September 2024

พามาเบิ่ง จำนวนนักลงทุนไทย กว่า 2.8 ล้านคน กระจายอยู่ไหนบ้าง

ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) เผยจำนวนผู้ลงทุนไทยทั้งหมด ณ เดือน กรกฏาคม 2567 2,800,000 คน  – กรุงเทพฯ 1,000,000 ราย – ปริมณฑล 520,000 ราย – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 326,000 ราย – ภาคกลาง 285,000 ราย  – ภาคตะวันออก 253,000 ราย – ภาคเหนือ 194,000 ราย – ภาคใต้ 216,000 ราย จะเห็นได้ว่าจำนวนนักลงทุนสัญชาติไทย 2.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.24 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับ รายงาน Personal Finance and Investment Habits in Southeast Asia จาก Milieu Insight (มิลยู อินไซต์); บริษัทผู้ทำซอฟต์แวร์วิจัยด้านการตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำการสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติการเงินของคนใน 6 ประเทศอาเซียน จำนวน 3,000 คน จากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์  พบว่า คนอาเซียนส่วนใหญ่เลือกออมเงินมากกว่าลงทุน สะท้อนจาก 54% ของคนในอาเซียน ไม่ได้แบ่งเงินเพื่อลงทุนอย่างจริงจัง มีคนเพียง 46% เท่านั้นที่ตื่นตัวในการแบ่งเงินไปลงทุน ความตื่นตัวในการลงทุน คนส่วนใหญ่ในภูมิภาค และสัดส่วนนักลงทุนไทยในตลาดหลักทรัพย์ สะท้อนว่า อาเซียนมีความรู้ทางการเงินต่ำ ประกอบกับมีรายได้น้อย จึงมีโอกาสเข้าถึง การลงทุนที่จำกัด ทำให้พลาดโอกาสในการสะสมความมั่งคั่ง และสร้างการเติบโตทางการเงิน ส่งผลต่อการมีอิสระทางการเงิน และจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต เมื่อแต่ละประเทศในอาเซียน รวมถึงไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  . การวางแผนทางการเงิน คือ กระบวนการวางแผนการใช้เงินในอนาคต  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถ ส่งลูกเรียน หรือเกษียณอายุอย่างมีความสุข การวางแผนที่ดีจะช่วยให้คุณบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากปัญหาทางการเงิน และสร้างความมั่นคงในชีวิต โดยการวางแผนทางการเงินมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ กำหนดเป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ชัดเจน เช่น ต้องการมีเงินเก็บเท่าไหร่ในกี่ปี วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน: ประเมินรายรับ รายจ่าย และสินทรัพย์ที่มีอยู่ จัดทำงบประมาณ: วางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนให้สอดคล้องกับรายได้ ออมเงิน: สร้างวินัยในการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ลงทุน: นำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เงินทำงานและเติบโต บริหารความเสี่ยง: ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ TOP 5 อุปสรรคการลงทุนของคนอาเซียน …

พามาเบิ่ง จำนวนนักลงทุนไทย กว่า 2.8 ล้านคน กระจายอยู่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

เปิด เส้นทางขนส่งสินค้า ออนไลน์ ทำไมต้องผ่าน “มุกดาหาร” 2 วัน ส่งไว จีน-ไทย ไม่เกินจริง

เทศกาล โปรโมชั่น ลดกระหน่ำ ประจำเดือนมาถึงแล้ว หลายๆ คนก็เริ่มเก็บคูปองแล้วกดตะกร้าสั่งสินค้ากันแล้ว และแน่นอนว่าจะต้องตั้งตารอสินค้า และเช็คสถานะพัสดุที่จัดส่งเป็นระยะๆ จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า แล้วทำไมสินค้าบางอย่างที่สั่งผ่านร้านค้าที่จัดส่งจากต่างประเทศนั้น ถึงส่งได้อย่างรวดเร็ว ว่องไว เหลือเกิน โดยปกติจะมีการแจ้งจัดส่งภายใน 7 วัน แต่เอาเข้าจริงกลับจัดส่งได้เร็วกว่านั้น หรือเร็วสุด 2 วันก็ถึงแล้ว นอกจากนั้นหลายๆ คนก็เริ่มตั้งข้อสังเกตแล้วว่าสินค้าที่จัดส่งมาหลายๆ ชิ้นจะต้องผ่าน “ที่ทำการ MUKDAHAN” หรือ ด่าน มุกดาหารอยู่เสมอ ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านล่างที่แนบมานี้ ทำความรู้จักจุดผ่านแดนอีสาน-ประเทศเพื่อนบ้าน จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยมูลค่าการค้าสะสมเดือนมกราคม – สิงหาคม ปี 2566 พบจุดผ่านด่านดังนี้ ตามภาพด้านล่างนี้ จุดผ่านแดนอีสาน – ลาว มีที่ไหนบ้าง? . 1. จังหวัดเลย มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 69,024 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 3 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ําเหือง – ไชยบุรี, จุดผ่านแดนอำเภอเชียงคาน – นครหลวงเวียงจันทน์ และจุดผ่านแดนบ้านคกไผ่ – นครหลวงเวียงจันทน์ . 2. จังหวัดหนองคาย มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 108,686 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 2 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนท่าเสด็จ – นครหลวงเวียงจันทน์ และจุดผ่านแดนมิตรภาพไทย – ลาว(นครหลวงเวียงจันทน์) แห่งที่ 1 . 3. จังหวัดมุกดาหาร มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 88,781 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 2 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนอำเภอเมืองมุกดาหาร – แขวงสะหวันนะเขต และจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย – ลาว(แขวงสะหวันนะเขต) แห่งที่ 2 . 4. จังหวัดนครพนม มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 70,937 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 2 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย – ลาว(แขวงคําม่วน) แห่งที่ 3 และจุดผ่านแดนอำเภอเมืองนครพนม – แขวงคําม่วน . 5. จังหวัดบึงกาฬ มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 66,920 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 1 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดน อ.เมืองบึงกาฬ – แขวงแบอลิคําไซ (สะพานมิตรภาพไทย …

เปิด เส้นทางขนส่งสินค้า ออนไลน์ ทำไมต้องผ่าน “มุกดาหาร” 2 วัน ส่งไว จีน-ไทย ไม่เกินจริง อ่านเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ?

หนึ่งในข้อความจากเพจ ลาว”มอง”ไทย “แรงงานลาวไปทำงานในต่างประเทศ จาก 73% ในปี 2023 มาเป็น 93% ในปี 2024” แม้ข้อความข้างต้นจะไม่ปรากฏข้อมูลตัวเลขอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีข่าวและข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจต่างๆ ที่พูดถึงวิกฤตทางการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ประเทศเล็กๆ ที่ไร้ทางออกทะเล ที่ต้องการฟื้นเปลี่ยนสภาพจาก land locked ให้เป็น land linked ประสานกับยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ทำให้ลาวต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ แต่กลับกันการลงทุนเหล่านั้นก็ได้สร้างหนี้พอกพูนมากขึ้นเป็นลำดับ “ภาคอีสาน และ สปป.ลาว ล้วนพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด ดังนั้นการหดตัวทางเศรษฐกิจลาวย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจอีสานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” สถานการณ์ของลาวประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะในระดับวิกฤตเมื่อมองไปที่นี่เงินกู้ของประเทศตอนนี้สูงถึง 122 % ของ GDP ซึ่งทำให้ลาวกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 9 ของโลกตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่หลายคนกล่าวถึงลาวว่ากำลัง “ติดกับดักนี่ทางการทูต” จากจีนหรือไม่? จนนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าลาวได้กลายเป็นรัฐเงา(shadow state) ของจีนไปด้วยซ้ำ แต่ในขณะเดียวกันลาวก็ไม่ได้มีทางเลือกในการพัฒนามากนักการต้านจีนจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากการเชื่อมโยงพัฒนาเข้ากับจีนดูเหมือนจะเป็นทางเดียวที่ลาวจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่พรรคประชาชนปฏิวัติเราเองก็ต้องการความชอบธรรมด้านผลงานจากการพัฒนาเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างมีราคาต้องจ่าย ISAN Insight and Outlook จะ พามาเบิ่ง ว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของลาว ได้เกิดผลกับลาวอย่างไรและได้ส่งผลต่อประเทศไทยรวมถึงภาคอีสานที่ถือเป็นชายแดนติดกับประเทศลาวอย่างไรบ้างตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจลาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะหนี้สิน และผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจลาวก็มีสัญญาณการฟื้นตัวและพัฒนาในหลายด้าน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจลาว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟมาตรฐาน และเขื่อน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงลาวเข้ากับภูมิภาค การลงทุนจากต่างประเทศ: การลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาว แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของประเทศ ภาคการเกษตร: ภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจลาว แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนเทคโนโลยี ภาคการท่องเที่ยว: ภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจลาว แต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจลาวในอนาคต การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป: แม้ว่าเศรษฐกิจลาวจะเริ่มฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวก็ยังมีความเปราะบางและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สงครามการค้า สภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวน ความท้าทายด้านหนี้สิน: ภาระหนี้สินของลาวยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข การพัฒนาอย่างยั่งยืน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปรียบเทียบศักยภาพเศรษฐกิจลาว และ ภาคอีสาน   ลาว ยังเป็นผู้ลงทุน Top3 ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลข้างต้น ณ 30 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จะพบว่า ลาว ยังเป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานอย่างต่อเนื่องและติด TOP 3 มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฝั่งแรงงานจากลาว ก็ถือเป็นอันดับ 2 ของไทยที่ขับเคลื่อนแรงงานต่างด้าว เป็นรองเพียง …

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ? อ่านเพิ่มเติม »

คนอีสานและทั่วโลกถูกดักฟัง หลังข่าวฉาว บิ๊กเทคอาจใช้ AI ดักฟังในแพลตฟอร์มต่างๆ เหตุเม็ดเงินโฆษณาเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สงครามแย่งชิงความสนใจและเม็ดเงินโฆษณาในวงการสื่อและความบันเทิงไทยกำลังร้อนระอุ! แพลตฟอร์มใหม่ๆ ผุดขึ้นราวดอกเห็ด ผู้บริโภคเสพสื่อหลากหลายช่องทางจนตาลาย แต่ใครจะครองใจคนไทยได้อยู่หมัด? . ผลสำรวจจาก Marketbuzzz ชี้ชัดว่า คนไทยยุคนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดีย (70%) การท่องอินเทอร์เน็ต (50%) และดูวิดีโอสตรีมมิง (47%) LINE และ Facebook ยังคงเป็นเจ้าพ่อโซเชียล โดยเฉพาะ LINE ที่มีผู้ใช้งานสูงถึง 78% สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในการใช้แอปพลิเคชันนี้ในการสื่อสารและติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน . Facebook เองก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งาน 68% แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มนี้ยังคงเป็นช่องทางสำคัญในการเชื่อมต่อกับเพื่อนฝูงและครอบครัว นอกจากนี้ ยังพบว่า Messenger แอปพลิเคชันแชตในเครือของ Facebook ก็มีผู้ใช้งานสูงถึง 34% บ่งชี้ว่าคนไทยยังคงนิยมการสื่อสารแบบส่วนตัวผ่านช่องทางนี้ . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook อยู่มากกว่า 12.9 ล้านบัญชี โดยมีสัดส่วนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook แบ่งเป็นผู้หญิง 60.01% และผู้ชาย 39.99%.โดยประเทศไทยเป็นประเทศอันดับที่ 8 ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน facebook มากที่สุดในโลก จำนวนกว่า 48.3 – 56.9 ล้านบัญชี โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่50.6% ชอบโพสต์ลิงค์มากที่สุดรองลงมาเป็นรูปภาพ 30.2%video 17.1%สเตตัสทั่วไป 1.9%ส่วนค่าเฉลี่ยการโพสต์จากเพจ 1.92%. จัดอันดับอันดับจังหวัดที่มีสัดส่วนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุด.อันดับที่ 1 นครราชสีมา จำนวน 1.7 – 2 ล้านบัญชีอันดับที่ 2 อุบลราชธานี จำนวน 9.8 แสนบัญชี – 1.2 ล้านบัญชีอันดับที่ 3 อุดรธานี จำนวน 8.1 – 9.6 แสนบัญชีอันดับที่ 4 ขอนแก่น จำนวน 8.1 – 9.5 แสนบัญชีอันดับที่ 5 บุรีรัมย์ จำนวน 7.5 – 8.8 แสนบัญชี 6 สุรินทร์ จำนวน 6 – 7 แสนบัญชี 7 ศรีสะเกษ จำนวน 5.9 – 6.9 แสนบัญชี 8 ร้อยเอ็ด จำนวน 5.5 – 6.5 แสนบัญชี 9 สกลนคร จำนวน 5.5 – …

คนอีสานและทั่วโลกถูกดักฟัง หลังข่าวฉาว บิ๊กเทคอาจใช้ AI ดักฟังในแพลตฟอร์มต่างๆ เหตุเม็ดเงินโฆษณาเติบโตอย่างต่อเนื่อง อ่านเพิ่มเติม »

ของดีและฟรีมีอยู่จริง!!! บริการจาก “40 บูท” ในงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” บริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่น ครบจบที่เดียว

บริการวิชาการด้วยใจ ครบจบที่เดียว กับ มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ หน่วยงานเครือข่าย ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เข้าร่วมบริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่นกว่า 40 หน่วยงาน โดยการจัดกิจกรรม “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ในโครงการ KKU CSV มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 แล้ว ในปีนี้ ได้กำหนดจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน  2567 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ สถานีรถไฟขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานเครือข่าย ร่วมนำองค์ความรู้ ทั้งทางด้านการบริการวิชาการ การให้คำปรึกษา รวมถึง การบริการด้านสุขภาพ ออกบริการประชาชนในชุมชน ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย  ให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ 1.บริการด้านสุขภาพ  -ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ถอนฟัน –  ให้บริการทันตสุขศึกษา – การตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาล และประเมิน Body Composition (การวัดองค์ประกอบของร่างกาย) พร้อมบริการให้คำปรึกษาสุขภาพ – การให้ความรู้สุขภาพต่าง ๆ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยอาหาร – การประชาสัมพันธ์ช่องทางการเข้าถึงโรงพยาบาล – การบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ – ตอบคำถามโรคติดต่อชิงรางวัลและแจก Set box ป้องกันโรค – การบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม – การแนะนำบริการต่างๆของศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ(SMC). อาทิเช่น • คลินิกโรคเฉพาะทาง • คลินิกตรวจสุขภาพ • วัคซีนผู้ใหญ่และเด็ก • ช่องทางการเข้ารับบริการ ผู้รับบริการต้องนำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง -แนะนำบริการต่างๆ และตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดความดัน ประเมินภาวะสุขภาพด้วยเครื่องวัดมวลร่างกาย แบบทดสอบภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย -ให้ความรู้เรื่องการเตรียมตัวก่อนมารับบริการทางวิสัญญีและคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 2.ให้บริการฝังเข็มเพื่อการระงับปวด 3.แจกของที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม” -นิทรรศการพิพิธภัณฑ์ทางพยาธิวิทยา โดยให้ความรู้เกี่ยวกับรอยโรคของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ -รับบริจาคโลหิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริการโลหิต และมอบของที่ระลึกให้ผู้มาร่วมกิจกรรม – ให้ความรู้ทางด้านเซลล์บำบัดรักษา คือ การรักษาฟื้นฟูระดับเซลล์ด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น – ให้สิทธิ์ในการรักษาภาวะเข่าเสื่อม ฟรี 5 ราย และภาวะเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง ฟรี 5 ราย – ให้บริการตรวจประเมินผิวหน้าและหนังศีรษะพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี – ร่วมกิจกรรมเล่นเกมลุ้นรางวัลและของที่ระลึกมากมาย -การตรวจองค์ประกอบร่างกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกายเบื้องต้น ( Body scan …

ของดีและฟรีมีอยู่จริง!!! บริการจาก “40 บูท” ในงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” บริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่น ครบจบที่เดียว อ่านเพิ่มเติม »

4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต

🌧☔ในฤดูฝนช่วง สิงหา-กันยา ในทุกๆ ปี หลายท่านอาจจะต้องเผชิญกับฝนอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน หรือเวลาเลิกงาน บางครั้งอาจหนักถึงขั้นพายุ ฟ้าฝน ลม กระหน่ำ จนเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก ในยุคเมืองปูน เมืองซีเมนต์ ที่น้ำไหลซึมลงผ่านหน้าดินได้ยากนี้ จึงต้องอาศัยเครืองไม้เครื่องมือในการจัดการน้ำ ที่รอการระบาย หรือไม่สามารถระบายผ่านระบบระบายของตัวเมืองได้ทัน . แล้วในสมัยก่อน คนในอดีตวางผังเมือง และมีแผนการรับมือกับน้ำทั้งใน⛈หน้าฝน ⛅หน้าแล้ง และวางระบบชลประทานอย่างไรบ้าง วันนี้ ISAN Insight 🧐สิพามาเบิ่ง 4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต กัน ประวัติความเป็นมาของคูคลอง 4 จังหวัดภาคอีสาน 1. นครราชสีมา #คลองคูเมืองนครราชสีมาได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของนครราชสีมา.ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการรบ จึงมีการสร้างกำแพงและขุดคู้มืองขึ้นด้วย.โดยคูเมืองกว้าง 20 เมตร (10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร (มาตราวัดของไทย : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร (มาตราวัดของไทย : 43 เส้น) ยาวล้อมรอบกำแพงเมืองและเขตเมืองเก่า และมีการขุดลำปรุจากลำตะคองเป็นทางน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมืองด้วย มาทำความรู้จัก ๑๗ คูเมืองโคราช . #ชื่อคูเมืองโคราช คูเมืองโคราชมีทั้งหมด 17 คูและให้ประชาชนร่วมส่งชื่อเข้าประกวด โดยคณะเทศมนตรีชุดบริหาร พ.ศ.2526 ร่วมกับอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำชื่อที่เข้าอันดับมาไล่เรียงให้คล้องจองกัน โดยยึดถือความสอดคล้องทางประวัติศาสตร์โคราชและเกี่ยวกับท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ซึ่งแต่ละคูมีชื่อที่คล้องจองกันดังนี้ นารายณ์รังสฤษดิ์ มหิศราธิบดี เศวตหัตถีคู่แดน พลแสนฮึกหาญ อีสานชาญชัย ชูไทเทิดหล้าน พลล้านต้านปัญจา บูรพารวมพล พหลไกรเกริกหาญ ชลธารเทพสถิต นิรมิตชลเขต สาครเรศบุรารักษ์ พิทักษ์สีมารัฐ ยกกระบัตรลือเลื่อง ปลัดเมืองเกรียงไกร พิชัยชุมพล สัมฤทธิ์รณอริพ่าย ภาพคูเมือง ทั้ง 17 แห่งของโคราช ___________________________ 2. ร้อยเอ็ด #คลองคูเมืองร้อยเอ็ดกำแพงเมืองและคูเมืองร้อยเอ็ด เกี่ยวข้องกับเมืองสาเกตในตำนานอุรังคธาตุ ระบุว่ามีมาก่อน การสร้างพระธาตุพนม (พ.ศ. แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีพบร่องรอยการอยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย.ต่อมาจึงมีการสร้างเมืองร้อยเอ็ดเมื่อราวปี พ.ศ.1000 ร่วมสมัยกับเมืองเชียงเหียน เมืองจำปาศรี จังหวัดมหาสารคาม …

4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🚅🛩⛴ 🐉เส้นทางมังกร: การเดินทางของคนจีนสู่อีสาน 2024🇨🇳

สรุปข้อมูล คนจีนที่เดินทางเข้าในภาคอีสานของไทย ปี 2567 จากข้อมูลที่ให้มา เราสามารถวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการเดินทางของชาวจีนเข้าสู่ภาคอีสานของไทยในปี 2567 ได้ดังนี้ จุดผ่านแดนยอดนิยม จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพ 1 จังหวัดหนองคาย เป็นจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเดินทางเข้ามาของชาวจีน สะท้อนให้เห็นถึงความสะดวกในการเดินทางและความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ จุดผ่านแดนอื่นๆ เช่น สะพานมิตรภาพ 2, 3 และช่องเม็ก ก็มีปริมาณผู้เดินทางเข้ามาในระดับที่น่าสนใจ ซึ่งบ่งบอกถึงความหลากหลายของเส้นทางที่ชาวจีนเลือกใช้ กลุ่มอายุ กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวและมีกำลังซื้อ กลุ่มอายุอื่นๆ ก็มีการกระจายตัวค่อนข้างดี ซึ่งบ่งบอกถึงความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางมาเที่ยวภาคอีสาน เพศ เพศชาย มีจำนวนมากกว่าเพศหญิง กว่าเท่าตัว วิธีการเดินทาง การเดินทางทางบก เป็นวิธีการเดินทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด สอดคล้องกับข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าจุดผ่านแดนทางบกมีปริมาณผู้เดินทางสูงกว่าจุดผ่านแดนทางอากาศและทางน้ำ การเดินทางทางอากาศและทางน้ำ มีสัดส่วนน้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยด้านระยะทางและความสะดวกในการเดินทาง ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสานให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่าง การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว: พัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย การประชาสัมพันธ์: สร้างสรรค์แคมเปญการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของภาคอีสานให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในตลาดนักท่องเที่ยวชาวจีน วิเคราะห์ถึงการเข้ามาของคนจีนในภาคอีสาน จากข้อมูลที่วิเคราะห์ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ภาคอีสานของไทยมีความน่าสนใจและมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสานจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง โดยพิจารณาจากกลุ่มอายุช่วง 25-34 ปี และ 35-44 ปี เป็นช่วงอายุที่ผ่านด่านเข้ามามากที่สุด รวมทั้ง เป็นเพศชายที่มากกว่าเพศหญิงกว่าเท่าตัว ด้วยความที่ข้อมูลชุดนี้มีเพียงจำนวนผู้ผ่านด่านแต่ละด่าน ไม่ได้แสดงลึกว่าเป็นผู้ถือครองวีซ่าประเภทไหนบ้าง จึงอาจจะไม่ทราบจุดประสงค์ของการเดินทางที่แท้จริงว่าเป็นการท่องเที่ยว หรือเข้ามาทำงาน แต่จากการลงพื้นที่สำรวจ และสัมภาษณ์คนในท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีด่านเหล่านี้ ก็จะพบว่า การมาถึงของฟรีวิซ่าจีนและช่วงวิกฤติเศรษฐกิจจีนทำให้มีชาวจีน เข้ามาในไทยมากขึ้น โดยส่วนมากในอีสานจะเข้ามาทำงาน เดินทางมาทำธุรกิจมากกว่าการท่องเที่ยว และอีกจุดที่น่าสังเกตอีก 1 จุดคือ การเดินทางทางบกมีสัดส่วนสูงสุด โดยด่านหนองคายมีจำนวนผู้ผ่านด่านชาวจีนมากที่สุด อาจจะด้วยสาเหตุที่มีทางรถไฟสายเวียงจันทร์-บ่อเต็น หรือ ทางรถไฟสายจีน-ลาว สามารถลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากจีนตอนใต้ ผ่านลาวมาถึงไทยได้อีกเส้นทางหนึ่ง โดยเส้นทางนี้จะเชื่อมจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาที่บ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดหนองคายเพียงแค่ 24 กิโลเมตร ดังนั้นหากในอนาคต มีการเชื่อมต่อระบบรางของไทยเชื่อมกับ ลาว และ จีนตอนใต้ ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนคนจีนที่จะเดินทางเข้าสู่อีสานมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ท้าทายมากขึ้นสำหรับคนท้องถิ่นในอีสาน ภาพ เส้นทาง รถไฟ จีน-ลาว หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นเพียงการวิเคราะห์เบื้องต้นจากข้อมูลที่ให้มา อาจมีความแตกต่างจากข้อมูลจริงได้ หากต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฤดูกาล: จำนวนนักท่องเที่ยวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลท่องเที่ยว เทศกาล: การจัดงานเทศกาลต่างๆ อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยว นโยบายของรัฐบาล: นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น การยกเว้นวีซ่า อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ: สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศอาจมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมจะช่วยให้สามารถวางแผนและดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น …

พามาเบิ่ง🚅🛩⛴ 🐉เส้นทางมังกร: การเดินทางของคนจีนสู่อีสาน 2024🇨🇳 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top