April 2023

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายครัวเรือนหลายปานใด๋ ? (เดือนมีนาคม 2566)

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายครัวเรือนหลายปานใด๋ ? (เดือนมีนาคม 2566)   อ้างอิงจาก : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ดัชนีราคาผู้บริโภค #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

ชวนเบิ่ง ซี่รีย์เงินทองของต้องฮู้ ตอน วางแผนการเงินแบบพุทธ vs แบบสมัยใหม่

“การเงินแบบพุทธเศรษฐศาสตร์ คือ การใช้เงินและการเสพเสวย บริโภค การจัดการการเงินอย่างรู้เท่าทันขอบเขตของตัวเอง ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นตัวสื่อนำให้เราไปใช้เงิน ดังนั้น เราต้องมีภูมิคุ้มกันด้วย” “การเงินแบบสมัยใหม่ มองเรื่องการหารายได้ การใช้จ่าย การรู้จักเก็บออม ไม่สร้างหนี้เกินตัว หรือ อาจจะมีหนี้พอประมาณ การเงินยังแบ่งออกเป็น 2 กระแสด้วยกัน มุมมองกระแสหลัก มองว่าคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ คือ คนมีเหตุมีผล ดังนั้นการลงทุนมุ่งผลตอบแทนสูงสุดถายใต้ความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ ในขณะที่มุมมองเศรษฐศาตร์พฤติกรรม (กระแสรอง) มองว่าคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ คือ ไม่มีเหตุผล มีความโลภ โกรธ หลงได้ ซึ่งจะตัดสินทางการเงินแบบไม่มีเหตุผล ผศ.ดร.จักรกฤช เจียวิริยบุญญา จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา จาก มรภ.อุบลราชธานี เป็นผู้นำเรื่อง ซีรี่ย์เงินทองของต้องรู้ ตอน ” วางแผนการเงินแบบพุทธ vs แบบสมัยใหม่ ” มาถ่ายทอดในรายการ Econ Talk สามารถฟังข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/esanbiz/videos/191343966925041/?vh=e #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #econtalk#มข #ความรู้การเงิน

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ? 

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆ จนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชน ต่อยอดเป็นสินค้าที่จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยกระจายความรู้ ลดปัญหาการว่างงาน โดยมีผลลัพธ์ของภาคอีสานดังภาพและ อีกทั้งยังมีผลผลิตของโครงการโดยแบ่งได้ดังนี้ . ผลผลิตของโครงการ U2T เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย   เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยในระยะแรกดำเนินการใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 2.1 ส่วนการปฏิบัติงานตามภารกิจในภาพรวม คือ การวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนและตัดสินใจ เพื่อจัดทำนโยบาย แนวทาง และงบประมาณสนับสนุน (เป็นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย) การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่ การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโลก การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่) โดยร่วมกับ ศบค. และการจัดทำข้อมูลราชการในพื้นที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digitalizing Government Data) ร่วมกับ กพร. 2.2 ส่วนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย รวมถึงเกิดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ รายตำบลตามโจทย์ปัญหาต่างๆของแต่ละตำบล ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) การนาองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)   เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน.สอวช. สนับสนุนแนวทางส่งเสริมและผลักดันการพลิกโฉมการอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนบทบาทให้ตอบโจทย์ทั้งการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังว่าชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ของประเทศจะมีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้วยการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ …

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน   โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการดีๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ  ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ   โดยในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #U2T #โครงการU2T #สอวช

ปังคักหลาย ยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์สาขาแรกในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋แหน่

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลก เดินหน้าขยาย ยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์ หรือร้านสาขานอกศูนย์การค้า 3 สาขาใหม่ทั้ง ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้แก่ ยูนิโคล่โรดไซด์ ลาดกระบัง, ยูนิโคล่ โรดไซด์ บุญถาวร บางนา และครั้งแรกสำหรับยูนิโคล่โรดไซด์ในต่างจังหวัด และภาคอีสานที่ยูนิโคล่โรดไซด์ ขอนแก่น นับตั้งแต่การเปิดยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์สาขาแรกในประเทศไทยและอาเซียนในปี 2561 ณ. ยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์ พัฒนาการ ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ในฐานะศูนย์กลางของชุมชนที่ทำให้ลูกค้าสะดวกสบายในการเข้าถึงเสื้อผ้า LifeWear นับจากนั้น รูปแบบร้านแบบโรดไซด์สโตร์ จึงถูกขยายไปตามย่านต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ รวมกว่า 6 สาขา ประกอบด้วย ยูนิโคล่โรดไซด์ พัฒนาการ ตามมาด้วยยูนิโคล่โรดไซด์ ลาซาล อเวนิว, ยูนิโคล่โรดไซด์ บุญถาวร ปิ่นเกล้า, ยูนิโคล่โรดไซด์ มีนบุรี, ยูนิโคล่โรดไซด์ อินเด็กซ์ชัยพฤกษ์ และยูนิโคล่โรดไซด์ นวมินทร์ ตามลำดับ ส่งผลให้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2566 นี้ ยูนิโคล่จึงมีแผนเปิดยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์ใหม่ 3 สาขา เพื่อขยายการเข้าถึงของลูกค้าและตอบโจทย์ในด้านความสะดวกสบายและรวดเร็ว สำหรับคนที่อยากซื้อสินค้าโดยไม่ต้องเดินทางไปยังห้างสรรพสินค้า แต่ยังได้รับประสบการณ์และการบริการเช่นเดียวกัน สำหรับยูนิโคล่โรดไซด์ ลาดกระบัง เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นับเป็นยูนิโคล่โรดไซด์สาขาล่าสุดที่ตั้งอยู่ในเขตที่พักอาศัยและชุมชนอย่างย่านลาดกระบัง ใกล้กับมหาวิทยาลัย และสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นในกรุงเทพฯ ยังมีกำหนดเปิดยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์สาขาใหม่ที่ ยูนิโคล่โรดไซด์ บุญถาวร บางนา ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งยูนิโคล่โรดไซด์ บุญถาวร บางนา ตั้งอยู่ที่บุญถาวร บางนา บนถนนบางนา-ตราด ที่เพิ่งได้รับการ รีโนเวทโฉมใหม่ ให้ทันสมัย เข้าถึงง่าย สำหรับชาวบางนาที่แวดล้อมด้วยโครงการบ้านและห้างสรรพสินค้า นอกจากนั้น ในวันที่ 6 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่ได้เปิดยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์ สาขานอกกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกกับยูนิโคล่โรดไซด์ ขอนแก่น ซึ่งนับเป็นสาขาแรกในต่างจังหวัดและภาคอีสาน โดยยูนิโคล่โรดไซด์ ขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าอู้ฟู่ขอนแก่น ใกล้แหล่งช้อปปิ้งและตลาดท้องถิ่น รองรับความต้องการของนักช้อปในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นให้กับชาวขอนแก่น อ้างอิงจาก: www.ryt9.com www.punpro.com #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ยูนิโคล่โรดไซด์สโตร์ #ยูนิโคล่ #Uniqlo #ขอนแก่น

ซีรี่ย์เงินทองของต้องรู้ ตอน การเงินแบบเบสิคสะกิดใจ

ทักษะทางการเงิน ที่ขาดไม่ได้ มีอะไรบ้าง? 1.ความรู้ทางการเงินที่ดี 2.ทัศนคติทางการเงินที่ดี 3.พฤติกรรมทางการเงินที่ดี ไม่ว่า “เงินเดือนจะน้อย” ถ้ามีการออมเงิน การใช้จ่ายที่ดี รู้จักลงทุน และไม่สร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น ก็สามารถรวยได้ สามารถฟัง “การเงินแบบเบสิคสะกิดใจ” เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/esanbiz/videos/575531727971955 ผศ.ดร.จักรกฤช เจียวิริยบุญญา และ ผศ.ดร.นรชิต จิรสัทธรรม เป็นผู้นำเรื่อง ซีรี่ย์เงินทองของต้องรู้ ตอน “การเงินแบบเบสิคสะกิดใจ” มาถ่ายทอดในรายการ Econ Talk #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #econtalk#มข #ความรู้การเงิน

พามาฮู้จัก “เอ็นเทคโพลิเมอร์” อาณาจักรผลิตภัณฑ์ยางรายใหญ่แห่งประเทศ

บริษัท เอ็นเทค โพลิเมอร์ จำกัด เป็นกิจการร่วมลงทุนกับทางยุโรป โดยได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินการส่งออกและแปรรูปยางธรรมชาติ ก่อตั้งมาตั้งแต่พ.ศ. 2553 ด้วยหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งของผู้ผลิตยางรถยนต์ระดับโลกและผู้แปรรูปยางธรรมชาติที่มีประสบการณ์ ทำให้เกิดการแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความแตกต่างและการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านการผนึกกำลังร่วมกันในอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ บริษัทฯ ประเดิมทุนครั้งแรกในปี 2553 ด้วยจำนวนเพียง 1 ล้านบาท จากนั้นเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกในปีเดียวกัน เพิ่มเป็น 330 ล้านบาท ปี 2560 รายได้รวม 3,967 ล้านบาท และมีกำไรรวม 149 ล้านบาท ปี 2561 รายได้รวม 2,977 ล้านบาท และกำไรรวม 137 ล้านบาท ปี 2562 รายได้รวม 2,915 ล้านบาท และกำไรรวม 112 ล้านบาท ปี 2563 รายได้รวม 2,933 ล้านบาท และกำไรรวม 88 ล้านบาท ปี 2564 รายได้รวม 4,172 ล้านบาท และกำไรรวม 104 ล้านบาท หากพิจารณาจากข้อมูลการเพิ่มทุนจดทะเบียน และตัวเลขงบการเงินที่ปรากฏ จะพบว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้รวมในปี 2564 ที่ก้าวกระโดดไปถึงหลัก 4,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในการทำธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการจัดการกับความเสี่ยงที่ต้องเจอให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุนควรมี คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจ การที่เราจะประสบความสำเร็จในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ตัวเราเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แม้ว่าแผนการลงทุนที่ได้วางไว้จะดีเพียงใดก็ตาม แต่หากขาดความมุ่งมั่นตั้งใจ ขาดวินัย และขาดความอดทนในการออมการลงทุนแล้ว การไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้คงเป็นไปได้ยาก อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เอ็นเทคโพลิเมอร์ #NTEQ #ผลิตภัณฑ์ยาง

ไอเดียเริ่ดคักหลาย ว้าวกันทุกปี สีสันทุเรียน!! คาเฟ่บ้านทุเรียนเขาใหญ่ เมนูข้าวผัด-ผัดไทยทุเรียน

พอเข้าหน้าร้อน หลายคนรอการมาของผลไม้ออกมาให้ชิมกันมากมายหลายชนิด และที่พลาดไม่ได้ก็ต้องทุเรียน ราชาผลไม้ไทย ในแต่ละปีจะได้เห็นสีสันของทุเรียนออกมาในหลายรูปแบบ เพื่อกระตุ้นยอดขายของชาวสวน และในครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งสีสันของทุเรียนที่นำมาฝากกัน เป็นผลผลิตทุเรียนหมอนทองเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา การันตีความอร่อยเอกลักษณ์ไม่เหมือนทุเรียนจากพื้นที่อื่นๆ ด้วยเครื่องหมาย GI จากกระทรวงพาณิชย์ สำหรับทุเรียนหมอนทองเขาใหญ่ ปากช่อง ที่พาไปรู้จักในวันนี้ เป็นของ “นายสมชาย เฮงทรัพย์กูล” เจ้าของสวนทุเรียนและคาเฟ่บ้านทุเรียนเขาใหญ่ ต้องบอกว่าร้านนี้ ไม่ธรรมดาเพราะจัดเต็มกับเมนูทุเรียนที่หลายคนเห็นแล้วต้องว้าวกับทุเรียนหมอนทอง ที่สามารถนำมาทำเมนูอาหารได้มากมายหลายอย่าง ทั้งอาหารคาวและหวาน นายสมชาย เฮงทรัพย์กูล เจ้าของ คาเฟ่ บ้านทุเรียนเขาใหญ่ เล่าว่า ได้ลงทุนไปกว่า 4 ล้านบาท เพื่อเปิดคาเฟ่ทุเรียน เอาใจคนที่ชื่นชอบทุเรียนพร้อมกับดื่มด่ำกับบรรยากาศของร้านที่จัดแต่งมาให้มีความสวยงามตามธรรมชาติในแบบฉบับของเขาใหญ่ ร้านเปิดให้บริการเมื่อเดือน พฤษภาคม 2565 รวมเวลาก็ยังไม่ถึงหนึ่งปี แต่ผลตอบรับออกมาดีเกินคาด เพราะระยะเวลาสั้นๆที่ได้โปรโมทเมนูทุเรียน ที่เป็นซิกเนเจอร์ของทางร้าน อย่าง “ข้าวผัดทุเรียน และผัดไทยทุเรียน” ออกไปทางโซเชียลฯทุกคนที่ได้เห็นก็ตามมากินที่ร้านกันเป็นจำนวนมาก นายสมชาย เล่าถึงที่มาของคาเฟ่ทุเรียน ว่า จุดเริ่มต้นตนเอง ทำธุรกิจรถสิบล้อให้บริการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี 2538 ถึงปัจจุบันก็ยังดำเนินธุรกิจขนส่งอยู่ โดยลูกค้าที่ใช้บริการรถสิบล้อ ได้แก่ โรงงานเหล็ก โรงงานน้ำตาล โรงงาน กระดาษ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานและตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ในอดีตเคยมีรถสิบล้อมากถึงกว่า 40 คัน แต่ปัจจุบันเหลือ แค่ 8 คัน เพราะพออายุเริ่มมากขึ้น ดูแลไม่ไหวประกอบกับต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างเพิ่มสูงขึ้นทั้งค่าแรงค่าพลังงานสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก หันมาทำธุรกิจอื่นๆ แทน รวมถึงการทำสวนทุเรียนและการเปิดคาเฟ่บ้านทุเรียนในครั้งนี้ด้วย “คาเฟ่บ้านทุเรียน เป็นร้านอาหารน้องใหม่ ย่านเขาใหญ่ ช่วงแรกตั้งใจเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว เป็นหลัก แต่ตอนนี้ ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ หันมาเจาะลูกค้าในพื้นที่ด้วย เพราะเราจะมารอแต่นักท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้เพราะรายจ่ายเกิดขึ้นทุกวัน นักท่องเที่ยวจะได้เยอะในช่วงวันหยุดหรือ เสาร์-อาทิตย์เท่านั้น รวมถึงที่ตั้งของร้านนั้นอยู่ปากช่อง เส้นทางที่จะไปวังน้ำเขียวไม่ได้ตั้งอยู่ถนนหลักเส้นถนนธนะรัชต์ ก็จะมีความเสียเปรียบ เราจึงต้องปรับแผนเสนอราคาอาหารจานประหยัดเพียง 39 บาท เพื่อดึงลูกค้าคนในพื้นที่ปากช่องให้เข้ามารับประทานอาหารได้สัมผัสกับบรรยากาศกับร้านคาเฟ สวย ๆ ในสวนทุเรียน ซึ่งหลังจากได้นำเสนออาหารราคาประหยัดก็ได้ผลตอบรับจากคนในพื้นที่ เป็นอย่างดี” อย่างไรก็ดี การทำคาเฟ่ทุเรียนในครั้งนี้ จุดเริ่มต้นไม่ได้มาจากความตั้งใจตั้งแต่แรก แต่เกิดจากเหตุผลอื่น ๆ ประกอบด้วย เริ่มจากนายสมชายมาซื้อที่ดินที่เขาใหญ่ไว้สักระยะหนึ่ง ตั้งใจว่าจะปลูกบ้านไว้เป็นบ้านพักตากอากาศในวันพักผ่อนและได้ปลูกทุเรียนเอาไว้ด้วยกว่า 40 ต้น ผลผลิตทุเรียนที่ปลูกไว้ให้ผลค่อนข้างดี แต่ไม่ได้มากขนาดจะเอาไปขายเยอะแบบนั้นได้ และเห็นว่าหลาน ๆ ชอบทำอาหาร ก็เลยเอาทุเรียนมาลองทำอาหารดู รสชาติก็ไปได้ ก็เลยตัดสินใจถ้าอย่างนั้น เราก็เปิดร้านอาหารในสไตล์ของคาเฟ่ ใช้ชื่อว่า “บ้านทุเรียนเขาใหญ่” เพื่อให้จดจำได้ง่ายซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า บ้านทุเรียน เชื่อว่า ทุกคนที่มาตั้งใจจะมากินเมนูอาหารและเครื่องดื่มทำจากทุเรียน อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/smes/detail/9660000032065 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#คาเฟ่ทุเรียน #ทุเรียน #นครราชสีมา …

ไอเดียเริ่ดคักหลาย ว้าวกันทุกปี สีสันทุเรียน!! คาเฟ่บ้านทุเรียนเขาใหญ่ เมนูข้าวผัด-ผัดไทยทุเรียน อ่านเพิ่มเติม »

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll   อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (E-Saan Center for Business and Economic Research – ECBER) โดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2566” รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2566 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม -2 เมษายน 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ18 ปีขึ้นไป 1,106 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด   เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่า ดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ที่ ระหว่าง 0 – 19.9   คือ แย่มาก ระหว่าง 20 – 39.9 คือ แย่  ระหว่าง 40 – 59.9 คือ ปานกลาง/พอใช้  ระหว่าง 60 – 79.9 คือ ดี  และ ระหว่าง 80 – 100 คือ ดีมาก   1) ดัชนีรายได้และทรัพย์สินครัวเรือนไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 33.8 = รายได้และทรัพย์สินครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่และใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 33.6  2) ดัชนีโอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 31.8 = โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ในอีสาน อยู่ในระดับแย่และแย่กว่าไตรมาสก่อนซึ่งมี ค่าดัชนี 32.3  3) ดัชนีการหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและช าระหนี้ไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 35.1 = การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้ของครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่แต่ดีขึ้นกว่าไตร มาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 32.9  4) ดัชนีการซื้อของมูลค่าสูงไตรมาส …

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll อ่านเพิ่มเติม »

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว 

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว    นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน ” Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE ” เชิญชวนคนไทยออกเดินทางไปสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ร่วมสนุกกับ Concert หมอลำเสียงอีสาน นำทัพโดย แม่นกน้อยเสียงอีสาน ณ วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์   จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ ปัจจุบันเริ่มคลี่คลายลง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องยกระดับภาพลักษณ์มาตรฐานสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยว เพิ่มแรงส่งให้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้นต่อสายตานักท่องเที่ยว   การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด จัดงาน ” Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE ” เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากสร้างความเชื่อมั่นความเข้มแข็งยั่งยืนกับการท่องเที่ยวในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการเดินทางการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานประกอบการในภาคอีสาน ใน 10 พื้นที่จัดงานในภาคอีสาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    หลังจากสถานการณ์ COVID 19 ให้เกิดการใช้จ่ายกระจายรายได้ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมจัดงานใน 10 พื้นที่จัดงานในภาคอีสานดังนี้ ครั้งที่ 1 จัดงานในวันที่ 11 มีนาคม 2566 ณ วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ครั้งที่ 2 จัดงานในวันที่ 12 มีนาคม 2566 ณ บ้านละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครั้งที่ 3 จัดงานในวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านหนองเขื่อนช้าง ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครั้งที่ 4 จัดงานในวันที่ 9 เมษายน 2566 ณ บึงโขงหลง ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ครั้งที่ 5 จัดงานในวันที่ 10 …

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว  อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top