July 2022

” อินทผาลัมโคราช ” พลิกเปลี่ยนไร่มันฯ ขยายตลาด เร่งขึ้นบัญชี พืชปลูกได้ในประเทศ

” อินทผาลัมโคราช “ พลิกเปลี่ยนไร่มันฯ ขยายตลาด เร่งขึ้นบัญชี พืชปลูกได้ในประเทศ   เปิดสวน“อินทผาลัมโคราช” พืชเศรษฐกิจมาแรงในยุคนี้ สร้างรายได้เกษตรกรปีละเป็นล้าน มีความพร้อมทั้งคุณภาพผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูก สมาคมผู้ปลูกฯ เดินหน้าผลักดัน ให้บรรจุอินทผาลัมเป็นพืชปลูกได้ในประเทศไทย เพื่อขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศ สวนอินทผาลัมโคราช เลขที่ 261 หมู่ที่ 13 หมู่บ้านอ่างห้วยยาง ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นายประทิน  อภิชาตเสนีย์  เจ้าของสวนอินทผาลัมโคราช ปลูกอินทผาลัมรวมจำนวน 1,000 ต้น โดยเป็นสวนอินทผาลัมสวนแรกของจังหวัดนครราชสีมา จากเดิมเป็นพื้นที่ดังกล่าวปลูกมันสำปะหลังมาก่อน กระทั่งปี 54 จึงหันมาปลูกอินทผาลัมด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากผลผลิตไม่ดีและกลายพันธุ์รสชาติไม่ดี จึงเปลี่ยนมาปลูกจากต้นพันธุ์ที่เพาะเนื้อเยื่อพันธุ์บาฮี ในปี 2559 เหลือต้นพ่อพันธุ์ประมาณ 4-5 ต้นเท่านั้น  การให้น้ำจะใช้ระบบปริงเกอร์เพื่อให้กระจายให้ทั่วโดยสวนอินทผาลัมโคราชเป็นสวนปลอดสารเคมี ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตระยะเวลา 3 เดือน ไม่มีการใช้สารเคมีจึงสามารถเด็ดจากต้นกินได้เลย ความโดดเด่นของอินทผาลัมที่นี่ คือ “ หวาน กรอบ อร่อย ปลอดภัยจากสารเคมี ” ซึ่งอินทผาลัมจะทยอยสุกและเริ่มตัดขายได้ตั้งแต่ กลางเดือน ก.ค. – ส.ค.  ราคาขายหน้าสวนอยู่ที่ กก.ละ 200 -300 บาท คาดว่าในปีนี้จะสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทและมีผลผลิตต่อปีหลายร้อยตัน   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรคือด้านการขยายตลาด เนื่องจากอินทผาลัมเป็นพืชที่ยังไม่ได้รับการบรรจุให้เป็นพืชที่ปลูกในประเทศไทยได้ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ทางสมาคมผู้ปลูกอินทผาลัม ที่มีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศ กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันให้กระทรวงเกษตรกรฯ บรรจุให้อินทผาลัมให้เป็นพืชปลูกได้ในประเทศไทย เพื่อให้อินทผาลัมส่งออกขายในต่างประเทศได้  ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอินทผาลัม ได้มีโอกาสขยายตลาดไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย มาเลยเซีย หรือในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะนี้ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงหวังว่าจะดำเนินการผลักดันให้เป็นรูปธรรมเพื่อเกษตรกรได้เดินหน้าต่อไป   อ้างอิงจาก :  https://www.thansettakij.com/economy/533259  https://mgronline.com/local/detail/9650000068900  https://www.nstda.or.th/home/news_post/pt-nstda-bcg-biotec/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อินทผาลัมโคราช #นครราชสีมา 

พามาเบิ่ง รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

จากผลการสํารวจ ในปี 2564 ครัวเรือนภาคอีสานมีรายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 21,587 บาท โดยพบว่ารายได้เพิ่มขึ้นจาก 20,600 บาท ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 4.8% โดยพบว่ารายได้ครัวเรือนภาคอีสาน ส่วนใหญ่มีรายได้จากการทํางาน 11,934 บาท ซึ่งได้แก่ ค่าจ้างและเงินเดือน 6,378 บาท กําไรสุทธิจากการทําธุรกิจ 3,211 บาท และกําไรสุทธิจากการทําการเกษตร 2,345 บาท ส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งอยู่ ในรูปสวัสดิการ/สินค้า บริการต่าง ๆ ที่ได้รับมาโดยไม่ต้องซื้อ (รวมประเมินค่าเช่าบ้าน/ บ้านของตนเอง) 4,267 บาท รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทํางาน เช่น รายได้จากเงิน ที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นนอกครัวเรือน 4,838 บาท ส่วนรายได้ไม่ประจําและจากทรัพย์สิน 415 บาท และ 134 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณารายได้ของครัวเรือนภาคอีสานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ ปี 2554 อยู่ที่ 18,217 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ปี 2556 อยู่ที่ 19,181 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ปี 2558 อยู่ที่ 21,094 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ปี 2560 อยู่ที่ 20,271 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ปี 2562 อยู่ที่ 20,600 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ปี 2564 อยู่ที่ 21,587 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาเฉพาะในช่วงปี 2564 ครัวเรือนภาคอีสานมีรายได้ทั้งสิ้นสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่รัฐอุดหนุน ท้ังที่รัฐจ่ายเงินเข้าบัญชี ให้แก่ประชาชน และการอุดหนุนในรูปแบบที่ไม่เป็นตัวเงินผ่านแอปพลิเคชัน คูปอง หรือในรูปแบบการลดค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ําประปา ค่าไฟฟ้า ฯลฯ) 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนมากที่สุด มหาสารคาม 26,542 บาท เพิ่มขึ้น 19.6% เลย 26,532 บาท เพิ่มขึ้น 4.4% นครราชสีมา 24,779 บาท ลดลง -3.7% บึงกาฬ 24,345 บาท เพิ่มขึ้น 6.8% สุรินทร์ 24,009 บาท เพิ่มขึ้น 18.6% จะเห็นได้ว่าจังหวัดมหาสารคามมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุดในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตพืช …

พามาเบิ่ง รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองไมซ์ (MICE City) ของภาคอีสาน

การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองไมซ์ (MICE City) ของภาคอีสาน   เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สำคัญภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศไทยให้ก้าวผ่านพ้นกับดักรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมีเสถียรภาพ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม   สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ประเมินจังหวัดที่มีศักยภาพรองรับนักเดินทางกลุ่มไมซ์ หรือนักธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งปัจจุบันมี MICE City ในภาคอีสาน คือ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เมืองที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุบลราชธานี และ บุรีรัมย์     อ้างอิงจาก:  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) https://dtc.ac.th/what-is-mice/  https://www.businesseventsthailand.com/th/support-solution/regional-office/northeasternregionoffice/detail/mice-city  https://www.businesseventsthailand.com/th/support-solution/regional-office/northeasternregionoffice/detail/potential-city http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8376s/8376%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%20%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4.pdf    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MICECITY #เมืองไมซ์ #ขอนแก่น #อุดรธานี #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #บุรีรัมย์

พามาเบิ่ง สวนสัตว์ใหญ่ในภาคอีสาน

ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดนับตั้งแต่รอบแรกมาจนถึงขณะนี้ หลายองค์กรต่างได้รับผลกระทบและต้องปรับตัว เช่นเดียวกับสวนสัตว์ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับหลายองค์กร เพราะที่ผ่านมานักท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญของธุรกิจนี้ จากสถานการณ์โควิด19 ระบาดรอบแรก หลายสวนสัตว์ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ ต้องปิดบริการ กระทบต่อรายได้ ในปี 2563 อยู่ที่ 980 ล้านบาท ซึ่งในปี 2564 เหลือเพียง 915 ล้านบาท (ลดลง 6.6%) และเมื่อกลับมาเปิดให้บริการเหมือนเดิม ก็พบว่าสวนสัตว์หลายแห่ง จำนวนนักท่องเที่ยวก็ลดน้อยลงไปมาก ขณะที่รายจ่ายต่างๆ ยังคงมีเช่นเดิม โดยในปี 2564 สวนสัตว์ขาดทุน 365 ล้านบาท การท่องเที่ยวในสวนสัตว์ ถือว่าเป็นการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย เนื่องจากเป็นสถานที่กลางแจ้ง เปิดโล่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และยังมีมาตรการต่างๆ ที่สวนสัตว์ปฎิบัติตามนโยบายของภาครัฐในเรื่องโควิด 19 อย่างเข้มงวด เช่น ให้ผู้เข้าเที่ยวชมต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาที่เข้าชมสวนสัตว์ การสแกนไทยชนะ วัดอุณหภูมิ มีเจลแอลกอฮอล์ การรักษาระยะห่าง มีมาตรการเข้มข้นในการทำความสะอาดทุกสวน เป็นต้น จุดเด่นของทั้ง 3 สวนสัตว์ในภาคอีสาน 1. สวนสัตว์นครราชสีมา Top Secret Mystery Nature of Thailand ความลับธรรมชาติของประเทศไทยแห่งภาคอีสาน ชมการจัดแสดงสัตว์จากแอฟริกาหรือ “บิ๊กไฟว์” ไปดูช้างแอฟริกาตัวเดียวในประเทศไทย และนกกะเรียนพันธุ์ไทยที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งเปิดมายาวนานกว่า 20 ปี บนพื้นที่ทั้งหมด 545 ไร่ มีสัตว์นานาชนิดกว่า 1,889 ตัว บรรยากาศร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโซนต่างๆที่เป็นสัดส่วน พร้อมเดินชมบรรยากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาและสัตว์จากแอฟริกา และมีสวนน้ำที่เต็มไปด้วยเครื่องเล่นหลากหลายรูปแบบให้สนุกกันได้ทั้งวัน 2. สวนสัตว์ขอนแก่น The Good Adventure Park & Camping สวนแห่งการผจญภัยในดินแดนแห่งความสุข บนที่ราบสูงทุ่งแสนกวาง ไปชมกวางจำนวนมาก มีผาเรียงหนึ่งให้ท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นสวนสัตว์ที่เสริมสร้างความรู้และความเพลิดเพลิน มีสัตว์มากกว่า 100 ชนิด ทั้งสัตว์ป่าหายากและสัตว์ป่าที่มีถิ่นกำเนิดจากต่างประเทศ มีกิจกรรมหลากหลายแบบ โดยเฉพาะสัตว์ในตระกูลกวางซึ่งนำมาจัดแสดง และรวมกันอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ อย่างธรรมชาติให้สอดคล้องกับประวัติความเป็นมาของภูเขาแสนกวาง ภายใต้อัตลักษณ์ของสวนสัตว์ขอนแก่น หรือ The Land of deer 3. สวนสัตว์อุบลราชธานี City Education Jungle Park ศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติและสัตว์ป่า กลางเมืองอุบลราชธานี เราจะเห็นป่ายางขนาดใหญ่ที่แสนร่มรื่น ภายในสวนสัตว์เป็นลักษณะเป็นป่าโปร่ง เต็มไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีการจัดแสดงสัตว์ในรูปแบบ Jungle Park ให้สัตว์ได้อยู่กับป่าไม้ โดยสัตว์ถูกเลี้ยงในพื้นที่อย่างเป็นอิสระ และให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเที่ยวชมอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย จนนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาที่สวนสัตว์มากขึ้น วันนั้นสวนสัตว์แต่ละแห่งก็คงจะไปเต็มไปด้วยความสุข ความสนุกและเสียงหัวเราะ จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เหมือนที่ผ่านมา อ้างอิงจาก: …

พามาเบิ่ง สวนสัตว์ใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

แนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาปี 2566-2570

พามาเบิ่ง แนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาปี 2566-2570   เศรษฐกิจอีสานในระยะสั้นมีความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้บริโภคหยุดหรือลดการใช้จ่ายในช่วงเหตุการณ์ COVID-19 (Pent-up demand) สิ่งนี้จะกระตุ้นให้การท่องเที่ยวอีสานได้   แต่สำหรับระยะยาว จากโครงสร้างเศรษฐกิจของอีสาน ที่ไม่ได้พึ่งพาการท่องเที่ยวมากนัก การยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง จึงเป็นการแก้จุดอ่อนหนึ่งของอีสาน เพื่อสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวให้มากขึ้นรวมถึงยกระดับรายจ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวของภูมิภาค     #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การท่องเที่ยว 

พามาเบิ่ง ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นหยังคือบ่ส่ำกัน

หลังจากที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวขึ้นไม่มีหยุดไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา “ราคาน้ำมัน” เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกพูดถึงบ่อยมากในช่วงนี้ วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูสาเหตุที่ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดไม่เท่ากันและโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยทุก 1 ลิตรประกอบด้วยอะไรบ้าง สาเหตุหลักที่ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดไม่เท่ากันนั้น เนื่องจากมีค่าขนส่งน้ำมัน จังหวัดที่มีระยะทางที่ไกลและมีพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ทำให้มีค่าขนส่งที่แพงกว่าจังหวัดอื่น และมาจากภาษีบำรุงท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหุต คือ สถานีบริการน้ำมันแต่ละแห่งมีข้อตกลงที่แตกต่างกันไปกับแต่ละบริษัทเจ้าของยี่ห้อน้ำมันที่ส่งมาให้ขาย ส่งผลเกี่ยวเนื่องกับต้นทุนของน้ำมันสำเร็จรูปที่เปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง ซึ่งหมายความว่าจะมีระยะห่างของเวลานับจากวันที่โรงกลั่นจ่ายค่าน้ำมันดิบ จนถึงวันที่ได้รับเงินจากผู้ที่รับน้ำมันสำเร็จรูปไปขาย ระยะเวลาที่ต่างนี้จึงส่งผลกับการปรับราคาน้ำมัน โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยในน้ำมันทุก 1 ลิตรนั้น จะประกอบด้วยดังนี้ 1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน ( 40 –60%) คือ ต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงกลั่น ซึ่งอ้างอิงราคาตามตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย 2. ภาษีต่างๆ ( 30 –40%) ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ และบำรุงท้องถิ่น โดยภาษีที่จัดเก็บ ได้แก่ – ภาษีสรรพสามิต : จัดเก็บโดยกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต นำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ – ภาษีเทศบาล : จัดเก็บโดยกระทรวงการคลัง ในอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต มาตรา 150 และจัดส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น – ภาษีมูลค่าเพิ่ม : จัดเก็บ 7% ของราคาขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และจัดเก็บอีก 7% ของค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด 3. กองทุนต่างๆ (5 –20%) เช่น – กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง : จัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดความผันผวน – กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน : จัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน 4. ค่าการตลาด (10 –18%) คือ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ รวมถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน โครงสร้างราคาน้ำมันของไทยในปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เป็นส่วนประกอบและปัจจัยที่มีผลต่อการปรับขึ้นและลงราคาน้ำมันภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาน้ำมันของไทยแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน และมีความผันผวนตลอดเวลา ซึ่งองค์ประกอบราคาน้ำมันเป็นเหมือนภาระที่ประชาชนต้องแบกรับ ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนดขึ้น แนวโน้มราคาน้ำมันหลังจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงในปีหน้า เนื่องจากคาดว่าจะมีปริมาณน้ำมันดิบเข้าสู่ตลาดมากขึ้น หลังกลุ่มประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก(โอเปก) เตรียมทยอยปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเดือนละ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้จนถึงสิ้นปี จะมีปริมาณน้ำมันดิบป้อนเข้าสู่ตลาดอีก 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับทิศทางเศรษฐกิจโลกไม่ได้เติบโตมากนัก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันมีปริมาณน้อย …

พามาเบิ่ง ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นหยังคือบ่ส่ำกัน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่

ในปี 2564 ครัวเรือนในภาคอีสาน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 16,869 บาท ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็น 78.1% ของรายได้ (รายได้เฉลี่ย 21,587 บาท/เดือน) โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 16,553 บาท ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 1.9% โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มในกลุ่มค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคที่ครัวเรือนไม่ได้ซื้อหรือ จ่ายเงินเอง เนื่องจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนละครึ่ง เราชนะ รวมถึงมาตรการการลดค่าสาธารณูปโภค ที่เป็นค่าน้ําประปาและค่าไฟฟ้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนในภาคอีสาน สามารถแบ่งได้ดังนี้ ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค 14,935 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ สูงสุดถึง 6,441 บาท รองลงมาเป็นค่าเดินทางและการสื่อสาร 3,372 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้าน และเครื่องใช้ 3,361 บาท ตามลําดับ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ดอกเบี้ย เป็นต้น) มีจํานวน 1,934 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ในปีนี้จะมีสัญญาณที่ดีจากการสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่สถานการณ์เศรษฐกิจก็ยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น บวกกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ครัวเรือนไทยต้องผจญปัจจัยเสี่ยงทางศรษฐกิจ ซึ่งยิ่งมีความเสี่ยง ก็ยิ่งต้องมีการวางแผนให้รอบคอบในเรื่องค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ดังนั้น การวางแผนใช้จ่ายครัวเรือนไทยปี 2565 จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทิศทางราคาสินค้าหลายรายการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในโครงสร้างการใช้จ่ายรายเดือนของครัวเรือนไทยยังมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่แอบแฝงอยู่ที่อาจต้องอยู่ในรายการที่ต้องตัดทิ้ง เช่น ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ ค่าอาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง เป็นต้น แม้การตัดค่าใช้จ่ายรายเดือนจะเป็นเรื่องง่ายในทางการคำนวน แต่ในทางปฎิบัติถือว่ายากมากเพราะค่าใช้จ่ายเกือบทุกรายการล้วนแต่มีความจำเป็น ทั้งเพื่อการดำรงชีวิตอยู่และเพื่อการอยู่อย่างรื่นรมณ์ ขณะที่การหารายได้เพิ่มก็เป็นอีกความท้าทายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ การวางแผนเพื่อการดำรงชีพในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน อ้างอิงจาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/รายได้รายจ่ายครัวเรือน/ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.aspx https://www.bangkokbiznews.com/business/977069 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน Dairy Home vs Farm Chokchai

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน   ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่ 4 แห่ง หนึ่งในนั้นคือจังหวัดนครราชสีมา ในภาคอีสานเรานี่เอง การเลี้ยงโคนมแม้มีรายจ่ายค่อนข้างสูง แต่ผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนม จะสูงกว่าการทำนาทำไร่หลายเท่า จึงเป็นการสร้างรายได้ที่ดีของเกษตรกร ทั้งที่มีอาชีพเลี้ยงโคนมโดยตรง และที่เป็นอาชีพเสริม นับว่ามีส่วนช่วยในการ สร้างงานในชนบทของชาติ   วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดู 2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ามีความเป็นมาอย่างไร?  Dairy Home ฟาร์มออร์แกนิกเจ้าแรกของไทย คำว่า ‘โฮม’ เป็นภาษาอีสาน หมายถึงการมารวมกัน ‘แดรี่ โฮม’ นอกจากจะหมายถึงบ้านของนมแล้วยังหมายถึงที่รวมผลิตภัณฑ์นมไว้ด้วยกันอีกด้วย   ก่อนรับบทบาทเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณพฤฒิเคยเป็นนักวิชาการสอนปรับปรุงพันธุ์โคนม ที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเคยทำงานอยู่ที่ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านฟาร์มโคนมมายาวนาน 10 กว่าปี กระทั่งปี 2535 เขาลาออกจากงานประจำ เพื่อมาสร้างฝันให้เป็นจริง นั่นคือ อาณาจักรฟาร์มโคนมออร์แกนิก    ในปี 2542 แดรี่โฮม ถือกำเนิดขึ้นด้วยการจำหน่ายนมในขวดแก้ว น้ำนมที่ใช้เป็นนมออร์แกนิก ซื้อจากฟาร์มโคนมที่รู้จักกันให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ แต่ละวันรับนมเพียง 10 ลิตร จากนั้นขยับเพิ่มเป็น 100 ลิตร หลังกระแสการตอบรับดี ส่งเสริมเกษตรกรหน้าใหม่ให้เลี้ยงวัวออร์แกนิก   นอกจากนี้ ทางโรงงานยังเป็น Zero Waste ไม่ปล่อยของเสีย ดูแลสิ่งแวดล้อมครบวงจร โดยแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ให้พนักงานขายเป็นรายได้เสริม ขยะอาหารนำไปเลี้ยงสัตว์ มีโรงงานไบโอดีเซลขนาดเล็ก เพื่อนำน้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร นำไปผลิตน้ำมันดีเซลเติมรถปิกอัพสำหรับส่งนม   หนึ่งสิ่งที่ทำให้แบรนด์ Dairy Home แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด ก็คือ การนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาสินค้า ซึ่งสินค้าที่ขึ้นชื่อคือ นม Bed Time ที่ช่วยให้หลับสบาย เป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้งานวิจัยเข้ามาพัฒนาสูตรด้วย     ฟาร์มโชคชัย ดินแดนแห่งคาวบอยเมืองไทย ก่อตั้งในปี 2500 โดยคุณโชคชัย บูลกุล ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คุณโชคชัย เป็นผู้ที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบคาวบอยมาตั้งแต่เด็กและใฝ่ฝันจะเห็นฝูงโคตัวใหญ่ พร้อมกับเห็นฝูงม้าที่มีคาวบอยขี่   อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกนั้นคุณโชคชัยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จัดหาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่กองทัพอากาศอเมริกัน ในปี 2512 บริษัทได้บุกเบิกกิจการฟาร์มโคเนื้อจนถึงปี 2519 ฟาร์มโชคชัยประสบปัญหาการผลิต ทำให้ผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจโคนม จนได้สร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมขึ้น ในปี 2535 เจอวิกฤตอีกครั้งทำให้มีหนี้สินกว่า 500 ล้านบาท จึงต้องขายธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นมเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินในปี 2537 โดยคงไว้แต่เพียงธุรกิจหลักคือ ฟาร์มโคนม   หลังจากนั้นคุณโชค …

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน Dairy Home vs Farm Chokchai อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เงินเฟ้อเดือนมิถุนายนของภาคอีสานเป็นจังใด๋แหน่ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 7.25% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน มิถุนายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวสูงขึ้นของเงินเฟ้อถึง 7.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (มิ.ย. 64) รณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 107.58 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (106.62) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.90% (MoM) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้น 1.40% (MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.66% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตรา ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 8.56 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 7.84 7.72 และ 7.27 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 7.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และเนื้อสุกร ส้าหรับสินค้าส้าคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด อาทิ ขิง เงาะ ถั่วฝักยาว เป็นต้น แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคา พลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูง จากอุปทานโลกที่ตึงตัว สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน และมาตรการคว่้าบาตรที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ และต้นทุนการน้าเข้าของไทยสูงขึ้น นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จากการผ่อน คลายมาตรการป้องกันโควิด-19 การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัว อย่างไรก็ตาม มาตรการดูแลค่าครองชีพของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ด้าเนินการอย่างต่อเนื่อง และด้าเนินการในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ทั้งการก้ากับดูแล การตรึงราคาสินค้าที่จ้าเป็นและราคาพลังงาน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากโควิด-19 ที่จ้านวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มกลับมา สูงขึ้นจากสายพันธุ์ใหม่ อาจจะเป็นปัจจัยทอนที่ท้าให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป อ้างอิงจาก: https://www.price.moc.go.th/…/fileu…/file_cpi/Cpi_tg.pdf http://www.indexpr.moc.go.th/…/TableIndexG_region.asp… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เงินเฟ้อ

พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด

พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด   สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาระยะหนึ่งอาจเริ่มหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการ ตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน . มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เป็นแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง   มาตรฐานการเกษตรของสินค้าเกษตรในอีสานยังมีจำนวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มาตรฐาน GAP อยู่น้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ โดยอันดับ 1 ภาคเหนือ (37.1%) อันดับที่ 2 ภาคกลาง (26.2%) อันดับที่ 3 ภาคอีสาน (17.3%) และอันดับที่ 4 ภาคใต้ 16.4% ซึ่งหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังจะเป็นจุดแข็งรายพื้นที่ ที่สามารถยกระดับภาคเกษตรของพื้นที่ได้   อ้างอิงจาก:  สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ https://actorganic-cert.or.th/th/manual-th/organicstandard-th/ https://www.baanlaesuan.com/233023/garden-farm/farm-guru/gapthai #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้าเกษตร

Scroll to Top