พามาเบิ่ง รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

จากผลการสํารวจ ในปี 2564 ครัวเรือนภาคอีสานมีรายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 21,587 บาท โดยพบว่ารายได้เพิ่มขึ้นจาก 20,600 บาท ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 4.8%

โดยพบว่ารายได้ครัวเรือนภาคอีสาน ส่วนใหญ่มีรายได้จากการทํางาน 11,934 บาท ซึ่งได้แก่ ค่าจ้างและเงินเดือน 6,378 บาท กําไรสุทธิจากการทําธุรกิจ 3,211 บาท และกําไรสุทธิจากการทําการเกษตร 2,345 บาท ส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งอยู่ ในรูปสวัสดิการ/สินค้า บริการต่าง ๆ ที่ได้รับมาโดยไม่ต้องซื้อ (รวมประเมินค่าเช่าบ้าน/ บ้านของตนเอง) 4,267 บาท รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทํางาน เช่น รายได้จากเงิน ที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นนอกครัวเรือน 4,838 บาท ส่วนรายได้ไม่ประจําและจากทรัพย์สิน 415 บาท และ 134 บาท ตามลำดับ

ทั้งนี้หากพิจารณารายได้ของครัวเรือนภาคอีสานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

ปี 2554 อยู่ที่ 18,217 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

ปี 2556 อยู่ที่ 19,181 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

ปี 2558 อยู่ที่ 21,094 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

ปี 2560 อยู่ที่ 20,271 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

ปี 2562 อยู่ที่ 20,600 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

ปี 2564 อยู่ที่ 21,587 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาเฉพาะในช่วงปี 2564 ครัวเรือนภาคอีสานมีรายได้ทั้งสิ้นสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่รัฐอุดหนุน ท้ังที่รัฐจ่ายเงินเข้าบัญชี ให้แก่ประชาชน และการอุดหนุนในรูปแบบที่ไม่เป็นตัวเงินผ่านแอปพลิเคชัน คูปอง หรือในรูปแบบการลดค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ําประปา ค่าไฟฟ้า ฯลฯ)

5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนมากที่สุด

มหาสารคาม 26,542 บาท เพิ่มขึ้น 19.6%

เลย 26,532 บาท เพิ่มขึ้น 4.4%

นครราชสีมา 24,779 บาท ลดลง -3.7%

บึงกาฬ 24,345 บาท เพิ่มขึ้น 6.8%

สุรินทร์ 24,009 บาท เพิ่มขึ้น 18.6%

จะเห็นได้ว่าจังหวัดมหาสารคามมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุดในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตพืช ประมงน้ำจืด และสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ โคเนื้อ พันธ์ุปลาน้ำจืด และยังมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรที่รองรับวัตถุดิบในพื้นที่ เช่น โรงงานน้ำตาลและแป้งมันส้าปะหลัง ซึ่งมหาสารคามมีผลิตภัณฑ์มวลรวม(GPP) ในสาขาอุตสาหกรรมสูงสุด โดยเฉพาะเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 13,000 ล้านบาท (เท่ากับ 21.8% ของ GPP) ซึ่งพบว่าผู้มีงานทำในจังหวัดมหาสารคามส่วนใหญ่ คือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง จำนวน 152,499 คน (คิดเป็น 39.38% ของแรงงานทั้งหมด) และอีกสาเหตุ คือ การกระจายรายได้ พบว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดมีจำนวนที่ลดลง จึงทำให้รายได้กระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มที่มีรายได้สูงสุด
อ้างอิงจาก:

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top