Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

ชวนเบิ่ง เส้นทางอาณาจักรจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง “โฮมฮับ”

“บริษัท โฮมฮับ จำกัด” ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และตกแต่งบ้านครบวงจร ก่อตั้งโดย คุณองอาจ ตั้งมิตรประชา และคุณอาภาภรณ์ ตั้งมิตรประชา ในปีพ.ศ. 2519 โดยเริ่มจากการจำหน่าย สีทาอาคาร สีพ่นรถยนต์ เครื่องมือช่าง ปั๊มน้ำ อุปกรณ์การเกษตร ประดับยนต์ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากับความต้องการสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่มีความหลากหลาย ครบ และง่ายในการจัดหาด้วยตัวเองได้ โดยเมื่อก่อนใช้ชื่อภายใต้ชื่อ ร้านสีรุ้ง จำหน่ายสี และอุปกรณ์ทาสีทุกชนิดใจกลางเมืองอุบลราชธานี ในปี 2523 ได้เพิ่มสินค้าประเภทสีพ่นรถยนต์ ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างดี จึงขยายกิจการโดยเพิ่มสินค้าเครื่องมือช่างเข้าไป เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้ขยายสาขา 2 ที่อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2548 ได้เพิ่มสินค้าอุปกรณ์ก่อสร้างเต็มรูปแบบ พร้อมจดทะเบียนใหม่ในชื่อ สีรุ้งโฮมโปร ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โฮมฮับ” รวมทั้งขยายสาขาเพิ่มที่บ้านทัพไท และในปี 2554 ได้เปิดสาขาขอนแก่น และในปีนี้ได้เปิดสาขาอุดรธานี อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://homehub.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8…/ https://data.creden.co/company/general/0345542000140 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง #อุบลราชธานี #โฮมฮับ #ร้านสีรุ้ง #HOMEhub #ธุรกิจร้อยล้าน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน   ซึ่งหลักการทั้ง 5 ข้อข้างต้นครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ของการผลิตอ้อยและน้ำตาลโดยต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เริ่มตั้งแต่   🔹 การตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินก่อนการปลูกอ้อย 🔹 กระบวนการในระหว่างการปลูกอ้อย 🔹 การบำรุงรักษาอ้อย 🔹 การเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อย 🔹 กระบวนการผลิตน้ำตาลในโรงงาน 🔹 การซื้อ-ขายน้ำตาล   ความท้าทายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ความต้องการน้ำตาล BONSUCRO จากไทยยังมีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดส่งออกน้ำตาลของไทยส่งออกกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจยังไม่มีนโยบาย Low Carbon ในอุตสาหกรรมน้ำตาลเหมือนประเทศในกลุ่มยุโรป    อย่างไรก็ตาม กระแสโลกด้านสิ่งแวดล้อมทำให้หลายประเทศต้องปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก เมื่อเห็นสัญญาณแนวโน้มของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และยังสามารถขยายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเท่านั้นได้    โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนโรงงานและไร่อ้อยให้ได้รับมาตรฐาน BONSUCRO มากขึ้น เพราะท้ายสุดหากไม่สามารถผลิตน้ำตาลให้ได้มาตรฐาน อาจทำให้สูญเสียลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย   อ้างอิงจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย mitrpholmodernfarm   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BONSUCRO #มาตรฐานBONSUCRO 

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล

“ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นอุบล เริ่มต้นธุรกิจจากรุ่นคุณปู่ คุณย่า เป็นธุรกิจโชห่วยใช้ชื่อว่า โค้วย่งง้วน หมายความว่า แหล่งน้ำที่ยั่งยืน พัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีโกดังหลายจุด พอมาเป็นรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เปลี่ยนจากโชห่วยมาเป็นห้างสรรพสินค้า จนมีห้างต่างชาติเข้ามา แล้วมีการปรับเปลี่ยนจากห้างสรรพสินค้ามาเปิดศูนย์กระจายสินค้ายงสงวน กระจายสินค้าให้กับคนในอุบล “​​ยงสงวน” ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2498 จากจุดเริ่มต้นร้านโชห่วย 1 คูหา 2 ชั้น โดยรุ่นแรก “คุณพ่องี่เต็ก แซ๋โค้ว” และ “คุณแม่เง็กเนย ไชยสงคราม” โดยร้านแรก ตั้งอยู่บนถนนยุทธภัณฑ์ ตรงกันข้ามกับโรงหนังกลาง ใช้ชื่อร้านว่า “โค้วย่งง้วน” จนกระทั่งในปี 2500 โค้วย่งง้วน ได้ย้ายร้านมาตั้งอยู่ที่มุมถนนพรหมเทพ ขยับขยายสู่ร้าน 2 คูหา ซึ่งต่อมาในปี 2503 ได้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ร้านโค้วย่งง้วน เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และเปลี่ยนทำเลมาเป็นร้านใหม่ที่ถนนพรหมเทพ จากนั้นในปี 2519 ได้ย้ายร้านอีกครั้งมาที่ 77-81 ถนนพรหมเทพ เป็นร้านขนาด 3 คูหาและต่อมาได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ยงสงวน” ในปี 2525 ก้าวเดินของ ยงสงวน พริกผันสู่ก้าวที่ใหญ่ขึ้นในปี 2533 เมื่อเข้าประมูลสิทธิการก่อสร้างได้ และเปลี่ยนสู่ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ “ยงสงวน ช้อปปิ้งมอลล์” โดยมีคุณกำพล และคุณมลิวัลย์ ไชยสงคราม เป็นผู้บริหาร จนถึงปัจจุบัน ยงสงวนกรุ๊ป อยู่ภายใต้การบริหารงานของเงิน 3 ตระกูลไชยสงคราม ของสองพี่น้องคือ ประกิจ และ ประกอบ ไชยสงคราม ที่ช่วยกันสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแรง จนสามารถขยายบริษัทในเครือ จากเดิมที่มีเพียง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยงสงวนช้อปปิ้งมอลล์ แตกอีก 2 บริษัท คือ “บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด” และ “บริษัท สหรุ่งธนเกียรติอุบล จํากัด” สำหรับ หัวใจสำคัญที่ทำให้คำปลีกท้องถิ่นอยู่รอดได้ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและลูกค้า ทำธุรกิจด้วยความจริงใจ นึกถึงใจเขา ใจเรา เห็นอกเห็นใจคนอื่น ก็จะสามารถผ่านพ้นวิกฤติ ได้ไม่ยาก และในฐานะคนอุบลโดยกำเนิด ประกอบ และ ยงสงวนกรุ๊ป ยังให้ความสำคัญกับการตอบแทนบ้านเกิด ด้วยการจัดตั้ง “อุบล แฟมิลี่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน เพื่อทำกิจกรรมตอบแทนสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดงานวิ่งเพื่อการกุศล ซึ่งเป็น กิจกรรมที่เขาและครอบครัวชื่นชอบเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งนำรายได้ไปทำประโยชน์ในสถานที่ต่าง ๆ ของจังหวัด เมื่อถามถึงจุดแข็งของ ยักษ์ค้าปลีกท้องถิ่น ที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ คุณประกอบมองว่า …

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน   ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจำนวนมากขึ้นทุกปีแต่จำนวนจิตแพทย์ในไทยกลับขาดแคลน   ข้อมูลจาก Mental Health ATLAS 2020 ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า จำนวนจิตแพทย์ใน 156 ประเทศทั่วโลก มีค่ามัธยฐานของอัตราส่วนของจิตแพทย์อยู่ที่ 1.7 คนต่อประชากร 100,000 คน   โดยในประเทศไทยนั้น ตามรายงานจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช กรมสุขภาพจิต ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ระบุว่า ไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน คิดเป็นจิตแพทย์ 1.28 คนต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก   เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในอีสาน พบว่าจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.นครราชสีมา 19,158 คน 2.อุบลราชธานี 12,752 คน 3.ขอนแก่น 10,684 คน 4.บุรีรัมย์ 8,701 คน 5.ศรีสะเกษ 7,699 คน   เมื่อพิจารณาภาระความรับผิดชอบ พบว่า จิตแพทย์ในภาคอีสานนั้นมีภาระสูงสุด โดยจิตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงถึง 10,994 คน และต้องดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอีก 827 คน   โดยสาเหตุที่จิตแพทย์ขาดแคลนมาจากกระบวนการผลิตจิตแพทย์ที่ทำได้ยากและใช้เวลานาน ต้องรอจนกว่าแพทย์เรียนจบหลักสูตร 6 ปี ใช้ทุนอีก 3 ปี จึงจะกลับมาเรียนแพทย์เฉพาะทางต่อ จิตแพทย์ผู้ใหญ่ใช้เวลาเรียน 3 ปี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 4 ปี   นอกจากระยะเวลาในการเรียนแล้ว ข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่ง คือ การขาดแคลนอาจารย์ สำหรับจิตแพทย์ 1 คน ต้องใช้อาจารย์แพทย์ประมาณ 3 คน ด้วยอัตราแบบนี้ทำให้เพิ่มจำนวนได้ช้า เพราะคนที่อยู่ในระบบมีน้อย   ปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตและสมาคมจิตวิทยาการปรึกษา อยู่ระหว่างการผลักดันมาตรฐานการให้บริการด้านจิตเวชให้ครอบคลุมจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ในการแก้ปัญหาของภาครัฐ ที่ไม่เพียงต้องป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้า แต่ยังต้องคำนึงถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำจากทรัพยากรสาธารณสุขที่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่อีกด้วย   อ้างอิงจาก : กรุงเทพธุรกิจ รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2564    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า #จิตแพทย์ 

ชวนเบิ่ง เส้นทาง “เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต”

ทายาทเคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ตประสบการณ์ทำร้าน 20 ปี และการต่อยอดธุรกิจครอบครัวจากเคี้ยงพานิช ร้านค้าเจ้าใหญ่ในวงการค้าเครื่องดื่ม สู่ร้านที่เป็นทุกอย่างให้ชาวเมืองขอนแก่น จากร้านค้าของครอบครัวชาวจีนที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 สู่เคี้ยงพานิช ร้านค้ามีชื่อที่ขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ต่อมาดำเนินธุรกิจในชื่อ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยเกิดขึ้นในวันที่ขอนแก่นยังไม่มีร้านสะดวกซื้อ เป็นร้านค้าท้องถิ่นที่เข้าใจคนในย่านมากกว่าใคร เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนที่ทายาทรุ่นที่ 3 อย่าง คุณแบงค์-กมลวัฒน์ อภิชนตระกูล เปิด ‘K Mart by เคี้ยง’ ที่หลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น แถวนั้นยังมีร้านสะดวกซื้อเพียงร้านเดียว จนวันนี้ที่บริเวณเดียวกันนี้ มีร้านสะดวกซื้อหลากหลายแบรนด์มากกว่า 20 ร้าน วิธีการทำธุรกิจของคุณแบงค์นับว่าแตกต่าง แทนที่จะทำร้านคอนเซปต์เดียว ขายของแบบเดียวกัน แล้วขยายไปให้มากๆ ในย่านชุมชนตามตำรา คุณแบงค์ทำให้ร้านทั้ง 6 สาขาไม่เหมือนกันเลย บางร้านขายของใช้ บางร้านขายของทำเบเกอรี่ หัวใจของการทำร้านเคี้ยงของแบงค์ คือการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุด เพื่อความสุขของลูกค้า ไม่ว่าคุณจะเดินเข้าเพื่อถามหาอะไรที่เคี้ยง คุณแบงค์จะเป็นคนหามาให้ ผลก็คือ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้กลายเป็นมากกว่าร้านค้าท้องถิ่น เป็นที่พึ่งของลูกค้า และเป็นแรงบันดาลใจให้ธุรกิจท้องถิ่นอื่นๆ ว่าอย่ายอมแพ้และอย่ากลัว เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มต้นจาก อากงเม้ง แซ่อึ้ง ก่อตั้งร้านค้าชื่อ อึ้งเหลียงเซ้ง ในช่วง พ.ศ. 2480 – 2490 ดำเนินกิจการเรื่อยมา จนวันหนึ่งใน พ.ศ. 2514 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้สินค้าเสียหายทั้งหมด อากงจึงเลิกกิจการ ต่อมา คุณพ่อเคี้ยง-นรินทร์ อภิชนตระกูล ซึ่งเป็นลูกชายคนที่ 5 ตัดสินใจเปิดร้านเป็นของตัวเองในชื่อ เคี้ยงพานิช บนถนนศรีจันทร์ เริ่มต้นกิจการในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2515 แล้วเปลี่ยนชื่อจาก เคี้ยงพานิช มาเป็น เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต ใน พ.ศ. 2534 ในสมัยที่ร้านสะดวกซื้อยังไม่เฟื่องฟูอย่างวันนี้ ขอนแก่นก็เหมือนทุกที่ที่เต็มไปด้วยร้านค้าท้องถิ่น เคี้ยงสร้างความแตกต่างด้วยสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ มีลูกค้าหลักคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยและคนทั่วไปที่นิยมของจากต่างประเทศ เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นร้านค้าที่เติบโตจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงที่ธุรกิจกำลังไปได้ดี เป็นช่วงเดียวกับที่มีข่าวแอลกอฮอล์ปลอมระบาดในเมือง แบงค์เล่าว่าคุณพ่อของเขาจะระมัดระวังเป็นพิเศษ หากมีใครเสนอสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติ เขาจะสงสัยไว้ก่อน แล้วสั่งตรงจากบริษัท แม้จะมีราคาสูงกว่าแต่มั่นใจได้ที่สุด ปัจจุบันร้านเคี้ยงมีทั้งหมด 6 สาขา แต่ละสาขามีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันตามชุมชนที่อยู่ ได้แก่ สองร้านแรกในเมืองอย่าง เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต (สาขาศรีจันทร์) และ เคี้ยงลิเคอร์สโตร์ (สาขาศรีจันทร์) หรือเคี้ยงมินิมาร์ท เน้นขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สาขาที่ 3 คือ เคี้ยงซุปเปอร์สโตร์ (สาขาหลังมอ-ยูพลาซ่า) เดิมตั้งชื่อว่าเคี้ยง แต่นักศึกษาชอบเรียกผิดแบงค์ก็เลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘K Mart by …

ชวนเบิ่ง เส้นทาง “เคี้ยงซุปเปอร์มาร์เก็ต” อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง “ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง” ธุรกิจระดับร้อยล้านในภาคอีสาน

บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 โดยกลุ่มนายภานุมาศ รังคกูลนุวัฒน์ ต่อมา ณ วันที่ 17 กันยายน 2561 ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัท มหาชนจำกัด ภายใต้ชื่อ “บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)” (“บริษัท” หรือ “ACG”) ประกอบธุรกกิจถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding company) ที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายและให้บริการในอุตสาหกรรมรถยนต์ และธุรกิจท่ีเก่ียวเนื่องอื่นๆ ทั้งน้ี เมื่อวันท่ี 27 มิถุนายน 2562 บริษัทได้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (“IPO”) ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ และหลังจากนั้นได้เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันท่ี 1 กรกฎาคม 2563 โดยบริษัทประกอบธุรกิจถือหุ้นในบริษัทอื่นซึ่งปัจจุบันมีบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ ฮอนด้ามะลิวัลย์ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 99.74 ซึ่งประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอุปกรณ์ตกแต่ง งานบริการซ่อมและจําหน่ายอะไหล่ยี่ห้อฮอนด้า รวมทั้งนายหน้าสินเชื่อเช่าซื้อและประกันภัยรถยนต์ โดยฮอนด้ามะลิวัลย์เป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซึ่งมีจำนวนโชว์รูมและ ศูนย์บริการมากที่สุดในประเทศไทย โดยปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 9 สาขาใน 5 จังหวัดที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ภูเก็ต และกระบี่ บริษัทย่อยอีกหนึ่งแห่ง คือ ออโตคลิก ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 99.00 ซึ่งประกอบธุรกิจจําหน่ายอะไหล่รถยนต์และให้บริการซ่อมแซม บำรุงรักษารถยนต์ทุกยี่ห้อประเภทเร่งด่วน (Fast Fit) ทั้งนี้ ออโตคลิกได้มีการเปิดดำเนินการสาขาแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2564 มีจำนวนทั้งหมด 5 สาขา ซึ่งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต 2 สาขา กรุงเทพและปริมณฑล 3 สาขา อย่างไรก็ตาม ภาพรวมผลการดำเนินงานกลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2564 จำนวน 28.22 ล้านบาท ลดลง 6.95 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.76 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งโดยรวมเกิดจากผลการดำเนินงาน ออโตคลิก ที่เพิ่งเริ่มเปิดดำเนินการ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการ เตรียมความพร้อมตอนเริ่มการเปิดศูนย์บริการ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงานโดยผู้เชี่ยวชาญในงานด้านบริการยานยนต์ เพื่อสร้างมาตรฐานและคุณภาพงานบริการ และการจัดทำแผนทางด้านการตลาดสื่อโฆษณา เพื่อให้เป็นที่รู้จักและลูกค้าที่ได้เข้ามารับบริการได้รับความพึงพอใจ แต่ในส่วนของฮอนด้ามะลิวัลย์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.34 เมื่อเปรียบเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนสาเหตุหลักเกิดจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง จึงทำให้มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น อ้างอิงจาก: – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย – เว็บไซต์ของบริษัท #ISANInsightAndOutlook …

ชวนเบิ่ง “ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง” ธุรกิจระดับร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 6 อุทยานแห่งชาติ  ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด

พามาเบิ่ง 6 อุทยานแห่งชาติ  ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด   ข้อมูล ม.ค.- ก.ย. 2565   อ้างอิงจาก :  กรมชลประทาน #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุทยานแห่งชาติ #นครราชสีมา #บึงกาฬ #นครพนม #ชัยภูมิ #อุบลราชธานี  #ศรีสะเกษ #เลย  

พาซอมเบิ่ง เส้นทาง “บริษัท ช ทวี” ธุรกิจระดับพันล้านในภาคอีสาน

กลุ่มครอบครัวทวีแสงสกุลไทย (หรือ “กลุ่ม ช ทวี” ) โดยนายชอ ทวีแสงสกุลไทย และนางอุษา ทวีแสงสกุลไทย เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจรถขนส่งในจังหวัดขอนแก่น และเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุกตั้งแต่ปี 2511 ต่อมาได้ขยายธุรกิจไปยังการผลิต และต่อตัวถังรถบัสในปี 2523 ได้ขยายการผลิตและต่อตัวถังรถพ่วง-กึ่งพ่วง และรถขนส่งประเภทต่าง ๆ กลุ่ม ช ทวี ได้พัฒนาเทคโนโลยีรถพ่วง รถเพื่อการพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง และมีความพิถีพิถันในการออกแบบตัวถัง รูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับแชสซีรถบรรทุกของลูกค้า เพื่อให้ได้โครงสร้างตัวถังบรรทุกที่แข็งแกร่งทนทานเหมาะสมกับประเภทของงานขนส่งใช้งานได้ในทุกสภาพถนน และทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ ในรุ่นที่สองของกลุ่ม ช ทวี นำโดยคุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย บุตรชายของคุณชอ ทวีแสงสกุลไทย และคุณอุษา ทวีแสงสกุลไทย ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรรมยานยนต์และการบริหารธุรกิจ จากประเทศญี่ปุ่น มองเห็นแนวโน้มความต้องการของระบบขนถ่ายสินค้าจำนวนมาก ด้วยรถพ่วงพิเศษขนาดใหญ่ รวมทั้งเล็งเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรม ด้านการต่อตัวถังรถบรรทุกที่อาศัยเทคโนโลยีชั้นนำจากต่างประเทศ ว่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมรถพ่วง-กึ่งพ่วง ในอนาคตจึงได้ตัดสินใจก่อตั้ง บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (“บริษัทฯ” หรือ “CHO”) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัทของครอบครัว คือ บริษัท ขอนแก่น ช.ทวี (1993) จำกัด (“CTV-1993”) และบริษัทผู้ผลิต ตัวถังรถบรรทุก และรถพ่วงชั้นนำจากประเทศเยอรมนี คือ DOLL Fahrzeugbau GmbH (“DOLL”) เพื่อประกอบธุรกิจออกแบบ ผลิต ประกอบตัวถัง และติดตั้งระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวกับตัวถังรถบรรทุก รถพ่วง และรถขนส่งเพื่อการพาณิชย์ ด้วยทุนจด ทะเบียน 10.00ล้านบาท โดย CTV-1993 และกลุ่มผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 74 ของทุนจดทะเบียน และ DOLL ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 26 ของทุนจดทะเบียน กลยุทธ์ด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product) บริษัทย่อยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้คุณภาพ และมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทย่อยจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่น อาทิ ความทันสมัย มีนำ้หนักเบา มีความคงทน และง่ายต่อการซ่อมแซม เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทย่อยสามารถผลิตผนังไฟเบอร์กลาสแบบแซนวิชข้ึนรูปชิ้นเดียว (Sandwich GRP) โดย สามารถผลิตได้ความยาวต่อเนื่องสูงสุดถึง 15 เมตร ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรายเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การบริหารจัดการความเสี่ยง ช ทวี ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัย ภายในและภายนอก ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ จึงได้มีการแต่งต้ังประธานคณะผู้บริหารความ เสี่ยง เพื่อมาดำเนินงานในด้านการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมท้ังองค์กร มีความเชื่อมโยงกันทุก ระดับ เพื่อจัดการความเสี่ยงท่ีมีอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ และติดตามการบริหารความเสี่ยง อย่างสม่ำเสมอ บริษัทได้มีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองเพื่อร่วมกันประเมินความเสี่ยง ปัญหาและอุปสรรค …

พาซอมเบิ่ง เส้นทาง “บริษัท ช ทวี” ธุรกิจระดับพันล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

สรุป เงื่อนไขค่าเบี้ยประกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าใด๋

สรุป เงื่อนไขค่าเบี้ยประกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าใด๋ อ้างอิงจาก :  กรมสรรพากร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ลดหย่อนภาษี #กรมสรรพากร #ค่าเบี้ยประกัน 

5 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

พามาเบิ่ง 5 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน . . อ้างอิงจาก :  กรมชลประทาน . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เขื่อนอีสาน #ขอนแก่น #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #สกลนคร #นครราชสีมา

Scroll to Top