Infographic

พามาเบิ่ง ศึกอาณาจักรวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ระดับประเทศ

ธุรกิจหลายบริษัทที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท มักมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ แล้วขยายออกสู่ต่างจังหวัด แต่ไม่ใช่สำหรับ “โกลบอลเฮ้าส์” และ “ดูโฮม” โดยบริษัททั้ง 2 มีผู้ก่อตั้งธุรกิจที่เป็นคนภาคอีสาน ซึ่งประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าโดยเน้นวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่ง บ้านและสวน เป็นต้น วันนี้ ISAN Insight&Outlook จะพามาดูเส้นทางของอาณาจักรค้าวัสดุก่อสร้างแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร? จุดเริ่มต้นของ “โกลบอลเฮ้าส์” มาจากคุณวิทูร สุริยวนากุล ผู้ก่อตั้งบริษัท ที่เกิดและเติบโตในจังหวัดร้อยเอ็ด หลังจากจบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณวิทูร ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่ไม่นานก็ขยับขยายมาเปิดร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ชื่อว่า ร้อยเอ็ดฟาร์มโดยได้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ มีการทำระบบบาร์โคด คุมสต็อกสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าทันสมัยมาก หลังจากร้อยเอ็ดฟาร์มเติบโตมาเกือบ 10 ปี ก็กลายมาเป็น “โกลบอลเฮ้าส์” ในปี พ.ศ. 2540 โกลบอลเฮ้าส์ตั้งสาขาแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีรูปแบบเป็น Warehouse Store ที่มีพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่ ที่รวบรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านครบวงจร อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของโกลบอลเฮ้าส์ คือ มีสินค้ามากกว่า 130,000 รายการ และมีพื้นที่แต่ละสาขากว้างถึง 18,000-32,000 ตารางเมตร มีศูนย์กระจายสินค้าที่ใช้ระบบหุ่นยนต์หยิบและเก็บของภายในคลังสินค้าสูง 11 ชั้น เพื่อให้การควบคุมศูนย์กระจายสินค้ามีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ในแต่ละสาขายังมีบริการ Drive-Thru ให้ลูกค้าสามารถขับรถมารับสินค้าจากหลังร้านได้ทันทีที่ซื้อ ในขณะที่ “ดูโฮม” เริ่มต้นจากการเป็นร้านค้าวัสดุก่อสร้างเล็ก ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี จนตอนนี้ได้ก้าวมาเป็นแนวหน้าของผู้ค้าวัสดุก่อสร้างในไทยและมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท โดยคุณอดิศักดิ์ ตั้งมิตรประชา และคุณนาตยา ตั้งมิตรประชา ได้ก่อตั้งร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด “ศ. อุบลวัสดุ” ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการปรับรูปแบบร้านค้าให้เป็นโกดังขายสินค้าขนาดใหญ่ และมีการนำเทคโนโลยีจัดการคลังสินค้าและจัดการการขาย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “ดูโฮม” ภายใต้ชื่อว่า บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่ ดูโฮม ผลักดันเพื่อให้อัตราการทำกำไรของบริษัทสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ การเพิ่มยอดขายสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง (House Brands) คือบริษัทไปสั่งผลิตจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ทำให้บริษัทได้อัตรากำไรที่ดีกว่าการรับสินค้าของแบรนด์อื่นมาขาย จุดเริ่มต้นของโกลบอลเฮ้าส์และดูโฮม ให้แง่คิดหลายอย่างในการทำธุรกิจ ทำให้รู้ว่า การทำธุรกิจแต่ในต่างจังหวัดก็สร้างรายได้มหาศาลได้ ถ้ามีการจัดการอย่างเป็นระบบ เหมือนกับทั้ง 2 บริษัทก็สามารถยิ่งใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพ นอกจากนี้ การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/GLOBAL/company-profile/information https://www.set.or.th/…/product/stock/quote/DOHOME/price https://investor.dohome.co.th/…/corpora…/company-history https://www.longtunman.com/31150 https://www.longtunman.com/24154 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน …

พามาเบิ่ง ศึกอาณาจักรวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ระดับประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก หุ้นที่เริ่มต้นธุรกิจในภาคอีสาน

หลาย ๆ บริษัทในไทยอาจมีจุดเริ่มต้นมาจากเมืองหลวงที่มีผู้บริโภคอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีการจับจ่ายใช้สอยและมีอัตราการเติบโตสูง แต่ก็มีอีกหลาย ๆ บริษัทที่เล็งเห็นโอกาสการทำตลาดจากต่างจังหวัด ซึ่งจะมีหุ้นอะไรบ้างที่เติบโตมาจากภาคอีสาน ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่กว่า 168,855 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทยและเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด แต่กลับเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ ซึ่งในปี 2563 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดในภาคอีสานหรือ GPP (Gross Provincial Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1.6 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10.2% ของ GDP ประเทศไทย และมีค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว หรือ GPP per capita อยู่ที่ 86,233 บาทต่อปีเท่านั้น โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอีสานทุก 100 บาท มาจากเกษตรกรรม 19.6 บาท อุตสาหกรรม 16.9 บาท การศึกษา 13.1 บาท การขายปลีก-ส่ง 14.3 บาท และอื่น ๆ อีก 36.1 บาท เมื่อพูดถึงภาคอีสาน คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการทำเกษตรกรรมอย่างการปลูกข้าวนาปี, ยางพารา, มันสำปะหลัง และอ้อย นอกจากนี้แรงงานกว่า 53% ก็อยู่ในภาคการเกษตรด้วยเช่นกัน นั่นจึงส่งผลดีต่อธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรอย่างน้ำตาลบุรีรัมย์ (BRR), แปรรูปมันสำปะหลัง (UBE), ยางแผ่น (NER) แต่ความมั่งคั่งของคนภาคอีสานนั้นกลับกระจุกตัวอยู่แค่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุบลราชธานี และอุดรธานี รวมกันกว่า 46.5% ของ GPP เรียกได้ว่าเกือบครึ่งของมูลค่าเศรษฐกิจของภาคอีสานเลยทีเดียว ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มต้นจาก 4 จังหวัดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดขอนแก่นอย่างหลังคาเหล็กตรารถถัง (KCM), โรงพยาบาลราชพฤกษ์ (RPH), ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง (ACG) จังหวัดนครราชสีมาอย่างชิ้นส่วนยานยนต์ (PCSGH) จังหวัดอุบลราชธานีอย่างวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (DOHOME) และจังหวัดอุดรธานีอย่างโรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์น – วัฒนา (NEW) อ้างอิงจาก: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หุ้นที่เริ่มต้นธุรกิจในภาคอีสาน #หุ้นในภาคอีสาน

พามาฮู้จัก “แป้งมันเอี่ยมเฮง” อาณาจักรผลิตแป้งมันสำปะหลัง

บริษัทแป้งมันเอี่ยมเฮงอุตสาหกรรม จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นจากธุรกิจลานมันเอี่ยมเฮงพืชผลโดยคุณบักเอี่ยม แซ่เฮง และก้าวสู่อุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังในปี 2536 ที่ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 150,000,000 บาท มีกำลังผลิตกว่า 1,100 ตันต่อวัน บริษัทฯ ถือเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าทั่วโลก อีกทั้งยัง ดำเนินการผลิตแป้งมันสำปะหลังที่มีคุณภาพและคุณสมบัติพิเศษในหลายกลุ่มที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าโดยมีทั้งเกรดอาหาร (Food grade) และเกรดอุตสาหกรรม (Industrial grade) บริษัทฯ ประเดิมทุนครั้งแรกด้วยจำนวน 100 ล้านบาท จากนั้นเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกในปี 2544 เพิ่มเป็น 150 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้ 4,665 ล้านบาท และมีกำไร 62 ล้านบาท ปี 2561 มีรายได้ 4,680 ล้านบาท และมีกำไร 66 ล้านบาท ปี 2562 มีรายได้ 4,119 ล้านบาท และมีกำไร 54 ล้านบาท ปี 2563 มีรายได้ 3,874 ล้านบาท และมีกำไร 25 ล้านบาท ปี 2564 มีรายได้ 4,859 ล้านบาท และมีกำไร 50 ล้านบาท หากพิจารณาจากข้อมูลการเพิ่มทุนจดทะเบียน และตัวเลขงบการเงินที่ปรากฏ จะพบว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกำไรจากปี 2564 ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว พุ่งไปสูงถึง 50 ล้าน อย่างไรก็ตาม ในการทำธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการจัดการกับความเสี่ยงที่ต้องเจอให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: เว็บไซต์ของบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แป้งมันเอี่ยมเฮง #ธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลัง #ผลิตแป้งมันสำปะหลัง #มันสำปะหลัง

สินค้าหยัง ? ส่งออกปัง ! มูลค่าส่งออกสินค้าชายแดนอีสาน-สปป.ลาว

สินค้าหยัง ? ส่งออกปัง ! มูลค่าส่งออกสินค้าชายแดนอีสาน-สปป.ลาว   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook    อ้างอิงจาก: กรมการค้าต่างประเทศ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สินค้านำเข้า #สินค้าส่งออก #สปปลาว #ลาว  

นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายปานใด๋ ? ในภาคอีสาน ปี 2565

นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายปานใด๋ ? ในภาคอีสาน ปี 2565   นักท่องเที่ยวต่างชาติในอีสานมีแนวโน้มขยายตัว แต่ยังไม่เข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 ถึงแม้แนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติในอีสานจะปรับดีขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น อีสานยังมีรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติในสัดส่วนที่ต่ำมาก ปัจจัยบวก การฟื้นตัวของความต้องการท่องเที่ยวในประเทศ ที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ การยกเลิก Zero-Covid ในจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าสู่อีสาน ผ่านรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน    ปัจจัยเสี่ยง ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่อาจจะกระทบกับกำลังซื้อในภาคการท่องเที่ยว ต้นทุนการเดินทางที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเชื้อเพลิง   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook   อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นักท่องเที่ยว #รายได้นักท่องเที่ยว #เที่ยวอีสาน #นักท่องเที่ยวต่างชาติ 

ปี 2565 คนเดินทางหลายปานใด๋ ?  สถิติขนส่งทางอากาศในภาคอีสาน  

ปี 2565 คนเดินทางหลายปานใด๋ ?  สถิติขนส่งทางอากาศในภาคอีสาน     อ้างอิงจาก: กรมท่าอากาศยาน   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ขนส่งทางอากาศ #กรมท่าอากาศยาน 

พามาเบิ่ง 3 พันธุ์ข้าว ที่นิยมปลูกหลายที่สุด 

พามาเบิ่ง 3 พันธุ์ข้าว ที่นิยมปลูกหลายที่สุด    จังหวัด อุบลราชธานี จังหวัดที่มีผลผลิตข้าวมากที่สุด มีเนื้อที่เพาะปลูก 4.08 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 1.43 ล้านตัน แบ่งเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105: 873,492 ตัน รองลงมาเป็นพันธุ์ กข6: 292,611 ตัน และพันธุ์ กข15: 170,631 ตัน   มีการจัดตั้งโครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ด้านการผลิต  1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุมเช่าที่นา 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสิรมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์)  3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว 4) การพัฒนาชาวนา 5) การวิจัยและพัฒนา 6) การประกันภัยพืชผล 7)การส่งเสริมสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ  อีกทั้งยังมีด้านการตลาด 1) การพัฒนาตลาดสินค้าช้าว 2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด 3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ 4) การส่งเสริมภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์ข้าว อีกด้วย   อ้างอิงจาก:  วารสารเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสรมการเกษตร กรมศุลกากร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ข้าวนาปี #ข้าวนาปรัง #พันธุ์ข้าว #ขาวดอกมะลิ105  #กข6 #กข15 

5 จังหวัด ที่มีผลผลิตข้าวหลายที่สุดในอีสาน 

5 จังหวัด ที่มีผลผลิตข้าวหลายที่สุดในอีสาน    นาปี คำว่า “นาปี” นั้นหมายถึง ข้าวที่ปลูกตามฤดูกาล นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน มักจะต้องใช้เวลาในการเตรียมดิน การหว่าน การทิ้งระยะในการเพาะปลูกหลายวัน ให้ผลผลิตเพียงปีละ 1 ครั้ง มักออกผลในช่วงเดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายนของทุกปี   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวและมีผลผลิตมากที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ 40.4 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 912 กิโลกรัม ด้านการส่งออก ปี 2564 ไทยส่งออกข้าว 6.1 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 107,758  ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปี 2563 ที่ส่งออก 5.7 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 115,914 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 7.04 ปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) ไทยส่งออกข้าว 6.2 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 109,207 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ส่งออก 4.6 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 82,463 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 33.03 และร้อยละ 32.43 ตามลำดับ   ด้านการนำเข้า ปี 2564 ไทยนำเข้าข้าว 25,217 ตันข้าวสาร มูลค่า 382 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่นำเข้า 45,244 ตันข้าวสาร มูลค่า 580 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 44.26 และร้อยละ 34.14 ตามลำดับ ปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) ไทยนำเข้าข้าว 5,549 ตันข้าวสาร มูลค่า 176 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่นำเข้า 17,088 ตันข้าวสาร มูลค่า 259 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 67.53 และร้อยละ 32.05 ตามลำดับ   อ้างอิงจาก:  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสรมการเกษตร กรมศุลกากร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ …

5 จังหวัด ที่มีผลผลิตข้าวหลายที่สุดในอีสาน  อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top