Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พาไปฮู้จัก🧐 6 บริษัทรุ่นใหญ่ในอีสาน อยู่มายาวนานกว่า 60 ปี🏢

ชื่อบริษัท: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฮียบหงวนมิลเลอร์ จังหวัด: อุดรธานี ปีที่จดทะเบียน: 2500 อายุบริษัท: 68 ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 10 ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: จำหน่ายรถยนต์ ขายอะไหล่ ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: จำหน่ายรถยนต์และอะไหล่รถยนต์ ยี่ห้ออีซูซุ รายได้รวม (ล้านบาท): 1,918.5 (-28.8%) กำไร (ล้านบาท): 34.9 (-25%)   ชื่อบริษัท: บริษัท เมรัยชัยภูมิ จำกัด จังหวัด: ชัยภูมิ ปีที่จดทะเบียน: 2503 อายุบริษัท: 65 ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 21 ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: ขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ขายส่ง สุรา เบียร์ รายได้รวม (ล้านบาท): 1,279.2 (-2.3%) กำไร (ล้านบาท): 6.0 (+2,123.9%)   ชื่อบริษัท: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอี๊ยะฮั้วอุบล จังหวัด: อุบลราชธานี ปีที่จดทะเบียน: 2504 อายุบริษัท: 64 ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 6 ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: ขายปลีกเบียร์ และสินค้าเบ็ดเตล็ด ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รายได้รวม (ล้านบาท): 1,309.1 (-7.1%) กำไร (ล้านบาท): 6.1 (-1.2%)   ชื่อบริษัท: บริษัท สหเรือง จำกัด จังหวัด: มุกดาหาร ปีที่จดทะเบียน: 2506 อายุบริษัท: 62 ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 774 ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: ผลิตและขายส่งน้ำตาลทราย ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: โรงงานน้ำตาล รายได้รวม (ล้านบาท): 3,074.7 (+2.0%) กำไร (ล้านบาท): 462.1 (+6.1%)   ชื่อบริษัท: บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด จังหวัด: ขอนแก่น ปีที่จดทะเบียน: 2507 อายุบริษัท: 61 ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 2,000 ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: เข้าซื้อหุ้นในบริษัทอื่นและกิจการอื่น (บริษัทโฮลดิ้ง) ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ขายยานยนต์ รายได้รวม (ล้านบาท): 5,330.8 (-33.6%) กำไร […]

พาไปฮู้จัก🧐 6 บริษัทรุ่นใหญ่ในอีสาน อยู่มายาวนานกว่า 60 ปี🏢 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง “หมออีสาน” แบกรับภาระงานสุดโหด จังหวัดไหน “คนไข้ล้นมือ” หนักสุด ปี 66 

ในปี 2566 สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรภาคอีสาน อยู่ที่แพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 2,565 คน ซึ่งสัดส่วนจำนวนแพทย์ในภาคอีสานแต่ละจังหวัดกลับมีตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เพราะ WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้แนะนำสัดส่วนมาตรฐานเอาไว้ โดยกำหนดว่าสัดส่วนที่เหมาะสมคือ แพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 1,000 คน นั่นเอง     โดย 5 จังหวัดแรกที่แพทย์แบกรับภาระมากที่สุด จังหวัดบึงกาฬ มีสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 5,003 คน จังหวัดหนองบัวลำภู มีสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 4,650 คน จังหวัดอำนาจเจริญ มีสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 4,202 คน จังหวัดนครพนม มีสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 4,150 คน จังหวัดชัยภูมิ มีสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 3,790 คน   สำหรับในจังหวัดที่แพทย์แบกรับภาระน้อยที่สุดนั้น คือ จังหวัดขอนแก่น โดยมีสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากรเพียงแค่ 1,080 คน ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนแพทย์ที่ไม่ห่างจากสัดส่วนมาตรฐานมากนัก   จากสัดส่วนข้างต้น ทำให้เห็นว่าปัญหาของจำนวนแพทย์ในประเทศไทยนั้น ขาดการกระจายตัวของแพทย์อย่างเห็นได้ชัดเจน   โดยปริมาณแพทย์ส่วนใหญ่มักกระจุกกันอยู่ที่จังหวัดหัวเมืองหลักของภาคอีสาน อาจเพราะว่าจังหวัดเหล่านั้นเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ด้วยก็เป็นได้ ซึ่งทำให้โรงพยาบาลเหล่านั้นต้องรับรักษาผู้ป่วยที่มาจากจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มด้วยเช่นกัน   “หมออีสาน” แบกภาระงานสุดโหด ใน 4 จังหวัด “คนไข้ล้นมือ” วิกฤตอันดับต้นของประเทศ เมื่อสถิติจำนวนประชากรต่อแพทย์ในภาคอีสาน ปี 2566 เผยให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำและความตึงเครียดในระบบสาธารณสุขของภูมิภาคอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรากฏชื่อ 4 จังหวัดที่น่าตกใจ ได้แก่ บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ และนครพนม ที่ติดอันดับจังหวัดที่มีอัตราส่วนประชากรต่อแพทย์สูงที่สุด 4 อันดับแรกของประเทศ สะท้อนถึงภาระงานอันหนักอึ้งที่บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่เหล่านี้ต้องเผชิญ และอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการรักษาและชีวิตของผู้ป่วย   การที่จังหวัดบึงกาฬมีอัตราส่วนประชากรต่อแพทย์สูงถึง 5,003 ต่อ 1 คน หมายความว่าแพทย์หนึ่งท่านต้องดูแลประชากรมากถึงห้าพันกว่าชีวิต เช่นเดียวกับหนองบัวลำภู (4,650 : 1), อำนาจเจริญ (4,202 : 1) และนครพนม (4,150 : 1) ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงสถิติที่น่ากังวล แต่เป็นภาพสะท้อนของความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ความเหนื่อยล้าของบุคลากร และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สถานการณ์ “หมอไม่พอ” ในอีสาน โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดดังกล่าว มีหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการกระจายตัวของบุคลากรที่ไม่สมดุล โดยแพทย์ส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่และโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในขณะที่โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยในพื้นที่ห่างไกลเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 

พาเปิดเบิ่ง “หมออีสาน” แบกรับภาระงานสุดโหด จังหวัดไหน “คนไข้ล้นมือ” หนักสุด ปี 66  อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง KUBOTA ผู้นำเบอร์ 1 รถเพื่อการเกษตรในไทย

ผู้ก่อตั้ง: Gonshiro Kubota ชื่อบริษัท: บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ปีที่ก่อตั้ง: พ.ศ. 2521 ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: ปทุมธานี รายได้: 54,347 ล้านบาท (-7.6% YoY) กำไร (ขาดทุน): 4,838 ล้านบาท (-13.9% YoY) ยอดรถแทรกเตอร์จดทะเบียนครั้งแรกปี 2567: ทั่วประเทศ 40,222 คัน / ภาคอีสาน 19,606 คัน   จังหวัด จำนวนศูนย์บริการ (แห่ง) จำนวนตัวแทนจำหน่าย (แห่ง) รายได้จากตัวแทนจำหน่าย (ล้านบาท) จำนวนรถรถแทรกเตอร์คูโบต้าจดทะเบียนครั้งแรก ปี 2567 (คัน) ชัยภูมิ ศูนย์บริการเทคนิค 1 8 1,335.7 1,876 ยโสธร ศูนย์บริการเทคนิค 1 5 540.9 452 อุบลราชธานี ศูนย์บริการเทคนิค 1 16 4,334.6 1,430 ศรีสะเกษ – 14 1,188.7 919 บุรีรัมย์ – 11 1,132.2 1,125 นครราชสีมา ศูนย์บริการเทคนิค 1 ศูนย์กระจายอะไหล่ 2 คลังสินค้า 8 28 3,165.3 3,153 สุรินทร์ ศูนย์บริการเทคนิค 1 11 1,806.1 869 อำนาจเจริญ – 4 259.8 336 หนองบัวลำภู – 5 977.3 729 บึงกาฬ – 7 3.2 216 หนองคาย – 4 722.9 353 เลย ศูนย์บริการเทคนิค 1 7 735.4 682 อุดรธานี ศูนย์บริการเทคนิค 1 15 3,552.8 1,754 นครพนม ศูนย์บริการเทคนิค 1 7 401.1 426 สกลนคร ศูนย์บริการเทคนิค 1 10

พามาเบิ่ง KUBOTA ผู้นำเบอร์ 1 รถเพื่อการเกษตรในไทย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐โรงไฟฟ้า พลังงานทดแทนทุกประเภทในอีสาน

พามาเบิ่ง “โรงไฟฟ้า” พลังงานทดแทนทุกประเภทในอีสาน . ภาคอีสานของเรา เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพด้านพลังงานทดแทนสูง ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม 2,842 เมกะวัตต์ (MW) เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากภาคกลางที่มีกำลังการผลิต 4,143 MW และสูงกว่าภาคเหนือ (2,387 MW) และภาคใต้ (989 MW) โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในภาคอีสานมีหลายประเภท โดยลมเป็นแหล่งพลังงานหลัก รองลงมาคือชีวะมวลและ พลังงานแสงอาทิตย์   โดยสามารถจำแนกศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในภาคอีสานได้ดังนี้ – โรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Power Plants) – 1,266 MW พลังงานลมกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของภาคอีสาน ด้วยศักยภาพกระแสลมที่เหมาะสมในบางพื้นที่ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง – โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plants) – 691 MW ภาคอีสานมีวัตถุดิบชีวมวลที่อุดมสมบูรณ์ เช่น เศษวัสดุจากการเกษตร อ้อย ข้าว และมันสำปะหลัง ทำให้ชีวมวลเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างยั่งยืน – โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plants) – 551 MW ด้วยปริมาณแสงแดดที่มีตลอดปี ทำให้ภาคอีสานเหมาะสมต่อการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนพลังงานในระยะยาว – โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ (Large Hydro Power Plants) – 238 MW แม้ว่าภาคอีสานจะไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เท่าภาคเหนือ แต่ยังสามารถใช้ศักยภาพของแม่น้ำสายสำคัญเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ – โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plants) – 80 MW โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพใช้ของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งเชื้อเพลิง ช่วยลดปัญหามลพิษและสร้างพลังงานสะอาด – โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (Mini-Hydro Power Plants) – 6 MW แม้กำลังการผลิตจะไม่สูงมาก แต่โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กยังสามารถช่วยกระจายพลังงานไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกลได้ – โรงไฟฟ้าขยะ (Waste Power Plants) – 10 MW การนำขยะมาใช้ผลิตไฟฟ้าช่วยลดปริมาณขยะในชุมชนและเป็นอีกแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน – โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Power Plants) – 0 MW ยังไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานนี้   ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ เหมาะสำหรับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานลมและแสงอาทิตย์ซึ่งต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลมหากได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี การลงทุน และนโยบายที่ส่งเสริมพลังงานทดแทน ภาคอีสานสามารถเป็นศูนย์กลางพลังงานสะอาดที่สำคัญของไทยที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานได้ในอนาคต . ที่มา: กระทรวงพลังงาน   หมายเหตุ: 1. ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567 2.ไม่รวมกำลังการผลิตไฟฟ้านอกระบบ

พามาเบิ่ง🧐โรงไฟฟ้า พลังงานทดแทนทุกประเภทในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน

  จังหวัด GPP นครราชสีมา 343,510 ล้านบาท ขอนแก่น 225,107 ล้านบาท อุบลราชธานี 143,160 ล้านบาท อุดรธานี 124,478 ล้านบาท บุรีรัมย์ 108,467 ล้านบาท สุรินทร์ 92,775 ล้านบาท ร้อยเอ็ด 85,660 ล้านบาท ศรีสะเกษ 83,905 ล้านบาท ชัยภูมิ 78,665 ล้านบาท สกลนคร 71,494 ล้านบาท มหาสารคาม 69,450 ล้านบาท กาฬสินธุ์ 66,077 ล้านบาท เลย 62,798 ล้านบาท นครพนม 52,184 ล้านบาท หนองคาย 48,887 ล้านบาท ยโสธร 34,343 ล้านบาท หนองบัวลำภู 32,332 ล้านบาท มุกดาหาร 31,189 ล้านบาท บึงกาฬ 29,879 ล้านบาท อำนาจเจริญ 24,053 ล้านบาท มูลค่าเศรษฐกิจภาคอีสานเติบโตขึ้นกว่า 93% เมื่อเทียบกับปี 2552 หมายเหตุ: GPP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด) = ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน . . ในปี 2566 ภาคอีสานมีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกว่า 1,808,413 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.1% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 18 ล้านล้านบาท . ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2552 – 2566) เผยให้เห็นภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ที่มีการเติบโตกว่า 93% เมื่อเทียบกับปี 2552 การพิจารณาข้อมูล GRP เป็นรายปีแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังปี 2556 ที่ GRP มีอัตราการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเพิ่มขึ้นจาก 1,373,084 ล้านบาท ในปี 2556 สู่ 1,808,413

พาส่องเบิ่ง GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย”

GPP per Capita หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน มิใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ GPP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หมายถึง ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ . และ GPP per Capita หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน . GPP per Capita จะเป็นรายได้คาดการณ์ที่คน 1 คนจะทำรายได้ให้จังหวัด ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดที่มี GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita ไม่ได้อยู่อันดับต้นๆตามอันดับของ GPP เลย . สาเหตุมาจากอะไร? อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง . . จังหวัดที่มี GPP สูงที่สุดอย่างนครราชสีมาและขอนแก่น เป็นเพียง 2 จังหวัดที่มีอันดับของมูลค่า GPP สัมพันธ์กับอันดับของ GPP per Capita ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 เหมือนกัน ถึงแม้จะมีประชากรจำนวนมาก แต่ประชากรยังสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดได้มาก เพราะ 2 จังหวัดนี้เน้นการทำอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้สูง แต่เมื่อสังเกตจังหวัดอื่นๆ เช่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ที่มีมูลค่า GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita น้อยกว่าจังหวัดที่มีมูลค่า GPP ต่ำกว่า . สาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจาก หลายจังหวัดสามารถสร้างมูลค่า GPP มาจากภาคเกษตรเป็นหลัก ซึ่งมีความไม่แน่นอนทั้งด้านปริมาณและราคาผลผลิต . ส่วนการผลิตภาคนอกเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก จะมีสัดส่วนที่น้อย ทำให้ศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และก็จะมีจังหวัดที่มี GPP per Capita สูงเป็นอันดับต้นๆ เช่น เลย หนองคาย และนครพนม แต่มีขนาดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยเมื่อสังเกตจะพบว่าจังหวัดที่มี GPP per Capita สูง จะเป็นจังหวัดที่ติดกับชายแดน สามารถค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนและทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตหรือการค้าของจังหวัดมากพอ โดยการค้าผ่านชายแดนของไทยถือว่ามากเป็น 10% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุให้จังหวัดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ในจังหวัดจะมีจำนวนประชากรที่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ . สรุปได้ว่า จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ ไม่จำเป็นที่ประชากรในพื้นที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ได้มากตามไปด้วย

อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย” อ่านเพิ่มเติม »

“พามาเบิ่ง! 🚨 7 วันอันตรายในอีสานบ้านเฮา! อุบัติเหตุสงกรานต์พุ่งสูง 🚨” สงกรานต์คือช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ก็เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในรอบปี 😢

“พามาเบิ่ง!  7 วันอันตรายในอีสานบ้านเฮา! อุบัติเหตุสงกรานต์พุ่งสูง ” สงกรานต์คือช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ก็เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในรอบปี  สถิติรวม จำนวนอุบัติเหตุ 303 จำนวนผู้บาดเจ็บ 283 จำนวนผู้เสียชีวิต 90 สาเหตุ อุบัติเหตุ การเสียชีวิต ขับรถเร็วเกินกำหนด 35% 44.4% ดื่มแล้วขับ 34.3% 22.2% ทัศวิสัย 24.4% 23.3% ยานพาหนะ รถจักรยานยนต์ 259 คัน รถปิกอัพ/กระบะ 52 คัน รถเก๋ง 22 คัน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงที่สุด มุกดาหาร 39 ขอนแก่น 36 สกลนคร 29 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุด ร้อยเอ็ด 15 ขอนแก่น 12 นครราชสีมา 11 จังหวัดที่มีอุบัติเหตุสูงที่สุด ขอนแก่น 43 มุกดาหาร 39 ร้อยเอ็ด 28 . จากสถิติล่าสุดปี 67 เกิดอุบัติเหตุกว่า 303 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 283 คน และเสียชีวิตถึง 90ราย  .  สาเหตุหลักของอุบัติเหตุ: ขับรถเร็วเกินกำหนด เมาแล้วขับ ทัศนวิสัย . พาหนะที่เกิดเหตุบ่อยที่สุด: มอเตอร์ไซค์ . วิธีป้องกันง่าย ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยง: งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับ ใส่หมวกกันน็อกทุกครั้ง ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง เคารพกฎจราจร  สงกรานต์ปีนี้ เราไม่อยากเห็นใครต้องจบชีวิตกลางถนนไม่อยากให้ครอบครัวไหนต้องรอคนที่ไม่มีวันกลับและไม่อยากให้เทศกาลที่ควรเต็มไปด้วยความสุข กลายเป็นความทรงจำที่เจ็บปวด “ขับขี่ปลอดภัย ไม่ประมาท ไม่ประสบอุบัติเหตุ” . ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ISANPolitics #สงกรานต์2568 #7วันอันตราย #เมาไม่ขับ #ขับขี่ปลอดภัย

“พามาเบิ่ง! 🚨 7 วันอันตรายในอีสานบ้านเฮา! อุบัติเหตุสงกรานต์พุ่งสูง 🚨” สงกรานต์คือช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ก็เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในรอบปี 😢 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 13 “ถนนข้าว” มหาสงกรานต์ ในภาคอีสานมีอะไรบ้าง ?

ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น  📍ถนนศรีจันทร์  ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เริ่มจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น – สี่แยกธนาคารแห่งประเทศไทย    ถนนข้าวแดง จังหวัดขอนแก่น 📍ทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดขอนแก่น โดยจะมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร แห่พระ สรงน้ำ    ถนนข้าวโพด จังหวัดนครราชสีมา 📍เทศบาลเมืองปากช่อง อ.ปากช่อง  ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถนนเทศบาลตั้งแต่สี่แยกกลางเมือง – สายน้ำคลองลำตะคอง   ถนนข้าวปุ้น จังหวัดนครพนม 📍บริเวณหอนาฬิกา ถนนสุนทรวิจิตร เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง    ถนนข้าวเย็น จังหวัดศรีสะเกษ 📍เทศบาลเมืองศรีสะเกษ  สำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ – สี่แยกถนนวันลูกเสือ    ถนนข้าวฮาง จังหวัดหนองบัวลำภู 📍สนามนเรศวร ริมหนองบัว  ระยะทางประมาณ 800 เมตร    ถนนข้าวฮาง/ถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร 📍ถนนหน้าวัดพระธาตุเชิงชุมฯ จ.สกลนคร  ถนนข้าวฮาง ถิ่นไทสกลล่ะเบ๋อ หรือเส้นถนนผ้าครามนั่นเอง   ถนน(ข้าว)ลอดช่อง จังหวัดยโสธร 📍เทศบาลเมืองยโสธร ระยะทางประมาณ 1 กิโล เมตร  ที่มาของถนนนี้ “ลอดช่อง” ที่เป็นของหวานขึ้นชื่อของจังหวัดยโสธร     ถนนข้าวเม่า จังหวัดมหาสารคาม 📍หอนาฬิกา เทศบาลเมืองมหาสารคาม  แยกหอนาฬิกา ถนนผดุงวิถี และถนนนครสวรรค์    ถนนข้าวเปียก จังหวัดอุดรธานี 📍ถนนเทศาภิบาล จ.อุดรธานี ที่มาของชื่อถนนนี้ “ข้าวเปียก” ซึ่งเส้นเป็นอาหารที่เข้ามาพร้อมกับชาวเวียดนามที่ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากในไทย เดิมเมนูนี้เรียกว่า “จ๋าว” ซึ่งชาวอุดรธานีนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า    ถนนข้าวก่ำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 📍เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์   ถนนภิรมย์ – ถนนกาฬสินธุ์ – ถนนข้าวก่ำ (ถนนอนรรฆนาค)   ถนนข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ด 📍สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ กลางเมืองร้อยเอ็ด    ถนนข้าวหลาม จังหวัดเลย 📍เทศบาลเมืองเลย ถนนเสริมศรี ศาลหลักเมืองเจ้าพ่อกุดป่อง – สามแยกตลาดนัดคลองถม   ฮู้บ่ว่า ? ถนนข้าวเหนียว จ.ขอนแก่นนั้น มีการเล่นคลื่นมนุษย์ในทุกๆปี โดยมีสถิติที่ทำไว้เมื่อปี 2562 ครั้งนั้นมีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งนักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติกว่า 150,000  คนเลยทีเดียว   ที่มา : thaipbs, travel trueid

พามาเบิ่ง 13 “ถนนข้าว” มหาสงกรานต์ ในภาคอีสานมีอะไรบ้าง ? อ่านเพิ่มเติม »

Rare Earth: หมากสำคัญในเกมต่อรองระหว่างจีน-สหรัฐฯ

Key Points แร่หายาก ประกอบด้วยแร่ 17 ชนิด รวมถึง ซีเรียมที่มีมากกว่าทอง 15,000 เท่า แต่กลับถูกขุดนำมาใช้ยากกว่าทอง จีน ครองสัดส่วนผลิตแร่หายากมากที่สุดของโลก คิดเป็น 70-80% ราว 80% ของแร่หายากที่สหรัฐนำเข้า มาจากจีน และเป็นสินค้าพิเศษที่ไม่ถูกขึ้นกำแพงภาษี จีนหยุดส่งออกแร่หายาก 7 ชนิดไปประเทศอื่น 100% “Rare Earth” อาวุธที่จีนใช้เพิ่มอำนาจต่อรองกับสหรัฐฯ . ไทยหยุดวันสงกรานต์ แต่โลกยังไม่หยุด ดำเนินนโยบายสงครามการค้าต่อเนื่อง ปัจจุบันประเทศจีนก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 โดยผลิตแร่ Rare Earth ถึง 80% ของกำลังการผลิตทั่วโลก โดยมีแหล่งแร่สำรองคิดเป็น 35% ของทั้งโลก นอกจากนี้ประเทศสหรัฐฯ นำเข้าแร่ Rare Earth กว่า 80% ของปริมาณที่นำเข้าทั้งหมดจากประเทศจีน . เหตุผลที่ประเทศจีนเป็นผู้นำเพราะมีเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อถลุงแร่ที่เหนือกว่าชาติอื่น อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีอุปสรรคในการเข้าตลาดที่สูงมาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีบริษัทใดเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวโดยไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล ปกติ ในการตอบโต้ภาษีการค้า มักจะใช้การขึ้นอัตราภาษีใส่กัน จีนมาแปลก สั่งห้ามการส่งออกแร่หายาก ซึ่งได้แก่  Samarium  Gadolinium  Terbium  Dysprosium  Lutetium  Scandium  Yttrium ถ้าห้ามการส่งออกจริง 100% จะทำเอาระบบห่วงโซ่อุปทานปั่นป่วนแน่ๆ เพราะจีนเป็นผู้ส่งออกสำคัญ การตัดสินใจของจีน ทำให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวขึ้น 12% ทันที ส่วนประเทศที่มีแร่เหล่านี้รองๆ ลงมาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะมี ยูเครน กรีนแลนด์ แคนาดา นิวซีแลนด์ ที่เป็นความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาทั้งนั้น คราวนี้้ต้องไปดูกันว่าทางสหรัฐอเมริกาต้องหันไปง้อชาติเหล่านี้หรือไม่ . สหรัฐฯ นำเข้าแร่แรร์เอิร์ธมากแค่ไหน USGS ประเมินว่า มูลค่าของสารประกอบและโลหะของแร่ Rare Earth ที่สหรัฐฯ นำเข้ามาในปี 2023 อยู่ที่ราว 190 ล้านดอลลาร์ หรือลดลง 7% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ในปี 2024 สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาการนำเข้าแร่แรร์เอิร์ธจาก จีน, มาเลเซีย, ญี่ปุ่น และเอสโตเนีย สูงถึง 80% นอกจากแร่แรร์เอิร์ธทั้ง 17 ชนิดแล้ว สหรัฐฯ ยังกำลังมองหาแร่ธาตุสำคัญอื่นๆ เช่น ทังสเตน, เทลลูเรียม, ลิเธียม, ไทเทเนียม และอินเดียม ในการผลิตชิป วัตถุดิบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “แร่หายาก” หรือ “Rare Earth” นั่นเอง นอกจากเป็นวัตถุดิบผลิตชิปแล้ว แร่หายากยังถูกใช้ทำแม่เหล็กแบบถาวร (Permanent Magnet) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในมอเตอร์ของรถยนต์ไฟฟ้า

Rare Earth: หมากสำคัญในเกมต่อรองระหว่างจีน-สหรัฐฯ อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง เมื่อบัณฑิตอีสานกลายเป็นคนว่างงานอันดับ 1 พลิกผันน่าตกใจ! จาก “มีงานทำ” สู่ “ว่างงาน”

เมื่อ “มีงานทำ” กลายเป็น “ว่างงาน” วิกฤตเงียบของบัณฑิตอีสาน สัญญาณอันตรายต่ออนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค . จากข้อมูลสัดส่วนคนว่างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมกราคม ปี 2563 – 2568 เผยให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่จากเดิมมีสัดส่วนการว่างงานน้อยที่สุด กลับกลายเป็นกลุ่มที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดอย่างน่ากังวล  . ย้อนกลับไปในปี 2563 กลุ่มผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามีสัดส่วนการว่างงานเพียง 14.3% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้มีการศึกษาในระดับอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้พลิกผันอย่างน่าตกใจในช่วงเวลาเพียง 5 ปี เมื่อในเดือนมกราคม ปี 2568 สัดส่วนการว่างงานของกลุ่มอุดมศึกษาพุ่งทะยานขึ้นถึง 35.7% แซงหน้าทุกระดับการศึกษาอย่างชัดเจน ในขณะที่กลุ่มผู้มีการศึกษาต่ำกว่า (ประถมศึกษาและต่ำกว่าประถม, มัธยมต้น, มัธยมปลาย, ปวช./ปวส.) กลับมีสัดส่วนการว่างงานที่ลดลง . การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ เป็นผลมาจากการเข้ามาของเทคโนโลยี หรือ AI กำลังเปลี่ยนแปลงลักษณะงานและความต้องการทักษะในตลาดแรงงานอย่างรวดเร็ว งานบางประเภทที่เคยต้องการแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญา อาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี หรือต้องการทักษะใหม่ที่ไม่ตรงกับหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน . นอกจากนี้ ความไม่สอดคล้องกันระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของแรงงานก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ ระบบการศึกษาอาจยังไม่สามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความรู้ที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดภาวะ “ปริญญาล้นตลาด” . ในขณะที่ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะเฉพาะทางกลับขาดแคลน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและผลกระทบจากปัจจัยภายนอก รวมถึงการขาดโอกาสและโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยในบางพื้นที่ของภาคอีสาน ก็เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหา นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและทางเลือกในการทำงานของบัณฑิตจบใหม่ ที่อาจเลือกทำงานอิสระหรือทำธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น ก็อาจมีส่วนทำให้ตัวเลขผู้ว่างงานในระบบสูงขึ้น . ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้มีทักษะที่จำเป็นในยุคตลาดแรงงานดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากตลาดแรงงานไทยยังต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิทัล (Digital revolution) ที่มาแรงมาเร็ว   . ระดับการศึกษา มกราคม 2563 มกราคม ปี 2565 มกราคม ปี 2567 มกราคม ปี 2568 ประถมศึกษาและต่ำกว่าประถม 32.5% 20.2% 12.8% 8.1% มัธยมต้น 37.2% 19.3% 23.2% 1.5% มัธยมปลาย 5.8% 27.9% 31.5% 33.8% ปวช./ปวส. 10.2% 8.9% 6.1% 20.6% อุดมศึกษา 14.3% 23.5% 26.4% 35.7% ทักษะอะไรต้องมีสำหรับงานอนาคต⁉️ รายงาน Future of Jobs Report 2025 จาก World Economic Forum เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคต ระบุว่า การคิดเชิงวิเคราะห์ ยังคงเป็นทักษะหลักที่เป็นที่ต้องการมาก เป็นสิ่งจำเป็นในปี 2025 ตามมาคือทักษะด้านความยืดหยุ่น การปรับตัว และความเป็นผู้นำ

พาเปิดเบิ่ง เมื่อบัณฑิตอีสานกลายเป็นคนว่างงานอันดับ 1 พลิกผันน่าตกใจ! จาก “มีงานทำ” สู่ “ว่างงาน” อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top