“การเงินแบบพุทธเศรษฐศาสตร์ คือ การใช้เงินและการเสพเสวย บริโภค การจัดการการเงินอย่างรู้เท่าทันขอบเขตของตัวเอง ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นตัวสื่อนำให้เราไปใช้เงิน ดังนั้น เราต้องมีภูมิคุ้มกันด้วย”
“การเงินแบบสมัยใหม่ มองเรื่องการหารายได้ การใช้จ่าย การรู้จักเก็บออม ไม่สร้างหนี้เกินตัว หรือ อาจจะมีหนี้พอประมาณ
การเงินยังแบ่งออกเป็น 2 กระแสด้วยกัน
มุมมองกระแสหลัก มองว่าคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ คือ คนมีเหตุมีผล ดังนั้นการลงทุนมุ่งผลตอบแทนสูงสุดถายใต้ความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้
ในขณะที่มุมมองเศรษฐศาตร์พฤติกรรม (กระแสรอง) มองว่าคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ คือ ไม่มีเหตุผล มีความโลภ โกรธ หลงได้ ซึ่งจะตัดสินทางการเงินแบบไม่มีเหตุผล
ผศ.ดร.จักรกฤช เจียวิริยบุญญา จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา จาก มรภ.อุบลราชธานี เป็นผู้นำเรื่อง ซีรี่ย์เงินทองของต้องรู้ ตอน ” วางแผนการเงินแบบพุทธ vs แบบสมัยใหม่ ” มาถ่ายทอดในรายการ Econ Talk
สามารถฟังข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/esanbiz/videos/191343966925041/?vh=e