Nanthawan Laithong

พามาเบิ่ง “ยิ่งยง มินิมาร์ท” ตำนวนค้าปลีกสู่เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้ออีสานใต้ กับวิถีการปรับตัวของห้างภูธร สร้างจุดแตกต่างในวงล้อมยักษ์ใหญ่

ย้อนหลังไปเมื่อกว่า 30 ปีก่อนหน้านี้ เส้นแบ่งระหว่าง ห้างสรรพสินค้าภูธร กับห้างในส่วนกลาง มีออกมาอย่างชัดเจน โดยมีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความแตกต่างเป็นตัวแบ่ง และห้างในต่างจังหวัดที่เรารู้จัก จึงมีออกมาในลักษณะของการเป็นห้างของคนท้องถิ่น ไม่ว่าห้างตันตราภัณฑ์ แห่งเชียงใหม่ เจริญศรี พลาซ่า จังหวัดอุดรธานี หรือยิ่งยง จังหวัดอุบลราชธานี แต่เมื่อต่างจังหวัด มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากผลผลิตทางการเกษตร ราคาที่ดิน ทำให้เกิดคนชั้นกลางที่มีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับสังคมเมืองทั่วไป ทำให้มุมมองของกลุ่มทุนค้าปลีกจากส่วนกลาง ที่มีต่อคนต่างจังหวัดเปลี่ยนไป ยิ่งความเป็น Urbanization หรือความเป็นอยู่แบบสังคมเมือง แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเป็นตัวที่เข้ามากวักมือเรียกให้ยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ เร่งขยายการลงทุนเข้าไป เพื่อรองรับกับการเติบโตดังกล่าวที่เห็นภาพชัดเจนสุดก็มี กลุ่มเซ็นทรัล Retail Conglomerate ซึ่งมีทิศทางการลงทุนที่ชัดเจน ด้วยรูปแบบของโมเดลศูนย์การค้าที่สามารถเข้าไปในทุกไซส์ของตลาด โดยมีการผสานกองทัพธุรกิจในเครือทั้งหมดเข้าเป็นแพ็ก และเดินหน้าเข้าไปลงทุนอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่า การขยายตัวทั้งหมดกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ห้างท้องถิ่นต้องเร่งปรับตัวเพื่อหาจุดยืนที่มั่นคงให้กับตัวเอง เหมือนกับที่ห้างยิ่งยงสรรพสินค้า ห้างภูธรชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี ที่วันนี้มีการแปลงร่างตัวเองจากห้าง สรรพสินค้าสู่การเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ภายใต้แบรนด์ Y Square Food Mall (Y2 Food Mall) ซึ่งมีที่มาจาก Y 2 ตัว ซึ่งย่อมาจาก ยิ่งยง เพราะธุรกิจเดิมคือ ทำห้างยิ่งยงสรรพสินค้า คุณไพบูลย์ จงสุวัฒน์ หรือ “โกเฒ่า” เจ้าของและผู้บริหารของคอมมูนิตี้มอลล์แห่งนี้ กล่าวว่า “Y Square Food Mall เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการปรับตัวของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เลือกจะเจาะตลาดด้วยการสร้างนิช มาร์เก็ตของตัวเอง โดยเลี่ยงที่จะชนกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ขยายมาจากส่วนกลาง” ห้างยิ่งยง คือ 1 ในผู้ประกอบการห้างท้องถิ่นเก่าแก่ของภูธรในจังหวัดอุบลราชธานี เปิดตัวครั้งแรกในปี 2527 มีจุดกำเนิดที่แทบจะไม่แตกต่างจากห้างต่างจังหวัด คือเป็นร้าน “เซ็นเตอร์” ที่ขายเสื้อผ้า กางเกงยีนส์มาก่อนที่จะขยับขยายมาเปิดห้างเมื่อกิจการเติบโตขึ้น ห้างท้องถิ่นรายนี้ถูกดึงเข้ามาร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลในปี 2538 ที่ในตอนนั้น เซ็นทรัลได้ร่วมทุนกับโรบินสัน พร้อมกับขยายสาขาของโรบินสันออกไปในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งจะมีการดึงเอาห้างท้องถิ่นมาร่วมทุนด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการทำตลาด การร่วมทุนกับกลุ่มทุนจากส่วนกลางดูเหมือนจะดี เพราะแทนที่จะแข่งกับเขา ก็หันมาเป็นพันธมิตรร่วมกันทำตลาดแทน แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปลงทุนเปิดศูนย์การค้าเองพร้อมนำโรบินสันเข้าไปเป็นแมกเน็ตหนึ่งในศูนย์ สาขาที่ร่วมทุนกับยิ่งยงจึงต้องปิดตัวลง แต่สัญญาที่เซ็นกันยังเหลือ ซึ่งถ้าไม่ทำต่อก็ต้องปิดตัวลง นั่นหมายถึงเป็นการปิดตำนานของห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานีด้วย เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “โกเฒ่า” ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต้องกลับมาลงทุนปลุกตำนานที่มีชีวิตนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง “โกเฒ่า” ยังกล่าวอีกว่า คอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่นี้ จะเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยจะมีร้านอาหารชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี และจากส่วนกลางเข้ามาเปิดในศูนย์ อาทิ ร้านอินโดจีน เป็นร้านอาหารเวียดนามชื่อดังของอุบล ร้าน Y-Space ที่ประกอบด้วย 4 ร้านย่อย คือ U-bao, Summer Spoon, Rocky และ Trocadero ร้านยำนัว […]

พามาเบิ่ง “ยิ่งยง มินิมาร์ท” ตำนวนค้าปลีกสู่เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้ออีสานใต้ กับวิถีการปรับตัวของห้างภูธร สร้างจุดแตกต่างในวงล้อมยักษ์ใหญ่ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เส้นทาง “สหเรือง” อาณาจักรโรงงานน้ำตาล ระดับหลายพันล้านในภาคอีสาน

บริษัท สหเรือง จำกัด ได้จดทะเบียนก่อตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อปี พ.ศ.2506 ด้วยทุนจดทะเบียนครั้งแรก 2,200,000.00 ( สอง ล้านสองแสนบาทถ้วน) ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมประเภทโรงน้ำตาล ที่มีขนาดกำลังผลิต หีบอ้อย วันละ 1,802 ตัน และมีโรงงานเดิมตั้งอยู่เลขที่ 31/35 ถนนชยางกูร อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร (ขณะนั้น เป็น ต.นิคมคำสร้อย อ.มุกดาหาร จ.นครพนม) ต่อมาได้มีการก่อตั้งและขยายโรงงานฯ แห่งใหม่ เนื่องจากอ้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี สถานที่ตั้งคับแคบและมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ จนไม่สามารถที่จะหีบอ้อยได้หมด บริษัทฯ จึงขออนุญาติย้ายและขยายกำลังการผลิต จาก 1,802 ตันต่อวัน มาเป็น 5,992 ตันต่อวัน โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในปี พ.ศ.2533 และทำการย้ายโรงงานจากที่เดิม มาตั้งใหม่ และขยายกำลังผลิตเพิ่ม มาเป็น 5,992 ตัน/วัน สถานที่ตั้งโรงงานในปัจจุบัน โรงงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 76 หมู่ 8 บ.ป่าหวาย ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร ปัจจุบันโรงงานมีกำลังผลิต ตามใบอนุญาต 5,992 ตัน/วัน และจะทำการหีบอ้อยในแต่ละฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมีนาคม ของปีต่อไป รวมเวลาหีบอ้อยประมาณ 120-150 วัน ทำการหีบอ้อยคิดเป็นปริมาณประมาณ 600,000 ตันของอ้อยที่ป้อนเข้าโรงงาน โดยอ้อยที่ป้อนเข้าโรงงานประมาณร้อยละ 80 เป็นอ้อยที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ส่วนที่เหลือ จะกระจายอยู่ในพื้นที่รอยต่อจังหวัดใกล้เคียง เช่น จ.นครพนม อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เป็นต้น อ้างอิงจาก: http://www.saharuang.com/ https://data.creden.co/company/general/0345506000011 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สหเรือง #โรงงานน้ำตาล #มุกดาหาร #น้ำตาล #อ้อย #ธุรกิจพันล้าน

พามาเบิ่ง เส้นทาง “สหเรือง” อาณาจักรโรงงานน้ำตาล ระดับหลายพันล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง อาณาจักรมันสำปะหลัง “สงวนวงษ์อุตสาหกรรม” ระดับพันล้าน

คุณทศพล-คุณวลีพร ตันติวงษ์ เป็นผู้บุกเบิก ผลิตมันอัดเม็ด แป้งมัน ซึ่งตั้งอยู่ในตัวเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ขยายกิจการเจริญก้าวหน้าของการผลิตแป้งมันและมันอัดเม็ดส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งเอเชียและยุโรป ทำให้เกษตรกรตื่นตัวปลูกมันสำปะหลังกันเกือบทั้งจังหวัด ไม่เพียงแต่ผลิตผลทางด้านการผลิตแป้งมันแล้ว กากมันที่เหลือเคยนำไปใช้อย่างอื่นเป็นอาหารสัตว์ แต่วันนี้โรงงานสงวนวงษ์ นำกากแป้งมันมาใช้ต่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เอากากไปบ่มเป็นไบโอแก๊ส จนเกิดเป็นแก๊สมีเทนขึ้นมา หลังจากนั้นก็นำแก๊สดังกล่าวไปใช้เป็นพลังงานปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำไปจ่ายเป็นไฟฟ้าใช้กันในโรงงาน แล้วกากที่เหลือสุดท้ายก็กลายเป็นปุ๋ย เอ็น พี เค (N P K) มีเนื้อปุ๋ยที่ได้มาอย่างพิเศษมาใช้เป็นปุ๋ย มันสำปะหลังหรือต้นไม้ได้ทุกชนิด เพราะมันสำปะหลังใช้ได้ทุกส่วนของต้น บริษัท สงวนวงษ์ พยายามดึงแป้งในหัวมันให้มากสุด จนถึงกากออกให้มาก เพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจมันสำปะหลัง โดยเน้นไปถึง “ต้นน้ำ” จากชาวไร่ ได้ราคาดี หัวเชื้อแป้งสูง มีเครื่องจักรทันสมัย ใช้สารชีวภัณฑ์ ใช้โดรนบินสำรวจ ปราบศัตรูพืช เดิมทีโรงงานเก่าที่ผลิตมันอัดเม็ดและแป้งมัน ซึ่งโรงงานนี้มีพนักงานราว 800 คน ปริมาณรับหัวมันสดที่รับเข้ามาวันละเฉลี่ย 4,000-5,000 ตัน เพื่อผลิตแป้งมันและมันอัดเม็ดของธุรกิจที่ทำอยู่แล้ว เมื่อผลิตแล้วกากมันนำมาใช้ประโยชน์ จากนั้นกากมันสำปะหลังจะถูกถ่ายเทไปที่โรงบ่มแก๊ส ซึ่งลำเลียงลงไปที่บ่อหมัก เป็นการใช้กากมันเหลือมาเข้าบ่อบ่มไบโอแก๊สจนเป็นแก๊สบีเทน เพื่อไปสร้างเป็นพลังงาน กลายเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อส่งไปที่โรงไฟฟ้าที่เตรียมไว้แล้ว เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลังและที่พัก เป็นไฮเทค ผลผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนกากสุดท้ายที่เหลือนั้น เป็นการนำไปใช้เป็นปุ๋ย N P K มากที่สุด เป็นประโยชน์กับต้นไม้ทุกชนิด เนื้อปุ๋ยของเอ็น พี เค อ้างอิงจาก: https://www.technologychaoban.com/bullet…/article_209653 https://data.creden.co/company/general/0305517000077 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจมันสำปะหลัง #มันสำปะหลัง #นครราชสีมา #งวนวงษ์อุตสาหกรรม #โรงงานมันสำปะหลัง

ชวนเบิ่ง อาณาจักรมันสำปะหลัง “สงวนวงษ์อุตสาหกรรม” ระดับพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “ไพรัชโฮมเดคคอร์” อาณาจักรกระเบื้อง สุขภัณฑ์ ห้องน้ำ และห้องครัว รายใหญ่ในภาคอีสาน

เส้นทางของไพรัชโฮมเดคคอร์ เมื่อปี 2526 ก่อตั้งไพรัชเคหภัณฑ์ที่บริเวณ ถ.หลังเมือง โดยเริ่มก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ห้อง เริ่มต้นได้รับแต่งตั้งเป็น “ตัวแทนจำหน่ายรหัส 4” ของเครือซีเมนต์ไทย คือตัวแทนเฉพาะสินค้ากระเบื้อง เซรามิค ภายใต้แบรนด์ COTTO ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่สามแยก ถ.หน้าเมือง ตัดกับ ถ.รื่นจิตร โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ตัวแทนจำหน่ายรหัส 1” ของเครือซีเมนต์ไทย คือตัวแทนจำหน่ายสินค้าทุกชนิดของเครือซีเมนต์ไทย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2538 เปิดคลังสินค้าบริเวณ ถ.หน้าเมือง เลยวัดหนองแวงมา 1.5 กิโลเมตร ก่อนถึงทางเลี่ยงเมืองติดกับบริษัทเสริมสุข (PEPSI) และเริ่มก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของห้าง และในปี 2541 ได้เปิด Cementhai Homemart ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของห้าง และได้เปิดโชว์รูปกระเบื้องและสุขภัณฑ์ COTTO ที่สาขา ถ.หน้าเมือง จ.ขอนแก่น จากประสบการณ์อันยาวนานทางด้านกระเบื้อง สุขภัณฑ์ ห้องน้ำ และห้องครัว ทำให้ในวันนี้ “ไพรัชโฮมเคดคอร์” กลายเป็นศูนย์รวมกระเบื้อง สุขภัณฑ์ ห้องน้ำ ห้องครัว ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีกระเบื้องให้เลือกมากมายนับพันแบบ อีกทั้งการตกแต่งภายในที่ทันสมัยที่มีแอร์เย็นสบาย และยังมีตัวอย่างห้องโชว์กว่า 50 ห้อง จึงทำให้ไพรัชเป็นผู้นำทางด้านกระเบื้อง สุดท้ายนี้ ไพรัชโฮมเดคคอร์ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนามาตรฐานโชว์รูม และการบริการ เพื่อให้สมกับคำว่า “ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระเบื้อง” ของจังหวัดขอนแก่น อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0405547001101 https://prhomedecor.co.th/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจกระเบื้อง #สุขภัณฑ์ #ห้องน้ำ #ห้องครัว #ขอนแก่น #ไพรัชโฮม #ไพรัชโฮมเรคคอร์

พาซอมเบิ่ง “ไพรัชโฮมเดคคอร์” อาณาจักรกระเบื้อง สุขภัณฑ์ ห้องน้ำ และห้องครัว รายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “อีสานพิมานกรุ๊ป” ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน

อีสานพิมานกรุ๊ป ดำเนินธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 35 ปี โดยสร้างผลงานกว่า 89 โครงการ สร้างชื่อเสียงจนประสบความสำเร็จกับยอดขายบ้านและที่อยู่อาศัยกว่า 8,000 ยูนิต ทั้งในจังหวัดขอนแก่นและต่างจังหวัด เช่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด และลำพูน ซึ่งมีทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม จนขึ้นแท่นเป็นบริษัทอสังหาฯอันดับต้นของขอนแก่น ภายใต้การบริหารงานของคุณชาญณรงค์ บุริสตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท อีสานพิมานกรุ๊ป จำกัด และนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดขอนแก่น ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 อีสานพิมานกรุ๊ปเตรียมเปิดพรีเซล (presale) 4 โครงการอสังหาริมทรัพย์ รวมมูลค่าลงทุนกว่า 407 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการโคะอิ ศิลา 68 ยูนิต มูลค่าลงทุน 181 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์โฮม 7 หลัง บ้านแฝด 16 หลัง และบ้านเดี่ยว 45 หลัง อยู่ติด ถ.เลี่ยงเมือง ทางทิศเหนือของจังหวัดขอนแก่น (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) 2.โครงการศิลาวิลเลจ เป็นบ้านแฝดทั้งหมด 50 ยูนิต มูลค่าการลงทุน 73 ล้านบาท อยู่ที่ ถ.เลี่ยงเมือง ทางทิศเหนือของจังหวัดขอนแก่น (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) 3.โครงการ COSI Condo มูลค่าการลงทุน 72 ล้านบาท รวม 79 ยูนิต อยู่ติด Lotus Extra (ถ.โนนม่วง-มข.) 4.โครงการคอนโดฯ Jompon Wellness Community มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 80 ล้านบาท อยู่ติดบึงทุ่งสร้างขอนแก่น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มกลุ่มลูกค้าแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ มากขึ้น มีความคาดหวังมากขึ้นทั้งคุณภาพและการบริการ รวมถึงมีความกล้าจ่ายมากขึ้น แต่หลายรายไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งบริษัทมีการศึกษาโครงการเรื่อย ๆ โดยพยายามลงทุนตามความต้องการภายในพื้นที่ รวมถึงมุ่งเน้นการเชื่อมโยงให้เป็นคอมมิวนิตี้หรือเป็นมิกซ์ยูส เช่น มีร้านค้าให้เช่า เป็นต้น ซึ่งจะพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งเชื่อมกับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ระบบขนส่ง ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาเพื่อรองรับกลุ่มฟรีแลนซ์ ที่ทำงานอยู่ที่บ้าน คุณชาญณรงค์ ฉายภาพรวมอสังหาฯในขอนแก่นว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างชะลอตัว เนื่องจากมีการลงทุนโครงการ ค่อนข้างมาก ประกอบกับธนาคารมีความระมัดระวัง เข้มงวดในการปล่อยกู้ยากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการในจังหวัดขอนแก่นก็ระมัดระวัง แต่สำหรับปัจจุบันเริ่มเห็นภาพ การลงทุนใหม่ ๆ ทั้งบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม และทาวน์โฮม มีการซื้อที่ดินใหม่ ซึ่งบ้านที่ขายดียังคงเป็นบ้านเดี่ยว ราคาประมาณ 3-4

พาซอมเบิ่ง “อีสานพิมานกรุ๊ป” ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง “โฮมช็อป” อาณาจักรธุรกิจจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน ระดับร้อยล้านในภาคีอสาน

การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: http://www.homeshop.co.th/ https://data.creden.co/company/general/0455553000030 https://www.maxmathailand.com/17236802/homeshop #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง #โฮมช็อป #ร้อยเอ็ด

พามาเบิ่ง “โฮมช็อป” อาณาจักรธุรกิจจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน ระดับร้อยล้านในภาคีอสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “ส.เขมราฐ” อาณาจักรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ขนส่ง การเกษตร และพลังงาน

กลุ่มบริษัท ส.เขมราฐ เริ่มก่อตั้งในปี 2525 จากการร่วมกันระหว่างกิจการสถานีบริการเติมน้ำมันในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดชนะชัยเขมราฐ กับโรงโม่หิน ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาในปี 2529 ได้ขยายธุรกิจและก่อตั้งบริษัท ส.เขมราฐ อินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศ ด้วยผลงานที่การันตีความสำเร็จมากกว่า 33 ปี บริษัทจดทะเบียนบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท บริษัทเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานทั้งภาครัฐ และเอกชน สร้างสรรค์ผลงานมากกว่า 1,000 ผลงาน บริษัทมีความเชี่ยวชาญในด้านการเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีบุคลากรคุณภาพ มีทีมวิศวกรที่มีความชำนาญ มีเครื่องจักรมากกว่า 500 ตัวเพื่อรองรับในการทำงานทุกระดับ บริษัทได้รับความไว้วางใจในด้านความสามารถการบริหารจัดการโครงการและระยะเวลาในการทำงานที่ดีเยี่ยม มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้การดำเนินงานอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยมุมมองและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร นอกจากนั้นบริษัทยังมีความเข้มแข็งและมั่นคงทางด้านการเงิน รวมไปจนถึงการใส่ใจในด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ในปี 2559 บริษัทได้รับการรับรองให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างชั้นพิเศษ และได้รับการรับรองให้เป็น 1 ใน 70 ผู้รับเหมาก่อสร้างที่เติบโตเร็วที่สุด บริษัทได้รับความไว้วางไว้ให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆมากมาย อาทิ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสระบุรี-บางปะอิน ตอนที่ 13 , โครงการทางหลวงหมายเลข 2050 สายตระการ – บ้านห้วยยาง , โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 212 สายอุบลฯ – อำนาจ ตอน 2 , โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 208 แยก ทล.2 ท่าพระ– มหาสารคาม , โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริม โครงการก่อสร้างฝาย และโครงการอื่นๆ อีกมากมาย และใน ปี 2561 – ปัจจุบัน ได้ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นในนาม “กลุ่มบริษัท ส.เขมราฐ” ประกอบด้วยบริษัทในเครือทั้งหมด 6 บริษัท และมีพนักงานมากกว่า 700 อัตรา อันได้แก่ บริษัท ส.เขมราฐอินดัสตรี้ จำกัด , บริษัท ส.เขมราฐทรานสปอร์ต จำกัด , บริษัท เอสเคการ์เดี้ยน จำกัด , บริษัท เอสเค กรีน อโกร โปรดักส์ จำกัด , บริษัท ส.เขมราฐเอ็กเพรส จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ชนะชัยเขมราฐ จำกัด โดยกลุ่มบริษัท ส.เขมราฐ มีการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล สร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ มีมาตรฐานการบริหารจัดการ องค์กรตามมาตรฐานสากล ช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้กับจังหวัดอุบลราชธานี และประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัท

พาซอมเบิ่ง “ส.เขมราฐ” อาณาจักรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ขนส่ง การเกษตร และพลังงาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “โฮมวัน”

ผู้นำด้านร้านค้าปลีกและค้าส่งวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

พาซอมเบิ่ง “โฮมวัน” อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง เส้นทางอาณาจักรจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง “โฮมฮับ”

“บริษัท โฮมฮับ จำกัด” ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และตกแต่งบ้านครบวงจร ก่อตั้งโดย คุณองอาจ ตั้งมิตรประชา และคุณอาภาภรณ์ ตั้งมิตรประชา ในปีพ.ศ. 2519 โดยเริ่มจากการจำหน่าย สีทาอาคาร สีพ่นรถยนต์ เครื่องมือช่าง ปั๊มน้ำ อุปกรณ์การเกษตร ประดับยนต์ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากับความต้องการสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่มีความหลากหลาย ครบ และง่ายในการจัดหาด้วยตัวเองได้ โดยเมื่อก่อนใช้ชื่อภายใต้ชื่อ ร้านสีรุ้ง จำหน่ายสี และอุปกรณ์ทาสีทุกชนิดใจกลางเมืองอุบลราชธานี ในปี 2523 ได้เพิ่มสินค้าประเภทสีพ่นรถยนต์ ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างดี จึงขยายกิจการโดยเพิ่มสินค้าเครื่องมือช่างเข้าไป เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้ขยายสาขา 2 ที่อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2548 ได้เพิ่มสินค้าอุปกรณ์ก่อสร้างเต็มรูปแบบ พร้อมจดทะเบียนใหม่ในชื่อ สีรุ้งโฮมโปร ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โฮมฮับ” รวมทั้งขยายสาขาเพิ่มที่บ้านทัพไท และในปี 2554 ได้เปิดสาขาขอนแก่น และในปีนี้ได้เปิดสาขาอุดรธานี อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://homehub.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8…/ https://data.creden.co/company/general/0345542000140 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง #อุบลราชธานี #โฮมฮับ #ร้านสีรุ้ง #HOMEhub #ธุรกิจร้อยล้าน

ชวนเบิ่ง เส้นทางอาณาจักรจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง “โฮมฮับ” อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล

“ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นอุบล เริ่มต้นธุรกิจจากรุ่นคุณปู่ คุณย่า เป็นธุรกิจโชห่วยใช้ชื่อว่า โค้วย่งง้วน หมายความว่า แหล่งน้ำที่ยั่งยืน พัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีโกดังหลายจุด พอมาเป็นรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เปลี่ยนจากโชห่วยมาเป็นห้างสรรพสินค้า จนมีห้างต่างชาติเข้ามา แล้วมีการปรับเปลี่ยนจากห้างสรรพสินค้ามาเปิดศูนย์กระจายสินค้ายงสงวน กระจายสินค้าให้กับคนในอุบล “​​ยงสงวน” ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2498 จากจุดเริ่มต้นร้านโชห่วย 1 คูหา 2 ชั้น โดยรุ่นแรก “คุณพ่องี่เต็ก แซ๋โค้ว” และ “คุณแม่เง็กเนย ไชยสงคราม” โดยร้านแรก ตั้งอยู่บนถนนยุทธภัณฑ์ ตรงกันข้ามกับโรงหนังกลาง ใช้ชื่อร้านว่า “โค้วย่งง้วน” จนกระทั่งในปี 2500 โค้วย่งง้วน ได้ย้ายร้านมาตั้งอยู่ที่มุมถนนพรหมเทพ ขยับขยายสู่ร้าน 2 คูหา ซึ่งต่อมาในปี 2503 ได้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ร้านโค้วย่งง้วน เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และเปลี่ยนทำเลมาเป็นร้านใหม่ที่ถนนพรหมเทพ จากนั้นในปี 2519 ได้ย้ายร้านอีกครั้งมาที่ 77-81 ถนนพรหมเทพ เป็นร้านขนาด 3 คูหาและต่อมาได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ยงสงวน” ในปี 2525 ก้าวเดินของ ยงสงวน พริกผันสู่ก้าวที่ใหญ่ขึ้นในปี 2533 เมื่อเข้าประมูลสิทธิการก่อสร้างได้ และเปลี่ยนสู่ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ “ยงสงวน ช้อปปิ้งมอลล์” โดยมีคุณกำพล และคุณมลิวัลย์ ไชยสงคราม เป็นผู้บริหาร จนถึงปัจจุบัน ยงสงวนกรุ๊ป อยู่ภายใต้การบริหารงานของเงิน 3 ตระกูลไชยสงคราม ของสองพี่น้องคือ ประกิจ และ ประกอบ ไชยสงคราม ที่ช่วยกันสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแรง จนสามารถขยายบริษัทในเครือ จากเดิมที่มีเพียง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยงสงวนช้อปปิ้งมอลล์ แตกอีก 2 บริษัท คือ “บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด” และ “บริษัท สหรุ่งธนเกียรติอุบล จํากัด” สำหรับ หัวใจสำคัญที่ทำให้คำปลีกท้องถิ่นอยู่รอดได้ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและลูกค้า ทำธุรกิจด้วยความจริงใจ นึกถึงใจเขา ใจเรา เห็นอกเห็นใจคนอื่น ก็จะสามารถผ่านพ้นวิกฤติ ได้ไม่ยาก และในฐานะคนอุบลโดยกำเนิด ประกอบ และ ยงสงวนกรุ๊ป ยังให้ความสำคัญกับการตอบแทนบ้านเกิด ด้วยการจัดตั้ง “อุบล แฟมิลี่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน เพื่อทำกิจกรรมตอบแทนสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดงานวิ่งเพื่อการกุศล ซึ่งเป็น กิจกรรมที่เขาและครอบครัวชื่นชอบเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งนำรายได้ไปทำประโยชน์ในสถานที่ต่าง ๆ ของจังหวัด เมื่อถามถึงจุดแข็งของ ยักษ์ค้าปลีกท้องถิ่น ที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ คุณประกอบมองว่า

พาซอมเบิ่ง อาณาจักร “ยงสงวน” ค้าปลีกท้องถิ่นเมืองอุบล อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top