระมิด หรือ Pyramid scheme ที่เป็นการเสนอผลตอบแทนที่สูง จากโอกาสที่ธุรกิจหรือสินค้านั้นๆสามารถทำได้ และผู้ลงทุนยังได้รับประโยชน์จากการสร้างเครือข่ายหรือที่เรียกว่า ”ตัวแทนจำหน่าย” ที่ต่อขาลงไปด้วยการชวนคนใหม่ๆเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมอีกด้วย รูปแบบของการหมุนเงินจะค่อนข้างคล้ายกันคือ การนำเงินลงทุนของคนใหม่ๆ เข้ามาจ่ายให้กับคนเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และเมื่อไม่มีคนเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้นอีกต่อไป ระบบก็จะพังลงในที่สุด   ปัญหาและผลกระทบจากแชร์ลูกโซ่ที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในระดับประเทศ จากผลกระทบที่ไปรบกวนกลไกของตลาด เนื่องจากธุรกิจหรือสินค้านั้นๆไม่ได้มีอยู่จริง และผู้ที่ได้รับประโยชน์มีเพียงแค่ผู้เริ่มกลโกงแชร์ลูกโซ่หรือกลุ่มที่อยู่ด้านบนของพิรามิดเท่านั้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถหยุดชะงัก จากการโยกย้ายเงินทุนที่ไม่ได้สร้างมูลค่าอะไรให้ระบบเศรษฐกิจเลย . หากมองเจาะลึกลงมาที่ภาคอีสานก็จะพบว่า มีผู้เสียหายจำนวนไม้น้อยในภาคอีสานที่ได้รับผลกระทบ โดยในกรณีคดีแชร์แม่มณีที่เคยเกิดขึ้น ที่พื้นเพเป็นคนในภาคอีสาน ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า ณ จุดเริ่มต้นของธุรกิจแชร์ลูกโซ่นี้ มีคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบไปเป็นจำนวนไม่น้อย แต่เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของตลาดแบบออนไลน์ ทำให้ผู้เสียหายกระจายตัวไปทั่วประเทศมากขึ้น ไม่ได้กระจุกตัวในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเหมือนครั้งของแชร์แม่ชม้อยแล้ว แน่นอนว่าผลกระทบต่อผู้คนและมูลค่าความเสียหายย่อมรุนแรงขึ้นตามไปด้วย . สถานการณ์ปัญหาของแชร์ลูกโซ่ในรูปแบบพีระมิด ในปัจจุบันที่ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบภายในประเทศเพียงเท่านั้น เนื่องจากการผันตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ทำให้วงของผลกระทบมีความกว้างมากยิ่งขึ้นจนถึงประเทศใกล้เคียง จากรายงานข่าวของ The nation พบว่าได้มีการเผยแพร่คลิปวิดิโอที่บริษัทธุรกิจเครือข่ายที่กำลังต้องสงสัยในประเทศไทย ได้โปรโมตการลงทุนและสินค้าอยู่ที่ประเทศลาว โดยทางบริษัทดังกล่าวได้มีการรับตัวแทนจำหน่ายหลายคน รวมถึงดาราและนักแสดงในประเทศลาว และยังมีรายงานเพิ่มเติมถึงการโปรโมตธุรกิจที่ประเทศอื่นๆ เช่น กัมพูชา เมียนมาร์ อีกด้วย   จากปัญหาที่เกิดขึ้น …

แชร์ลูกโซ่ โมเดลพีระมิดในหน้ากากของธุรกิจเครือข่าย กลโกงหลอกผู้ลงทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐อัพเดทรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนภาคอีสาน ปี 2566 เป็นยังไงบ้าง💰💱

พามาเบิ่ง🧐อัพเดทรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนภาคอีสาน ปี 2566 เป็นยังไงบ้าง💰💱 . อัพเดทรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในภาคอีสาน จังหวัดไหนได้มากสุดน้อยสุด เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในปี 2566 . จากการเก็บข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เรื่องรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 2566 พบว่าภาคอีสานเป็นภาคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรื่อนต่ำที่สุดในประเทศที่เดือนละ 22,524 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ 21,587 บาท เพิ่มขึ้น 4.3% . 💼ในปี 2566 ครัวเรือนอีสานส่วนใหญ่จะมีรายได้จากการทำงานอยู่ที่ 12,724 บาท แบ่งเป็น ค่าจ้างและเงินเดือน 6,972 บาท กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจ 3,288 บาทและกำไรสุทธิจากการทำการเกษตร 2,464 บาท รายได้ประจำที่ไม่เป็นตัวเงิน จากสินค้าและบริการ การอุปโภคบริโภค และค่าเช่าบ้าน (รวมบ้านตนเอง) 4,221 บาท และส่วนสุดท้ายรายได้ที่ไม่ได้มากจากการทำงาน เช่น ทุนการศึกษา มรดก หรือสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น เป็นไง 395 บาท . หากพิจารณารายได้ของครัวเรือนในภาคอีสานตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า ร้อยละการเติบโตโดยเฉลี่ยของภาคอีสานนั้นอยู่ที่ 3.7% ซึ่งอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่ 3.9% และภาคอีสานเป็นภาคที่มีการเติบโตโดยเฉลี่ยน้อยเกือบจะที่สุดเป็นรองเพียงภาคใต้ที่โตเฉลี่ยเพียง 0.8% โดยค่าเฉลี่ยของภาคอีสานตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้ . 🪙ปี 2556 อยู่ที่ 19,181 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 5.3% จากปีก่อนหน้า 🪙ปี 2558 อยู่ที่ 21,094 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อนหน้า 🪙ปี 2560 อยู่ที่ 20,271 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ลดลง -3.9% จากปีก่อนหน้า 🪙ปี 2562 อยู่ที่ 20,600 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 1.6% จากปีก่อนหน้า 🪙ปี 2564 อยู่ที่ 21,587 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.8% จากปีก่อนหน้า 🪙ปี 2566 อยู่ที่ 22,524 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.3% จากปีก่อนหน้า . จะเห็นได้ว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมารายได้ของภาคครัวเรือนภาคอีสานมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 19,181 บาท ในปี 2556 สู่ 22,524 บาทในปี 2566 จากปัจจัยต่างๆทั้งการช่วยเหลือ …

พามาเบิ่ง🧐อัพเดทรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนภาคอีสาน ปี 2566 เป็นยังไงบ้าง💰💱 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🕺💃ดารา-เซเลบ ในธุรกิจขายตรง EP.1

พามาเบิ่ง🕺💃ดารา-เซเลบ ในธุรกิจขายตรง EP.1 . จากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (OCPB) มีการรายงานว่าบริษัทขายตรงในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 641 บริษัท และมีจำนวนผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงทั้งสิ้น 892 บริษัท โดยใน 641 บริษัทนั้นมีบริษัทที่เข้าร่วมเป็น สมาคมขายตรงไทย (TDSA) ทั้งสิ้นเพียง 29 บริษัทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทที่อยู่ในสมาคมขายตรงจะเป็นบริษัที่ชื่อคุ้นหู คุ้นหาคุ้นตากันอยู่แล้ว เช่น Amway, Herbalife, และ Nu Skin ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยมูลของตลาดขายตรงในปี 2566 อยู่ 75,200 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากกลุ่มสมาคมขายตรงไทย 39,282 ล้านบาท และรายจากจากบริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่มอีก 35,918 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ารายได้ส่วนใหญ่นั้นมาจากกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เพียง 29 บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมขายตรง มากกว่ารายได้จากบริษัทที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มขายตรงอีกหลายร้อยบริษัท . นอกจากนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแสความนิยมของธุรกิจขายตรงได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทต่างๆ ได้ดึงดูดดาราและคนดังในวงการบันเทิงมาเป็นพรีเซนเตอร์หรือร่วมเป็นสมาชิก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มความนิยมในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ดาราที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย ทำให้การนำเสนอผลิตภัณฑ์ขายตรงผ่านบุคคลเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัท ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการมากขึ้น โดยตัวอย่าง 4 บริษัท ดังนี้ บริษัท ยูนิซิตี้ มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด (Unicity) สถานะ ยังดำเนินกิจการ งบการเงินปี 2566 รายได้รวม 624,275,140 บาท (การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน -13.77%) กำไรสุทธิ 7,308,013 บาท (การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน +226.72%) ปีที่เริ่มดำเนินกิจการ พ.ศ. 2545 🌟ตัวอย่างดารา – ภัทรพล ศิลปาจารย์ (พอล) ตำแหน่ง นักธุรกิจระดับ PRESIDENTIAL DIAMOND บริษัท บีฮิบ (ไทยแลนด์) จำกัด (Bhip)  สถานะ ยังดำเนินกิจการ งบการเงินปี 2566 รายได้รวม 63,340,198 บาท (การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน -57.87%) กำไรสุทธิ -17,006,491 บาท (การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน -272.14%) ปีที่เริ่มดำเนินกิจการ พ.ศ. 2554 🌟ตัวอย่างดารา – เกริกพล มัสยวาณิช (ฟลุ๊ค) ตำแหน่ง ประธานกรรมการผู้บริหาร   บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด (Amway) สถานะ ยังดำเนินกิจการ งบการเงินปี …

พามาเบิ่ง🕺💃ดารา-เซเลบ ในธุรกิจขายตรง EP.1 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ที่อยู่ในภาคอีสานมีมากเท่าไหร่ ทำงานอะไรบ้าง?

พามาเบิ่ง แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ที่อยู่ในภาคอีสานมีมากเท่าไหร่ ทำงานอะไรบ้าง? . แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย มีความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศไทยมากกว่าที่เราคิด เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และปัญหาการขาดแคลนแรงงานสำหรับงานฐานราก ไม่ว่าจะเป็น การผลิต การก่อสร้าง งานบริการ และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้การมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วยในจุดนี้ก็สามารถผลักดันให้ธุรกิจภายในประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้   . ซึ่งแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมากที่สุดก็คือ แรงงานจากประเทศเมียนมาร์ เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ค่าแรงขั้นต่ำที่น้อย และ ค่าครองชีพที่ค่อนข้างสูงหากเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ประชากรชาวเมียนมาร์บางส่วนเลือกที่จะออกมาทำงานที่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือประเทศไทยของเรานี้เอง    . ในประโยชน์จากการนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ทำให้งานฐานรากในประเทศดำเนินต่อไปได้ ก็นำมาสู่ปัญหาได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าวนอกระบบ ที่จากสถิติพบว่า จำนวนแรงงานเมียนมาร์ที่เข้ามาอย่างถูกกฏหมายมีอยู่ 2 ล้านคน แต่จากการคาดการณ์พบว่าแรงงานเมียนมาร์ที่ทำงานในประเทศไทยอาจมีมากถึง 7 ล้านคน ซึ่งนำมาสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น การมีแรงงานต่างด้าวบางส่วนเริ่มตั้งธุรกิจเป็นของตัวเอง การรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิที่มากขึ้น ปัญหาแรงงานต่างด้าวนอกระบบที่ไม่ได้รับสวัสดิการ ทั้งด้านปัจจัยพื้นฐาน การรักษาพยาบาล รวมไปถึงการศึกษา ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาทางสังคมได้ในอนาคต   . แม้ว่าในภาคอีสานจะมีจำนวนแรงงานต่างด้าวจากประเทศเมียนมาร์ที่น้อยกว่าในภาคอื่นๆ แต่ด้วยโครงสร้างด้านประชากรของอีสานที่มีอัตราการเกิดที่เริ่มลดลง และขยับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว เราจึงควรคำนึงถึงอนาคตที่แรงงานต่างด้าวจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในด้านแรงงานของภาคอีสานมากยิ่งขึ้น   . โดยในวันนี้ ISAN Insight สิพามาเบิ่ง ว่าแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ในภาคอีสาน ว่าแต่ละจังหวัดมีจำนวนเท่าไหร่และทำงานอะไรกันบ้าง   จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์มากที่สุดคือ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีแรงงานเมียนมาร์ 14,070 คน คิดเป็นสัดส่วน 51% จากแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ตามมาด้วยจังหวัด ขอนแก่นและชัยภูมิ ที่มีจำนวนแรงงานเมียนมาร์ 4,350 คน และ 1,597 คน ซึ่งมีจำนวนที่แตกต่างจาก อันดับที่ 1(นครราชสีมา) ค่อนข้างมากเนื่องจากงานอันดับ 1 ที่มีแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ทำงานมากที่สุดอยู่ในภาคการผลิตซึ่งมีอยู่มากในจังหวัดนครราชสีมา   และจังหวัดที่มีสัดส่วนแรงงานเมียนมาร์น้อยที่สุดคือจังหวัดหนองคาย ที่มีจำนวนแรงงานชาวเมียนมาร์ 250 คน คิดเป็นสัดส่วน 11% เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศลาว ทำให้มีแรงงานต่างด้าวชาวลาวคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 86% ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด

หนองบัวลำภู ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม ความเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดในภาคอีสาน

หนองบัวลำภู ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม ความเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดในภาคอีสาน หากพูดถึงเศรษฐกิจ ย่อมมีทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ดี และไม่ดีแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ที่ผ่านมา อีสาน อินไซต์ นำเสนอข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่ดีในหลายด้านของแต่ละจังหวัด แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ว่ายังมีคนจน กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย โดย รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2566 เปิดเผย จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส แม่ฮ่องสอน พัทลุง สตูล หนองบัวลำภู ตาก ประจวบครีรีขันธ์ ยะลา และตรัง วันนี้ ISAN Insight and Outlook สิพามาวิเคราะห์เบิ่ง สถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวของประชากร หนองบัวลำภู ดังนี้ 1. หนองบัวลำภู จังหวัดเล็กๆแห่งอีสานตอนบน มีประชากร 507,021 คน มีขนาดพื้นที่ ประมาณ 3,859 ตารางกิโลเมตร (2.4 ล้านไร่) ประกอบด้วย 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรคูหา อำเภอโนนสัง และอำเภอนาวัง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอุดรธานี ทิศใต้ ติดกับจังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย 2. แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวลำภูมีความโดดเด่นในเชิงธรรมะที่ผสานกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว ยกตัวอย่างเช่น ถ้ำเอราวัณ เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่อันเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพระพุทธชัยศรีมุนีศรีโลกนาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง อีกหนึ่งสถานที่เชิงธรรมมะที่ถือว่าเป็น unseen ของจังหวัดที่ควรค่าแก่การไปเยือนเมื่อไปหนองบัวลำภูคือ ถ้ำผาเจาะ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ โดยถ้ำแห่งนี้มีทิวทัศน์ที่งดงามทั้งในถ้ำและนอกถ้ำ 3. ในด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ ในปี 2565 จังหวัดหนองบัวลำภูมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด(GPP) อยู่ที่ 31,696 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 67,363 บาท โดยโครงสร้างเศรษฐกิจของหนองบัวลำภู เป็นดังนี้ – ภาคการบริการ คิดเป็น 42% ของ GPP – ภาคการผลิต คิดเป็น 22% ของ GPP – ภาคการเกษตร คิดเป็น 21% ของ GPP – ภาคการค้า คิดเป็น 15% ของ GPP ภาคการเกษตรเป็นส่วนที่สำคัญของหนองบัวลำภู จากการที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 1,686,938 ล้านไร่ หรือคิดเป็นประมาณ 70% ของพื้นที่ทั้งหมด ตัวอย่างพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด เช่น ข้าวนาปี …

หนองบัวลำภู ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม ความเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top