รู้หรือไม่ว่าแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพของประเทศไทยนั้น นอกจากพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกแล้ว ยังมีอีกพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพไม่แพ้ที่อื่น ๆ นั่นคือ พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งกินพื้นที่กว่า 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพาไปดู NER ทำธุรกิจอะไรบ้าง และเติบโตมาไกลแค่ไหน ? จุดเริ่มต้น NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ เดิมทีครอบครัวคุณชูวิทย์ประกอบอาชีพทำลานมันเส้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2527 คุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้ริเริ่มการปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ทำให้เกษตรกรในภาคอีสาน เริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็คือ ที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” คุณชูวิทย์และเกษตรกรคนอื่น ๆ ต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้มาไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและโดนกดราคา แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ โดยเขาได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี พ.ศ. 2549 โดยเริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ แต่ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น บริษัทได้เจอวิกฤติครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่สต็อกของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทไม่มีเงินพอไปซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ ตอนนั้นคุณชูวิทย์มีทางเลือกอยู่สองทาง หนึ่งคือ การไม่ทำตามสัญญาแล้วออกจากธุรกิจนี้ไป สองคือ การไปเจรจากับคู่ค้าโดยตรง คุณชูวิทย์ตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าก็เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแจ้งล่วงหน้า 3 เดือน ทำให้มีเวลาในการปรับตัว และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ ผลจากวิกฤติครั้งนี้ทำให้บริษัทเรียนรู้ข้อผิดพลาด และเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจโดยการไม่ยุ่งกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอีก แต่ใช้วิธี “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป จุดนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหนึ่งที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถขยายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิต และออกสินค้าตัวอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา อย่างยางอัดแท่ง และยางผสม ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ หากพิจารณาผลประกอบการของ NER เป็นอย่างไรบ้างในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ? รายได้และกำไรของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2561 รายได้ 10,074 ล้านบาท กำไร 487 ล้านบาท ปี 2562 รายได้ 13,021 ล้านบาท กำไร 539 ล้านบาท ปี 2563 รายได้ 16,365 ล้านบาท กำไร …
ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »