พามาเบิ่ง  แนวทางพัฒนาและยกระดับของการเกษตรกรรมของภาคอีสาน ปี 2566-2570

เศรษฐกิจอีสานยังเผชิญความเปราะบางจากหลายปัจจัย ทั้งแผลเศรษฐกิจที่ลากยาวจาก COVID-19 รวมถึงเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกระทบต่อค่าครองชีพและปัญหาหนี้ครัวเรือน รวมถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนวทางพัฒนาภูมิภาคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการวางรูปแบบและเป้าหมายของภูมิภาค โดยอีสานมุ่งเป้าเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ผ่านการยกระดับการเกษตร (Green) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว (Growth) และการวางตัวเป็นฐานหลักของการค้าลุ่มแม่น้ำโขง (Gate)

วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูการยกระดับการเกษตร (Green) ว่าเป็นอย่างไร?

จากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ภาคเกษตรกรรมกำลังมีบทบาทกับชีวิตของคนในอีสานมากขึ้น อีกทั้งจากแรงงานที่ไหลเข้าสู่การเกษตรเป็นจำนวนมาก และอีสานยังถือครองพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรสูงที่สุดในประเทศ

อย่างไรก็ตามอีสานยังเผชิญปัญหาในด้านการเกษตรอยู่หลายด้าน ทั้งผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ต่ำ รวมถึงส่วนใหญ่ยังเป็นการทำเกษตรที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยน้อย

ดังนั้นการมุ่งเป้าให้อีสานเป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง จึงเป็นแนวทางที่ถูกเลือกเพื่อให้พัฒนาและยกระดับการเกษตรกรรมของอีสาน

ภาคการเกษตรกำลังมีบทบาทกับแรงงานมากขึ้น แต่ค่าจ้างที่ต่ำอาจสะท้อนความไม่มั่นคงทางการเงินของแรงงานที่จะสูงขึ้น

แรงงานเกือบครึ่งในอีสานอยู่ในภาคเกษตรกรรม และจากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้แรงงานมีการไหลเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมมากขึ้น แต่แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังเผชิญปัญหาค่าจ้างที่ต่ำซึ่งสะท้อนประเด็นพัฒนาสำคัญที่ต้องมี “การยกระดับภาคเกษตร” เพิ่มความมั่นคงทางการเงินให้กับโครงสร้างแรงงานหลักของภาค

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แนวทางพัฒนาและยกระดับของการเกษตรกรรมของภาคอีสาน #การเกษตรกรรมของภาคอีสาน

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top