ปังหลาย  ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ภาคอีสาน ใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้

ปังหลาย 

ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ภาคอีสาน

ใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้

 

ต้นไม้มีค่า 58 ชนิด ใช้เป็นหลักประกันธุรกิจ กู้เงินได้

“ต้นไม้มีค่า 58 ชนิด” หรือ ต้นไม้กู้เงินได้ เกิดขึ้นภายหลังการประชุม ครม.สัญจร ครั้งที่ 5 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี 2561 มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง กำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ โดยการนำไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าสูง มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ สามารถทำได้ โดยกำหนดว่าจะต้องเป็นต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จำนวน 58 ชนิด ที่สามารถนำมาเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก และมีโอกาสในการประกอบธุรกิจมากขึ้น

 

ต้นไม้มีค่า 58 ชนิด ได้แก่ ไม้สัก พะยูง ชิงชัน กระซิก กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง เต็ง รัง พะยอม ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา) สะเดา สะเดาเทียม ตะกู ยมหิน ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สัตบรรณ ตีนเป็ดทะเล พฤกษ์ ปีบ ตะแบกนา เสลา อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นากบุด ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร จำปีป่า จำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร ) แคนา กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลืองปรีดียาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กะทังใบใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม เทพทาโร ฝาง ไผ่ทุกชนิด ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลทุเรียน และ มะขาม

 

เกณฑ์การประเมินราคา ต้นไม้มีค่า 58 ชนิด

– ต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป

– มีลำต้นตรง 2 เมตรขึ้นไป

– ปลูกในที่ดินตนเอง

– การวัดมูลค่าจะต้องมีกรรมการและสมาชิกธนาคาร อย่างน้อย 3 คนร่วมประเมินมูลค่า

– ต้นไม้เป็นรายต้นที่ความสูง 1.30 เมตร

– มีเส้นรอบวงต้น ไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร และเปรียบเทียบเส้นรอบวงที่วัดได้ กับตารางปริมาณ และราคาเนื้อไม้ ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เพื่อหามูลค่าต้นไม้ และจะปล่อยกู้ให้ 50% ของราคาประเมินต้นไม้ชนิดนั้น ๆ

 

สถิติการใช้ไม้ยืนต้นยื่นหลักประกัน

ข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ระบุว่า สถิติการจดทะเบียนการนำต้นไม้มาเป็นหลักประกัน ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 146,282 ต้น เป็นจำนวนเงินค้ำประกัน 137,117,712 บาท แบ่งได้ดังนี้

 

ยื่นกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนต้นไม้ 318 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 3,103,912 บาท

ยื่นกับธนาคารกรุงไทย จำนวน 23,000 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 128,000,000 บาท 

ยื่นกับพิโกไฟแนนซ์ จำนวนต้นไม้ 122,964 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 6,013,800 บาท 

สำหรับประเภทต้นไม้กู้เงินได้ ที่นำมาเป็นหลักประกัน ได้แก่ มะขาม มะกอกป่า สะดา ตะโก โมกมัน งิ้วป่า กระท้อน มะเกลือ ยอป่า มะม่วง ไม้แดง ยาง ประดู่ป่า มะหาด พะยอม เสลา เต็ง ประดู่บ้าน รัง พลวง สัก ตะแบกนา มะขามเทศ ตะกู พฤกษ์

 

อ้างอิงจาก:

สำนักงานส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้

https://forestinfo.forest.go.th/pfd/eBook_Detail.aspx?id=23 

https://www.komchadluek.net/news/economic/534170 

https://www.prachachat.net/economy/news-947402 

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ #ไม้ #ต้นไม้ #กระทรวงพาณิชย์ #ที่ดิน

#กู้เงิน #กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ไม้ยืนต้น #ต้นไม้กู้เงินได้ #หลักทรัพย์ค้ำประกัน #หลักประกันเงินกู้

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top