มาฮู้จัก 10 เทรนด์ EdTech in 2023 เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ยุคใหม่

มาฮู้จัก
10 เทรนด์ EdTech in 2023
เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ยุคใหม่
.
.
1. Personalized Learning
การเรียนการสอนให้มีความเฉพาะบุคคล เลือกเรียนได้ตามความสนใจ
เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราการเรียนรู้หรือความสนใจเนื้อหาที่ต่างกันออกไป การสอนด้วยวิธีการเดียวอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะบทเรียนไม่ได้สนองตอบต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดังนั้น การเรียนการสอนยุคใหม่จึงถูกปรับให้มีความเฉพาะบุคคลมากขึ้นยกตัวอย่างแพลตฟอร์มความบันเทิงต่าง ๆ ที่ต้องนำเสนอคอนเทนต์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ชมแต่ละคน การนำเสนอบทเรียนเฉพาะบุคคลจะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ได้ดีกว่า การนำเสนอบทเรียนเดียวแก่ผู้เรียนหลายคน
.
ผู้พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้หรือออกแบบการเรียนการสอนจึงอาศัยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ผู้เรียนสำหรับการออกแบบบทเรียนที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนวิชาได้ตามความสนใจ ติดตามความคืบหน้า และโฟกัสไปที่จุดอ่อนของตัวเองได้อย่างตรงจุดมากขึ้นจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่จะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงปีนี้
.
2. Subscription-based Model for Learning
การเรียนรู้แบบสมาชิกรายเดือนหรือรายปี และเรียนกี่วิชาก็ได้ภายในระยะเวลาที่เป็นสมาชิกอยู่ ซึ่งต่างจากการเรียนออนไลน์แบบเดิมที่ผู้เรียนต้องเลือกชำระเงินเรียนทีละรายวิชาและต้องเรียนให้จบเพื่อรับใบประกาศนียบัตร จึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองเรียนหลาย ๆ วิชา และเข้าถึงเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ของคอร์สหรือหลักสูตรได้ทั้งหมด และผู้เรียนมีสิทธิ์ที่จะสามารถเปลี่ยนไปเรียนคอร์สอื่นกลางคันหรือข้ามไปยังบทเรียนอื่นได้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนมีความยืดหยุ่นและตัวเลือกในการเรียนมากขึ้นกว่าเดิม
.
3. Hybrid Learning / Blended Learning
การเรียนแบบผสมผสานรูปแบบใหม่ ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาบูมขึ้นมา ทำให้สถานศึกษาทั่วโลกต่างต้องหันมาสอนทางออนไลน์กันมากขึ้น และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลาย หลาย ๆ โรงเรียนก็เริ่มใช้การสอนแบบ Hybrid Learning ที่ครูอาจารย์สอนในห้องที่มีนักเรียนอยู่ที่โรงเรียน พร้อมกับถ่ายทอดสดไปยังผู้เรียนออนไลน์ที่อยู่ทางบ้าน ลักษณะการเรียนการสอนรูปแบบนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมากเพราะความยืดหยุ่นที่ไม่ยึดติดกับข้อจำกัดเรื่องสถานที่
.
4. Nano Learning / Bite-sized Learning
การให้เด็กเรียนรู้ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ ต่อครั้ง แบ่งย่อยเนื้อหาเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลขนาดกำลังพอดีผ่านสื่อการเรียนรู้ในเวลาที่จำกัดได้ในช่วงเวลาตั้งแต่ 2 – 10 นาที ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการถ่ายทอดบทเรียนเป็นชั่วโมงซึ่งอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการใช้สมาธิต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้
.
เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะช่วง Gen Z ที่คุ้นเคยกับการเสพสื่อคอนเทนต์สั้น ๆ อาจเนื่องด้วยค่าเฉลี่ยระยะเวลาความสนใจของคนที่ลดลง ดังนั้น ในปี 2023 นี้คาดว่าน่าจะมีคนที่หันมาเรียนในรูปแบบ Nano Learning หรือ Bite-sized Learning กันมากขึ้น
.
5. Gamification
ฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหา พัฒนาทักษะและเรียนรู้ผ่านเกม เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น พัฒนาทักษะและเรียนรู้ผ่านเกมได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งยังช่วยทบทวนความจำและทำให้เรื่องยาก ๆ เข้าใจได้ง่าย ตอบโจทย์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กระตุ้นผู้เรียนให้บรรลุเป้าพร้อมกับได้รับฟีดแบ็กทันที
.
การใช้เกมกับการเรียนรู้ไม่ได้ใช้แค่ในเฉพาะกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษา แต่ยังรวมไปถึงการใช้ฝึกพนักงานตามบริษัทด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้วคนทุกช่วงวัยต่างชอบเล่นเกมด้วยความรู้สึกท้าทายอยากเอาชนะในแต่ละด่าน เมื่อเกมเข้ามาเป็นตัวกลาง ก็ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกเพลิดเพลิน และรู้สึกมีส่วนร่วมกับบทเรียนมากยิ่งขึ้นไปด้วย
.
6. Augmented Reality & Virtual Reality
ใช้ AR และ VR จำลองบทเรียนหรือแนวคิดที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น บทเรียนเกี่ยวกับ STEM การจำลองเนื้อหาด้านการแพทย์ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยประสบการณ์เสมือน ขยายโอกาสในการทดลองต่าง ๆ ลดการท่องจำพร้อมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของผู้เรียน
.
7. Digital and Comprehensive Online Assessments / AI-powered Assessment
การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยในการจัดสอบและระบบประเมินผล และลดความไม่เที่ยงธรรมที่อาจเกิดขึ้น
ด้วยฟีเจอร์ AI ที่ประเมินผ่านทางออนไลน์จะแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน การวิเคราะห์กลุ่ม และการวิเคราะห์ผู้เรียนเดี่ยวในแต่ละหัวข้อบทเรียน ซึ่งจะช่วยลด Bias หรือความไม่เที่ยงที่อาจเกิดขึ้นและให้ฟีดแบ็กแก่ผู้เรียนรายบุคคลได้
.
8. Exam Management with EdTech
ให้ AI ช่วยในเรื่องของระบบการจัดการสอบ เช่น ระบบคุมสอบด้วย AI หรือ การคุมสอบทางไกลอัตโนมัติ ที่ให้สถาบันดำเนินการจัดสอบได้โดยไม่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานหรือโลจิสติกส์ใด ๆ
.
9. Digital & Cloud-based Infrastructure
ห้องเรียนแบบดิจิทัล นำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา เช่น กระดานไวท์บอร์ดอินเทอร์แอคทีฟ โปรเจกเตอร์ ห้องแล็บ ICT หรือศูนย์มัลติมีเดีย เกมการศึกษา ซอฟต์แวร์การจัดการ ระบบ E-learning บนคลาวด์ และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดโอกาสใหม่ให้กับการเรียนการสอนยุคนี้
.
10. Blockchain
เทคโนโลยีบล็อกเชนนำมาใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อมูลเพื่อยืนยันทักษะและความเชี่ยวชาญรูปแบบดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบได้และไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ เช่น การจัดเก็บข้อมูลนักเรียนขนาดใหญ่อย่างมั่นคงปลอดภัยสูงสุด การเก็บบันทึกและจัดการหลักฐานวุฒิการศึกษา
.
.
อ้างอิงจาก :
techtalkthai
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #EdTech #การเรียนร้ #สื่อการสอน #AI #AR #VR

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top