July 2022

พามาเบิ่ง ศึกธุรกิจบุฟเฟ่ต์ชาบูดังในจังหวัดขอนแก่น

หลายคนอาจจะเริ่มเห็นร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูเปิดใหม่ขึ้นมากมาย และมีการแข่งขันอย่างดุเดือดของธุรกิจนี้ แต่เมื่อนึกถึงบุฟเฟ่ต์ชาบูในขอนแก่น หลายๆคนต้องนึกถึง “ร้านปลาวาฬใจดี สุกี้แอนด์ชาบู” และ “ร้านคินส์ เดอะ บูตะ” ทั้ง 2 ร้านเป็นที่นิยมของคนในขอนแก่นนั่นเอง เส้นทางของอาณาจักรบุฟเฟ่ต์ชาบูแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร? จุดเริ่มต้นของ “ร้านปลาวาฬใจดี สุกี้แอนด์ชาบู” มาจากคุณอวิรุทธ์ ทรัพย์วิวัฒนา เดิมเป็นพนักงานบริษัท ตำแหน่งผู้จัดการขายของร้านเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่งมานานกว่า 5 ปี และชอบรับประทานชาบูเป็นทุนเดิมและมีความคิดอยากจะลองเปิดร้าน จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานมาทดลองเปิดร้านสุกี้ร้านเล็ก ๆ เป็นธุรกิจครอบครัว โดยได้คิดค้นเมนูอาหารเองจากประสบการณ์ และมีการพัฒนาต่อยอดเป็นของตัวเอง เริ่มแรกร้านมีเพียง 12 โต๊ะ หลังเปิดร้านได้ประมาณ 3-4 เดือน ผลประกอบการทางร้านดีมาก ต่อมาภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ทางร้านได้ขยายโต๊ะมากถึง 70 โต๊ะ และขยายสาขาไปตามจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งร้านมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมี “ปลาวาฬ” เป็นมาสคอตของร้านที่สื่อให้เห็นถึงความบุฟเฟต์จากรูปร่างของปลาวาฬที่ตัวใหญ่ และขยายความด้วยคำว่า “ใจดี” เพราะที่ร้านจะเน้นความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของร้านปลาวาฬใจดี สุกี้แอนด์ชาบู คือ มีน้ำซุปมากถึง 15 น้ำซุปและยังมีน้ำจิ้มถึง 8 รสชาติ น้ำซุปสามารถเลือกได้ 2 แบบภายในหม้อเดียว ร้านยังใส่ใจในเรื่องวัตถุดิบทั้งหมูทั้งผัก โดยทางร้านสั่งวัตถุดิบจากบริษัทนำเข้าชื่อดังในประเทศไทยเท่านั้น ในขณะที่ “ร้านคินส์ เดอะ บูตะ” คือ แบรนด์ร้านอาหารประเภทหม้อไฟ ที่มุ่งเน้นให้การรับประทานอาหารเป็นมากกว่าการรับประทานอาหารเพื่อดำรงชีพ การรับประทานอาหารแบบหม้อไฟ มีลักษณะเฉพาะตัวในการแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเวลาระหว่างผู้ร่วมรับประทาน โดยทางร้านจัดเตรียมสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำซุบ น้ำจิ้มสูตรพิเศษ รวมถึงการคัดสรรวัตถุดิบที่ดีโดยการนำเสนอและจัดวางในรูปแบบที่เอื้ออำนวยต่อการใช้เวลาร่วมกัน ดำเนินการด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์ ซึ่งจุดเด่นของร้าน คือ “อร่อย จัดเต็ม เหมือนทำกินเองที่บ้าน” โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ อร่อย คือ อาหารที่อร่อยประกอบไปด้วยการมีรสชาติที่ดีโดยสูตรเฉพาะตัวที่ทางร้านคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ถูกปากของคนไทย โดยถูกปรุงขึ้นอย่างสะอาดและมีคุณค่าทางโภชนาการด้วยอาหารที่สดแทบไม่ผ่านการปรุงแต่ง จัดเต็ม คือ ลักษณะการทานอาหารของลูกค้าที่ทางร้านคาดหวังให้ลูกค้าทุกคนที่เข้ามาทานอาหารของทางร้าน จะต้องได้คุณภาพและปริมาณที่จัดเต็ม ส่งผลต่อการนำเสนออาหารการจัดจานที่มีขนาดใหญ่เต็มจานทั้งแบบ A la carte และ Buffet เหมือนทำกินเองที่บ้าน คือ ทางร้านมุ่งหวังให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารที่มีความสะอาดปลอดภัยเหมือนการทำอาหารทานเองในบ้าน รวมถึงบรรยากาศการทานอาหารที่มีความผ่อนคลายไม่แออัดและเป็นกันเอง ตกแต่งอย่างสวยงามสบายตา ร้านคินส์ เดอะ บูตะ เปิดดำเนินการครั้งแรกวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2013 และปัจจุบันได้ทำการขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดในลักษณะแฟรนไชส์ รวมทั้งหมด 7 สาขา ซึ่งร้านเหมาะกับลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนหรือคู่รัก อาหารของทางร้านเน้นเรื่องความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยไม่ใช้วัตถุกันเสียและผงชูรส นอกจากจะตอบสนองเรื่องการรับประทานอาหารแล้ว ยังตอบสนองเรื่อง ไลฟ์ไตล์ด้วยการตกแต่งร้านที่โดดเด่นเป็นที่จดจำ …

พามาเบิ่ง ศึกธุรกิจบุฟเฟ่ต์ชาบูดังในจังหวัดขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปทานตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565

การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ในไตรมาส 1/2565 มีโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศรวม 121 โครงการ 12,915 หน่วย ลดลงทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย  -9.7% และ -17.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มี 134 โครงการ มีจำนวน 15,699 หน่วย นอกจากนั้น จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศในไตรมาสนี้ ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ปี (2558 – 2562) ซึ่งมีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินเฉลี่ยไตรมาสละ 26,000 หน่วย สำหรับประเภทที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน พบว่า ทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วน จำนวนหน่วยมากที่สุด 37.5% รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยว 34.5%, บ้านแฝด 18.9%, ที่ดินเปล่าจัดสรร 7.8% และอาคารพาณิชย์ 1.3% ตามลำดับ  หากพิจารณาเฉพาะภาคอีสาน พบว่า ภาคอีสานมีจำนวนหน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินมีจำนวน 14 โครงการ ลดลงจากปีก่อนหน้า -12.5% และ 1,295 หน่วย เพิ่มขึ้น 14.2% จังหวัดท่ีมีหน่วยได้รับใบอนุญาตจัดสรรท่ีดินสูงสุดในภาคอีสาน คือ นครราชสีมา ซึ่งมีจำนวน 5 โครงการ และ 946 หน่วย(คิดเป็น 7.3% ของประเทศ) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมาและบัวใหญ่   การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาส 1/2565 มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ทั้งประเภท บ้านที่ประชาชนสร้างเอง และบ้านในโครงการจัดสรร จำนวนประมาณ 85,858 หน่วย เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มีจำนวน 84,261 หน่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสแรกหลังจากที่มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างลดลงต่อเนื่องมาถึง 8 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 1/2563 อย่างไรก็ตาม จำนวนหน่วยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในไตรมาสนี้ ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (2558 – 2562) ซึ่งมีจํานวนที่ได้ใบอนุญาตก่อสร้างเฉลี่ย 86,282 หน่วย เมื่อแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับใบอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่อาคารชุดได้รับใบอนุญาตก่อสร้างลดลง โดยที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับอนุญาตก่อสร้างจำนวน 70,192 หน่วย เพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 และอาคารชุดมีจำนวน 15,666 หน่วย ลดลง -12.5% เมื่อพิจารณาเฉพาะภาคอีสาน พบว่า การออกใบอนุญาตก่อสร้างท่ีอยู่อาศัยแนวราบมีจำนวน 14,748 หน่วย …

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปทานตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565 อ่านเพิ่มเติม »

2 โรงพยาบาลเอกชนใหญ่ในภาคอีสาน ที่อยู่ในตลาดหุ้น

วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูเส้นทางของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร? โรงพยาบาลราชพฤกษ์ หรือ RPH เริ่มก่อตั้งในปี 2536 ในนามของบริษัท สีฐานการแพทย์ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์ ในนามโรงพยาบาลราชพฤกษ์ ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มี ชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น ด้านคุณภาพการรักษาพยาบาลภายใต้ราคาที่เหมาะสม ก่อตั้งโดยกลุ่มแพทย์และอาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทนาลัยขอนแก่น ในปี 2559 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท โรงพยาบาลราชพฤกษ์ จำกัด (มหาชน)” ต่อมาได้มองเห็นความต้องการของบริการทางด้านสาธารณสุขของประชาชนในบริเวณจังหวัดขอนแก่น โดยทางผู้ก่อตั้งได้เล็งเห็นว่าการให้บริการของสถานพยาบาลต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง และจังหวัดใกล้เคียงยังมีจำนวนไม่มากและไม่เพียงพอต่อความต้องการดังกล่าว จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งโรงพยาบาลราชพฤกษ์ขึ้นในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในทำเลที่มีการเติบโตสูง และอยู่บนถนนสายหลัก คือ ถนนมิตรภาพ โดยได้เริ่มเปิดดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2537 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในปัจจุบัน(วันที่ 31 ธันวาคม 2564) โรงพยาบาลราชพฤกษ์มีทุนจดทะเบียนรวม 546 ล้านบาท มีจำนวนเตียงผู้ป่วย จำนวน 198 เตียง โดยมีห้องตรวจทั้งหมด 36 ห้อง และศูนย์การแพทย์ครบวงจร จำนวน 5 ศูนย์ ซึ่งบริษัทมีพันธกิจในการดำเนินธุรกิจ คือ “มุ่งมั่นพัฒนาและให้บริการด้านสุขภาพที่มีความปลอดภัยระดับ มาตรฐานสากล ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ค่าบริการที่เป็นธรรม เป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา มุ่งเน้นให้เกิดประสบการณ์ที่เป็นเลิศแก่ผู้รับบริการ” โดยบริษัทได้ยึดถือและปฏิบัติมานับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินงานโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งเป็นพันธกิจหลักที่บริษัทให้ความสำคัญเสมอมา โดยเป็นที่มาของการให้บริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทำให้ บริษัทได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นและศรัทธาจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นเหตุผลหลักประการหนึ่งที่ทำให้ผลการดำเนินงานบริษัทสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา หรือ NEW ก่อตั้งโดยกลุ่มครอบครัวตั้งสืบกุล เมื่อปี 2528 โดยได้รวบรวมกลุ่มแพทย์เพื่อจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาด 25 เตียง ต่อมาในปี 2533 ได้ขยายและจดทะเบียนเป็น โรงพยาบาลขนาด 100 เตียงจนปัจจุบัน และในปี 2539 บริษัทฯได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และมีทุนเรียกชำระแล้ว 100 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯมีความมุ่งมั่นดำเนินงานตามหลักการกำกับกิจการที่ดีเพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การเติบโตอย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับกิจการ ด้วยการคำนึงถึงความรับผิดชอบและการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ พร้อมมุ่งสู่การยกระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ด้วยการผนวกการบริหารจัดการประเด็นต่างๆ ด้านความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในทุกภาคส่วนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจและสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไปในอนาคต นับจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกในปี 2563 ส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งได้รับผลกระทบหนัก ทำให้ผลดำเนินงานที่ผ่านมาหดตัวอย่างหนัก ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากมาตรการปิดเมือง(ล็อกดาวน์) ทำให้จำนวนคนไข้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติลดลงอย่างมาก ขณะที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในไทยไม่มากนัก และส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐเป็นส่วนใหญ่ …

2 โรงพยาบาลเอกชนใหญ่ในภาคอีสาน ที่อยู่ในตลาดหุ้น อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง สถิติจำนวนประชากรของภาคอีสาน ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2565

พามาเบิ่ง สถิติจำนวนประชากรของภาคอีสาน ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2565   จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ามีเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลงของประชากร เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วส่วนใหญ่มีค่าติดลบ นั่นคือมีการลดลงของจำนวนประชากรในแทบทุกพื้นที่  อีกทั้งอัตราการเกิดของประชากรไทยที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ขณะที่ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะช้าลง สิ่งที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจมาจากความเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สมดุลประชากรไทยนั้นเปลี่ยนไปจากเดิม ตั้งแต่การแต่งงานช้า ความเครียดจากการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อบุตร และที่สำคัญก็คือภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงวิกฤติโควิด   อ้างอิงจาก: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view  https://www.bangkokbiznews.com/columnist/984841    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ประชากรอีสาน #สถิติประชากร

แรงงานอีสาน ไปทำงานต่างประเทศ  ที่ประเทศไหนมากที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 2565

แรงงานอีสาน ไปทำงานต่างประเทศ  ที่ประเทศไหนมากที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 2565 (มกราคม – มิถุนายน 2565)   ตั้งแต่ เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2565 แรงงานภาคอีสานที่ไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นจำนวนทั้งหมด 19,946 คน โดยประเทศที่แรงงานภาคอีสานเดินทางไปทำงานมีทั้งหมด 71 ประเทศ  โดยมี 5 อันดับแรกคือ ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, อิสราเอล, สวีเดน และ สาธารณรัฐเกาหลี   อ้างอิงจาก:  https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/e8a65d34d256eaa5599a4a95cce273ef.pdf  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แรงงานอีสาน

พามาเบิ่ง สำรวจแรงงานอีสานที่ไปทำงานต่างประเทศ ในครึ่งปีแรก 2565 

พามาเบิ่ง สำรวจแรงงานอีสานที่ไปทำงานต่างประเทศ ในครึ่งปีแรก 2565    ในครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน) แรงงานภาคอีสานที่ไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นจำนวน 19,946 คน โดยจังหวัด (ตามภูมิลำเนา) ของแรงงานที่ไปทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี, นครราชสีมา, ชัยภูมิ, ขอนแก่น และ บุรีรัมย์ ตามลำดับ   สาเหตุที่ทำให้แรงงานรุ่นใหม่ ออกไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากปัจจัยความต้องการแรงงานของหลายประเทศ ที่มีค่าแรงค่อนข้างสูง และบางประเทศประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ขาดแคลนแรงงาน เช่น เกาหลี และหลายประเทศในยุโรป    อีกทั้ง เนื่องจากสภาวะทางการเมืองในประเทศ และสถานการณ์โควิด ทำเด็กจบใหม่ไม่มีงานทำ เลยทำให้หลายคนต้องดิ้นรนไปหางานในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนที่จบการศึกษาสูง ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทย   ดังนั้นหน่วยงานรัฐ และกระทรวงแรงงาน ควรมีมาตรการสนับสนุนแรงงานรุ่นใหม่ ด้านการเติบโตทางตำแหน่งงาน และเงินเดือน ในด้านแรงงานที่ไปเรียนต่างประเทศ ควรมีการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้คนที่มีความถนัดเฉพาะทางกลับมาทำงานที่ไทย ในกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพมากขึ้น   อ้างอิงจาก: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/e8a65d34d256eaa5599a4a95cce273ef.pdf  https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/be8fae18f661917168e92fcbc2c1459b.pdf  https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2380467  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แรงงานอีสาน

พามาเบิ่ง  แนวทางพัฒนาและยกระดับของการเกษตรกรรมของภาคอีสาน ปี 2566-2570

เศรษฐกิจอีสานยังเผชิญความเปราะบางจากหลายปัจจัย ทั้งแผลเศรษฐกิจที่ลากยาวจาก COVID-19 รวมถึงเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกระทบต่อค่าครองชีพและปัญหาหนี้ครัวเรือน รวมถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนวทางพัฒนาภูมิภาคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการวางรูปแบบและเป้าหมายของภูมิภาค โดยอีสานมุ่งเป้าเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ผ่านการยกระดับการเกษตร (Green) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว (Growth) และการวางตัวเป็นฐานหลักของการค้าลุ่มแม่น้ำโขง (Gate) วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูการยกระดับการเกษตร (Green) ว่าเป็นอย่างไร? จากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ภาคเกษตรกรรมกำลังมีบทบาทกับชีวิตของคนในอีสานมากขึ้น อีกทั้งจากแรงงานที่ไหลเข้าสู่การเกษตรเป็นจำนวนมาก และอีสานยังถือครองพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรสูงที่สุดในประเทศ อย่างไรก็ตามอีสานยังเผชิญปัญหาในด้านการเกษตรอยู่หลายด้าน ทั้งผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ต่ำ รวมถึงส่วนใหญ่ยังเป็นการทำเกษตรที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยน้อย ดังนั้นการมุ่งเป้าให้อีสานเป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง จึงเป็นแนวทางที่ถูกเลือกเพื่อให้พัฒนาและยกระดับการเกษตรกรรมของอีสาน ภาคการเกษตรกำลังมีบทบาทกับแรงงานมากขึ้น แต่ค่าจ้างที่ต่ำอาจสะท้อนความไม่มั่นคงทางการเงินของแรงงานที่จะสูงขึ้น แรงงานเกือบครึ่งในอีสานอยู่ในภาคเกษตรกรรม และจากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้แรงงานมีการไหลเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมมากขึ้น แต่แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังเผชิญปัญหาค่าจ้างที่ต่ำซึ่งสะท้อนประเด็นพัฒนาสำคัญที่ต้องมี “การยกระดับภาคเกษตร” เพิ่มความมั่นคงทางการเงินให้กับโครงสร้างแรงงานหลักของภาค #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แนวทางพัฒนาและยกระดับของการเกษตรกรรมของภาคอีสาน #การเกษตรกรรมของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง สินค้าส่งออกหลักของผู้ประกอบการ SMEs ชายแดนอีสาน-สปป.ลาว

การค้าชายแดนของรายย่อย มีสินค้าส่งออกหลักเป็นกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็น ทำให้ชะลอตัวไวกว่าและมีแนวโน้มหดตัวลงชัดเจน การส่งออกชายแดนกับ สปป.ลาว ส่วนใหญ่ยังเป็นการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเข้มข้น โดยกลุ่มผู้ส่งออก SMEs มีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 20% สินค้าส่งออกหลักของผู้ประกอบการ SMEs คือกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ โดยมีปริมาณการนำเข้าอย่างมากในช่วงก่อนที่จะเกิดเงินเฟ้อ แต่ทันทีที่ปัญหาเงินเฟ้อใน สปป.ลาว เริ่มรุนแรง การนำเข้าสินค้าที่ไม่จำเป็นจึงหยุดชะงักและเริ่มหดตัว อ้างอิงจาก: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้าส่งออกชายแดน #SMEs

ส่องยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน ครึ่งปีแรก ทำรายได้เท่าไหร่ ?

ส่องยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน ครึ่งปีแรก ทำรายได้เท่าไหร่ ? สินค้า OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 10-20% ตั้งแต่ปี 2546 ในอนาคต สินค้าโอทอปหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะหลังโควิด-19 ซึ่งผู้บริโภคให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยั่งยืน ความเท่าเทียม ความแท้จริง ความหลากหลาย และสุขภาพที่ดี คุณค่าเหล่านี้จะต้องเข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์โอทอปยุคใหม่ นอกจากนี้ โลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ช่องทางออนไลน์และการชำระเงินแบบ cashless มีความสะดวกง่ายดาย โอกาสจึงเปิดขึ้นมาก โดยเฉพาะหากได้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และคล่องเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ ได้มีโอกาสกลับบ้านเกิด ภาครัฐจึงควรมีโครงการจูงใจให้คนกลับบ้าน สร้าง OTOP Academy เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้กลับเข้าไปชุบชีวิตผลิตภัณฑ์เดิม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หมายเหตุ : รายได้รวม เป็นรายได้จากทางยอดขายออนไลน์ และประเภทสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด เป็นรายได้รวมจากการขายออนไลน์และหน้าร้าน อ้างอิงจาก: http://logi.cdd.go.th/otop/ https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1013822 http://logi.cdd.go.th/otop/cdd_report/otop_r10.php… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #OTOP #สินค้าOTOP #นครราชสีมา #อุดรธานี #ศรีสะเกษ #อุบลราชธานี #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด #สกลนคร #สุรินทร์ #บุรีรัมย์ #อำนาจเจริญ

นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี แห่งแรกในอีสานใต้ คาดเฟส 1 แล้วเสร็จปี 2565

นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี แห่งแรกในอีสานใต้ คาดเฟส 1 แล้วเสร็จปี 2565   นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายปองพล อดิเรกสาร ประธานกรรมการบริษัท อุบลราชธานีอินดรัสตี้ จำกัด นำคณะผู้บริหารบริษัทฯ เข้าพบ เพื่อรายงานความคืบหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นนิคมแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ตั้งอยู่ใน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน คาดว่าเฟสที่ 1 จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565 ในปี พ.ศ. 2565 ได้มีแผนดำเนินการดังนี้ EIA ได้รับการอนุมัติ (EIA: การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อนุมัติโครงการ, เริ่มการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ และ ขายที่ดินโครงการ  ในปี พ.ศ. 2571 มีแผนพัฒนาโครงการดังนี้ การดำเนินโครงการ แล้วเสร็จ 50-70% และการขยายพื้นที่นิคมฯ นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีสอดรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่ และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศและต่างประเทศ  มีบทบาทเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ที่พร้อมไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์ และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลง จะสามารถแข่งขันในตลาด CLMV และช่วยให้เกิดการสร้างงานคนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงการค้าใน 4 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน มีรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่จะช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติ รวมทั้งยังมีจุดผ่านแดนที่สำคัญ ที่จะทำให้การขนส่งจากกรุงเทพฯ หรือจากท่าเรือภาคตะวันออกไปสู่พื้นที่ได้สะดวกขึ้น   อ้างอิงจาก :  สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี https://www.ubi.co.th/our-latest-news/1292 https://aic.moac.go.th/downloads/document/aic160963/009.pdf  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี #อุบลราชธานี #อุบลราชธานีอินดรัสตี้

Scroll to Top