October 2022

พามาเบิ่ง  หนังที่สร้างจากความเชื่ออีสาน  ร่างทรง & นาคี

พามาเบิ่ง  หนังที่สร้างจากความเชื่ออีสาน  ร่างทรง & นาคี   เนื่องด้วยวันนี้เป็นวันฮาโลวีน (Halloween) ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของประเทศทางตะวันตก เมื่อพูดถึงวันฮาโลวีนแล้ว หลายคนคงจะนึกถึงการแต่งตัวเป็นภูตผีปีศาจในงานฉลองต่าง ๆ ส่วนในประเทศไทยยังอาจเรียกวันฮาโลวีนว่า “วันปล่อยผี” อีกด้วย   เมื่อพูดถึงความเชื่อของคนไทยและคนอีสาน ที่เป็นที่รู้จักก็จะนึกถึง ร่างทรง พญานาค ผีฟ้า ผีแถน ผีปอบ เป็นต้น โดยมีหนังที่ได้แรงบันดาลใจจากความเชื่อภาคอีสานมากมาย และสร้างชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องร่างทรง และ นาคี    ทั้งสองเรื่องถ่ายทำและได้รับแรงบันดาลใจจากหลากหลายสถานที่ จึงทำให้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาเที่ยวตามรอยตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดการท่องเที่ยวตามรอยกระแสภาพยนตร์ (Pop-Culture Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ  (Spiritual Tourism)    ส่งผลให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น ในหลายแห่งการท่องเที่ยวช่วยให้คนมีงานทำในท้องถิ่นไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไป ทำงานในเมือง การท่องเที่ยวมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจและสนใจในวัฒนธรรมของตนมากขึ้นทำให้สนใจศึกษาค้นคว้าและรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ช่วยฟื้นฟูหัตถกรรมพื้นบ้าน ดนตรี ศิลปะการแสดงไม่ให้สูญหายไป   อีกทั้งทำให้ชุมชนมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น และยังมีการพัฒนา บริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้ถ่ายทำละครให้ดีขึ้นอีกด้วย     อ้างอิงจาก: Majorcineplex Theisaanrecord Traveleatdrinkreview  Urbancreature   #ISANInsightAndOutlook  #อีสาน #ร่างทรง #นาคี #นาคี2 #ความเชื่ออีสาน #Halloween2022

พาซอมเบิ่ง “โฮมวัน”

ผู้นำด้านร้านค้าปลีกและค้าส่งวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

จัดอีกเทื่อ “ถ้ำนาคาฮาล์ฟมาราธอน”  ชูเส้นทางวิ่งสวยที่สุด-กระตุ้นเศรษฐกิจบึงกาฬ

จัดอีกเทื่อ 👍 “ถ้ำนาคาฮาล์ฟมาราธอน”  ชูเส้นทางวิ่งสวยที่สุด-กระตุ้นเศรษฐกิจบึงกาฬ   นายวิทยา ภารจรัส นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยว่า สมาคมฯ เตรียมจัดวิ่ง ถ้ำนาคาฮาล์ฟมาราธอน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565    เนื่องจากการจัดวิ่งถ้ำนาคามินิมาราธอน ที่จัดขึ้นครั้งแรกหลังผ่านพ้นช่วงการระบาดโควิด-19 คลี่คลาย เมื่อ 12 มิถุนายนที่ผ่านมานั้นประสบผลสำเร็จสูง ได้รับการตอบรับจากนักวิ่งทั่วประเทศสนใจสมัครวิ่งเกินเป้าหมาย มีนักวิ่งร่วมวิ่งกว่า 500 คน จากเป้าที่วางไว้แค่ 300 คน   การจัดวิ่งถ้ำนาคาฮาล์ฟมาราธอนนั้นตรงกับช่วงฤดูหนาว ด้วยสภาพอากาศเย็นสบาย ผนวกกับธรรมชาติสภาพแวดล้อมที่มีรวงข้าวที่ออกรวงสุกเหลืองอร่าม ทำให้ตลอดเส้นทางวิ่งไปยังถ้ำนาคามีความสวยงามเป็นพิเศษ    โดยการจัดวิ่งครั้งล่าสุดนี้ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวบึงโขงหลง ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีผู้สนใจเข้ามาสมัครวิ่งไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ล่าสุดมีนักวิ่งจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ สนใจสมัครเข้ามาแล้วมากกว่า 700 คน   นายวิทยากล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ หลังเสร็จสิ้นรายการวิ่งถ้ำนาคาฮาล์ฟมาราธอนแล้ว ทางสมาคมธุรกิจส่งการท่องเที่ยวบึงโขงหลง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปิดถนนคนเดินบึงโขงหลง บริเวณสวนขนาบบึงโขงหลง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ มีแหล่งชอปปิ้ง เดินเลือกซื้อสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของ อ.บึงโขงหลง และจะเปิดถนนคนเดินในทุกวันศุกร์ และวันเสาร์อีกด้วย   ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจใน อ.บึงโขงหลง และทั้งจังหวัดบึงกาฬกลับมาคึกคัก รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เพราะจะมีนักวิ่งและผู้ติดตามเดินทางเข้ามาใน อ.บึงโขงหลง มากกว่า 2,000 คน ทำให้การท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬขยายตัวในทางที่ดีขึ้น เกิดการใช้จ่ายในพื้นที่ ทั้งโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งจังหวัด      อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/local/detail/9650000102722    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บึงกาฬ #ถ้ำนาคา #ถ้ำนาคาฮาล์ฟมาราธอน 

คักอิหลี ! งานสมโภชน์ปึงเถ่ากง-ม่า soft power ของจังหวัดขอนแก่น

คักอิหลี ! งานสมโภชน์ปึงเถ่ากง-ม่า soft power ของจังหวัดขอนแก่น   ระหว่างวันที่ 24 ต.ค.-4 พ.ย. 2565 จ.ขอนแก่น กำหนดจัดงาน งานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น ประจำปี 2565 เป็นงานประเพณีที่ชาวขอนแก่นเชื้อสายจีนสืบทอดกันหลายชั่วอายุคน แต่ละครอบครัวจะพากันไปยังศาลเจ้าเพื่อไหว้เจ้า และบูชากราบไหว้สิ่งของมงคล เพื่อความเป็นสิริมงคล ตลอด 12 วัน 12 คืน   นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าเป็นประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมานานกว่า 60 ปี นอกจากการไหว้เจ้าขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่นอีกทางหนึ่งด้วย งานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ถือเป็นอีกซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดขอนแก่นที่ทางจังหวัดพร้อมสนับสนุน   นายบวร เสรีโยธิน นายกสมาคมปึงเถ่ากง – ม่า ขอนแก่น กล่าวว่า สามารถดึงชาวขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้จ่ายในระหว่างที่มาร่วมชมกิจกรรมต่างๆได้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท    และด้านนายประกิต ทองแท่งไทย ประธานกรรมการจัดงาน กล่าวว่า ในปีนี้ขบวนแห่จะสวยงามอลังการมาก โดยแห่เจ้ารอบเมืองในวันที่ 28 ต.ค. ช่วงกลางคืน และในวันที่ 29 ตุลาคม แห่เจ้าชมเมือง (กลางวัน) ให้ชาวขอนแก่น ได้ตั้งโต๊ะไหว้ และแลกธูป นำความเป็นสิริมงคลเข้าบ้าน ซึ่งในวันสุดท้าย จะมีการประมูลส้มมงคล ตะเกียงเทวดาฟ้าดิน ตี่จู่เอี๊ยะ กระถางธูป และของมงคลอื่นๆ อีกมากมาย   อีกทั้งรูปแบบการจัดงานในปีนี้มีความพิเศษคือนำประเพณีวัฒนธรรมอีสานผสมผสานกับวัฒนธรรมชาวจีน โดยนำหมอลำมาแสดงในงานสมโภชตลอด 3 วัน พร้อมทั้งการแสดงอุปรากรจีนตลอดทั้งวัน ในวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ชมการแสดงคณะวงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์ วันที่ 30 ตุลาคม 2565 การแสดงวงหมอลำรัตนศิลป์และวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ชมการแสดงวงหมอลำประถมบันเทิงศิลป์   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/local/detail/9650000102703     #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ขอนแก่น #ปึงเถ่ากง-ม่า #งานสมโภชน์ปึงเถ่ากง-ม่า 

ชวนเบิ่ง เส้นทางอาณาจักรจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง “โฮมฮับ”

“บริษัท โฮมฮับ จำกัด” ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และตกแต่งบ้านครบวงจร ก่อตั้งโดย คุณองอาจ ตั้งมิตรประชา และคุณอาภาภรณ์ ตั้งมิตรประชา ในปีพ.ศ. 2519 โดยเริ่มจากการจำหน่าย สีทาอาคาร สีพ่นรถยนต์ เครื่องมือช่าง ปั๊มน้ำ อุปกรณ์การเกษตร ประดับยนต์ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากับความต้องการสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่มีความหลากหลาย ครบ และง่ายในการจัดหาด้วยตัวเองได้ โดยเมื่อก่อนใช้ชื่อภายใต้ชื่อ ร้านสีรุ้ง จำหน่ายสี และอุปกรณ์ทาสีทุกชนิดใจกลางเมืองอุบลราชธานี ในปี 2523 ได้เพิ่มสินค้าประเภทสีพ่นรถยนต์ ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างดี จึงขยายกิจการโดยเพิ่มสินค้าเครื่องมือช่างเข้าไป เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้ขยายสาขา 2 ที่อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2548 ได้เพิ่มสินค้าอุปกรณ์ก่อสร้างเต็มรูปแบบ พร้อมจดทะเบียนใหม่ในชื่อ สีรุ้งโฮมโปร ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โฮมฮับ” รวมทั้งขยายสาขาเพิ่มที่บ้านทัพไท และในปี 2554 ได้เปิดสาขาขอนแก่น และในปีนี้ได้เปิดสาขาอุดรธานี อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://homehub.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8…/ https://data.creden.co/company/general/0345542000140 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง #อุบลราชธานี #โฮมฮับ #ร้านสีรุ้ง #HOMEhub #ธุรกิจร้อยล้าน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน   ซึ่งหลักการทั้ง 5 ข้อข้างต้นครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ของการผลิตอ้อยและน้ำตาลโดยต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เริ่มตั้งแต่   🔹 การตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินก่อนการปลูกอ้อย 🔹 กระบวนการในระหว่างการปลูกอ้อย 🔹 การบำรุงรักษาอ้อย 🔹 การเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อย 🔹 กระบวนการผลิตน้ำตาลในโรงงาน 🔹 การซื้อ-ขายน้ำตาล   ความท้าทายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ความต้องการน้ำตาล BONSUCRO จากไทยยังมีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดส่งออกน้ำตาลของไทยส่งออกกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจยังไม่มีนโยบาย Low Carbon ในอุตสาหกรรมน้ำตาลเหมือนประเทศในกลุ่มยุโรป    อย่างไรก็ตาม กระแสโลกด้านสิ่งแวดล้อมทำให้หลายประเทศต้องปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก เมื่อเห็นสัญญาณแนวโน้มของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และยังสามารถขยายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเท่านั้นได้    โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนโรงงานและไร่อ้อยให้ได้รับมาตรฐาน BONSUCRO มากขึ้น เพราะท้ายสุดหากไม่สามารถผลิตน้ำตาลให้ได้มาตรฐาน อาจทำให้สูญเสียลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย   อ้างอิงจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย mitrpholmodernfarm   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BONSUCRO #มาตรฐานBONSUCRO 

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล

“ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นอุบล เริ่มต้นธุรกิจจากรุ่นคุณปู่ คุณย่า เป็นธุรกิจโชห่วยใช้ชื่อว่า โค้วย่งง้วน หมายความว่า แหล่งน้ำที่ยั่งยืน พัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีโกดังหลายจุด พอมาเป็นรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เปลี่ยนจากโชห่วยมาเป็นห้างสรรพสินค้า จนมีห้างต่างชาติเข้ามา แล้วมีการปรับเปลี่ยนจากห้างสรรพสินค้ามาเปิดศูนย์กระจายสินค้ายงสงวน กระจายสินค้าให้กับคนในอุบล “​​ยงสงวน” ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2498 จากจุดเริ่มต้นร้านโชห่วย 1 คูหา 2 ชั้น โดยรุ่นแรก “คุณพ่องี่เต็ก แซ๋โค้ว” และ “คุณแม่เง็กเนย ไชยสงคราม” โดยร้านแรก ตั้งอยู่บนถนนยุทธภัณฑ์ ตรงกันข้ามกับโรงหนังกลาง ใช้ชื่อร้านว่า “โค้วย่งง้วน” จนกระทั่งในปี 2500 โค้วย่งง้วน ได้ย้ายร้านมาตั้งอยู่ที่มุมถนนพรหมเทพ ขยับขยายสู่ร้าน 2 คูหา ซึ่งต่อมาในปี 2503 ได้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ร้านโค้วย่งง้วน เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และเปลี่ยนทำเลมาเป็นร้านใหม่ที่ถนนพรหมเทพ จากนั้นในปี 2519 ได้ย้ายร้านอีกครั้งมาที่ 77-81 ถนนพรหมเทพ เป็นร้านขนาด 3 คูหาและต่อมาได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ยงสงวน” ในปี 2525 ก้าวเดินของ ยงสงวน พริกผันสู่ก้าวที่ใหญ่ขึ้นในปี 2533 เมื่อเข้าประมูลสิทธิการก่อสร้างได้ และเปลี่ยนสู่ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ “ยงสงวน ช้อปปิ้งมอลล์” โดยมีคุณกำพล และคุณมลิวัลย์ ไชยสงคราม เป็นผู้บริหาร จนถึงปัจจุบัน ยงสงวนกรุ๊ป อยู่ภายใต้การบริหารงานของเงิน 3 ตระกูลไชยสงคราม ของสองพี่น้องคือ ประกิจ และ ประกอบ ไชยสงคราม ที่ช่วยกันสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแรง จนสามารถขยายบริษัทในเครือ จากเดิมที่มีเพียง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยงสงวนช้อปปิ้งมอลล์ แตกอีก 2 บริษัท คือ “บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด” และ “บริษัท สหรุ่งธนเกียรติอุบล จํากัด” สำหรับ หัวใจสำคัญที่ทำให้คำปลีกท้องถิ่นอยู่รอดได้ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและลูกค้า ทำธุรกิจด้วยความจริงใจ นึกถึงใจเขา ใจเรา เห็นอกเห็นใจคนอื่น ก็จะสามารถผ่านพ้นวิกฤติ ได้ไม่ยาก และในฐานะคนอุบลโดยกำเนิด ประกอบ และ ยงสงวนกรุ๊ป ยังให้ความสำคัญกับการตอบแทนบ้านเกิด ด้วยการจัดตั้ง “อุบล แฟมิลี่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน เพื่อทำกิจกรรมตอบแทนสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดงานวิ่งเพื่อการกุศล ซึ่งเป็น กิจกรรมที่เขาและครอบครัวชื่นชอบเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งนำรายได้ไปทำประโยชน์ในสถานที่ต่าง ๆ ของจังหวัด เมื่อถามถึงจุดแข็งของ ยักษ์ค้าปลีกท้องถิ่น ที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ คุณประกอบมองว่า …

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน   ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจำนวนมากขึ้นทุกปีแต่จำนวนจิตแพทย์ในไทยกลับขาดแคลน   ข้อมูลจาก Mental Health ATLAS 2020 ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า จำนวนจิตแพทย์ใน 156 ประเทศทั่วโลก มีค่ามัธยฐานของอัตราส่วนของจิตแพทย์อยู่ที่ 1.7 คนต่อประชากร 100,000 คน   โดยในประเทศไทยนั้น ตามรายงานจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช กรมสุขภาพจิต ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ระบุว่า ไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน คิดเป็นจิตแพทย์ 1.28 คนต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก   เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในอีสาน พบว่าจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.นครราชสีมา 19,158 คน 2.อุบลราชธานี 12,752 คน 3.ขอนแก่น 10,684 คน 4.บุรีรัมย์ 8,701 คน 5.ศรีสะเกษ 7,699 คน   เมื่อพิจารณาภาระความรับผิดชอบ พบว่า จิตแพทย์ในภาคอีสานนั้นมีภาระสูงสุด โดยจิตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงถึง 10,994 คน และต้องดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอีก 827 คน   โดยสาเหตุที่จิตแพทย์ขาดแคลนมาจากกระบวนการผลิตจิตแพทย์ที่ทำได้ยากและใช้เวลานาน ต้องรอจนกว่าแพทย์เรียนจบหลักสูตร 6 ปี ใช้ทุนอีก 3 ปี จึงจะกลับมาเรียนแพทย์เฉพาะทางต่อ จิตแพทย์ผู้ใหญ่ใช้เวลาเรียน 3 ปี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 4 ปี   นอกจากระยะเวลาในการเรียนแล้ว ข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่ง คือ การขาดแคลนอาจารย์ สำหรับจิตแพทย์ 1 คน ต้องใช้อาจารย์แพทย์ประมาณ 3 คน ด้วยอัตราแบบนี้ทำให้เพิ่มจำนวนได้ช้า เพราะคนที่อยู่ในระบบมีน้อย   ปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตและสมาคมจิตวิทยาการปรึกษา อยู่ระหว่างการผลักดันมาตรฐานการให้บริการด้านจิตเวชให้ครอบคลุมจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ในการแก้ปัญหาของภาครัฐ ที่ไม่เพียงต้องป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้า แต่ยังต้องคำนึงถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำจากทรัพยากรสาธารณสุขที่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่อีกด้วย   อ้างอิงจาก : กรุงเทพธุรกิจ รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2564    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า #จิตแพทย์ 

ชวนเบิ่ง เส้นทาง “เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต”

ทายาทเคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ตประสบการณ์ทำร้าน 20 ปี และการต่อยอดธุรกิจครอบครัวจากเคี้ยงพานิช ร้านค้าเจ้าใหญ่ในวงการค้าเครื่องดื่ม สู่ร้านที่เป็นทุกอย่างให้ชาวเมืองขอนแก่น จากร้านค้าของครอบครัวชาวจีนที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 สู่เคี้ยงพานิช ร้านค้ามีชื่อที่ขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ต่อมาดำเนินธุรกิจในชื่อ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยเกิดขึ้นในวันที่ขอนแก่นยังไม่มีร้านสะดวกซื้อ เป็นร้านค้าท้องถิ่นที่เข้าใจคนในย่านมากกว่าใคร เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนที่ทายาทรุ่นที่ 3 อย่าง คุณแบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล เปิด ‘K Mart by เคี้ยง’ ที่หลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น แถวนั้นยังมีร้านสะดวกซื้อเพียงร้านเดียว จนวันนี้ที่บริเวณเดียวกันนี้ มีร้านสะดวกซื้อหลากหลายแบรนด์มากกว่า 20 ร้าน วิธีการทำธุรกิจของคุณแบงค์นับว่าแตกต่าง แทนที่จะทำร้านคอนเซปต์เดียว ขายของแบบเดียวกัน แล้วขยายไปให้มากๆ ในย่านชุมชนตามตำรา คุณแบงค์ทำให้ร้านทั้ง 6 สาขาไม่เหมือนกันเลย บางร้านขายของใช้ บางร้านขายของทำเบเกอรี่ หัวใจของการทำร้านเคี้ยงของแบงค์ คือการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุด เพื่อความสุขของลูกค้า ไม่ว่าคุณจะเดินเข้าเพื่อถามหาอะไรที่เคี้ยง คุณแบงค์จะเป็นคนหามาให้ ผลก็คือ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้กลายเป็นมากกว่าร้านค้าท้องถิ่น เป็นที่พึ่งของลูกค้า และเป็นแรงบันดาลใจให้ธุรกิจท้องถิ่นอื่นๆ ว่าอย่ายอมแพ้และอย่ากลัว เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มต้นจาก อากงเม้ง แซ่อึ้ง ก่อตั้งร้านค้าชื่อ อึ้งเหลียงเซ้ง ในช่วง พ.ศ. 2480 – 2490 ดำเนินกิจการเรื่อยมา จนวันหนึ่งใน พ.ศ. 2514 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้สินค้าเสียหายทั้งหมด อากงจึงเลิกกิจการ ต่อมา คุณพ่อเคี้ยง-นรินทร์ อภิชนตระกูล ซึ่งเป็นลูกชายคนที่ 5 ตัดสินใจเปิดร้านเป็นของตัวเองในชื่อ เคี้ยงพานิช บนถนนศรีจันทร์ เริ่มต้นกิจการในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2515 แล้วเปลี่ยนชื่อจาก เคี้ยงพานิช มาเป็น เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ใน พ.ศ. 2534 ในสมัยที่ร้านสะดวกซื้อยังไม่เฟื่องฟูอย่างวันนี้ ขอนแก่นก็เหมือนทุกที่ที่เต็มไปด้วยร้านค้าท้องถิ่น เคี้ยงสร้างความแตกต่างด้วยสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ มีลูกค้าหลักคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยและคนทั่วไปที่นิยมของจากต่างประเทศ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นร้านค้าที่เติบโตจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงที่ธุรกิจกำลังไปได้ดี เป็นช่วงเดียวกับที่มีข่าวแอลกอฮอล์ปลอมระบาดในเมือง แบงค์เล่าว่าคุณพ่อของเขาจะระมัดระวังเป็นพิเศษ หากมีใครเสนอสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติ เขาจะสงสัยไว้ก่อน แล้วสั่งตรงจากบริษัท แม้จะมีราคาสูงกว่าแต่มั่นใจได้ที่สุด ปัจจุบันร้านเคี้ยงมีทั้งหมด 6 สาขา แต่ละสาขามีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันตามชุมชนที่อยู่ ได้แก่ สองร้านแรกในเมืองอย่าง เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต (สาขาศรีจันทร์) และ เคี้ยงลิเคอร์สโตร์ (สาขาศรีจันทร์) หรือเคี้ยงมินิมาร์ท เน้นขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สาขาที่ 3 คือ เคี้ยงซุปเปอร์สโตร์ (สาขาหลังมอ-ยูพลาซ่า) เดิมตั้งชื่อว่าเคี้ยง แต่นักศึกษาชอบเรียกผิดแบงค์ก็เลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘K Mart by …

ชวนเบิ่ง เส้นทาง “เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต” อ่านเพิ่มเติม »

PTT ผุดโครงการ ‘ไทยเด็ด’ พื้นที่ของเด็ดของคนไทย ช่วยให้ชุมชนเติบโตอย่างยั่งยืน

พามาเบิ่ง PTT ผุดโครงการ ‘ไทยเด็ด’  พื้นที่ของเด็ดของคนไทย ช่วยให้ชุมชนเติบโตอย่างยั่งยืน   ปัจจุบันหน้าที่ของ ปั๊มน้ำมัน สถานที่ที่เหล่านักเดินทางต่างคุ้นเคย กลับเป็นมากกว่าสถานบริการแจกจ่ายเชื้อเพลิงให้ทุกคนไปถึงจุดหมาย เป็นแหล่งสัญจรชั้นดีของการแวะพักผ่อนจากการเดินทาง การพักทานอาหาร และการจับจ่ายซื้อสินค้าอีกด้วย   เมื่อปี พ.ศ.2561 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกับอีก 6 หน่วยงานจัดตั้งโครงการ ‘ไทยเด็ด’ ที่มีเป้าหมายในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เติมเต็มคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีให้แก่ชาวบ้าน ชุมชน เกษตรกร และสังคมไทย   โดย OR ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีและเด็ดประจำท้องถิ่นทั่วประเทศไทย จากกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนกว่า 238 ชุมชน มาสนับสนุนด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย และนำมาวางขายในร้านค้าและมุมสินค้า ‘ไทยเด็ด’ ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศกว่า 83 สถานีที่ร่วมรายการ   โดยสินค้าที่มีอยู่กว่า 254 รายการ มีความหลากหลายครอบคลุมตั้งแต่ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ มีสินค้าครบทุกภาคทั่วประเทศไทย ซึ่งมีสินค้าจากภาคอีสานมากมาย   ยกตัวอย่างเช่น ผัดไทยภูเขาไฟ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งหลังจากที่เข้าโครงการทำให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จาก 10,000 ซองต่อปี เป็น 480,000 ซองต่อปี และมีการขยายเครือข่ายชุมชนผัดไทยภูเขาไฟที่ส่งวัตถุดิบให้ทางโรงงานเพิ่มขึ้น จากเดิม 8 ชุมชน เป็น 20 ชุมชน      ซึ่งมีอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์คือการผสานรวมของทั้งเอกลักษณ์และคุณภาพจากวัตถุดิบประจำท้องถิ่น เมื่อได้รับการปรับปรุงวิธีการนำเสนอและเสริมจุดแข็งด้านสถานที่จำหน่าย ซึ่งก็คือ สถานีบริการ PTT station ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เข้าถึงได้ง่ายและมียอดขายที่สูงขึ้น เพราะสามารถส่งต่อสินค้าสู่มือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง   ผลลัพธ์จากการดำเนินงานมาตลอด 4 ปี คือนอกจากจะเป็นการช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานและก้าวไกลสู่ระดับสากลแล้ว โครงการไทยเด็ดยังช่วยสร้างโอกาส สร้างรายได้ และความภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น   อ้างอิงจาก: เว็บไซต์บริษัท workpointtoday thestandard    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ไทยเด็ด #Thaidet #ปตท #PTT #OR

Scroll to Top