📢พามาเบิ่ง สนามบินแห่งแดนอีสาน ในช่วงครึ่งปีแรก✈️

การเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยที่มีศูนย์จัดงาน MICE ขนาดต่างๆ รองรับอยู่มากมาย นอกจากในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีสถานที่จัดงาน MICE กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในทุกการเดินทางเพื่อไปร่วมงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วจากการโดยสารเครื่องบินจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่า ภาคอีสานมีท่าอากาศยานไว้บริการนักเดินทางไมช์ กี่แห่งและที่ไหนบ้าง?

.

ปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสนามบินอยู่ 9 แห่งด้วยกัน และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง ได้แก่

– ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี มีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด 

– ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น

– ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี

– ท่าอากาศยานนครพนม

– ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด

– ท่าอากาศยานสกลนคร

– ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

– ท่าอากาศยานเลย

.

โดยสนามบินที่ไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการ คือ นครราชสีมา

.

.

ทำไมท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ถึงมีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด?

.

เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจังหวัดหนองคาย และตั้งอยู่ใกล้เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว โดยอยู่ห่างเพียง 50 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารทั้งลาวและจีนมาใช้บริการ อีกทั้งยังมีเที่ยวบินในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก สามารถเลือกเวลาการเดินทางได้ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายถูกกว่าที่จะใช้บริการสนามบินนานาชาติวัตไต ที่กรุงเวียงจันทน์ 

.

และยังมีปัจจัยเสริมที่สำคัญคือ มีคนจีนส่วนหนึ่งที่เดินทางมากับรถไฟจีน-ลาว มาถึงลาวแล้วต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจที่กรุงเทพฯหรือพื้นที่ภาคตะวันออก ก็จะมาใช้บริการ อีกส่วนที่เป็นชาวลาวที่เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาใช้บริการด้วย สังเกตได้จากป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จอดค้างคืนที่สนามบินอุดรธานี 

.

โดยท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนของภูมิภาคและประเทศไทย 

.

.

ปัจจุบัน ทย.มีแผนการพัฒนาสนามบินใหม่อีก 3 แห่งในภาคอีสาน ซึ่งได้มีการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นไว้แล้ว บางแห่งก้าวหน้าไปในขั้นการออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA ) ได้แก่ 

.

  1. สนามบินมุกดาหาร เบื้องต้นที่ตั้งที่เหมาะสมอยู่บริเวณ ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ อยู่ห่างจาก อ.เมืองมุกดาหาร ประมาณ 20 กม. มีสนามบินใกล้เคียง 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินนครพนม และสนามบินสกลนคร มีระยะห่างจากแต่ละสนามบินประมาณ 120 กม. ปัจจุบันศึกษาเบื้องต้น ออกแบบ และศึกษา EIA แล้ว วงเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท คาดกันว่าจะเป็นสนามบินแห่งใหม่ ลำดับที่ 30 ของ ทย. ต่อจากสนามบินเบตง 

.

  1. สนามบินบึงกาฬ จุดเหมาะสมอยู่ในเขต ต.โป่งเปือย และ ต.วิศิษฐ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ พื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ ศึกษาเบื้องต้นแล้ว วงเงินลงทุน 3,100 ล้านบาท

.

  1. สนามบินสารสินธุ์ จุดเหมาะสม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ รอยต่อ จ.มหาสารคาม 2 จังหวัดได้รับประโยชน์ร่วมกัน พื้นที่ประมาณ 1,648 ไร่ ศึกษาความเหมาะสมแล้ว วงเงินลงทุน 2,000 ล้านบาท

.

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

เที่ยวบินรวม 7,270 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 1.1 ล้านคน

 

ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น

เที่ยวบินรวม 6,499 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 1 ล้านคน

 

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี

เที่ยวบินรวม 5,593 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 8.4 แสนคน

 

ท่าอากาศยานนครพนม

เที่ยวบินรวม 1,408 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 2.3 แสนคน

 

ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด

เที่ยวบินรวม 1,362 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 2.2 แสนคน

 

ท่าอากาศยานสกลนคร

เที่ยวบินรวม 1,316 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 2 แสนคน

 

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

เที่ยวบินรวม 1,362 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 1.7 แสนคน

 

ท่าอากาศยานเลย

เที่ยวบินรวม 796 เที่ยวบิน

ผู้โดยสาร 1.2 แสนคน

 

กำลังจะเกิดขึ้น

ท่าอากาศยานมุกดาหาร

งบประมาณ 5,000 ล้านบาท

 

ท่าอากาศยานบึงกาฬ

งบประมาณ 3,100 ล้านบาท

 

ท่าอากาศยานกาฬสินธ์ุ (ท่าอากาศยานสารสินธุ์)

งบประมาณ 2,000 ล้านบาท

 

หมายเหตุ: ข้อมูลจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสาร ปี 2567 (มกราคม – สิงหาคม) ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567

 

ที่มา: กรมท่าอากาศยาน

.

อ้างอิงจาก: 

– กรมท่าอากาศยาน

– MGR Online

– Thailand Convention & Exhibition Bureau

– ฐานเศรษฐกิจ

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

https://linktr.ee/isan.insight

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #สนามบิน #สนามบินในอีสาน #สนามบินอีสาน #ท่าอากาศยาน

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top