October 2021

สารพัดปัจจัยรุมเร้า เตรียมรับมือกับราคาสินค้าและค่าบริการที่อาจสูงขึ้นอีก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทุเลาลง เศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวและมีผลต่อเนื่องให้ความต้องการบริโภคสูงขึ้น เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบจาก 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นมามากกว่า 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปีนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงระดับที่ภาครัฐต้องออกมาควบคุมไม่ให้น้ำมันกลุ่มดีเซลมีราคาสูงไปกว่าลิตรละ 30 บาท . จากการที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ออกมาเปิดเผยข้อมูล ว่าในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา (ก.ย. 63 – ก.ย. 64) ราคาสินค้าและค่าบริการขยับเพิ่มขึ้น 204 รายการ* เช่น . น้ำมันปาล์ม/ลิตร ราคาเฉลี่ยเดือนกันยายน เท่ากับ 47.03 บาท เพิ่มขึ้น 11.11 บาท จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า . ข้าวราดแกง/จาน ราคาเฉลี่ยเดือนกันยายน เท่ากับ 36.77 บาท เพิ่มขึ้น 0.35 บาท จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า . ไข่ไก่ เบอร์ 2 /ฟอง ราคาเฉลี่ยเดือนกันยายน เท่ากับ 3.79 บาท เพิ่มขึ้น 0.31 บาท จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า . รวมไปถึงกลุ่มอาหารสดบางรายการ ที่ตอนสำรวจส่วนใหญ่จะมีราคาต่ำกว่าปีก่อน แต่จากผลกระทบของมหาอุทกภัยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังเพิ่มขึ้นอยู่ (ค่าขนส่งแพงขึ้น) ก็ย่อมทำให้ระดับราคาโดยเฉพาะผักและผลไม้ผันผวนไปจากที่คาดการณ์ไว้ได้ . ภาคอีสานสามารถเช็กราคาผักและผลไม้ ได้จากตลาดศรีเมืองทอง (ตลาดกลาง) จ.ขอนแก่น https://web.facebook.com/simuangthong/ . แน่นอนว่าราคาที่สูงขึ้นกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค รัฐบาลจึงต้องหาวิธีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งออก การลงทุน (การเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น) และการท่องเที่ยว (นโยบายเปิดประเทศที่จะเริ่ม 1 พฤศจิกายน นี้) แต่ยังต้องคำนึงถึงการบริโภคภายในประเทศด้วย . อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ค่าไฟเตรียมปรับขึ้นอีก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เผยว่า ก๊าซ LNG เชื้อเพลิงหลักของโรงไฟฟ้า ปรับราคาขึ้นสูงสุดในรอบหลายปี แน่นอนว่าจะกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยตรง . ดังนั้น ไตรมาส 4 / 2564 หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าบริการอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มเติม นอกจากกำลังซื้อของผู้บริโภคจะลดลงแล้ว เงินเฟ้อก็มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอีก . . * ราคาสินค้าและบริการที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา อ้างอิงจากข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค การคำนวณดัชนีนี้เกิดจากการเปรียบเทียบราคาสินค้าและบริการ (จำนวน 430 รายการ) ที่จำเป็นต่อการครองชีพ กับราคาในปีฐาน และคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นอัตราเงินเฟ้อโดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุด เดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว1.68% . . อ้างอิง: https://siamrath.co.th/n/290603# https://www.prachachat.net/economy/news-778804 https://www.price.moc.go.th/…/file…/indices_all.pdf

AgriTech พลิกโฉมอนาคต ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรไทย

คำกล่าวที่ว่า “เกษตรกรรมคือวิถีชีวิตแห่งสังคมไทย” โดยเฉพาะคนอีสานที่กว่า 3.57 ล้านครัวเรือนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภาพต่ำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภัยคุกคามทางธรรมชาติ รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่างมองว่าการก้าวเข้าสู่ธุรกิจเกษตรเป็นเรื่องยากและอาจไม่คุ้มค่า . เทคโนโลยี IoT ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่เข้ามาช่วยปลดล็อกปัญหาและสร้างความ ท้าทายหลายประการให้กับธุรกิจเกษตร รวมท้ังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีเกษตร (Agritech: Agricultural Technology) . AgriTech คืออะไร ? . Agritech คือ การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จากเดิมที่ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์เดิม (Knowhow) ในการจัดการผลิตและพึ่งพาการใช้แรงงานแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเพาะปลูก (Precision Farming) ในการเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจเกษตรซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน รวมทั้งลดการพึ่งพาแรงงานซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง . IoT สำหรับธุรกิจเกษตรเริ่มต้นจากการใช้เทคโนโลยี “เซ็นเซอร์” ติดตามและตรวจสอบ สถานะข้อมูลที่จำเป็นในการเพาะปลูกแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความเข้มของแสง อุณหภูมิ ความชื้นในดิน สภาพอากาศ เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกเชื่อมโยงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเก็บเข้าไปอยู่ในระบบคลาวด์ (Cloud) . ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประมวลผลส่งกลับไปยังผู้ใช้งาน ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นจุดตั้งต้นสำคัญ ที่จะนำมาใช้พัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะทำหน้าที่คิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจในกระบวนการเพาะปลูกแทนมนุษย์มากยิ่งขึ้น . . 5 เหตุผลที่ธุรกิจเกษตรควรปรับตัวมาใช้ IoT . 1. เทคโนโลยี IoT จะเป็นตัวช่วยให้เกษตรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น . ในลักษณะ Decentralized โดยจะทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถบริหารจัดการผลิตได้ด้วยตนเองจากการใช้ฐานข้อมูลที่มีแบบเรียลไทม์ และมีความเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ผลิตจริง อีกทั้งรับมือความท้าทายของผู้ประกอบการ ในยุคสินค้าออร์แกนิคกำลังเป็นที่นิยม . 2. ช่วยลดความเสียหายของผลผลิตจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว . ปรากฏการณ์เอลนิโญ่มีความถี่มากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกโดยรวมมีความแปรปรวน และส่งผลกระทบมากขึ้นเป็นลำดับ สะท้อนจากดัชนีชี้วัดปรากฏการณ์เอลนิโญ่ (El Niño) และลานิญ่า (La Nina) หรือ Oceanic Niño Index (ONI) ซึ่งอุณหภูมิพื้นผิวโลกที่สูงขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมในภูมิภาคเขตร้อน . สำหรับตัวอย่างบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยี IoT ในกลุ่ม Soil Sensors มาช่วยลดความเสี่ยงจาก Climate Change กล่าวคือรัฐบาลท้องถิ่นเมือง Oregon ได้ร่วมสนับสนุนให้แก่ชาวสวนฟารม์บลูเบอรี่ นำอุปกรณ์ HydraProbe มาใช้เพื่อวัดความชื้นในดิน ในแต่ละระดับความลึก เนื่องจากพืชสวนอย่างบลูเบอรี่ ค่อนข้างอ่อนไหวต่อการขาดน้ำอย่างมาก . โดย HydraProbe จะประเมินการใช้น้ำและการใส่ปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ ให้สอดคล้องกับช่วงการดูดซับอาหารของรากพืช และยังช่วยลดการใช้สารกำจัดเชื้อราที่เป็นไปตามกฎระเบียบในการควบคุมคุณภาพน้ำ รวมไปถึงยังมีฟังก์ชัน …

AgriTech พลิกโฉมอนาคต ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรไทย อ่านเพิ่มเติม »

น้ำท่วมกับสถานการณ์ตลาดแรงงานอีสาน

ภาคอีสานเป็นแหล่งกำลังแรงงานสำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากที่สุด (คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ) โดยประชากร 9.3 ล้านคนอยู่ในวัยทำงาน และกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นภาคบริการ . ตลาดแรงงานอีสานกำลังเผชิญความท้าทายเชิงโครงสร้าง ด้วยสัดส่วนแรงงานสูงอายุและผู้อยู่นอกกำลังแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับต่ำ . รวมไปถึง ทักษะแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Skill Mismatch) ซึ่งปัจจุบันตลาดมีความต้องการแรงงานสายอาชีพหรือระดับ ปวช./ปวส. สูง ขณะที่แรงงานที่เข้าสู่ตลาดส่วนใหญ่เป็นระดับอุดมศึกษา แรงงานจำนวนมากจึงต้องยอมทำงานต่ำกว่าระดับ หรือไม่ก็ย้ายไปทำงานในภูมิภาคอื่น ๆ ที่สามารถให้ตำแหน่งงานและค่าจ้างที่สูงขึ้นได้ . สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้แรงงานอีสานถูกเลิกจ้างและย้ายกลับภูมิลำเนา แต่ความสามารถของภาคเกษตรกรรมในการรองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจกลับลดลงเมื่อเทียบกับอดีต เนื่องจากเกษตรกรหรือครอบครัวจำนวนมากไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินแต่เป็นผู้เช่าหรือรับจ้างทำการเกษตรแทน และส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงผู้ผลิตต้นน้ำเท่านั้น . . ผลกระทบของน้ำท่วมต่อแรงงานอีสาน . เป็นที่รู้กันว่า สภาวะน้ำท่วมหรืออุทกภัยสามารถสร้างความสูญเสียทั้งกับชีวิต ทรัพย์สินทางกายภาพ รายได้ที่ขาดหายไปในช่วงภัยพิบัติ รวมไปถึงทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ โรคติดต่อ และการหยุดชะงักของการศึกษาและบริการสาธารณสุข . แต่นอกจากที่กล่าวมานี้ สภาวะน้ำท่วมยังส่งผลกระทบต่อทัศนคติและพฤติกรรมการเข้าสู่ระบบประกันภัยของครัวเรือนภาคเกษตรกรรมได้อีกด้วย . งานวิจัยของ Lertamphainont et al. (2558) ได้ทำการศึกษาผลกระทบของมหาอุทกภัยต่อครัวเรือนชาวนาในประเทศไทย โดยใช้การสำรวจและทดลองภาคสนาม ซึ่งได้ประยุกต์วิธีการทางเศรษฐมิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติและพฤติกรรมระหว่าง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย . 1. กลุ่มทดลอง (Treatment Group) ได้แก่ ครัวเรือนชาวนาที่มีพื้นที่นาจมน้ำเป็นเวลานานและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรงจากเหตุการณ์ดังกล่าว . 2. กลุ่มควบคุม (Control Group) ได้แก่ ครัวเรือนชาวนาที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงในปีนั้น ซึ่งกลุ่มนี้อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากมหาอุทกภัยผ่านทางระบบเศรษฐกิจที่ชะลอตัว (Spillover Effects) . โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงถึงขอบเขตและระยะเวลาของน้ำท่วมขังในปี 2554 มาช่วยในการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของครัวเรือนตัวอย่าง . และเพื่อป้องกันความแตกต่างทางทัศนคติของครัวเรือนทั้งสองกลุ่มที่มีมาแต่เดิม หรือในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Endogeneity Problem ซึ่งอาจส่งผลให้การศึกษาครั้งนี้มีความเบี่ยงเบน (Biased) จึงได้แยกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัยสูง (Flood Prone) และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (Non-Flood Prone) . ทำให้งานวิจัยนี้ได้กลุ่มตัวอย่างครัวเรือนชาวนามาจำนวน 426 ครัวเรือน จาก 44 หมู่บ้านใน 4 จังหวัดที่ปลูกข้าวมากของไทย โดยครึ่งหนึ่งเป็นจังหวัดในภาคอีสาน คือ นครราชสีมา และขอนแก่น . จากหนึ่งในผลการศึกษา พบว่าครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมีความต้องการซื้อประกันภัยธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มฐานะยากจนและปานกลาง สอดคล้องกับการที่มหาอุทกภัยทําให้มีการเพิ่มขึ้นของความไม่ชอบความเสี่ยงของคนกลุ่มเหล่านี้ ส่วนการคาดการณ์ถึงการเกิดมหาอุทกภัยในอนาคต พบว่าความเป็นไปได้ที่จะพึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐไม่ได้มีผลลบอย่างมีนัยสำคัญต่อความต้องการซื้อประกันภัย . อย่างไรก็ตาม ด้วยโครงการประกันภัยพืชผลในประเทศไทยแม้จะมีการศึกษามาตั้งแต่ปี 2513 แต่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงมหาอุทกภัยปี 2554 ซึ่งห่างจากงานวิจัยนี้ (ปี 2558) ไม่นาน ดังนั้นผลการศึกษานี้ก็อาจสะท้อนได้เพียงความเป็นไปได้ถึงการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์การประกันภัยธรรมชาติและพืชผลทางการเกษตรในประเทศไทยให้มีความยั่งยืนเท่านั้น …

น้ำท่วมกับสถานการณ์ตลาดแรงงานอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

การตลาดแบบวัวสีม่วงคืออะไร

การตลาดแบบวัวสีม่วง ต่างจากการตลาดทั่วไปที่เรารู้จักหรือไม่ รวมไปถึง “สีไทย” จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องนี้ มาติดตามกัน… ทำไมต้องเป็นสีไทยในเมื่อมีสีสำเร็จรูปให้ใช้กันอยู่แล้ว? . อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าแล้วว่า “สีไทย” ค่อย ๆ เลือนหายไปจากชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่แค่ในวงแคบ ๆ (เป็น Rare Item) และแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับชื่อเรียกสีกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าชื่อที่กล่าวมานั้นเป็นอย่างไร เราจึงอยากช่วยขยายความคำว่า “อัตลักษณ์” ที่โดดเด่นของสี ซึ่งประกอบไปด้วย . 1. ปรุงจากวัสดุธรรมชาติ ทั่งเปลือกไม้ ใบไม้ สัตว์ หิน ดิน และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงขี้เถ้าเขม่าควันไฟ ที่จะถูกนำมาสกัด หมัก หรือคัดแยก ก่อนจะไปผสมกับสารที่มีคุณสมบัติเกาะติดผิวหน้าวัสดุไม่ว่าจะเป็น ไขมัน ไข่ขาว ขี้ผึ้ง (wax) น้ำมันลินสีด (limseed oil) หรือยางไม้ (Gum Arabic) ที่ได้จากต้นไม้สกุลอคาเซีย . 2. ความงามด้านวรรณศิลป์ จากชื่อเรียกสีไทยที่มีความหมายดี โดยส่วนใหญ่เป็นชื่อที่มาจากธรรมชาติ เช่น เขียวตอง น้ำไหล ม่วงเม็ดมะปราง ควายเผือก หงสบาท (สีออกชมพูเหมือนเท้าของหงส์) ฟ้าแลบ (สีแสง คือ ขาวอมชมพู) และขาวผ่อง (ขาวนวลออกเหลือง) เป็นต้น . 3. มีรากฐานจากความเชื่อ ความศรัทธา เช่น การใช้สีแดงชาด (ที่ได้จากแร่ซินนาบาร์) เพื่อแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ แสดงถึงบรรยากาศของสวรรค์ จึงเป็นเหตุว่า ทำไมผนังโบสถ์ตามวัดเก่าจึงมักเป็นสีแดง โดยเฉพาะฉากหลังพระพุทธรูปที่มีสีทอง ก็เพื่อขับให้องค์พระดูเด่น สง่างาม เหมือนอยู่บนสวรรค์นั่นเอง . 4. ความงามของเฉดสีไทย จากแม่สี 5 สี (กลุ่มสีเบญจรงค์) ประกอบไปด้วย สีดำ ขาว แดง เหลือง และคราม ที่เมื่อนำมาผสมกันสามารถแบ่งออกได้อีก 5 หมู่สี ได้แก่ สีส้ม เขียว ม่วง นํ้าตาล และทอง โดยแต่ละสีก็ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ไม่ว่าจะนำเฉดสีที่ตัดกันมากแค่ไหนมาผสมกัน ก็ยังกลมกล่อมลงตัว มีทั้งลักษณะพาสเทล (นุ่มนวลเหมือนมีฝุ่นแป้งผสม) และสดฉ่ำ . ส่วน “สีสำเร็จรูป” แม้จะสะดวกในการใช้งานมากกว่า แต่ข้อเสียก็คือ ส่วนใหญ่เป็น “เคมี” หากใช้ไปนาน ๆ อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนังตรงที่ผู้ใช้สัมผัสเป็นประจำได้ จะโดดเด่นไปเพื่ออะไร ถ้าการตลาดแบบเดิมดีอยู่แล้ว? . ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจความโดดเด่นผ่านมุมมองการตลาดของ 3 ยุค ที่เราปรับมาจากหนังสือ Purple …

การตลาดแบบวัวสีม่วงคืออะไร อ่านเพิ่มเติม »

สนามบินแห่งใหม่กับความหวังทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน

ภาคอีสานมีโครงการที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่อยู่ 3 แห่งในอนาคต ซึ่งท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ว่านั้น ประกอบด้วย . 1.ท่าอากาศยาน “มุกดาหาร” กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างและพบว่าสถานที่ที่เหมาะสม คือ ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร ในพื้นที่ 2,000 กว่าไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารเพียง 20 กม. ห่างจากสนามบินนครพนม สกลนคร และร้อยเอ็ด 120, 125 และ 134 กม. ตามลำดับ โดยเป็นไปตามข้อกำหนดที่ว่าสนามบินต้องก่อสร้างห่างกันเกินกว่า 100 กม. . อีกทั้งยังเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กล่าวคือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีโอกาสทางการค้าและการลงทุนสูง โดยกลุ่มผู้โดยสารน่าจะมาจากสุวรรณเขต สปป.ลาว รวมถึงผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตก เพื่อเชื่อมต่อไปยังด่านแม่สอด จ.ตาก และข้ามต่อไปยังประเทศเมียนมา ตรงจุดนี้กรมท่าอากาศยานคาดการณ์ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจะเกิดความคุ้มค่าและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดมุกดาหารได้ . ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบผังแม่บททางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ รวมไปถึงศึกษาการรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเต็ม (EIA) โดยจะขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2565 ในงบวงเงินประมาณ 42.69 ล้านบาท และหากนับจากปี 2565 คาดว่าจะแล้วเสร็จให้ใช้ในปี 2570 . 2.ท่าอากาศยาน “บึงกาฬ” จังหวัดน้องใหม่ล่าสุดของประเทศไทย จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการสร้างสนามบิน พบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่าง ต.โป่งเปือย และต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ โดยใช้ที่ดินคิดเป็นพื้นที่กว่า 2,500 ไร่ . โดยอยู่ห่างจากวงเวียนหอนาฬิกาที่ อ.เมืองบึงกาฬประมาณ 12 กม. นับว่าตั้งอยู่ใจกลางเมืองบึงกาฬเลยก็ว่าได้ ทั้งยังอยู่ระหว่างทางเลี่ยงเมืองที่ตัดสู่สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ และหากสังเกตจะพบว่า บึงกาฬมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีหลายแห่ง หากมีการก่อสร้างสนามบินก็คาดว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว พร้อมกับสร้างรายได้ให้กับจังหวัดได้ด้วย . ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างฉบับสมบูรณ์ ก่อนที่จะนำเสนอกับกรมท่าอากาศยานและกระทรวงคมนาคมเพื่อขออนุมัติ ก่อนจะทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมฉบับเต็ม (EIA) และจัดหางบประมาณ อันนำไปสู่การจัดสร้างสนามบิน หากเป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้ คาดว่าจะสามารถใช้บริการท่าอากาศยานบึงกาฬได้ในปี 2571 . 3.ท่าอากาศยาน “สารสินธุ์” เป็นโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่เพิ่มเข้ามาล่าสุด โดยคาดการณ์ว่าจะใช้พื้นที่ของ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ในการก่อสร้าง . เหตุผลที่เลือกพื้นที่นี้เป็นเพราะ อ.ยางตลาดอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่าง กาฬสินธุ์ – มหาสารคาม ทำให้ประชาชนทั้งในกาฬสินธุ์เองและมหาสารคาม สามารถเดินทางมาใช้บริการได้สะดวก อีกทั้งกาฬสินธุ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ มีการส่งออกพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา กุ้งก้ามกราม และปลากระชัง เป็นต้น …

สนามบินแห่งใหม่กับความหวังทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

5 สนามบินยอดฮิตในภาคอีสาน ที่มีคนใช้มากที่สุด

การระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 มาตั้งแต่ปลายปี 2562 นั้น ส่งผลให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นกฎบังคับของการขึ้นเครื่องบินหรือนโยบายต่าง ๆ จากทางภาครัฐ ที่ออกมาเพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาการระบาด . ในส่วนของภาคอีสาน 5 สนามบินในสังกัดกรมท่าอากาศยานยอดฮิต ที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในปี 2563 ประกอบด้วย . อันดับที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี (VTUD) ศูนย์กลางการบินของภาคอีสานเชื่อมต่อกับ สสป.ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ทำให้ สะดวกต่อการเดินทาง ทั้งยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอีกด้วย เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง จังหวัดหนองคาย . เที่ยวบินขาเข้า 6,236 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 701,054 คน เที่ยวบินขาออก 6,236 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 701,881 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 12,472 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,402,935 คน . อันดับที่ 2 ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น (VTUK) เดิมทีเป็นสนามบินเล็ก ๆ กลางเมือง ปัจจุบันถูกเลือกให้เป็นฮับการบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งในตอนนี้สนามบินขอนแก่นกำลังเร่งขยายท่าอากาศยาน เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ . เที่ยวบินขาเข้า 4,866 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 559,630 คน เที่ยวบินขาออก 4,866 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 564,214 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 9,732 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,123,844 คน . อันดับที่ 3 ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี (VTUU) ศูนย์กลางทางการบินพาณิชย์ของภาคอีสานตอนล่าง โดยรับรองผู้โดยสารจากหลายจังหวัด เช่น ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ทั้งยังรับรองผู้โดยสารจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร หลังจากไม่ได้ปรับปรุงมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี . เที่ยวบินขาเข้า 4,353 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 533,016 คน เที่ยวบินขาออก 4,351 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 530,295 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 8,704 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,063,311 คน . อันดับที่ 4 ท่าอากาศยานสกลนคร (VTUI) . เดิมเป็นท่าอากาศยานของกองทัพบก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการประสานกรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) และบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ให้เปิดบริการด้านการบินพาณิชย์ …

5 สนามบินยอดฮิตในภาคอีสาน ที่มีคนใช้มากที่สุด อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top