พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด

พามาเบิ่ง 

สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด

 

สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาระยะหนึ่งอาจเริ่มหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการ ตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน

.

มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เป็นแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

 

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง

 

มาตรฐานการเกษตรของสินค้าเกษตรในอีสานยังมีจำนวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มาตรฐาน GAP อยู่น้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ โดยอันดับ 1 ภาคเหนือ (37.1%) อันดับที่ 2 ภาคกลาง (26.2%) อันดับที่ 3 ภาคอีสาน (17.3%) และอันดับที่ 4 ภาคใต้ 16.4%

ซึ่งหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังจะเป็นจุดแข็งรายพื้นที่ ที่สามารถยกระดับภาคเกษตรของพื้นที่ได้

 

อ้างอิงจาก: 

สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

https://actorganic-cert.or.th/th/manual-th/organicstandard-th/

https://www.baanlaesuan.com/233023/garden-farm/farm-guru/gapthai

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้าเกษตร

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top