Article

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง

จากรายงานเกี่ยวกับแมลงที่สามารถรับประทานได้ (Edible Insects) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 9.7 พันล้านคน ซึ่งอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องมีเพิ่มเป็นสองเท่า ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ป่าและน้ำมีอย่างจำกัด อาหารโปรตีนที่จะมาทดแทนปศุสัตว์ก็คือ “แมลง” เพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง . แมลงกินได้มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ในฐานะแหล่งโปรตีนทางเลือกและอาหารแห่งอนาคต ปัจจุบันเฉพาะธุรกิจแมลงกินได้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,800 ล้านบาท) โดยตลาดเอเชียครองสัดส่วน 30-40% ของทั้งโลก ส่วนที่เหลือกระจายตัวอยู่ในโซนยุโรป ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแมลงเติบโตปีละ 20% และกำลังขยายตลาดไปยังโซนอเมริกาเหนือ . แมลงเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าแมลงมีชีวิตอันดับที่ 17 ของโลก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าแมลงสู่ตลาดโลกปริมาณ 575 ตัน มูลค่า 85,346 ดอลลาร์สหรัฐฯ (2.8 ล้านบาท) ขยายตัว 29% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา . “จิ้งหรีด” ดาวเด่นของตลาดส่งออกไทย . ไทยผลิตจิ้งหรีดส่งออกได้ปีละ 7,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท หากผลิตเป็นผงมูลค่าจะเพิ่มหลายเท่าตัว จากกิโลละ 70-80 บาท ราคาพุ่งเป็นกิโลละ 2,000-3,000 บาท เป็นที่นิยมมากในสหภาพยุโรป โดยมีบริษัทสตาร์ตอัพของคนไทยที่ทำตลาดส่งออก “ผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากจิ้งหรีดเป็นเจ้าแรกของโลก” ส่งไปขายยังกลุ่มสหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ทำให้ธุรกิจแปรรูปแมลงคึกคักขึ้น เริ่มมีบริษัทใหม่ ๆ เข้ามา โดยส่วนหนึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนทำฟาร์มในแถบภาคอีสาน . ผลักดัน “อุดรธานี” เป็นเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก . 7 มีนาคม ที่ผ่านมา อุดรธานีได้มีการจัดอบรมแปรรูปจิ้งหรีด ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี และบริษัท แมลงรวย จำกัด จัดขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ทำฟาร์มเลี้ยงแมลงกินได้ ภายใต้มาตรฐาน GAP ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแมลงเพื่อการแปรรูปโคกสะอาด หลัก 18 ต.โคกสะอาด อ.เมืองอุดรธานี . อีกทั้งเตรียมจัดงานมหกรรมจิ้งหรีดโลกขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่องานว่า “อุดรธานีเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก” ในวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่อุดรธานี เพื่อเป็นการประกาศให้ตลาดแมลงโลกได้รู้จักแมลงแบรนด์ไทย พร้อมทำให้อุดรธานีเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายแมลง เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องของการเลี้ยงแมลงกินได้นานาชนิดของไทย ให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้บริโภคมีความมั่นใจและปลอดภัย …

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง อ่านเพิ่มเติม »

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระแส “ตู้เต่าบิน” ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวงธุรกิจ Vending Machine หรือตู้จำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ แม้ตลาดหลักของไทยจะอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่ก็เริ่มมีการขยายออกต่างจังหวัดมากขึ้น อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลยุทธ์เต่าบิน ที่เป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ รวมไปถึงไขข้อข้องใจว่า ทำไม อีสานถึงมักตั้งตู้ไว้ในโรงพยาบาล .  จุดเริ่มต้นของตู้ชงเครื่องดื่ม . จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คนไม่ได้เข้างานตอน 8 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็นเหมือนในอดีต ทำให้เจ้าของแบรนด์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จจากธุรกิจให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ตู้บุญเติม” เกิดไอเดียอยากต่อยอดธุรกิจเดิม . โดยช่วงนั้น เทรนด์ตู้จำหน่ายสินค้ากำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ จึงลองสั่งซื้อตู้ชงเครื่องดื่มจากจีนมาลง แต่ปรากฏว่า ยิ่งกลไกเยอะ โอกาสไม่เสถียรก็สูง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็มาก สุดท้ายต้องกลับมาวิจัยและพัฒนาเองทั้งหมด .  แนวคิดการออกแบบ . เต่าบิน ตู้ชงเครื่องดื่มอัจฉริยะขนาด 1×1 เมตร ผลิตและพัฒนาโดยคนไทย 100% ซึ่งมีเกือบ 30 สิทธิบัตร ครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ มีระบบจอทัชสกรีนที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ระบบการชงที่ล้างด้วยความร้อนแรงดันทุกแก้ว หมดกังวลเรื่องความไม่สะอาด หรือรสชาติที่ผิดเพี้ยน . รวมไปถึง ระบบเซ็นเซอร์ AI ที่จะคอยตรวจเช็กสต๊อกวัตถุดิบภายในตู้ ทำให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อสินค้าหมด และส่งข้อมูลไปหา Route Man หรือพนักงานเติมวัตถุดิบให้เบิกสต๊อกมาล่วงหน้า ไม่ต้องเทียวไปเทียวมาหลายรอบ ทางฝั่งผู้บริโภคก็ไม่ต้องทนรอเครื่องดื่มเมนูนั้นหลายวันด้วย .  ฟังก์ชันการทำงาน . ตู้เต่าบินสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชงได้ทั้งร้อน เย็น และปั่น มากถึง 170 เมนู ครอบคลุมสารพัดหมวดตั้งแต่ชา กาแฟ โซดา น้ำอัดลม จนไปถึงน้ำเชื่อมผสมกัญชา และเวย์โปรตีน หรือถ้ารู้สึกยังไม่พอใจ ก็สามารถเพิ่มท็อปปิ้ง เพิ่มช็อตกาแฟได้ด้วย . อีกทั้ง กาแฟกลิ่นหอม ๆ ของตู้ยังเป็นกาแฟสดที่เพิ่งบดเมล็ดออกมาชงให้ลูกค้า สมือนมีบาริสต้าอยู่ข้างใน แม้จะต้องใช้เวลารอเล็กน้อย แต่ก็เพื่อรสสัมผัสตรงตามชื่อแบรนด์ อร่อยเหาะเป็น “เต่าบิน” .  คิดเผื่อกลุ่มคนที่หลากหลาย . หนึ่งในขั้นตอนการสั่งของตู้เต่าบิน ผู้บริโภคจะได้เลือกระดับความหวานเอง (Sweetness level) 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 แคลอรี (ไม่มีน้ำตาล) ซึ่งเหมาะกับผู้ที่รับประทานคีโต และผู้ป่วยเบาหวาน ไปจนถึง หวานน้อย หวานพอดี หวาน และหวานมาก ตามความชอบของแต่ละคน . รวมไปถึง ช่องทางการชำระเงินที่หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินสด คิวอาร์ เพย์เมนท์ ช้อปปี้เพย์ หรือแม้กระทั่งเครดิตเต่าบิน …

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง อ่านเพิ่มเติม »

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน

เมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนจะนึกถึงความแซ่บ ที่มีทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด ออกรสเค็มหน่อย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ลาบ ก้อย หรือ “ส้มตำ” ที่ได้แทรกซึม และเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด ทำให้หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นส้มตำได้มีการยกระดับจากร้านข้างทางเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้า หรือร้านแบบ Stand Alone ที่มีการทำแบรนด์ ขยายสาขา ดึงดูดลูกค้าด้วยดีไซน์ร้านที่เป็นเอกลักษณ์ . ครั้งนี้ อีสานอินไซต์จะพาไปรู้จักกับ “ตำมั่ว” (tummour) ร้านส้มตำพันล้านที่มี 100 กว่าสาขาทั้งในและต่างประเทศ ทำอย่างไรถึงสามารถขายส้มตำ ที่มีตลาดใหญ่ ให้แตกต่างและสามารถเพิ่มมูลค่าจากส้มตำหลักสิบเป็นหลักร้อย จนแบรนด์มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท . กว่าจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะร้านตำมั่วมีต้นกำเนิดมาจากร้านส้มตำห้องแถวธรรมดาของคุณแม่ ที่มีชื่อร้านว่า นครพนมอาหารอีสาน ที่แม้จะขายดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีคนรู้จักชื่อร้าน และยังไม่เป็นที่จดจำ คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาล (เบส) ลูกชาย จึงได้ทำการรีแบรนด์ร้านของคุณแม่ใหม่ โดยเริ่มจากการสร้างตัวตนให้แบรนด์ โดยวิเคราะห์เมนูของทางร้านว่า เมนูยอดนิยมมีอะไรบ้าง และเมนูใดบ้างที่ขายดี จากนั้นจึงหยิบมาเป็นจุดขาย และใส่คาแรกเตอร์เข้าไป . การสร้างตัวตน จาก Brand DNA ที่มีความชัดเจน และตรงกับคาแรกเตอร์ของเจ้าของแบรนด์ . เจ้าของแบรนด์ ได้ทำการเขียนดีเอ็นเอของแบรนด์ให้มีคาแรกเตอร์ใกล้เคียงกับตนเอง โดยให้เป็นคนอีสานที่ทันสมัย แต่ไม่ลืมรากเหง้า จึงเลือกที่จะให้ตำมั่วเป็นอาหารอีสานที่มีความเป็นรากเหง้าที่รสชาติ แต่คาแรกเตอร์อื่น ๆ ทันสมัย สร้างแท็กไลน์ ‘อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ’ ให้คนรู้จักได้ง่ายขึ้น . ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นด้วย Music Marketing พร้อมจับมือกับเซ็นกรุ๊ป ผลักดันให้ดังไกลไปต่างแดน . เพื่อให้เป็นที่จดจำสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ แบรนด์ได้โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้อง ห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 70 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก . ตอนนี้ตำมั่วดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด การตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย . ส่วนผสมที่ลงตัวทำให้เกิดกลยุทธ์ . ตำมั่ว มีความแข็งแรงในเรื่องของอาหารไทยหรือการเข้าใจตลาดที่เป็นแมสมากกว่า และหาก SMEs อย่างตนจะกระโดดเข้าตลาดหุ้นคงต้องเตรียมการเยอะมาก การจับมือกันเซ็นกรุ๊ป ที่มีความพร้อมหลายด้าน ทั้ง HR, Logistics, R&D หรือ Operation ด้วยส่วนผสมที่เอื้อกัน ทำให้อยู่ในมาตรฐานที่เติบโตได้ง่ายและเร็วขึ้น . ขณะนี้ได้มองถึงด้าน New Business โดยเรียกตนเองว่า Food Service คือการ Verify ตัวเองให้เป็นการขายอาหาร ขายการส่งอาหารถึงบ้าน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจอาหารทุกรูปแบบของการทำธุรกิจด้านอาหาร …

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเท​​คโนโลยีก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากมองในเชิงพื้นที่ ที่ใดมีความเจริญก้าวหน้า หรือได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการทำงาน จะเป็นแรงดึงดูดให้คนย้ายถิ่นเข้าไปมากกว่าพื้นที่อื่น . เมื่อปี 2555 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว” ในจังหวัดอุดรธานี ที่มีความได้เปรียบในแง่ของการขนส่งสินค้า กระจายสินค้าสู่หลายจังหวัดในประเทศไทย รวมถึงฝั่ง สปป. ลาว กลุ่มประเทศ CLMV และประเทศจีนตอนใต้ . โครงการพัฒนาบนพื้นที่ 2,170 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 1,630 ไร่ พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค 314 ไร่ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 226 ไร่ . อุตสาหกรรมเป้าหมายในนิคม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย เช่น โรงงานผลิตถุงมือยาง อุปกรณ์การกีฬา และชิ้นส่วนรถยนต์, อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร, อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมส่งเสริมการผลิค, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยยนต์ และศูนย์กระจายสินค้า ที่อยู่นอกเหนืออุตสาหกรรมกลุ่มอื่น ๆ . ภาพรวมความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการ ในด้านความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานก่อสร้างแล้วเสร็จ 80% พร้อมเปิดดำเนินการให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานในกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานเกิดขึ้นประมาณ 80-100 โรงงาน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 15,000-20,000 ราย ในพื้นที่ และ 60,000 ราย รอบนิคมฯ มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท . ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนานิคมฯเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี มีแผนการพัฒนาระบบ Logistics ของนิคมฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ . โดยระยะที่ 1 (2563-2565) จะทำเป็นอาคารคลังสินค้าให้เช่า การบริการรับและจ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ให้บริการเปิดตู้และบรรจุตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกผ่านแดน มีการขออนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรและพร้อมให้ใช้บริการ การให้บริการ Tuck Terminal และการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยระบบขนส่งทางรางโดยเชื่อมกับสถานีหนองตะไก้ . ส่วนระยะที่ 2 (2565-2568) จะพัฒนาระบบรางภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีหนองอุตสาหกรรมตะไก้ และเป็นผู้ให้บริการขนส่งแบบ Freight Forwarder อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงภาคขนส่งระหว่างนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี กับ ประเทศลาว กัมพูชา และจีนมากขึ้น . การเกิดขึ้นของนิคมฯ จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้คนอีสานทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ในการมีช่องทางประกอบอาชีพในถิ่นเกิด โดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด . …

นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract farming)

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract farming) ทางเลือกที่มั่นคงของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา เนื้อหมูมีการปรับราคาลงต่อเนื่องตามกลไกลตลาด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดประเด็นราคาหมูแพงพุ่งสูงก่อนหน้านั้น เกิดจากปัญหาโรคระบาด ASF ที่ทำให้เกษตรกรไทยผู้เลี้ยงหมูได้รับผลกระทบ ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก สาเหตุดังกล่าว ทำให้เกษตรกรตระหนักได้ว่าวิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมหรือเลี้ยงตามหลังบ้าน อาจไม่สามารถเลี้ยงหมูให้รอดปลอดภัยได้เมื่อโรคระบาด ASF มาเยือน เรื่องของเทคโนโลยีป้องกันโรคจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ทุกฟาร์มต้องมี เพื่อช่วยลดปัญหาจากโรคระบาดและส่งเสริมให้สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัย แต่สำหรับเกษตรกรที่คิดจะกลับเข้าสู่อาชีพอีกครั้ง อาจไม่ง่ายนักหากต้องจัดหา ลงทุน และทำอะไรทุกอย่างด้วยตัวเอง อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของราคาขายหมูหน้าฟาร์ม ทำให้เกษตรกรยุคใหม่เสาะหาทางเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงทางรายได้ หนึ่งในทางเลือกนั้นน่าจะเป็น “ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ซึ่งเป็นการทำสัญญาข้อตกลงกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัท ที่จะร่วมกันผลิตผลิตผลทางการเกษตรและมีผลตอบแทนตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน คือ 1. แบบประกันรายได้ : เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อย บริษัทจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ ในการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดให้ พร้อมเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงทุกอย่างแทน ไม่ว่าจะเป็นกรณีสัตว์เกิดความเสียหายจากการป่วยตาย หรือภัยพิบัติ ทั้งยังรับความเสี่ยงต่อสภาวะ ตลาดและราคาสินค้าที่ผันผวนด้วย กล่าวง่าย ๆ คือการที่บริษัทนำทรัพย์สมบัติของบริษัท ทั้งตัวสัตว์ อาหารสัตว์ รวมไปถึงวัคซีน ไปฝากให้เกษตรกรช่วยเลี้ยงที่บ้าน (หรือโรงเรือน) ของเกษตรกร เมื่อสัตว์เติบโตตามที่ตกลงไว้ ก็จะมารับทรัพย์สินดังกล่าวกลับไป และให้ค่าฝากเลี้ยงตอบแทนแก่เกษตรกร ระบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน 2. แบบประกันราคา : เหมาะสำหรับเกษตรกร รายกลางหรือเกษตรกรรายใหญ่ ระบบนี้เหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ต้องการเสี่ยงหรือกังวลเรื่องการหาตลาดและเรื่องราคาที่ผันผวน แต่ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น โดยซื้อวัตถุดิบและทำสัญญาเรื่องการรับซื้อ ผลผลิตกับบริษัทในราคาตามที่ตกลงกันไว้ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรทำสัญญาตกลงซื้อขายในราคา 60 บาท/กก. ไว้กับบริษัท หากราคาหมูตกต่ำไปที่ 40-50 กว่าบาท/กก. เกษตรกรก็ยังคงขายได้ที่ 60 บาท/กก. แต่ถ้าวันใดที่ราคาตลาดขึ้นเป็น 90 บาท/กก. ก็ยังคงต้องขายในราคาที่เป็นไปตามสัญญาเช่นกัน ทำไมเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง จึงสามารถอยู่รอดปลอดภัยจากโรคระบาด เนื่องจากบริษัทได้นำเทคนิค วิธีการและระบบมาตรฐานในการป้องกันโรค ตลอดจนสัตวบาลและสัตวแพทย์ ช่วยกันถ่ายทอดความรู้พร้อมกับดูแลการเลี้ยง จึงช่วยให้หมูที่เกษตรกรกลุ่มนี้เลี้ยงมีความปลอดภัยและสามารถป้อนผลผลิตหมูสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีของเกษตรกรในยุคที่ต้องใช้ “เทคโนโลยี” ในการผลิตอาหารให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ระบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดมาแล้วกว่า 100 ปี และมีพัฒนาการเรื่อยมา กระทั่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรไทยหลายรายได้อย่างยั่งยืน ความเห็นของเหล่าเกษตรกรภาคอีสานผู้อยู่ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง นายอดุลย์ วงษ์ภูเย็น เกษตรกรในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งของซีพีเอฟ ใน จ.หนองคาย ได้เลี้ยงหมูภายใต้ระบบนี้มาตั้งแต่ปี 2559 เล่าให้ฟังว่า เห็นการระบาดของโรคหมูในข่าวแล้วก็กลัวเหมือนกัน แต่ก็มั่นใจในมาตรฐานการป้องกันโรคที่บริษัทแนะนำ รวมถึงความเคร่งครัดของตนเอง ทำให้ฟาร์มของตนและเพื่อนบ้านไม่พบโรคดังกล่าวเลย ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งแบบประกันรายได้ที่ตนทำอยู่นี้ มีความมั่นคงปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพได้มาก หากจะแนะนำให้เลี้ยงหมู ก็จะแนะนำให้เลือกการเข้าระบบนี้ แม้ไม่มีความรู้ก็สามารถเลี้ยงหมูได้ด้วยเทคนิควิชาการต่าง ๆ ที่บริษัทมีให้ ด้านนางใบษร ทรายมูล อายุ 60 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูใน จ.ยโสธร กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า …

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract farming) อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมคนเมืองกับคนชนบทมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน

ทำไมคนเมืองกับคนชนบท มีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน ปฎิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนต่างจังหวัดมานานหลายปี อย่างน้ำประปาขุ่น ไหลบ้างไม่ไหลบ้าง ไม่สะอาด และมีกลิ่น ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ปัญหาเกิดจาก “การจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอ” เมื่อดูสัดส่วนรายได้ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ปี 2564 พบว่า รายได้ของส่วนกลาง 1,893,872 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70.75% ขณะที่รายได้ของถ้องถิ่น 783,128 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.25% ยกตัวอย่าง เทศบาลอาจสามารถที่มีงบลงทุนปีละประมาณ 2 ล้านบาท หากจะทำให้น้ำประปาดื่มได้ต้องใช้งบลงทุน 10 ล้านบาท เพราะฉะนั้นหากจะพัฒนาโรงผลิตระบบน้ำประปาที่ดีมีคุณภาพ สามารถควบคุมด้วยระบบ IoT ได้ ต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี อีสานอินไซต์จึงขอยกโครงการน้ำประปาดื่มได้ น้ำใสใน 99 วัน มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบและแนวทางในการศึกษาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป เริ่มต้นจากการสำรวจปัญหาในพื้นที่ เทพพร จำปานวน นายกเทศมนตรีตำบลอาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ได้ทำการสำรวจปัญหาในพื้นที่ และพบว่าปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือ “ปัญหาเรื่องน้ำ” จากนั้นได้ทำการออกสำรวจและเก็บตัวอย่างน้ำประปาในพื้นที่ จากทั้ง 5 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ เพื่อนำมาตรวจวัดค่าต่าง ๆ ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ก่อนจะเข้าไปปรับปรุงระบบน้ำประปา แล้วจะปรับปรุงระบบได้อย่างไร? ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำได้เข้าไปจัดการตั้งแต่ต้นทางการผลิตน้ำประปาในโรงผลิต เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ปรับปรุงคุณภาพน้ำ ยกระดับมาตรฐานการผลิต ไปจนถึงปรับปรุงระบบการส่งน้ำ การประปาอาจสามารถจะสูบน้ำดิบจากแม่น้ำชี แม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสาน เข้าสู่โรงผลิตประปา ด่านแรกที่เจอคือ ถังกวน น้ำดิบจะยังมีทั้งตะกอน โคลน ละลายอยู่ในน้ำ และเพื่อให้น้ำแยกตัวออกมา จะต้องเติมสารส้มลงไป ตามด้วยปูนขาว เพื่อปรับค่า PH ของน้ำให้เหมาะสม แล้วน้ำจะใสขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีระบบกรองต่อไปที่น้ำจะถูกผ่านถังกรองทราย เพื่อกรองตะกอนให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น จากนั้นเติมคลอรีนในอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพื่อกำจัดแบคทีเรียและฆ่าเชื้อโรค สำคัญคือ จะต้องมีการตรวจ ควบคุมคุณภาพน้ำอยู่ตลอดเวลา ระยะต่อมา น้ำจะไหลเข้าสู่ถังน้ำใสเพื่อสำรองน้ำ ก่อนจะถูกสูบขึ้นหอถังสูงเพื่อเพิ่มแรงดันในการกระจายน้ำ ไปยังบ้านเรือนของประชาชน แต่ด้วยสภาพโรงผลิตน้ำประปาที่มีโครงสร้างของอาคารผุพังขาดการดูแล ห้องเครื่องจักรที่ใช้เก็บเครื่องสูบน้ำ ถูกปล่อยปละละเลย ถังน้ำใสที่ไม่ได้ล้างตะกอนมานานหลายปี ห้องเก็บสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐาน คือ ปัญหาที่จะต้องแก้ไข และจัดการให้ได้ หลังจากดำเนินการฟื้นฟูสภาพของโรงผลิตน้ำประปา และยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพน้ำประปาให้สามารถใช้เพื่อการบริโภคได้ ผลที่ได้รับคือ คุณภาพน้ำประปาดีขึ้น ประชาชนได้น้ำที่ใสสะอาด มีมาตรฐานการทำงาน ควบคุมคุณภาพน้ำได้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อน้ำมีปัญหา ปัจจุบันมีผลทดสอบคุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการกลางยืนยันว่าคุณภาพน้ำประปาของเทศบาลตำบลอาจสามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย และได้ใบรับรองมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้อย่างเป็นทางการจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำประปาจาก Rocket Media Lab บอกไว้ว่า ถ้าคนไทยต้องการดื่มน้ำสะอาด 2 ลิตรต่อวัน ต้องทำงานนานถึง 27 นาที เพื่อจ่ายค่าน้ำในราคา 19 บาท (คิดเป็น 45% อ้างอิงจากค่าแรงชั่วโมงขั้นต่ำ 41.31 …

ทำไมคนเมืองกับคนชนบทมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน อ่านเพิ่มเติม »

รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง

เกิดอะไรขึ้น ในยุคที่คนจำนวนมากลาออกจากงาน รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง หากดูข้อมูลผู้ประกันตนปี 2564 (ม.ค. – ก.ย.) พบคนไทยลาออกจากงานเดือนละกว่า 220,000 – 250,000 คน สำหรับภาคอีสานมีผู้ลาออกจากงาน 49,944 คน หรือคิดเป็นถึง 86.1% ของผู้ว่างงานในภาคอีสาน หนึ่งในปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ที่สร้างความกดดันให้กับแรงงาน อีกทั้งการ Work From Home เป็นเวลานานทำให้คนปรับพฤติกรรม โดยเชื่อว่าการทำงานที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเสมอไป จึงเริ่มมองหางานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ครั้งนี้อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามอง อย่าง YOLO Consumer (You Only Live Once) หรือผู้ที่กล้าออกจาก Comfort Zone เพื่อตามล่าหาความฝันของตัวเอง สิ่งที่เหล่า YOLO Consumer ต้องการคืออะไร? สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการ คือ Work-Life Balance หรือการปรับสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการให้รางวัลตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมา คือ ไลฟ์สไตล์แบบ Living Rich หรือการที่คนแบ่งเงินที่ได้จากการทำงานไปใช้จ่ายกับ Passion หรือซื้อประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เช่น การชอปปิง การท่องเที่ยว และการรับประทานอาหารร้านใหม่ ๆ เป็นต้น แล้วแบรนด์แบบไหนล่ะ ที่ใช่ในสายตาเหล่า YOLO Consumer 1. แบรนด์ที่สร้างประสบการณ์ในการชอปที่แตกต่าง เหล่า YOLO Consumer ไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากความต้องการในตัวสินค้าเพียงเท่านั้นแต่หลายคนเลือกซื้อจากประสบการณ์ที่แบรนด์มอบให้ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่แปลกใหม่ น่าประทับใจ น่าถ่ายรูป น่าแชร์ ยิ่งทำให้ได้ใจลูกค้าเหล่านี้ไปเต็ม ๆ 2. แบรนด์ที่ทำการตลาดแบบจริงใจ เน้นประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้เป็นหลัก การที่เหล่า YOLO Consumer ชอบลองสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ทำให้พวกเขาไม่ค่อยยึดติดกับชื่อแบรนด์ ดังนั้น การกลับมาซื้อซ้ำอีกหรือไม่ยังคงขึ้นอยู่กับคุณภาพ และความจริงใจ โดยเฉพาะการใส่ใจลูกค้า เช่น การรับฟัง Feedback เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข รวมไปถึงการใส่ใจประเด็นทางสังคม เช่น การคิดถึงผู้ด้อยโอกาส คิดถึงสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย 3. แบรนด์ที่ให้ความสะดวก รวดเร็ว และสามารถชำระเงินได้หลายช่องทาง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แบรนด์โดนใจเหล่า YOLO Consumer คือ ความสะดวก รวดเร็วในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งยุคนี้จะเน้นการชอปออนไลน์ เพราะฉะนั้นทั้งช่องทางการซื้อ การชำระเงิน และการขนส่ง ต้องให้ความรู้สึกสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก 4. แบรนด์ที่สร้างความพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มแรก เหล่า YOLO Consumer จำนวนมากอยากเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ทดลองและแชร์ประสบการณ์ก่อนคนอื่น ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจึงมักเห็นคอนเทนต์ที่มีการรีวิวของกิน ของใช้ รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง …

รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง อ่านเพิ่มเติม »

ข้าวแต๋นมินิ Younger Farm เพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทย โลดแล่นไกลต่างแดน

ข้าวแต๋น หรือ นางเล็ด ขนมพื้นบ้านที่เกิดจากความเสียดายที่กินข้าวเหนียวเหลือ จึงนำมาแปรรูปถนอมอาหารด้วยการตากแห้ง เพิ่มรสชาติด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเหนียวได้ที่ และราดลงบนข้าวเหนียวตากแห้งที่ทอดไว้ . จากขนมบ้าน ๆ ในวันนั้น วันนี้ได้บุกตลาดต่างประเทศ ส่งออกไปทั้งจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมินิที่สร้าง Value Added ให้กับข้าวไทย ให้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าคนเอเชีย .  มองเห็นโอกาส “ข้าวไทย” ในต่างแดน พร้อมกับตั้งโจทย์ในการผลิตสินค้าที่ชัดเจน . คุณณัฐกิตติ์ จิตต์ปราณีชัย ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เผยกับ Bangkok Bank SME ว่า เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสได้ไปเรียนภาษาจีน ณ กรุงปักกิ่ง ทำให้ทราบว่ามีข้าวสารจากประเทศไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดเมืองจีนค่อนข้างเยอะ และเป็นที่นิยม จึงเกิดแนวคิดอยากแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร (Value Added) . โดยมีโจทย์คือต้องผลิตสินค้าให้ถูกใจวัยรุ่นจีน และสามารถเก็บได้นาน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจในการสร้างรายได้ จึงก่อตั้งบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายข้าวแต๋นมินิแบรนด์ “Younger Farm” โดยมีการทดลอง การทำวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าและแพ็กเกจจิ้ง อย่างการทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุ 1 ปี ซึ่งข้าวแต๋นโดยทั่วไปมีอายุประมาณ 3 เดือน ทำให้ลูกค้าหมดกังวลเรื่องหมดอายุ .  ทำอย่างไร…? ให้ผลิตรสชาติที่ถูกปากคนเอเชีย . จากตอนแรกที่ทดลองทำรสชาติที่ถูกปากคนไทย แต่กลับพบว่าไม่ถูกใจคนต่างชาติ จึงทำการ สำรวจตลาดแล้วปรับสูตร – รสชาติให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยการทำ Marketing Survey เช่น การส่งให้เพื่อนชาวต่างชาติทดลองชิมและให้คะแนน เพื่อคัดสรรสินค้าที่มีรสชาติตอบโจทย์มากที่สุด จนได้รสชาติกลาง ๆ แต่จำหน่ายได้ทั้งไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน .  สร้าง Value Added ปรับแพ็กเกจจิ้งทันสมัย ได้มาตรฐาน . ข้าวแต๋นที่เราเห็นทั่วไป จะมีบรรจุภัณฑ์เป็นแบบถุงใส จึงทำการปรับให้ดูทันสมัย เหมาะกับลูกค้าวัยรุ่น วัยทำงาน สามารถถือไปได้ทุกที่ พร้อมกับขยายกิจการจากการเช่าโรงงาน เป็นการซื้อโรงงาน เพื่อการรองรับมาตรฐานต่าง ๆ ให้มากขึ้น . ปัจจุบันมีลูกค้าหลัก คือ เวียดนาม มาเลเซีย จีน และไต้หวัน ซึ่งแต่ละแห่งก็ได้นำสินค้าไปจำหน่ายทั้งในห้างสรรพสินค้าและตามร้านสะดวกซื้อ ส่วนในเมืองไทยมีจำหน่ายในแฟมิลี่มาร์ท เดอะมอลล์ …

ข้าวแต๋นมินิ Younger Farm เพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทย โลดแล่นไกลต่างแดน อ่านเพิ่มเติม »

เมื่ออีสานบ้านเฮา เข้าสู่สังคมเมือง (Urbanisation)

ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanisation) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2050 คาดว่าจะมีพื้นที่เมืองสูงถึง 69.5% ของประเทศ ข้อมูลจาก Nielsen Retail Index ชี้ว่า อีสานนับเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ขยายตัวสู่ความเป็นเมืองมากที่สุดในประเทศ . นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ตามความต้องการพื้นฐานของสังคมคนเมือง ทั้งโอกาสในการประกอบอาชีพและโอกาสทางธุรกิจของสินค้าและบริการ . มิติ 5 ด้านเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนเมือง ประกอบด้วย .  พลังขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงระยะยาว – การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมและบริการดึงดูดแรงงานภาคเกษตรกรรมเข้ามามากขึ้น – ความทันสมัยของเมืองทำให้คนมีแรงจูงใจย้ายจากชนบทสู่เมืองมากขึ้น .  ปัจจัยเร่งระยะสั้นให้เมืองขยายตัว – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง – โมบายอินเตอร์เน็ตส่งข้อมูลรวดเร็ว – ฐานการลงทุนหลักของบริษัทข้ามชาติ – ชนชั้นกลางใหม่มีมากขึ้น – เมืองขนาดกลางขยายตัว – เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างเศรษฐกิจและนวัตกรรมสร้างสรรค์ – การคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพ  ความต้องการพื้นฐานตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง – ที่อยู่อาศัยในทำเลที่เดินทางสะดวก – คมนาคมหลายกหลาย ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม – สุขภาพที่ดี ออกกำลังกายป้องกันโรค – การสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ – คุณค่าของคนเมือง เปิดกว้าง ยอมรับความหลากหลาย  โอกาสตลาดเกิดใหม่ – ชนชั้นกลางใหม่ – ตลาดคนโสด – ตลาดแรงงานต่างด้าว – คนเมืองเสมือนในโลกของเทคโนโลยีดิจิทัล – ตลาดคน Gen M (Millennials) เลือกซื้อสินค้าและบริการเฉพาะตัว – ตลาดของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ  ตัวอย่างไอเดียสร้างสรรค์ – ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางสัญจรในเมือง – ธุรกิจด้านแหล่งเรียนรู้และสาธารณูปโภคทางปัญญา – ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพจิตคนเมือง – ธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ ความสะดวกสบายและคุณภาพ – ธุรกิจที่ตอบสนองความหลากหลายของชีวิตคนเมือง . ปิยะนุช ธูปถมพงศ์ หัวหน้าโครงการการศึกษาเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สกสว. เห็นว่าการขยายของสังคมเมือง คือ ความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอนาคตที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้านการเข้าถึงการศึกษา การเดินทางสาธารณะที่มีคุณภาพและปลอดภัย . รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน และบริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความสวยงาม ปลอดภัย พร้อมใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแล ตลอดทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการบริการด้านสาธารณสุขทั้งการป้องกันและรักษาให้มีคุณภาพ . ดังนั้น การขยายตัวของสังคมเมืองคือแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นและสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตแข็งแกร่ง ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น ตลอดทั้งมีรายได้มั่นคงยั่งยืน . . อ้างอิง: https://www.brandbuffet.in.th/…/neilsen-outlook…/ https://hr.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/LOOK-ISAN-NOW https://www.bangkokbanksme.com/en/urban-society . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สังคมเมือง #Urbanisation

ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก

แนะผู้ประกอบการกาแฟ-ไม้ประดับ เมืองเลย ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก . นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรจังหวัดเลย เพื่อหารือเรื่องโอกาสและช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสินค้าเกษตรของไทย . โดยกลุ่มแรก เป็นกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออก อันดับที่ 1 ในอาเซียน และอันดับที่ 16 ของโลก มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 124.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 พันล้านบาท) โดยมีสหรัฐอเมริกา อาเซียน (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว) ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และจีน เป็นตลาดส่งออกหลัก . แม้ปัจจุบันจะเน้นการขายไม้ดอกไม้ประดับในประเทศ แต่ทางเกษตรกรก็มีความสนใจที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งจะสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ได้ ซึ่งมี 17 ประเทศที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับไม้ดอกไม้ประดับส่งออกจากไทย แต่ยังมีอินเดียที่เก็บภาษีศุลกากรกับไม้ดอกที่ร้อยละ 60 และไม้ประดับที่ร้อยละ 30 .  มองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก . ผู้บริโภคไม้ดอกไม้ประดับ มักจะให้ความนิยมพันธุ์ใหม่ ๆ ไม้ดอกที่มีสีสันที่โดดเด่นสวยงาม หลากหลาย ไม้ใบที่ทรงสวย ลำต้นที่แข็งแรง และต้านทานโรคได้ดี เป็นต้น . การได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการขยายพันธุ์ต้นกล้าที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญและได้รับความสนใจจากเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเข้าไปให้คำแนะนำแล้ว . ทั้งยังได้พบปะเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเลย โดยในปี 2564 ไทยส่งออกกาแฟดิบ กาแฟคั่ว และกาแฟสำเร็จรูปไปตลาดโลกรวมมูลค่า 103.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.35 พันล้านบาท) โดยมีกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ เป็นตลาดสำคัญ . ปัจจุบันมี 14 ประเทศคู่ FTA ของไทย คือ อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ชิลี ที่ไม่เก็บภาษีศุลกากรกับเมล็ดกาแฟที่ส่งออกจากไทยทุกรายการ . ขณะที่ 4 ประเทศ ยังเก็บภาษีศุลกากรอยู่ คือ ญี่ปุ่น จีน เปรู และอินเดีย โดยญี่ปุ่นได้ตกลงลดภาษีศุลกากรกับสินค้ากาแฟคั่วส่งออกจากไทย ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยจะทยอยลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 ในปี 2580 .  เพิ่มมูลค่าให้กาแฟไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ . โดยทางหอหารค้าไทย ได้แนะนำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารู้จักกับน่านโมเดล นำผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย วิทยาเขตกำแพงแสน มาช่วยพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการตลาด สร้างตรารับรองต่าง ๆ เช่น …

ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top