June 2022

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ?

ปี 2565 (มกราคม-เมษายน) ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 10 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 15,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.57% จากปี 2564 (มกราคม-เมษายน) ที่มีรายได้ 11,800 ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ    5 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ปี 2565 เทียบกับ ปี 2564 อันดับ 1. นครราชสีมา 2,991 ล้านบาท | 3,150 ล้านบาท อันดับ 2. ขอนแก่น 2,574 ล้านบาท | 1,577 ล้านบาท อันดับ 3. อุดรธานี 1,694 ล้านบาท | 1,296 ล้านบาท อันดับ 4. บุรีรัมย์ 1,673 ล้านบาท | 914 ล้านบาท อันดับ 5. เลย 941 ล้านบาท | 531 ล้านบาท จะเห็นว่า ปี 2565 การท่องเที่ยวในภาคอีสานมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากรัฐบาลเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่แนวโน้มดีขึ้น   อีกทั้ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงข่าวเปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยว ” Unseen New Series” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 25 Unseen New Series โดยคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ จำนวน 25 แหล่งจากทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น   สำหรับแหล่งท่องเที่ยว Unseen New Series ในภาคอีสาน ประกอบไปด้วย 5 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา , พญานาค 3 พิภพ จ.มุกดาหาร , ภูพระ จ.เลย , หอโหวด จ.ร้อยเอ็ด และโลกของช้าง จ.สุรินทร์   อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังมีมาตรการที่ขับเคลื่อนนโยบายเปิดประเทศ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมถึงการเน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้รายได้ของภาคอีสานเพิ่มขึ้นจากปี 2564 …

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? อ่านเพิ่มเติม »

แดงกับวีที พี่น้องตระกูลแหนมเนือง ธุรกิจร้านอาหารเจ้าใหญ่ ในภาคอีสาน

แดงกับวีที พี่น้องตระกูลแหนมเนือง   เมื่อนึกถึงแหนมเนืองอีสาน หลายคนคงนึกถึง “แดง แหนมเนือง” และ “วีที แหนมเนือง”  แต่รู้หรือไม่? แดงกับวีที เป็นพี่น้องกันที่ขายแหนมเนืองในจังหวัดหนองคายและอุดรธานี   “แดง แหนมเนือง” กับ “วีที แหนมเนือง” เป็น 2 ใน 8 พี่น้องของคุณพ่อตวน โฮวัน และคุณแม่วี แซ่เรือง สองสามี-ภรรยา ที่อพยพสงครามอินโดจีนเข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดหนองคาย คุณแม่วีจึงลองนำความรู้ที่ติดตัวมาปรุงรสเป็นแหนมเนืองที่มีรสชาติถูกปากคนไทยมากขึ้น ใส่หาบเร่ขายในจังหวัดหนองคาย เมื่อมีเงินเก็บได้จำนวนหนึ่งจึงเช่าร้าน 1 คูหาในตัวเมืองจังหวัดหนองคายในปี 2511 เพื่อเปิดร้านแหนมเนืองร้านแรกในจังหวัดหนองคาย   คุณแม่วีได้ตั้งชื่อร้านว่า “แหนมเนือง” เมื่อหลังจากคุณแม่วีได้เปิดร้านแหนมเนืองได้ไม่กี่ปี ทางการไทยมีการกวดขันชาวเวียดนามอพยพเป็นพิเศษ ทำให้คุณแม่วีเปลี่ยนชื่อเป็น “แดง แหนมเนือง” จากชื่อของแดง–วิภาดา จิตนันทกุล ลูกคนที่สองของแม่วี (ลูกสาวคนโต) ผู้ที่ช่วยงานแม่วีทำแหนมเนืองขายมาตลอด และได้เข้ามาสานต่อกิจการ เนื่องจากผู้เป็นแม่ล้มป่วยด้วยโรคหัวใจไม่สามารถทำงานหนักได้   อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของแม่วีเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีลูกมากถึง 8 คนคุณ ทอง กุลธัญวัฒน์ ลูกคนที่ 5 จึงขอแยกตัวเองออกมาทำงานนอกบ้านในหลากหลายอาชีพ จนมาถึงปี 2540 ได้เปลี่ยนอาชีพมาทำแหนมเนืองจากสูตรของคุณแม่วี ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อไม่ให้เป็นคู่แข่งกับธุรกิจแดง แหนมเนืองของพี่สาว พร้อมตั้งชื่อร้านแหนมเนืองว่า “วีที แหนมเนือง” เป็นชื่อที่มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษของชื่อแม่วี และพ่อต่วน มีรูปหมวกเวียดนามกำกับบนโลโก้ เพื่อสื่อสัญลักษณ์ของชาวเวียดนาม   นี่คือจุดกำเนิดของ “แดง แหนมเนือง” และ “วีที แหนมเนือง” ของลูกแม่วี และพ่อต่วน ที่ได้ชื่อว่า ผู้บุกเบิกอาหารแหนมเนืองในประเทศไทย  และเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา แวดวงคนทำธุรกิจร้านอาหารและลูกค้าจำนวนมาก ต่างตกใจกับการจากไปในวัย 63 ปี ของคุณแดง วิภาดา จิตนันทกุล ซึ่งในปัจจุบัน คุณณัฐ ศัตภัทร สหัชพงษ์  น้องชายของคุณแดง วิภาดา  เป็นผู้จัดการร้านแดงแหนมเนือง จังหวัดหนองคาย   สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจร้านอาหาร หรืองานบริการอะไรก็ตาม ควรยึดหลักทำด้วยใจรัก และเอาใจใส่ โดยต้องทำให้เกิดคุณภาพของงานนั้นๆ เช่น การทำร้านอาหารต้องใส่ใจเรื่องรสชาติ ความสดของวัตถุดิบ ความตั้งใจในงานบริการนั้น เป็นที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งทางร้านจึงไม่เลือกปฎิบัติเฉพาะกลุ่มลูกค้า  แต่ต้องทำให้ลูกค้าทุกคนมีพึงพอใจ ขณะที่ราคาสินค้าก็ต้องการให้ตลาดกลางและตลาดล่างสามารถเข้าถึงได้ . อ้างอิงจาก: https://marketeeronline.co/archives/112086 https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_82012 https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/smestory/pages/success-vt.aspx    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แหนมเนือง #แดงแหนมเนือง #หนองคาย #วีทีแหนมเนือง #อุดรธานี 

พิษเศรษฐกิจ ปิดคลังพลาซ่า ยอดขายหดไม่ถึงแสนบาท

พิษเศรษฐกิจ ปิดคลังพลาซ่า    บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด ภายใต้การบริหารของนายไพรัตน์ มานะศิลป์ เป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า มีทั้งหมด 3 สาขา ประกอบด้วย คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์, คลังพลาซ่า สาขาจอมสุรางค์ และคลังวิลล่า สาขาสุรนารายณ์   เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด เจ้าของห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า” จังหวัดนครราชสีมา ออกประกาศแจ้งปิดการให้บริการห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์” ซึ่งเป็นสาขาแรกและอยู่ใจกลางเมืองโคราช ที่เรียกกันว่า “คลังเก่า” ตั้งแต่ 31 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ คลังพลาซ่า สาขาถนนจอมสุรางค์ยาตร ที่เรียกกันว่า “คลังใหม่” ได้สั่งปิดชั่วคราวไปเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564    โดยระบุสาเหตุในการกิจการ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีความยากลำบากมากขึ้น จากสงครามและมาตรการคว่ำบาตรซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในขณะนี้  จากเดิมเคยมีรายได้วันละ 2-3 ล้านบาท ปัจจุบันยอดขายเหลือไม่ถึงแสนบาท    ทั้งนี้ คลังพลาซ่าจอมสุรางค์ยาตร  ได้มีการรีโนเวทครั้งใหญ่ไปตั้งแต่ปี 2557 ลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท รีโนเวทใหญ่ทุกชั้นทุกแผนกของ”คลังพลาซ่า จอมสุรางค์” ทั้งอาคาร 9 ชั้น ให้เป็นสไตล์โมเดิร์น ขยายพื้นที่ขายจาก 20,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) เป็น 30,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 33 %    เมื่อ 20 ก.พ. 2565 มีการปลดป้ายเดิมและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ARPAYA อาภาญา”  โดย นายไพรัตน์ ชี้แจงว่า เป็นการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่ จากวิกฤต COVID-19 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ห้างสรรพสินค้าดีพาร์มเมนต์ที่แยกแผนกสินค้าต่าง ๆ ไม่ตอบโจทย์ยุคใหม่ ต้องปรับตัวใหม่ไปสู่ทางที่ดีกว่าเดิม   ช้อปปิ้งมอลล์ สู่ มิกส์ยูส “อาภาญา” ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์มัลติยูส ที่เป็นอาคารเอนกประสงค์หลากหลายธุรกิจมารวมอยู่ในพื้นที่ โดยจะมีพื้นที่เช่าเกี่ยวกับด้านศูนย์การศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านกีฬา ด้านเทคโนโลยี เป็นอาคารเพื่อการเรียนรู้ และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ออฟฟิศ ร้านค้า เพราะอยู่ทำเลใจกลางเมือง ใกล้หน่วยงานราชการ การเดินทางสะดวก    อย่างไรก็ตาม มียืนยันจาก นายไพรัตน์ มานะศิลป์ …

พิษเศรษฐกิจ ปิดคลังพลาซ่า ยอดขายหดไม่ถึงแสนบาท อ่านเพิ่มเติม »

5 อันดับ สินค้ายอดฮิตนำเข้าและส่งออกชายแดนไทย – สปป.ลาว ปี 2565 (มกราคม – เมษายน)

5 อันดับ สินค้ายอดฮิตนำเข้าและส่งออกชายแดนไทย – สปป.ลาว ปี 2565 (มกราคม – เมษายน) มูลค่าการส่งออกไทยสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ในปี 2565 ที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 50,993 ล้านบาท และยังคงมีแนวโน้มที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งพบว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 ( ม.ค. – เม.ย. )  มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 43,247  ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามากถึง 7,746 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 17.9   อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้ายังคงมีแนวโน้มที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการนำเข้าไทยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ในปี 2565 ที่ผ่านมามีมูลค่าการนำเข้า 33,544 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 พบว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี ( ม.ค. – เม.ย. )  มีมูลค่าการนำเข้า 27,863  ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามากถึง 5,681 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 20.4   สินค้าที่ไทยส่งออกให้สปป.ลาวมากที่สุดคือน้ำมันดีเซล เนื่องจากลาวเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำมัน ลาวต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยมากถึง 90% หรือต้องการน้ำมันประมาณ 120 ล้านลิตรต่อเดือน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน    แต่ปัจจุบันลาวสามารถซื้อได้เพียงแค่ 20 ล้านลิตรต่อเดือน คิดเป็นเพียง 1 ใน 6 ของความต้องการเท่านั้น เนื่องจากสปป.ลาวมีดุลการค้าและบริการที่ติดลบมานาน ส่งผลให้ค่าเงินลาวจึงอ่อนมาก และอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงมาก (เดือนเมษายนที่ผ่านมา สูงถึง 9.9%) . อ้างอิง: กรมการค้าต่างประเทศ https://www.prachachat.net/local-economy/news-939185 https://www.longtunman.com/38342   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้านำเข้า #สินค้าส่งออก #ลาว #ไทยลาว

ภาคอีสาน มีผลผลิตทางการเกษตรอิหยัง หลายที่สุด ผลผลิตทางการเกษตร ปี 2564

พามาเบิ่ง 5 อันดับผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสานที่มากสุด มีอิหยังแหน่ . ผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสาน ในปี 2564 มีจำนวน 20.9 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี 2563 มากกว่า 13.4 ล้านตัน  ผลผลิตลดลง เนื่องจากปัญหาด้านสภาพอากาศและการเกิดอุทกภัยในแหล่งผลิตสำคัญในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้ผลผลิตที่ต้องเก็บเกี่ยวในช่วงไตรมาสนี้บางส่วนได้รับความเสียหาย . ในปี 2564 ผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสาน 5 อันดับ มีดังนี้ มันสำปะหลังโรงงาน มีผลิตทั้งหมด 19.9 ล้านตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 3.6 ล้านตัน (22.2%) โดยมีปัจจัยที่ทำให้เพิ่มขึ้น คือ การขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตในปี 2564 อยู่ที่ 9.16 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 2.8% จากปี 2563 เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจจากการปรับขึ้นของราคามันสำปะหลังตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 2563 และโครงการสนับสนุนภาคเกษตรจากรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการประกันรายได้ และอีกหนึ่งปัจจัย คือ ปริมาณฝน และน้ำในเขื่อนที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก  ข้าวนาปรัง มีผลิตทั้งหมด 1.07 ล้านตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 353,800 ตัน (49.6%) เนื่องจากข้าวนาปรัง เป็นนาข้าวที่ทำนอกฤดูทำนา ปลูกง่าย ไวต่อแสง เป็นข้าวที่มีผลผลิตค่อนข้างแน่นอน เพราะสามารถนับอายุการปลูกข้าวได้ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนถึงการเก็บเกี่ยว และมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญและแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีมากขึ้น เกษตรกรจึงขยายการเพาะปลูกในพื้นที่นาปรังเดิมที่เคยปล่อยว่าง มันฝรั่งโรงงาน มีผลิตทั้งหมด 7,791 ตัน  ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 453 ตัน (6.2%) โดยตั้งแต่ปี 2559 – 2563 ความต้องการใช้มันฝรั่งภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ผู้ประกอบการแปรรูปมันฝรั่งมีแผนการขยายการผลิตมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปี 2564 มีผลผลิตที่มากขึ้น และการปลูกมันฝรั่งของภาคอีสานมักปลูกทดแทนการปลูกข้าวนาปรังหลังจากฤดูทำนา โดยปลูกเฉพาะมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน (สำหรับแปรรูป) ลิ้นจี่ มีผลิตทั้งหมด 1,580 ตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 335 ตัน (26.9%) โดยจังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุดคือจังหวัดนครพนม พบว่า เกษตรกรนิยมลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตั้งแต่ปี 2560 จึงมีเกษตรกรเริ่มหันมาสนใจเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น กระเทียม มีผลิตทั้งหมด 911 ตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 125 ตัน (15.9%) จากการประกาศขึ้นทะเบียนกระเทียม GI กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการส่งเสริมการจัดทำระบบการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นปัจจัยทำให้จังหวัดศรีสะเกษมีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 …

ภาคอีสาน มีผลผลิตทางการเกษตรอิหยัง หลายที่สุด ผลผลิตทางการเกษตร ปี 2564 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภค ภาคอีสาน เดือนพฤษภาคม 2565

ดัชนีราคาผู้บริโภค  เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ  โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป   สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด . ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 106.62 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 7.1% (YoY) โดยในเดือนเมษายน 2565 สูงขึ้น 4.65% . ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้น การยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร  . นอกจากนี้ ฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างต่ำ จึงมีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ที่ 7.1%อย่างไรก็ตาม ข้าวสาร เครื่องนุ่งห่ม ค่าเช่าบ้าน การศึกษา ราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ 2.28% (YoY) . เมื่อจำแนกดัชนีราคาผู้บริโภครายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้น 7.95% รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯและปริมณฑล สูงขึ้น 7.46%,  6.98% และ 6.85% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 6.53% . พิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้้ามันเชื้อเพลิง อาหาร สำเร็จรูป เนื้อสุกร และน้ำมันพืช สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด เช่น ขิง ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว เป็นต้น . อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสาน ที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร  สูงขึ้น 12.54% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 34.22% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก หมวดเคหสถาน  สูงขึ้น 5.85% ค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 45.44% ตามการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2565 และราคาก๊าซหุงต้มสูงขึ้น 5.16% จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 5.41% ในด้านกลุ่มอาหารสด เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่  ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสดราคาเปลี่ยนแปลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด ส่วนเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับขึ้นตามต้นทุน . แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2565  . มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับสูง …

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภค ภาคอีสาน เดือนพฤษภาคม 2565 อ่านเพิ่มเติม »

“ ปลดล็อกกัญชา ” มูลค่าเติบโตจากปีก่อนมากกว่า 7,000 ล้านบาท บุรีรัมย์เตรียมจัดมหกรรมใหญ่ รับปลดล็อก

การปลดล็อก “กัญชา-กัญชง” ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นแรงกระตุ้นให้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีสารสกัดจากกัญชา กัญชงออกสู่ตลาดมากมาย และส่งผลให้ตลาดกัญชา กัญชงเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปีก่อนมีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท โดย 5 กลุ่มสินค้าที่ต้องจับตาดู ได้แก่ เครื่องดื่ม อาหาร ยาและอาหารเสริม เครื่องแต่งกาย และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล . นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่าธุรกิจกัญชา ยังเป็นบลูโอเชี่ยน (พื้นที่ทางธุรกิจที่เน้นการแข่งขันในการสร้างความต้องการใหม่ ผ่านการสร้างสินค้าใหม่) และไวท์โอเชี่ยน (การทำธุรกิจบนพื้นฐานความดีและความยั่งยืน โดยไม่มองผลกำไรเป็นตัวตั้ง) ที่มีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจเศรษฐกิจด้วยการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในวงกว้างได้ เนื่องจากมีช่องว่างในตลาดอยู่มาก . ซึ่งช่องว่างทางธุรกิจที่สามารถสอดแทรกเข้าไปดำเนินการได้ทุกระดับและกว้างขวางมาก โดยกระทรวงสาธารณสุขมุ่งต่อยอดนวัตกรรมกัญชา กัญชง ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการส่งเสริมแหล่งปลูกเป็นเส้นทางท่องเที่ยว เป็นศูนย์การเรียนรู้ และส่งเสริมเป็นผลิตภัณฑ์ในเวลเนส เซ็นเตอร์ . จังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการเตรียมจัดมหกรรมใหญ่รับ “ปลดล็อกกัญชา” โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงความพร้อมการจัด “มหกรรม 360 องศา ปลดล็อกกัญชา ประชาชนได้อะไร” วันที่ 10-12 มิถุนายน 2565 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนใช้ “กัญชา” โดยเน้นย้ำเรื่องของการใช้อย่างถูกต้องและใช้อย่างเข้าใจ ไม่ให้เกิดการนำไปใช้ในทางที่ผิดได้อย่างถูกต้องในทุกมิติ ตอบรับการปลดล็อกจากยาเสพติด พร้อมแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์กัญชา-อาหาร และคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด 19 . โดยมีกิจกรรมและสาระความรู้เกี่ยวกับกัญชาในหลายมิติ ที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชน ผู้ป่วย และผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ การจัดนิทรรศการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ตำรับยาที่สกัดจากกัญชา ผลิตภัณฑ์จากกัญชา คลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการให้บริการตรวจรักษาแก่ประชาชนที่มาร่วมงานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย . นอกจากนี้ ยังมีเวทีสัมมนาวิชาการ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศมาให้ความรู้ มีเมนูอาหารจากกัญชารสชาติดี ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย รวมถึงมีบูธให้คำแนะนำการนำกัญชามาประกอบอาหารอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจแก่ผู้ร่วมงาน ด้วยมาตรการป้องกันโควิด 19 อย่างเคร่งครัด . . อ้างอิง: https://www.thansettakij.com/business/522874 https://www.thansettakij.com/business/526790 https://pr.moph.go.th/?url=pr%2Fdetail%2F2%2F04%2F174584 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ปลดล็อกกัญชา #กัญชา #กัญชง #บุรีรัมย์

ชวนเบิ่ง ปัญหาหนี้ครัวเรือนของภาคอีสานที่ต้องจัดการ

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในปี 2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 14.58 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 3.9% ใกล้เคียงกับการเติบโตของยอดคงค้างหนี้ในปี 2563 ที่ 4% แต่เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจที่ยังเติบโตช้า ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงขึ้นมาที่ระดับ 90.1% ในปี 2564 จากระดับ 89.7% ในปี 2563 . อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่อยู่กับเศรษฐกิจมานาน และมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในรอบนี้ เมื่อครัวเรือนมีรายได้จากการทำงานก็ต้องนำรายได้นั้นไปใช้คืนหนี้ เหลือใช้จ่ายน้อยลงทำให้การบริโภคลดลง จนส่งผลให้บั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินการคลังของรัฐไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ . อันดับภาคที่มีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุด (หน่วย : บาท) 1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 217,802 2. ภาคเหนือ 206,544 3. ภาคกลาง 200,744 4. ภาคใต้ 181,449 . เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายภาค ภาคใต้มีหนี้ครัวเรือนน้อยที่สุด ในขณะที่ภาคอีสาน มีหนี้ครัวเรือนสูงสุดกว่าทุกภาค โดยคนภาคอีสานแบกรับภาระหนี้ครัวเรือนเฉลี่ย 217,802 บาท . ครัวเรือนที่มีหนี้ในภาคอีสานส่วนใหญ่ คือ ครัวเรือนที่มีรายได้จากการเกษตร (ที่ต้องพึ่งพาสภาพดิน ฟ้า อากาศ) เงินโอนจากสมาชิกครอบครัว หรือเงินโอนภาครัฐ เป็นสัดส่วนสูงเกือบ 30% ของรายได้ทั้งหมด ทำให้มีภาวะเสี่ยงขาดสภาพคล่อง เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดไม่ว่าจะเป็น ถูกให้ออกจากงาน หรือการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุในการก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้นเพื่อใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นการก่อหนี้ที่ไม่สร้างผลตอบแทนในอนาคต . เมื่อขาดสภาพคล่องทางการเงิน ครัวเรือนจำนวนมากต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง มีการพึ่งพาบริการสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักประกันในการกู้ยืม ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องและแก้ไขปัญหารายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งทิศทางดอกเบี้ยที่อาจเริ่มขยับขึ้นในอนาคต จนอาจทำให้ไม่สามารถชำระหนี้สินไหว และนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมา . ดังนั้น อาจแก้ได้ด้วย การเพิ่มโอกาสให้แต่ละครัวเรือนมีการพัฒนาทักษะแรงงานเสริม เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น สร้างแรงจูงใจให้คนเพิ่มการเก็บออม และวางแผนทางการเงินเพื่อการใช้จ่ายในอนาคต เพื่อลดความเสี่ยงในวัยเกษียณ . . ที่มา : https://www.thansettakij.com/insights/499067 https://www.thansettakij.com/money_market/519845 http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx https://www.bot.or.th/…/Doc…/X-ray%20Regional%20Debt.pdf https://www.kasikornresearch.com/…/Household-Debt-FB-11… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หนี้ครัวเรือน

วิกฤตทุเรียนล้นตลาด ซีพีเปิดโครงการ Let’s DO RIAN ช่วยเกษตรกรอีสาน

เมื่อพูดถึงทุเรียนอีสาน หลายคนจะนึกถึงทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ซึ่งเป็นชนิดที่ปลูกบนดินภูเขาไฟเก่าที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้ทุเรียนมีรสชาติที่อร่อย กรอบนอกนุ่มใน รสหวานมัน เปลือกบาง ที่สำคัญกลิ่นอ่อนไม่ฉุน แม้เนื้อทุเรียนสุกแล้วก็ตาม จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ชอบทุเรียนกลิ่นฉุน . อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างชื่อเสียง และรายได้ให้จังหวัดศรีสะเกษจำนวนมาก ล่าสุดทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเป็นหนึ่งในวาระการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรบูรณาการของจังหวัด ที่มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกรในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ . จากปัญหาการส่งออกทุเรียนไทยไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ เกษตรกรเผชิญปัญหาทุเรียนล้นตลาด คาดว่าปี 2565 นี้จะทะลุ 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 22% จากปีก่อน ซึ่งเดือนพฤษภาคม ทุเรียนจะออกมาอีกประมาณ 3.5 แสนตัน . เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สถาบันผู้นำเครือซีพีจึงวางเป้าหมายช่วยกระจายผลผลิตทุเรียนเพื่อการบริโภคภายในประเทศผ่านช่องทางค้าปลีกของเครือซีพี ในโครงการ Let’s Do Rian สร้างอาชีพเถ้าแก่ทุเรียน มุ่งสนับสนุนขยายตลาดให้เกษตรกรไทย โดยการจัดทำร้านขายทุเรียนกว่า 500 จุด ตั้งอยู่บริเวณหน้าร้านค้าปลีกค้าส่งในเครือซีพีทั่วประเทศ ได้แก่ ห้างโลตัส, โลตัส โก เฟรช, ซีพี เฟรช และร้านเซเว่น อีเลฟเว่น . พร้อมกับประกาศรับสมัครพ่อค้าแม่ค้าประจำทุกจุดขาย เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพในช่วงฤดูกาลทุเรียนที่มีระยะเวลาประมาณ 100 วัน ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นที่ 20,000 บาท และคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ตั้งแต่เดือนแรกของการขาย . ทั้งนี้ เครือซีพีจะรับซื้อทุเรียนคุณภาพโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น กลุ่มเกษตรกรสมาชิกการเกษตรเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ทุเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมไปถึงทุเรียนภาคอีสาน ทุเรียนภูเขาไฟ จากกลุ่มเกษตรกรคุณภาพที่มีเครื่องหมาย GI เป็นต้น ส่งต่อไปยังร้านค้า Let’s DO RIAN เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคทั่วประเทศ . ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่กำลังมองหาช่องทางในการขายและกระจายผลผลิตในช่วงนี้ ที่ไม่เพียงแต่เพิ่มโอกาสในการขาย แต่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับทุเรียน โดยมีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการในทุกด้าน และเปิดโอกาสให้ Supply Chain ได้เติบโต ทั้งเกษตรกรสวนทุเรียน ผู้ประกอบการและแรงงานคัดทุเรียน คนขับรถขนส่ง ได้มีอาชีพ . . อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000046586 https://workpointtoday.com/cp-lets-do-rian-project/ https://siamrath.co.th/n/160933 . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

Scroll to Top