Infographic

ฮู้บ่ว่า การย่อยสลายของกระทงใช้เวลาปานใด๋ ?

ฮู้บ่ว่า  การย่อยสลายของกระทงใช้เวลาปานใด๋ ?   ก่อนจะไปลอยกระทงปี 2565 กัน มีข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) มาฝาก    เนื่องจากปัจจุบันหลายคนหันไปใช้กระทงรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อหวังจะลดปริมาณขยะจากกระทง แต่กระทงแต่ละชนิดก็ใช้ระยะเวลาย่อยสลายแตกต่างกัน บางชนิดอาจย่อยสลายได้เร็ว บางชนิดอาจกลายเป็นอาหารปลาได้ แต่หากมีปริมาณที่มากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียเช่นกัน   กระทงที่ทำจากขนมปังเมื่อขนมปังยุ่ย จะทำให้น้ำมีค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) หรือ ค่าสารอินทรีย์สูง หากปริมาณไม่มาก จะไม่ค่อยส่งผลเสีย แต่หากมากเกินไป จะทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสียได้    อีกทั้งยังมีผลกระทบที่จะเกิดกับธรรมชาติ สัตว์น้ำ ที่อาจทั้งกินเอาขยะเข้าไป หรือก็ต้องอาศัยอยู่ในน้ำที่เริ่มเน่า รวมถึงวัสดุอุปกรณ์บางอย่างในการทำกระทงเช่น ตะปู ลูกแม็กที่ใช้เย็บใบตอง ที่ไม่อาจย่อยสลายได้   ในการจัดเก็บกระทง จึงมีการแยกกระทงที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ นำไปเป็นวัตถุดิบหมักทำปุ๋ย โดยส่งไปที่ศูนย์กำจัดมูลฝอย ส่วนกระทงที่ทำจากโฟมจะรวบรวมและประสานบริษัทนำไปรีไซเคิล เช่น การทำกล่องดินสอ ไม้บรรทัด และวัสดุในหมอนรองคอ ซึ่งคาดว่าในปีนี้กระทงโฟมจะมีปริมาณลดลง   เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์ ลอยกระทง 1 ครอบครัว 1 กระทง  อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดี ควบคู่กับการสืบสานประเพณีให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับคนที่ทำกระทงแบบรักสิ่งแวดล้อม ให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น    อ้างอิงจาก: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร กรุงเทพธุรกิจ Springnews Thairath   #ISANInsightAndOutlook  #อีสาน #ลอยกระทง #ลอยกระทง2565 #กระทงรักษ์โลก

พามาเบิ่ง “โฮมช็อป” อาณาจักรธุรกิจจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน ระดับร้อยล้านในภาคีอสาน

การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: http://www.homeshop.co.th/ https://data.creden.co/company/general/0455553000030 https://www.maxmathailand.com/17236802/homeshop #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง #โฮมช็อป #ร้อยเอ็ด

ซอมเบิ่ง  ลอยกระทงปีนี้  ไปเที่ยวหม่องไหนดี ?

ซอมเบิ่ง  ลอยกระทงปีนี้  ไปเที่ยวหม่องไหนดี ?   “ประเพณีลอยกระทง” เป็นประเพณีที่คนไทยให้ความสำคัญ และมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีประเพณีและพิธีการที่แตกต่างกันออกไป แต่ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ “การบูชา – ขอขมา พระแม่คงคา” และถือเป็นการ สะเดาะเคราะห์ นำสิ่งร้ายๆ ให้พ้นไปจากตัวเอง โดยจะ ลอยกระทง ในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) สำหรับปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกันวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2565   สำหรับในภาคอีสานนั้นประเพณีลอยกระทง ตามสายน้ำ และปล่อยโคมคล้ายคลึงกับภาคเหนือ โดยในสมัยก่อนจะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า “สิบสองเพ็ง” โดยจังหวัดทางภาคอีสานที่นิยมและมีชื่อเสียงในการจัดงาน ประเพณีลอยกระทง   (1) ลอยกระทง ณ แม่น้ำโขง จ.นครพนม, จ.หนองคาย, จ.มุกดาหาร เป็นต้น ในวันลอยกระทง จะนิยมตกแต่งไฟประดับเรือในรูปร่างต่างๆ อย่างสวยงามวิจิตร ซึ่งเรียกว่า “ประเพณีไหลเรือไฟ”    (2) สีฐานเฟสติวัล “บุญสมมาบูชานาค” จ.ขอนแก่น  วันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2565 มีถนนโคมไฟภายใต้แนวคิด “น้ำ ปลา นาค” ขบวนแห่ ” KKU Carnival 2022 ” ฟังคณะหมอลำ “ศิลปินสินไซ” โดย วงโปงลางสินไซ    (3) สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป จ.ร้อยเอ็ด  วันที่ 7 – 8 พฤศจิกายน 2565 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด และบึงพลาญชัย ชมการประกวดกระทงประทีปใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานฯ    (4) งานลอยกระทงพระประทีปสิบสองเพ็งไทสกล จ.สกลนคร  วันที่ 5 – 8 พฤศจิกายน 2565 นิยมลอยกระทง ที่ทำจาก “กาบกล้วย” ผู้คนมักจะเรียกว่าเทศกาลลอยประทีป    (5) ตลาดเมืองผี วิถีไทด่าน จ.เลย วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ณ วัดโพนชัย การแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนผู้สูงวัยใบบุญ โชว์เต้นผีตาโขน   (6) งานแข่งเรือยาว และงานลอยกระทง จ.บุรีรัมย์ …

ซอมเบิ่ง  ลอยกระทงปีนี้  ไปเที่ยวหม่องไหนดี ? อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “ส.เขมราฐ” อาณาจักรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ขนส่ง การเกษตร และพลังงาน

กลุ่มบริษัท ส.เขมราฐ เริ่มก่อตั้งในปี 2525 จากการร่วมกันระหว่างกิจการสถานีบริการเติมน้ำมันในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดชนะชัยเขมราฐ กับโรงโม่หิน ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาในปี 2529 ได้ขยายธุรกิจและก่อตั้งบริษัท ส.เขมราฐ อินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศ ด้วยผลงานที่การันตีความสำเร็จมากกว่า 33 ปี บริษัทจดทะเบียนบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท บริษัทเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานทั้งภาครัฐ และเอกชน สร้างสรรค์ผลงานมากกว่า 1,000 ผลงาน บริษัทมีความเชี่ยวชาญในด้านการเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีบุคลากรคุณภาพ มีทีมวิศวกรที่มีความชำนาญ มีเครื่องจักรมากกว่า 500 ตัวเพื่อรองรับในการทำงานทุกระดับ บริษัทได้รับความไว้วางใจในด้านความสามารถการบริหารจัดการโครงการและระยะเวลาในการทำงานที่ดีเยี่ยม มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้การดำเนินงานอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยมุมมองและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร นอกจากนั้นบริษัทยังมีความเข้มแข็งและมั่นคงทางด้านการเงิน รวมไปจนถึงการใส่ใจในด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ในปี 2559 บริษัทได้รับการรับรองให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างชั้นพิเศษ และได้รับการรับรองให้เป็น 1 ใน 70 ผู้รับเหมาก่อสร้างที่เติบโตเร็วที่สุด บริษัทได้รับความไว้วางไว้ให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆมากมาย อาทิ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสระบุรี-บางปะอิน ตอนที่ 13 , โครงการทางหลวงหมายเลข 2050 สายตระการ – บ้านห้วยยาง , โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 212 สายอุบลฯ – อำนาจ ตอน 2 , โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 208 แยก ทล.2 ท่าพระ– มหาสารคาม , โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริม โครงการก่อสร้างฝาย และโครงการอื่นๆ อีกมากมาย และใน ปี 2561 – ปัจจุบัน ได้ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นในนาม “กลุ่มบริษัท ส.เขมราฐ” ประกอบด้วยบริษัทในเครือทั้งหมด 6 บริษัท และมีพนักงานมากกว่า 700 อัตรา อันได้แก่ บริษัท ส.เขมราฐอินดัสตรี้ จำกัด , บริษัท ส.เขมราฐทรานสปอร์ต จำกัด , บริษัท เอสเคการ์เดี้ยน จำกัด , บริษัท เอสเค กรีน อโกร โปรดักส์ จำกัด , บริษัท ส.เขมราฐเอ็กเพรส จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ชนะชัยเขมราฐ จำกัด โดยกลุ่มบริษัท ส.เขมราฐ มีการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล สร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ มีมาตรฐานการบริหารจัดการ องค์กรตามมาตรฐานสากล ช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้กับจังหวัดอุบลราชธานี และประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัท …

พาซอมเบิ่ง “ส.เขมราฐ” อาณาจักรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ขนส่ง การเกษตร และพลังงาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง  หนังที่สร้างจากความเชื่ออีสาน  ร่างทรง & นาคี

พามาเบิ่ง  หนังที่สร้างจากความเชื่ออีสาน  ร่างทรง & นาคี   เนื่องด้วยวันนี้เป็นวันฮาโลวีน (Halloween) ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของประเทศทางตะวันตก เมื่อพูดถึงวันฮาโลวีนแล้ว หลายคนคงจะนึกถึงการแต่งตัวเป็นภูตผีปีศาจในงานฉลองต่าง ๆ ส่วนในประเทศไทยยังอาจเรียกวันฮาโลวีนว่า “วันปล่อยผี” อีกด้วย   เมื่อพูดถึงความเชื่อของคนไทยและคนอีสาน ที่เป็นที่รู้จักก็จะนึกถึง ร่างทรง พญานาค ผีฟ้า ผีแถน ผีปอบ เป็นต้น โดยมีหนังที่ได้แรงบันดาลใจจากความเชื่อภาคอีสานมากมาย และสร้างชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องร่างทรง และ นาคี    ทั้งสองเรื่องถ่ายทำและได้รับแรงบันดาลใจจากหลากหลายสถานที่ จึงทำให้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาเที่ยวตามรอยตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดการท่องเที่ยวตามรอยกระแสภาพยนตร์ (Pop-Culture Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ  (Spiritual Tourism)    ส่งผลให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น ในหลายแห่งการท่องเที่ยวช่วยให้คนมีงานทำในท้องถิ่นไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไป ทำงานในเมือง การท่องเที่ยวมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจและสนใจในวัฒนธรรมของตนมากขึ้นทำให้สนใจศึกษาค้นคว้าและรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ช่วยฟื้นฟูหัตถกรรมพื้นบ้าน ดนตรี ศิลปะการแสดงไม่ให้สูญหายไป   อีกทั้งทำให้ชุมชนมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น และยังมีการพัฒนา บริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้ถ่ายทำละครให้ดีขึ้นอีกด้วย     อ้างอิงจาก: Majorcineplex Theisaanrecord Traveleatdrinkreview  Urbancreature   #ISANInsightAndOutlook  #อีสาน #ร่างทรง #นาคี #นาคี2 #ความเชื่ออีสาน #Halloween2022

พาซอมเบิ่ง “โฮมวัน”

ผู้นำด้านร้านค้าปลีกและค้าส่งวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ชวนเบิ่ง เส้นทางอาณาจักรจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง “โฮมฮับ”

“บริษัท โฮมฮับ จำกัด” ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และตกแต่งบ้านครบวงจร ก่อตั้งโดย คุณองอาจ ตั้งมิตรประชา และคุณอาภาภรณ์ ตั้งมิตรประชา ในปีพ.ศ. 2519 โดยเริ่มจากการจำหน่าย สีทาอาคาร สีพ่นรถยนต์ เครื่องมือช่าง ปั๊มน้ำ อุปกรณ์การเกษตร ประดับยนต์ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากับความต้องการสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่มีความหลากหลาย ครบ และง่ายในการจัดหาด้วยตัวเองได้ โดยเมื่อก่อนใช้ชื่อภายใต้ชื่อ ร้านสีรุ้ง จำหน่ายสี และอุปกรณ์ทาสีทุกชนิดใจกลางเมืองอุบลราชธานี ในปี 2523 ได้เพิ่มสินค้าประเภทสีพ่นรถยนต์ ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างดี จึงขยายกิจการโดยเพิ่มสินค้าเครื่องมือช่างเข้าไป เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้ขยายสาขา 2 ที่อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2548 ได้เพิ่มสินค้าอุปกรณ์ก่อสร้างเต็มรูปแบบ พร้อมจดทะเบียนใหม่ในชื่อ สีรุ้งโฮมโปร ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โฮมฮับ” รวมทั้งขยายสาขาเพิ่มที่บ้านทัพไท และในปี 2554 ได้เปิดสาขาขอนแก่น และในปีนี้ได้เปิดสาขาอุดรธานี อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://homehub.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8…/ https://data.creden.co/company/general/0345542000140 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง #อุบลราชธานี #โฮมฮับ #ร้านสีรุ้ง #HOMEhub #ธุรกิจร้อยล้าน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน

พามาฮู้จัก “BONSUCRO”  มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน   ซึ่งหลักการทั้ง 5 ข้อข้างต้นครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ของการผลิตอ้อยและน้ำตาลโดยต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เริ่มตั้งแต่   🔹 การตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินก่อนการปลูกอ้อย 🔹 กระบวนการในระหว่างการปลูกอ้อย 🔹 การบำรุงรักษาอ้อย 🔹 การเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อย 🔹 กระบวนการผลิตน้ำตาลในโรงงาน 🔹 การซื้อ-ขายน้ำตาล   ความท้าทายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ความต้องการน้ำตาล BONSUCRO จากไทยยังมีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดส่งออกน้ำตาลของไทยส่งออกกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจยังไม่มีนโยบาย Low Carbon ในอุตสาหกรรมน้ำตาลเหมือนประเทศในกลุ่มยุโรป    อย่างไรก็ตาม กระแสโลกด้านสิ่งแวดล้อมทำให้หลายประเทศต้องปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก เมื่อเห็นสัญญาณแนวโน้มของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และยังสามารถขยายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเท่านั้นได้    โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนโรงงานและไร่อ้อยให้ได้รับมาตรฐาน BONSUCRO มากขึ้น เพราะท้ายสุดหากไม่สามารถผลิตน้ำตาลให้ได้มาตรฐาน อาจทำให้สูญเสียลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานเหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย   อ้างอิงจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย mitrpholmodernfarm   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BONSUCRO #มาตรฐานBONSUCRO 

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล

“ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นอุบล เริ่มต้นธุรกิจจากรุ่นคุณปู่ คุณย่า เป็นธุรกิจโชห่วยใช้ชื่อว่า โค้วย่งง้วน หมายความว่า แหล่งน้ำที่ยั่งยืน พัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีโกดังหลายจุด พอมาเป็นรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เปลี่ยนจากโชห่วยมาเป็นห้างสรรพสินค้า จนมีห้างต่างชาติเข้ามา แล้วมีการปรับเปลี่ยนจากห้างสรรพสินค้ามาเปิดศูนย์กระจายสินค้ายงสงวน กระจายสินค้าให้กับคนในอุบล “​​ยงสงวน” ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2498 จากจุดเริ่มต้นร้านโชห่วย 1 คูหา 2 ชั้น โดยรุ่นแรก “คุณพ่องี่เต็ก แซ๋โค้ว” และ “คุณแม่เง็กเนย ไชยสงคราม” โดยร้านแรก ตั้งอยู่บนถนนยุทธภัณฑ์ ตรงกันข้ามกับโรงหนังกลาง ใช้ชื่อร้านว่า “โค้วย่งง้วน” จนกระทั่งในปี 2500 โค้วย่งง้วน ได้ย้ายร้านมาตั้งอยู่ที่มุมถนนพรหมเทพ ขยับขยายสู่ร้าน 2 คูหา ซึ่งต่อมาในปี 2503 ได้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ร้านโค้วย่งง้วน เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และเปลี่ยนทำเลมาเป็นร้านใหม่ที่ถนนพรหมเทพ จากนั้นในปี 2519 ได้ย้ายร้านอีกครั้งมาที่ 77-81 ถนนพรหมเทพ เป็นร้านขนาด 3 คูหาและต่อมาได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ยงสงวน” ในปี 2525 ก้าวเดินของ ยงสงวน พริกผันสู่ก้าวที่ใหญ่ขึ้นในปี 2533 เมื่อเข้าประมูลสิทธิการก่อสร้างได้ และเปลี่ยนสู่ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ “ยงสงวน ช้อปปิ้งมอลล์” โดยมีคุณกำพล และคุณมลิวัลย์ ไชยสงคราม เป็นผู้บริหาร จนถึงปัจจุบัน ยงสงวนกรุ๊ป อยู่ภายใต้การบริหารงานของเงิน 3 ตระกูลไชยสงคราม ของสองพี่น้องคือ ประกิจ และ ประกอบ ไชยสงคราม ที่ช่วยกันสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแรง จนสามารถขยายบริษัทในเครือ จากเดิมที่มีเพียง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยงสงวนช้อปปิ้งมอลล์ แตกอีก 2 บริษัท คือ “บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด” และ “บริษัท สหรุ่งธนเกียรติอุบล จํากัด” สำหรับ หัวใจสำคัญที่ทำให้คำปลีกท้องถิ่นอยู่รอดได้ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและลูกค้า ทำธุรกิจด้วยความจริงใจ นึกถึงใจเขา ใจเรา เห็นอกเห็นใจคนอื่น ก็จะสามารถผ่านพ้นวิกฤติ ได้ไม่ยาก และในฐานะคนอุบลโดยกำเนิด ประกอบ และ ยงสงวนกรุ๊ป ยังให้ความสำคัญกับการตอบแทนบ้านเกิด ด้วยการจัดตั้ง “อุบล แฟมิลี่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน เพื่อทำกิจกรรมตอบแทนสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดงานวิ่งเพื่อการกุศล ซึ่งเป็น กิจกรรมที่เขาและครอบครัวชื่นชอบเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งนำรายได้ไปทำประโยชน์ในสถานที่ต่าง ๆ ของจังหวัด เมื่อถามถึงจุดแข็งของ ยักษ์ค้าปลีกท้องถิ่น ที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ คุณประกอบมองว่า …

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า : จิตแพทย์ ของภาคอีสาน   ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจำนวนมากขึ้นทุกปีแต่จำนวนจิตแพทย์ในไทยกลับขาดแคลน   ข้อมูลจาก Mental Health ATLAS 2020 ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า จำนวนจิตแพทย์ใน 156 ประเทศทั่วโลก มีค่ามัธยฐานของอัตราส่วนของจิตแพทย์อยู่ที่ 1.7 คนต่อประชากร 100,000 คน   โดยในประเทศไทยนั้น ตามรายงานจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช กรมสุขภาพจิต ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ระบุว่า ไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน คิดเป็นจิตแพทย์ 1.28 คนต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก   เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในอีสาน พบว่าจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.นครราชสีมา 19,158 คน 2.อุบลราชธานี 12,752 คน 3.ขอนแก่น 10,684 คน 4.บุรีรัมย์ 8,701 คน 5.ศรีสะเกษ 7,699 คน   เมื่อพิจารณาภาระความรับผิดชอบ พบว่า จิตแพทย์ในภาคอีสานนั้นมีภาระสูงสุด โดยจิตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงถึง 10,994 คน และต้องดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอีก 827 คน   โดยสาเหตุที่จิตแพทย์ขาดแคลนมาจากกระบวนการผลิตจิตแพทย์ที่ทำได้ยากและใช้เวลานาน ต้องรอจนกว่าแพทย์เรียนจบหลักสูตร 6 ปี ใช้ทุนอีก 3 ปี จึงจะกลับมาเรียนแพทย์เฉพาะทางต่อ จิตแพทย์ผู้ใหญ่ใช้เวลาเรียน 3 ปี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 4 ปี   นอกจากระยะเวลาในการเรียนแล้ว ข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่ง คือ การขาดแคลนอาจารย์ สำหรับจิตแพทย์ 1 คน ต้องใช้อาจารย์แพทย์ประมาณ 3 คน ด้วยอัตราแบบนี้ทำให้เพิ่มจำนวนได้ช้า เพราะคนที่อยู่ในระบบมีน้อย   ปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตและสมาคมจิตวิทยาการปรึกษา อยู่ระหว่างการผลักดันมาตรฐานการให้บริการด้านจิตเวชให้ครอบคลุมจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ในการแก้ปัญหาของภาครัฐ ที่ไม่เพียงต้องป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้า แต่ยังต้องคำนึงถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำจากทรัพยากรสาธารณสุขที่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่อีกด้วย   อ้างอิงจาก : กรุงเทพธุรกิจ รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2564    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้า #จิตแพทย์ 

Scroll to Top