August 2024

ททท.ขอนแก่น x บัสซิ่ง เปิดวิ่งบัส รอบดึกฟรี! ตลอดเดือน กันยายนนี้!!

ไปดื่ม ไปดริ้ง จะหาของกินมื้อดึก สตรีทฟู้ด โต้รุ่ง ร้านนม สายเที่ยวตอนกลางคืนห้ามพลาด ททท.ขอนแก่น x บัสซิ่ง เตรียมให้บริการ 𝗞𝗵𝗼𝗻 𝗞𝗮𝗲𝗻 𝗡𝗶𝗴𝗵𝘁 𝗕𝘂𝘀! . #ให้บริการฟรี ตลอดเดือนกันยายนนี้ เส้นทาง ม.ขอนแก่น เมืองขอนแก่น ตั้งแต่ 21.00 – 01.00 น. สะดวกสบาย ปลอดภัย แถมยังได้เที่ยวกลางคืนแบบชิลล์ๆ ชาวขอนแก่นสายกินดึกไม่ต้องกังวลเรื่องด่านแล้วจ้า นั่งขนส่งสาธารณะไปม่วนจอยรอบขอนแก่นได้เลย ตั้งแต่ 1 กันยายนนี้ นั่งรถบัสเที่ยวพิเศษ สาย Night Route ฟรี รถให้บริการตั้งแต่ 3 ทุ่ม – ตี 1 วิ่งจากกังสดาล – กัลปพฤกษ์ – เซ็นทรัล – ศรีจันทร์ – หลังเมือง – รื่นรมย์ – ประชาสำราญ – มิตรภาพ ผ่านบาร์ ร้านนม ตลาดโต้รุ่ง ดูตารางเวลา และพิกัดรถผ่าน line @kkcitybus โครงการดีๆ จาก ททท. ขอนแก่น . ยิ่งไปกว่านั้น! มีกิจกรรมสะสมแต้มลุ้นรับของรางวัลสุดเจ๋งรออยู่เพียบ รับรองว่าถูกใจทั้งสายเด็กอ้วน สายเด็กดี และสายปาร์ตี้แน่นอน! รอติดตามเร็วๆ นี้เด้อ ╔═══════════╗ เช็คตาราง/ตำแหน่งรถ/สอบถาม ที่ LINE เพิ่มเพื่อน @kkcitybus หรือคลิก https://lin.ee/tbeGC09 เวลาอาจคลาดเคลื่อนตามสภาพการจราจร ╚═══════════╝ #ขอนแก่นซิตี้บัส #KKcitybus #ขอนแก่น #ไปขอนแก่น #รีวิวขอนแก่น #เที่ยวขอนแก่น #กินเที่ยวขอนแก่น #ขอนแก่นแล่นโลด #ให้บริการฟรี #นั่งฟรี  ไปเลาะยามแลง หาของกินมื้อดึก สตรีทฟู้ด โต้รุ่ง ร้านนม สายเที่ยว มาครบ!! เตรียมตัวให้พร้อม มาร่วมจอยกิจกรรมสะสมแต้มเพื่อลุ้นรับของรางวัล เพิ่มเพื่อน LINE @kkcitybus หรือคลิก https://lin.ee/tbeGC09 ไว้เลยเด้อ

อะไรทำให้ เศรษฐกิจอีสาน ฟื้นตัวช้า คาดการณ์ การเติบโตต่ำกว่า 1%💼

แบงค์ชาติคาดการณ์ ปีนี้ #อีสานฟื้นตัวแล้ว จากภาคการค้าที่ดีขึ้น แต่ก็ยังโตขึ้นไม่ถึง 1% เหตุ ภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวช้า การเกษตรหดตัว และภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือน   เศรษฐกิจอีสาน ปี 66 หดตัวที่ -2.2 ถึง -1.2% ขณะที่ปี 67ขยายตัวเล็กน้อยที่ -0.1 ถึง 0.9% ปี 2566 หดตัวจากภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ที่หดตัวเนื่องจากสินค้าคงคลังของคู่ค้ายังอยู่ในระดับสูงจาก อุปสงค์ที่ฟื้นตัวช้า เช่นเดียวกับผลผลิตเกษตรที่หดตัว ในพืชสำคัญทำห้กำลังซื้อในภาคการค้าลดลง ด้านภาค อสังหาริมทรัพย์หดตัวตามยอดขายที่เร่งไปในปีก่อนหน้า ประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังการอนุมัติสินเชื่อ อย่างไร ก็ดี ภาคก่อสร้างขยายตัวได้เล็กน้อยจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ใหม่ หลังจากที่ผู้ประกอบการเร่งระบายสต๊อกไปในปีก่อน  ปี 2567 ขยายตัวเล็กน้อย จากภาคการค้าตามกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรม ยังฟื้นตัวช้าตามการฟื้นตัวของภาคอิเล็กทรอนิกส์ และผลผลิต เกษตรยังหดตัว เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับ ผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง บั่นทอน ความสามารถในการซื้อและผ่อนชำระ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจอีสาน ในปี 2566 -🌾 รายได้ในภาคการเกษตรมีการ หดตัว ⬇️ -2.8% YOY จากผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยเป้นสำคัญ เนื่องจากผุ็ปลูกมันสำปะหลังพบปัญหาใบด่าง ส่วนอ้อยพบปัญหาจากภัยแล้ง ส่วนยางและปศุสัตว์ระดับขยายตัวเล็กน้อยแต่มีราคาที่ถูกลง –รายได้นอกภาคเกษตร หดตัวลง ⬇️ -1.3% YOY  จากภาคก่อสร้างและภาคบริการเป็นสำคัญ -🏛️มาตราการภาครัฐในการกระตุ้นการใช้จ่ายลดลง เช่น คนละครึ่ง,ช็อปดีมีคืน,เราเที่ยวด้วยกัน –ค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง +4.4% แม้ว่าเงินเฟ้อจะลดลง 0.98% ซึ่งทั้งหมดนั้นส่งผลให้ การบริโภคเอกชน ปี 2566 หดตัว -1.9% YOY        สินค้าหมวดยานยนต์ -15.6%     สิ้นค้าอุปโภคบริโภค -0.6%       สินค้าคงทน -6.3% -🏭การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว สอดคล้องกับการลงทุนเอกชนตามสภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังชะลอตัว        การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว-4.7% YOY (2566) เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย น้ำตาลสาย แป้งมันสำปะหลัง        การลงทุนเอกชน ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัว -4.6% YOY เช่น การนำเข้าสินค้าทุน รถยนต์เชิงพาณิชย์ หมายเหตุ : ทั้งนี้ การศึกษาจัดทำประมาณการจากข้อมูลเบื้องต้น ณ ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์กับธุรกิจและประชาชน และจะมีการทบทวนปรับปรุงประมาณการและเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง ผลมาจากปัจจัยหลายประการที่ซับซ้อนและมีผลกระทบต่อกัน ปัจจัยภายในภูมิภาค: ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของภูมิภาค ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงและส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและครอบคลุมทั่วถึงก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเช่นกัน ปัจจัยภายนอก: สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกของไทย …

อะไรทำให้ เศรษฐกิจอีสาน ฟื้นตัวช้า คาดการณ์ การเติบโตต่ำกว่า 1%💼 อ่านเพิ่มเติม »

📢พามาเบิ่ง สนามบินแห่งแดนอีสาน ในช่วงครึ่งปีแรก✈️

การเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยที่มีศูนย์จัดงาน MICE ขนาดต่างๆ รองรับอยู่มากมาย นอกจากในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีสถานที่จัดงาน MICE กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในทุกการเดินทางเพื่อไปร่วมงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วจากการโดยสารเครื่องบินจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่า ภาคอีสานมีท่าอากาศยานไว้บริการนักเดินทางไมช์ กี่แห่งและที่ไหนบ้าง? . ปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสนามบินอยู่ 9 แห่งด้วยกัน และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง ได้แก่ – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี มีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด  – ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น – ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี – ท่าอากาศยานนครพนม – ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด – ท่าอากาศยานสกลนคร – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานเลย . โดยสนามบินที่ไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการ คือ นครราชสีมา . . ทำไมท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ถึงมีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด? . เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจังหวัดหนองคาย และตั้งอยู่ใกล้เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว โดยอยู่ห่างเพียง 50 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารทั้งลาวและจีนมาใช้บริการ อีกทั้งยังมีเที่ยวบินในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก สามารถเลือกเวลาการเดินทางได้ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายถูกกว่าที่จะใช้บริการสนามบินนานาชาติวัตไต ที่กรุงเวียงจันทน์  . และยังมีปัจจัยเสริมที่สำคัญคือ มีคนจีนส่วนหนึ่งที่เดินทางมากับรถไฟจีน-ลาว มาถึงลาวแล้วต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจที่กรุงเทพฯหรือพื้นที่ภาคตะวันออก ก็จะมาใช้บริการ อีกส่วนที่เป็นชาวลาวที่เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาใช้บริการด้วย สังเกตได้จากป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จอดค้างคืนที่สนามบินอุดรธานี  . โดยท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนของภูมิภาคและประเทศไทย  . . ปัจจุบัน ทย.มีแผนการพัฒนาสนามบินใหม่อีก 3 แห่งในภาคอีสาน ซึ่งได้มีการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นไว้แล้ว บางแห่งก้าวหน้าไปในขั้นการออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA ) ได้แก่  . สนามบินมุกดาหาร เบื้องต้นที่ตั้งที่เหมาะสมอยู่บริเวณ ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ อยู่ห่างจาก อ.เมืองมุกดาหาร ประมาณ 20 กม. มีสนามบินใกล้เคียง 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินนครพนม และสนามบินสกลนคร มีระยะห่างจากแต่ละสนามบินประมาณ 120 กม. ปัจจุบันศึกษาเบื้องต้น ออกแบบ และศึกษา EIA แล้ว วงเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท คาดกันว่าจะเป็นสนามบินแห่งใหม่ ลำดับที่ 30 ของ ทย. ต่อจากสนามบินเบตง  . สนามบินบึงกาฬ จุดเหมาะสมอยู่ในเขต ต.โป่งเปือย และ ต.วิศิษฐ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ พื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ ศึกษาเบื้องต้นแล้ว วงเงินลงทุน 3,100 …

📢พามาเบิ่ง สนามบินแห่งแดนอีสาน ในช่วงครึ่งปีแรก✈️ อ่านเพิ่มเติม »

“คลองฟูนันเตโช” เมกะโปรเจกต์เชื่อมพนมเปญ-อ่าวไทย จะสะเทือนเศรษฐกิจไทย-เวียดนาม ได้อย่างไร? แล้วอีสานและแม่น้ำโขงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

โครงการคลองฟูนันเตโช หรือชื่อเต็มคือ โครงการระบบขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์โตนเลบาสัก (Tonle Bassac Navigation Road and Logistics System Project) มีระยะทาง 180 กิโลเมตร เชื่อมเส้นทางคมนาคมทางเรือ โดยมีจุดเริ่มต้นจากแม่น้ำโขง บริเวณแปรกตาแก้ว ห่างจากใจกลางกรุงพนมเปญไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 30 กิโลเมตร ผ่านไปยังท่าเรือพนมเปญในแม่น้ำบาสัก และผ่านจังหวัดกันดาล ตาแก้ว กำปอด ไปถึงแกบ เมืองชายฝั่งทางใต้ของกัมพูชาติดกับอ่าวไทย โดยยังเป็นโครงการที่เชื่อมตรงระหว่างพนมเปญกับท่าเรือในสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ รวมถึงท่าเรือใหม่ในจังหวัดกำปอด คาดว่าโครงการขุดคลองสายนี้จะใช้เวลาดำเนินการ 4 ปีและน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2028 กัมพูชาขุดคลอง ฟูนัน เตโช ระยะทาง 180 กม.ด้วยงบ 68,200 ล้านบาทจากประเทศจีน โดยมีความกว้าง 100 เมตร ลึก 5.4 เมตร เขื่อนกั้นน้ำ 3 แห่ง และสะพานข้ามคลองอีก 11 แห่ง เริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 4 ปี โดยจีนจะได้รับสัมปทานในคลองเป็นระยะเวลา 50 ปี ไม่ว่าจะเป็นรายได้ต่างๆ ค่าผ่านทางที่จะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และผลกำไรต่างๆ ภาพจาก: Credit: AP Photo/Heng Sinith โครงการคลองฟูนันเตโชมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางการค้าและอำนาจทางยุทธศาสตร์ของกัมพูชาผ่านการสนับสนุนจากจีนภายใต้กรอบของ Belt and Road Initiative (BRI) คลองฟูนันเตโชเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์กัมพูชาในการแสวงหาความอิสระทางยุทธศาสตร์ โดยลดการพึ่งพาเส้นทางการค้ากับเวียดนามและสร้างทางเลือกใหม่ที่ไม่ถูกครอบงำโดยอิทธิพลภายนอกโดยเฉพาะจากเวียดนาม โครงการนี้สะท้อนถึงความพยายามของรัฐบาลกัมพูชาในการเสริมสร้างความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีความซับซ้อนทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างลุ่มแม่น้ำโขง Smoke bombs are ignited during the groundbreaking ceremony of the Funan Techo Canal in Kandal province. Photo: AFP โครงการคลองฟูนันเตโชของกัมพูชามีโครงสร้างทางการเงินที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งมีการประมาณการว่าจะสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลกัมพูชา 88 ล้านดอลลาร์ในปีแรก และเพิ่มขึ้นถึง 570 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2050 โดยถูกออกแบบให้เป็นโครงการแบบสร้าง-ดำเนินการ-โอน (BOT) ภายใต้การสนับสนุนจากจีน แต่ยังไม่มีการระบุคู่สัญญาหลักอย่างชัดเจน แม้จะมีการประมาณรายได้ในระยะยาว แต่ความเสี่ยงทางการเงินสูงจากดอกเบี้ยที่สูงกว่าแหล่งทุนอื่น ๆ เช่น ธนาคารโลก อาจทำให้เกิดภาระหนี้สินในอนาคต การที่จีนสนับสนุนโครงการนี้ทำให้เกิดความกังวลต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ซึ่งอาจเห็นว่าการขยายอิทธิพลของจีนผ่านโครงสร้างพื้นฐานและการทหารเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงระดับภูมิภาค โครงการนี้อาจถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การขยายอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากอยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศและแหล่งทรัพยากรน้ำมันในทะเลจีนใต้ ความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนี้สามารถสร้างผลกระทบทางการเมืองและความมั่นคงที่แผ่ขยายไปยังประเทศไทย ทำให้ต้องมีการวางแผนและปรับนโยบายการจัดการทรัพยากรและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหม่ ภาพจาก : BBC Thai จีนได้ขยายอิทธิพลในกัมพูชามาอย่างยาวนาน โดยเริ่มจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการ …

“คลองฟูนันเตโช” เมกะโปรเจกต์เชื่อมพนมเปญ-อ่าวไทย จะสะเทือนเศรษฐกิจไทย-เวียดนาม ได้อย่างไร? แล้วอีสานและแม่น้ำโขงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? อ่านเพิ่มเติม »

💰หากแจกเงิน กลุ่มเปราะบาง คนอีสานจะได้รับเงินรวมกันกว่า 5.5 หมื่นล้าน เพราะ เป็นภูมิภาคที่มีประชากรเยอะสุด และคนจนเยอะสุด ตามด้วยภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ ตามลำดับ . หมายเหตุ: ​รอคำแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นการนำเสนอจำนวน ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่านั้น มิได้นับรวมผู้ที่ลงทะเบียนในแอพ "​ทางรัฐ" . ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่ง จำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ🏛️ . 💰กระแสแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทยังเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้การติดตามต่อเนื่อง ทั้งฝ่ายรัฐบาล, ฝ่ายค้าน, ธปท. รวมถึงภาคประชาชนอย่างเรา ๆ ที่รอเกณฑ์ที่แม่นยำว่าสุดท้ายจะได้รับเงินดิจิทัลหรือไม่ . โดยมีแหล่งข่าวแพร่สะพัดว่า การเดินหน้าของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะมีการปรับเงื่อนไขเบื้องต้น จะเป็นการแจกเงินให้กับกลุ่มเปราะบางที่ลงทะเบียนไว้ก่อนเป็นอันดับแรกในวงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ตามที่สภาเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท มาใช้แจกเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งจะเป็นการแจกเงินสดผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ในครั้งเดียว จำนวน 10,000 บาท . ซึ่งวิธีการดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนจากการใช้เงินผ่านระบบดิจิทัลเป็นการเติมเงินสดลงไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐก่อน ส่วนประชาชนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบางนั้นยังไม่ได้พิจารณา . โอกาสนี้อีสานอินไซต์พาเปิดจำนวนผู้สิทธิได้รับเงินดิจิทัลกลุ่มแรก ซึ่งคือจำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน . โดยอีสานเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนคนถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยมีจำนวนผู้ถือฯกว่า 5 ล้านราย คิดเป็นกว่า 40% ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วประเทศ สะท้อนว่าอีสานยังเป็นภูมิภาคที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจรายบุคคลอยู่มาก ที่ถึงแม้จะได้เงินกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นกว่า 50,000 ล้านบาท แต่ในระยะยาวก็ยังเป็นความน่าเป็นห่วงของอีสานว่าเศรษฐกิจยังเผชิญกับความเปราะบางที่สูง . ที่มา กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง . #เงินดิจิทัล #ISANInsightandOulook #เศรษฐกิจอีสาน #ISANEcon

ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่ง จำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่งจำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หากแจกเงิน กลุ่มเปราะบาง คนอีสานจะได้รับเงินรวมกันกว่า 5.5 หมื่นล้าน เพราะ เป็นภูมิภาคที่มีประชากรเยอะสุด และคนจนเยอะสุด ตามด้วยภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ ตามลำดับ.หมายเหตุ: ​รอคำแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นการนำเสนอจำนวน ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่านั้น มิได้นับรวมผู้ที่ลงทะเบียนในแอพ “​ทางรัฐ”.ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่งจำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.กระแสแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทยังเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้การติดตามต่อเนื่อง ทั้งฝ่ายรัฐบาล, ฝ่ายค้าน, ธปท. รวมถึงภาคประชาชนอย่างเรา ๆ ที่รอเกณฑ์ที่แม่นยำว่าสุดท้ายจะได้รับเงินดิจิทัลหรือไม่.โดยมีแหล่งข่าวแพร่สะพัดว่า การเดินหน้าของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะมีการปรับเงื่อนไขเบื้องต้น จะเป็นการแจกเงินให้กับกลุ่มเปราะบางที่ลงทะเบียนไว้ก่อนเป็นอันดับแรกในวงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ตามที่สภาเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท มาใช้แจกเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งจะเป็นการแจกเงินสดผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ในครั้งเดียว จำนวน 10,000 บาท.ซึ่งวิธีการดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนจากการใช้เงินผ่านระบบดิจิทัลเป็นการเติมเงินสดลงไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐก่อน ส่วนประชาชนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบางนั้นยังไม่ได้พิจารณา.โอกาสนี้อีสานอินไซต์พาเปิดจำนวนผู้สิทธิได้รับเงินดิจิทัลกลุ่มแรก ซึ่งคือจำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน.โดยอีสานเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนคนถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยมีจำนวนผู้ถือฯกว่า 5 ล้านราย คิดเป็นกว่า 40% ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วประเทศ สะท้อนว่าอีสานยังเป็นภูมิภาคที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจรายบุคคลอยู่มาก ที่ถึงแม้จะได้เงินกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นกว่า 50,000 ล้านบาท แต่ในระยะยาวก็ยังเป็นความน่าเป็นห่วงของอีสานว่าเศรษฐกิจยังเผชิญกับความเปราะบางที่สูง.ที่มา กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง.

ชวนมาเบิ่ง ภาคอีสานใช้ไฟฟ้ากว่า 23,241 ล้านกิโลวัตต์ กระจายอยู่ไหนบ้าง

ในปี 2565 ประเทศไทยมีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้จำนวน 141,001 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง แล้วรู้หรือไม่ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่จำนวนเท่าไหร่?   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่จำนวน 23,241 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือคิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 16.5% ของพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้ทั้งหมดในประเทศ ถือว่ามากเป็นอับดับที่ 2 ของประเทศเลยทีเดียว โดยเป็นรองเพียงภาคกลางเท่านั้นที่ มีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่ที่ 84,028 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง    เมื่อลงลึกไปดูการใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็พบว่า การใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 90.8% รองลงมา คือ ใช้ในธุรกิจ 7.2% และใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 0.04%    แต่เมื่อไปดูการใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร พบว่า ภาคอีสานใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตรมากกว่า 45.5% ของการใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งสาเหตุนั่นก็คือภาคอีสานเป็นแหล่งภาคการเกษตรที่สำคัญของประเทศนั่นเอง     5 อันดับจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด   อันดับที่ 1 นครราชสีมา 6,263 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 2 ขอนแก่น 2,579 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 3 อุบลราชธานี 1,712 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 4 อุดรธานี 1,622 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 1,313 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง   จะเห็นได้ว่า นครราชสีมามีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และยังเป็นแหล่งศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายในช่วง 10 ปีหลัง และนครราชสีมายังเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และวังน้ำเขียว จึงทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการบริการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าจึงมากกว่าทุกจังหวัด    อีกทั้งการใช้ไฟฟ้าที่มากทั้ง 5 จังหวัด ซึ่งอาจสะท้อนว่ามีครัวเรือนรายได้สูงอาศัยอยู่มากเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและความสะดวกในการคมนาคม   ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าสามารถใช้เป็นตัวแทนที่บ่งบอกการกระจายตัวของรายได้ครัวเรือนได้ ดังนั้น ความเหลื่อมล้ำในการใช้ไฟฟ้าจึงสามารถใช้เป็นตัวแทนเพื่อบ่งบอกความเหลื่อมล้ำของรายได้ครัวเรือนได้เช่นกัน ความเหลื่อมล้ำมีการเคลื่อนไหวตามฤดูกาล    โดยความเหลื่อมล้ำจะสูงที่สุดในฤดูร้อน และต่ำที่สุดในฤดูหนาว ซึ่งความมีฤดูกาล (seasonality) ของความเหลื่อมล้ำนี้เอง สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนถึงความเหลื่อมล้ำในการถือครองเครื่องใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน เพราะครัวเรือนรายได้สูงมักถือครองเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องปรับอากาศ มากกว่า และจะมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้สูงขึ้นในฤดูร้อน จึงทำให้ระดับการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนรายได้สูงแตกต่างจากครัวเรือนรายได้ต่ำอย่างชัดเจนในฤดูร้อนของทุกปี นอกจากความเหลื่อมล้ำในการใช้ไฟฟ้าจะแสดงความเป็นฤดูกาลภายในแต่ละปีแล้ว ยังมีแนวโน้มระยะยาวที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่สูงขึ้นตามไปด้วย     อ้างอิงจาก:  – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค – สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ – Drdancando   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook …

ชวนมาเบิ่ง ภาคอีสานใช้ไฟฟ้ากว่า 23,241 ล้านกิโลวัตต์ กระจายอยู่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

ความท้าทายของการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มประเทศ GMS: ไทยจะสามารถก้าวทันหรือจะถูกทิ้งห่าง?

“เวียดนาม มีจำนวนสิทธิบัตรสะสม มากกว่า ไทย แล้ว” งานวิจัยและพัฒนาถือเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างนวัตกรรมและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน สิ่งที่จีนสามารถทำได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการนำแนวคิดการพัฒนาแบบไล่กวด (catch-up development) มาใช้ โดยจีนอาศัยการใช้ตลาดในประเทศขนาดใหญ่เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับบริษัทยักษ์ใหญ่จากตะวันตกเพื่อให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีในหลายสาขาการผลิต นอกจากนี้ จีนยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาและเทคโนโลยีเหล่านี้ไปต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถพัฒนาให้ทันหรือแม้กระทั่งล้ำหน้าตะวันตกในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนานี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เคยใช้วิธีการคล้ายกันมาแล้ว เพียงแต่การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไปตรงที่จีนได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มข้นจากภาครัฐ ทั้งในด้านนโยบายและทรัพยากร ซึ่งทำให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมของโลกได้อย่างรวดเร็ว ในภูมิภาค GMS (Greater Mekong Subregion) ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากที่สุดถ้าไม่นับจีน โดยส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความไม่เสถียรทางการเมืองและการขาดความต่อเนื่องของนโยบายได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ทำให้ประเทศยังคงติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) เนื่องจากการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ยังไม่เพียงพอ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เวียดนาม เวียดนามกลายเป็นจุดหมายสำคัญของการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ของไทยในอดีต ปัจจุบัน เวียดนามมีแรงงานที่มีจำนวนและคุณภาพสูงกว่าไทย ซึ่งส่งผลให้ประเทศมีอำนาจในการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และเป็นแรงจูงใจให้บริษัทต่างชาติเลือกที่จะลงทุนในเวียดนามเพื่อผลิตสินค้าและบริการในประเทศมากขึ้น นี่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เวียดนามมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นขึ้นในภูมิภาค GMS. เวียดนามมีข้อได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญเพิ่มเติมนอกเหนือจากจำนวนและคุณภาพของแรงงานที่สูงกว่าไทย โดยเฉพาะในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ หนึ่งในจุดเด่นคือการมีท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการค้าระหว่างประเทศและการเชื่อมต่อทางโลจิสติกส์ โดยท่าเรือน้ำลึกเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและเวลาในการขนส่งสินค้า ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากการส่งออกที่มีต้นทุนต่ำและรวดเร็ว นอกจากนี้ เวียดนามยังได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ซึ่งทำให้มีแรงงานที่มีทักษะสูงที่สามารถสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีแรงงานที่มีการศึกษาที่มีคุณภาพสูงทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว ด้วยการพัฒนาทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา เวียดนามไม่เพียงแค่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค GMS แต่ยังมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้อำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นในเวทีโลก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาตลาดที่มีศักยภาพสูงในระยะยาว. ภาคอีสานของไทยยังคงเผชิญกับปัญหาและความท้าทายที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ หนึ่งในปัญหาหลักคือการกระจายตัวของสถานศึกษาที่มีคุณภาพยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้การพัฒนาทักษะและคุณภาพของแรงงานในภาคอีสานยังคงต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องการ การขาดแคลนสถานศึกษาที่มีคุณภาพทำให้ภูมิภาคนี้ไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูงที่พร้อมจะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทำธุรกิจในภาคอีสานยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ เนื่องจากการที่ระบบราชการและโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจยังมีความเข้มข้นอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการในอีสานต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงบริการและการสนับสนุนจากภาครัฐ นี่เป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคอีสานไม่สามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพและปริมาณได้เต็มที่ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคอีสานสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การกระจายตัวของสถานศึกษาที่มีคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพของแรงงานในภูมิภาคนี้จะช่วยเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ (economic productivity) ของภูมิภาค และลดความเหลื่อมล้ำในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค ในระยะยาว ภาคอีสานมีศักยภาพที่จะกลายเป็นแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของไทย เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดและมีพื้นที่กว้างขวาง หากสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนจากภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอีสานจะสามารถดึงดูดการลงทุนและสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต. ที่: WIPO, อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น), กรมทรัพย์สินทางปัญญา

งานวิจัยพบ คนรุ่นใหม่🤑เล่นพนันออนไลน์ในปี 2566 เกือบ 1 ใน 3 หรือกว่า 2.9 ล้านคน💸โดย แซงหน้า พนันออฟไลน์เป็นที่เรียบร้อย

ในปี 2566 มีคนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์เกือบ 3 ล้านคนแซงหน้าการเล่นพนันออฟไลน์ ไปแล้วและกว่า 1 ล้านคนระบุว่าตนเองได้รับผลกระทบจากการเล่นพนัน เมื่อพิจารณาจากประเภทการเล่นพนันพบว่าเพศชายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการพนันสูงกว่าเพศหญิงเพราะนิยมเล่นการพนันที่มีวงจรการเล่นพนันที่สั้นกระตุ้นให้เล่นซ้ำๆต่อเนื่องเสี่ยงต่อการสร้างพฤติกรรมเสพติดพนัน    ทุกๆปีมีเด็กและเยาวชนไทยก้าวเข้าสู่การพนันในฐานะนักพนันหน้าใหม่ ตั้งต้นจากภาพฉูดฉาดว่าการพนันเป็นดั่งสวนสนุกมีเครื่องเล่นตื่นเต้นสรวญเสเฮฮากับเพื่อนๆ หากแต่เวลาแห่งความสุขไม่ได้คงอยู่นานรู้ตัวอีกทีอาจตกอยู่ในเขาวงกตไร้ทางออก ยิ่งในปัจจุบันโลกออนไลน์ตามติดชีวิตคนรุ่นใหม่ไปทุกที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทำให้เข้าถึงการพนันออนไลน์ได้ง่ายมากขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง รอต้อนรับนักพนันหน้าใหม่ทุกครั้งที่หยิบมือถือขึ้นมา  ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันจัดให้มีการศึกษาพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) โดยได้ทำการสำรวจความเห็นประสบการณ์สถานการณ์พฤติกรรมและผลกระทบในแง่มุมมองต่างๆจากการเล่นพนันออนไลน์ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาในกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 15-25 ปีจาก 19 จังหวัดทั่วประเทศด้วยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าลงระดับครัวเรือนประยุกต์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นและกำหนดลักษณะตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจริงรวม 5,010 ตัวอย่างเก็บข้อมูลระหว่าง 20 มกราคมถึง 24 กุมภาพันธ์ 2561     “พนันออนไลน์กำลังสร้างความเสียหายให้กับคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องธุรกิจพนันกระจายตัวแทรกซึมโรคออนไลน์และมีแนวโน้มจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้เร็วมากขึ้นเม็ดเงินมหาศาลที่หมุนเวียนเข้าสู่อุตสาหกรรมการพนันกำลังวนกลับออกมาใช้ขยายพื้นที่การพนันในสังคมไทย” โฆษณาพนันออนไลน์เข้าถึงคนรุ่นใหม่ชวนเล่นชวนแชร์  โดยสนิทติเปิดเผยว่าคนที่เคยเห็นโฆษณาพนันออนไลน์จำนวนหนึ่งเคยแชร์หรือแนะนำให้ผู้อื่นเข้าไปเล่นพนันออนไลน์ด้วยกว่าร้อยละ 7.4 โดยช่องทางหลักคือ Line และ Facebook ที่ร้อยละ 51.2 และ 46.0 ตามลำดับ โดยคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ตระหนักถึงอันตรายของพนันออนไลน์ที่มีมากกว่าพนันแบบออฟไลน์โดยมองว่าพนันออนไลน์ทำให้คนติดง่ายขึ้นกว่าร้อยละ 75.9  ถ้าลองเล่นแล้วมีโอกาสติดง่ายกว่าร้อยละ 73.2 อีกทั้งยังมีโอกาสเสียเงินในจำนวนที่สูงกว่าการเล่นแบบออฟไลน์กว่าร้อยละ 69.1 จึงไม่น่าแปลกใจที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายควบคุมการเล่นพนันออนไลน์ที่รัดกุมขึ้นอย่างไรก็ดีเมื่อถามความเห็นต่อความคิดที่ว่าโฆษณาพนันออนไลน์เป็นเรื่องปกติไม่จำเป็นต้องบล็อกหรือแจ้งหน่วยงานใดแม้คำตอบจะไม่ไปในทิศทางเดียวกันแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35.3 สะท้อนว่าบางส่วนไม่ต้องการให้มีการจำกัดเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและเชื่อว่าตนจะสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีให้ใครมาคัดกรองให้    “การพนันออนไลน์ใกล้แค่เอื้อมคนรุ่นใหม่จึงเคยเอื้อมมือไปสัมผัส”   หลายคนเคยเอื้อมมือไปสัมผัสการพนันออนไลน์มาแล้วโดยคนรุ่นใหม่กว่าร้อยละ 51.4 ระบุว่ามีประสบการณ์เคยเล่นพนัน คนรุ่นใหม่เริ่มเล่นพนันออนไลน์ครั้งแรกที่อายุเฉลี่ย 19.5 ปีอายุต่ำสุดที่เริ่มเล่นครั้งแรกคือ 12 ปี โดยกลุ่มเด็กเริ่มเล่นที่อายุเฉลี่ย 16.4 ปี และกลุ่มเยาวชน เริ่มเล่นที่อายุเฉลี่ย 20.1 ปี การพนันออนไลน์กำลังเข้าถึงคนรุ่นใหม่เร็วขึ้นเรื่อยๆโดยมากจะเริ่มเล่นครั้งแรกจาก Slot Machine กว่าร้อยละ 26.8 ตามมาด้วยหวยใต้ดินร้อยละ 21.9 สลากกินแบ่งรัฐบาลร้อยละ 17.3 และพนันไพ่ร้อยละ 14.4  โดยสิ่งที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้าไปสัมผัสคือความสะดวกง่ายเล่นได้ทุกที่ทุกเวลาสามารถฝากถอนเงินจากระบบได้อย่างรวดเร็วและจำนวนไม่น้อยเริ่มเล่นเพราะเพื่อนชวนนอกจากนี้ความน่าเชื่อถือในบริการของธุรกิจพนันออนไลน์ก็ทำให้คนเริ่มตัดสินใจเริ่มเล่นรวมไปถึงการตลาดเว็บพนันออนไลน์ก็เป็นอีกเหตุผลที่ชักจูงให้เริ่มเล่นด้วยโปรโมชั่นที่น่าสนใจและรางวัลที่สูงกว่าโต๊ะพนันทั่วไป    “คนรุ่นใหม่เกือบ 3 ล้านคนเล่นการพนันออนไลน์ในรอบปี 2566 วงเงินหมุนเวียนต่อปีเกือบ 6 หมื่นล้านบาท” ผลการสำรวจการเล่นพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของกลุ่มตัวอย่างพบว่าคนรุ่นใหม่ร้อยละ 32.3 หรือคิดเป็นจำนวน 2.996 ล้านคนเล่นการพนันออนไลน์ในรอบปี 2566 ในจำนวนนี้ประมาณ 0.739 ล้านคนเป็นนักพนันออนไลน์หน้าใหม่ที่เพิ่งเล่นครั้งแรกในรอบปีที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มที่เล่นพนันออฟไลน์มีอยู่ร้อยละ 30.2 หรือประมาณ 2.798 ล้านคน  เมื่อจำแนกในรายละเอียดคนรุ่นใหม่นิยมเล่นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไปกว่าร้อยละ 20.4 ของตัวอย่างทั้งหมดหรือประมาณ 1.894 ล้านคน  ในบรรดาคนรุ่นใหม่ที่เล่นพนันออนไลน์แบ่งเป็นเด็กอายุ 15-18 ประมาณ 0.466 ล้านคนเป็นเยาวชนอายุ 19-25 ปีอีกประมาณ 2.530 ล้านคนโดยคนรุ่นใหม่เพศชายเล่นการพนันออนไลน์มากกว่าเพศหญิงอยู่พอสมควรที่ 1.765 ล้านคนและ 1.231 ล้านคนตามลำดับ  เมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่าสัดส่วนคนรุ่นใหม่ที่เล่นพนันออนไลน์เมื่อเทียบกับคนรุ่นใหม่ในภาคอื่นๆมีมากที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองลงมาคือภาคใต้และภาคเหนือในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันตามมาด้วยกรุงเทพฯและปริมณฑลและภาคกลาง  …

งานวิจัยพบ คนรุ่นใหม่🤑เล่นพนันออนไลน์ในปี 2566 เกือบ 1 ใน 3 หรือกว่า 2.9 ล้านคน💸โดย แซงหน้า พนันออฟไลน์เป็นที่เรียบร้อย อ่านเพิ่มเติม »

🔎พามาเบิ่ง “โรงไฟฟ้าในอีสาน” กระจายอยู่ที่ไหนบ้าง

พามาเบิ่ง “โรงไฟฟ้าในอีสาน” กระจายอยู่ที่ไหนบ้าง . ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้ามากถึง 100 แห่ง แล้วเคยรู้หรือไม่ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากแค่ไหน? ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทั้งโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม . . . 📍ชัยภูมิ – โรงไฟฟ้า บริษัท ภูเขียว ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำกัด มีกำลังการผลิต 12 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ ชานอ้อย  – โรงไฟฟ้าเขื่อนจุฬาภรณ์ มีกำลังการผลิต 40 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ พลังน้ำ . 📍นครราชสีมา – โรงไฟฟ้าเขื่อนลำตะคอง มีกำลังการผลิต 500 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ พลังน้ำ – โรงไฟฟ้า บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด มีกำลังการผลิต 15 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ ชานอ้อย – โรงไฟฟ้า บริษัท บัวใหญ่ ไบโอ เพาเวอร์ จำกัด มีกำลังการผลิต 7.3 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ แกลบ – โรงไฟฟ้า บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด มีกำลังการผลิต 26 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ ชานอ้อย – โรงไฟฟ้า บริษัท น้ำตาลราชสีมา จำกัด มีกำลังการผลิต 34 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ ชานอ้อย . 📍บุรีรัมย์ – โรงไฟฟ้า บริษัท สตึก ไบโอแมส จำกัด มีกำลังการผลิต 7.5 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ แกลบ, เปลือกไม้ – โรงไฟฟ้า บริษัท แอ๊ดวานซ์ไบโอพาวเวอร์ จำกัด มีกำลังการผลิต 9.8 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ แกลบ, เปลือกไม้ – โรงไฟฟ้า บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด มีกำลังการผลิต 14.8 MW และเชื้อเพลิงหลัก คือ ชานอ้อย …

🔎พามาเบิ่ง “โรงไฟฟ้าในอีสาน” กระจายอยู่ที่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

“สินภูฮ่อม” พบก๊าซธรรมชาติเพิ่ม 30 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน 🔎ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “แหล่งปิโตรเลียม” อยู่ที่ไหนบ้าง⛽️💡⚡️

“สินภูฮ่อม” พบก๊าซธรรมชาติเพิ่ม 30 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน  ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “แหล่งปิโตรเลียม” อยู่ที่ไหนบ้าง . . หากพูดถึงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็น “ต้นน้ำ” ของ อุตสาหกรรมพลังงาน นั้น ยุคบุกเบิก ปิโตรเลียม ในไทยปี 2514 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปิโตรเลียม เพื่อให้เอกชนทำการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น หลังจากนั้นได้ก้าวเข้าสู่ยุคโชติช่วงของการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม  . โดยเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2524 จากแหล่งก๊าซเอราวัณในอ่าวไทย และเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้ในปี 2526 จากแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในเชิงพาณิชย์ได้นับแต่นั้นมา . ประเทศไทยมีแหล่งปิโตรเลียมที่เป็นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งแหล่งในทะเลอ่าวไทย และแหล่งบนบก โดยก๊าซธรรมชาติมีแหล่งผลิตในทะเล เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งบงกช แหล่งอาทิตย์ เป็นต้น และมีแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบนบก เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี และแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในภาคอีสานบ้านเรานั่นเอง . . แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม ตั้งอยู่บนแปลงสัมปทาน EU1 และ E5N ขนาดพื้นที่ 232.2 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น . เริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2549 ชนิดของปิโตรเลียมที่ได้ คือ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว โดยมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นสัดส่วน 3% ของปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งประเทศ โดยมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) เฉลี่ย 200 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2567) . ในช่วง 3 ปี 2560 – 2563 มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงจากแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมรวม 2,425.2 ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดสรรรายได้แผ่นดิน 970.1 ล้านบาท และจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 1,455.1 ล้านบาท . เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ได้ขุดเจาะพบก๊าซธรรมชาติ โดยมีการประเมินอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติได้ที่ประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งส่งผลดีต่อประเทศที่มีแหล่งพลังงานเพิ่ม สามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอนของสถานการณ์พลังงานโลกในปัจจุบัน . . แหล่งก๊าซน้ำพอง ก่อตั้งขึ้นในปี 2522 และในปี 2533 เริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก โดยมีพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมจำนวน 34.4 ตารางกิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอน้ำพอง และอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น​ ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากแหล่งดังกล่าวประมาณวันละ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุต และถูกส่งไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้ประชาชนกว่าล้านครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังสร้างรายได้ให้แก่รัฐ รวมทั้งสิ้นประมาณ …

“สินภูฮ่อม” พบก๊าซธรรมชาติเพิ่ม 30 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน 🔎ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “แหล่งปิโตรเลียม” อยู่ที่ไหนบ้าง⛽️💡⚡️ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top